ไขปริศนา เมื่อเด็กนอนกรน (Snoring Child)โดยศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
ลูกนอนกรน หายใจเสียงดังเวลานอน มีอันตรายหรือไม่ ?
ภาวะการนอนกรนเป็นการหายใจเสียงดัง ซึ่งเกิดขึ้นในขณะหลับ พบได้ในทุกเพศทุกวัยจากการศึกษาพบว่าเด็กประมาณ 3-12 เปอร์เซ็นต์นอนกรนการนอนกรนพบบ่อยเป็นพิเศษในช่วงอายุก่อนวัยเรียน (Preschool) หรือช่วงระดับชั้นอนุบาล เนื่องจากขนาดของต่อมอดีนอยด์ และทอนซิลที่มักโตเมื่อเทียบกับขนาดของทางเดินหายใจเด็ก
การนอนกรนมีอันตรายหรือไม่ ?
การนอนกรนอาจเป็นอันตรายได้ หากการนอนกรนนั้นเกิดร่วมกับภาวะการหายใจที่ลดลงหรือหยุดหายใจในขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome) ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลงส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง เด็กเมื่อนอนแล้วหายใจไม่ออกเนื่องจากทางเดินหายใจอุดตัน ก็จะนอนกระสับกระส่าย ตื่นนอนบ่อยทำให้การนอนหลับตอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ, นอนหลับได้ไม่เพียงพอซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็ก
Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS)
Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS) คือความผิดปกติของการหายใจที่เกิดขึ้นในขณะหลับเกิดจากทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้นบางส่วน หรืออุดกั้นอย่างสมบูรณ์ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ขณะหลับ ทำให้เกิดการรบกวนต่อระบบการระบายลมหายใจและระบบการนอนหลับ
อัตราการเกิดพบประมาณ 2% ของประชากร พบในเด็กผู้หญิงพอ ๆ กับเด็กผู้ชายจะเห็นได้ว่าการนอนกรนแบบไม่เป็นอันตรายพบได้บ่อยกว่ามากอย่างไรก็ตามแพทย์มีความจำเป็นจะต้องตรวจวินิจฉัยเด็กที่นอนกรนแบบมีอันตรายหรือมีความผิดปกติของการหายใจ และให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
เด็กที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการนอนกรนผิดปกติ (OSAS) ได้แก่
1. มีต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอดีนอยด์โต
2. เด็กที่อ้วนมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
3. มีความผิดปกติของโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจ เช่น มีกรามเล็ก, มีขนาดทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ
4. มีความผิดปกติของสมองที่ทำให้การคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น Cerebral Palsy
5. เด็กที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากสาเหตุต่าง ๆ
6. เด็กที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม
7. เด็กที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง
8. อาการที่น่าสงสัยว่าลูกมีปัญหานอนกรนแบบมีอันตราย
9. มีอาการหายใจติดขัด, หายใจลำบาก หรือหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ร่วมกับการนอนกรนนอนกระสับกระส่าย, เหงื่อออกมากเวลานอน, ตื่นนอนกลางดึกบ่อย ๆ
10. ปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน
11. อ้าปากหายใจ
12. มีปัญหาด้านการเรียน, เรียนได้ไม่ดี
13. มีปัญหาทางพฤติกรรม, สมาธิสั้น, อยู่นิ่งเฉยไม่ได้
14. ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ
15. ง่วงเหงาหาวนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน
16. มีความดันโลหิตสูง
การวินิจฉัยทำอย่างไร
ในปัจจุบันมีการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาภาวะการนอนกรนที่ผิดปกติทำได้โดยการทดสอบการนอนหลับ (Pneumogram) การทดสอบการนอนหลับที่เป็นมาตรฐานเป็นการทดสอบข้ามคืนใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง เด็กจะมานอนค้างคืนที่ห้องทำการทดสอบที่จัดเตรียมไว้ผู้ปกครองสามารถมาอยู่เฝ้าได้
การรักษา หากพบว่าเด็กมีภาวะการนอนกรนที่เป็นอันตรายก็จำเป็นต้องมีการรักษา การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ
การตัดต่อม Adenoid และ Tonsils ในรายที่มีต่อม Adenoid และ/หรือ Tonsils โต การตัดต่อมออกพบว่าช่วยรักษาการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับได้ถึง 75-100% จึงถือเป็นการรักษาหลังในผู้ป่วยกลุ่มนี้
ในผู้ป่วยซึ่งมีการอุดตันของทางเดินหายใจขณะหลับเกิดจากสาเหตุอื่น ๆที่ทำให้ทางเดินหายใจอุดตันตอนหายใจเข้าหรือในผู้ป่วยที่ตัดต่อมทอนซิลแล้วยังมีปัญหาหรือในรายที่มีปัญหาสุขภาพทางด้านอื่นไม่สามารถผ่าตัดได้จำเป็นจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับ (CPAP หรือ BiPAP)
การรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อแก้ความผิดปกติของโครงสร้างของทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบกว่าปกติเป็นการทำ Craniofacial Surgery, Uvulopharyngopalatoplasty.
การรักษาอาการอื่น ๆ ที่อาจเป็นปัจจัยร่วมให้เกิดปัญหาการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับเป็นโรคภูมิแพ้, การควบคุมน้ำหนัก
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะนอนกรนชนิดที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจร่วมด้วยในขณะหลับทำให้มีออกซิเจนในเลือดลดลง ดังที่กล่าวมาแล้ว หากมิได้รับการรักษาหรือแก้ไขอย่างทันท่วงทีจะทำให้เด็กมีสติปัญญาต่ำ, ระดับการเรียนรู้ต่ำลง, มีสมาธิสั้น, Active มากไม่อยู่นิ่ง, ง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน, ปัสสาวะรดที่นอน, ความดันโลหิตสูง, ความดันเลือดในปอดสูงซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจทำงานล้มเหลวได้
ขอขอบคุณ
คำสงวนสิทธิ์
รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือในเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประโยชน์แก่ส่วนรวม ไม่ได้เจตนาแนะนำข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรค ตลอดจนไม่ใช่เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อผลประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จึงไม่ขอรับรองความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน ของข้อมูลเกี่ยวกับยา โรค สาเหตุ อาการ วิธีการดูแลรักษา นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ บางส่วนยังไม่มีการรับรองผลของการใช้งาน รวมทั้งไม่มีหลักฐานรับรองที่สมบูรณ์ครบถ้วน ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูล ควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลหรือปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพิ่มเติม หากมีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ทางศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้ หรือการอ้างอิงข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ และศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลงรายงานฉบับนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
แสดงความคิดเห็น
Charles Haid
1 มีนาคม 2558ReplyBHRC
1 มีนาคม 2558ReplyTerry McDonough
3 พฤษภาคม 2558ReplyCharles Haid
12 พฤษภาคม 2558Reply