ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ไทย อากาศแย่ลงไร้แววว่าฝุ่นจะลด ที่ผ่านมามีความพยายามลดฝุ่น PM 2.5 ในอากาศด้วยมาตรการต่างๆ อาทิ รณรงค์ลดการเผาป่า การเผาผลผลิตทางการเกษตร จนถึงการปรับสูตรน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ ส่วนประชาชนก็ดูแลตนเองด้วยการใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากาก N-95 ติดเครื่องกรองฝุ่นในบ้านหรือในรถยนต์
นักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ทำการทดลอง
จากนั้นทำการทดสอบโดยการทดลองกลุ่มควบคุมคือ ใส่ฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในกล่องประมาณ 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากนั้นจับเวลาและบันทึกค่าความเข้มข้นฝุ่น PM 2.5 ในกล่อง ทุก 1 นาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง จากนั้นกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงความถี่ Low, Medium, และ High frequency โดยใช้ Ultrasonic Cleaner เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นเสียง บันทึกค่า ทุก 1 นาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุม จากนั้นหาค่าเฉลี่ยและสร้างกราฟความเข้มข้นของฝุ่นเพื่อดูว่าคลื่นเสียงความถี่ต่างๆมีผลต่อฝุ่น PM 2.5 อย่างไร
ผลการศึกษาพบว่า ค่าของฝุ่น PM 2.5 เมื่อระยะเวลาผ่านไป 10 นาที ของ control จะมีค่าเพิ่มขึ้นและมีความชันของกราฟมากที่สุด (ตกลงพื้นเร็ว) ในขณะที่ low และ medium frequency กราฟมีความชันเพิ่มขึ้นค่อนข้างคงที่และ high frequency มีความชันของกราฟในช่วงนาทีแรกลดลงกว่ากราฟอื่น และความชันค่อยๆเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับค่าเริ่มต้นมากที่สุด ดังแสดงในภาพ
สรุปได้ว่า คลื่นความถี่สูง มีผลทำให้ฝุ่นกระจายตัว และตกลงสู่พื้นช้ากว่าการไม่มีคลื่นความถี่สูง ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า อาจจะใช้คลื่นความถี่สูงในการกระตุ้นให้ฝุ่น PM 2.5 ลอยสูงขึ้น ทดแทนกลไกธรรมชาติที่ต้องรอให้อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น เพื่อพาฝุ่น PM 2.5 ออกไปอย่างไรก็ดีการยืนยันแนวคิดดังกล่าว ยังต้องการการทดลองอีกครั้งหนึ่งเพื่อดูว่า คลื่นเสียงความถี่สูงเพียงไรจะเอื้อให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวได้
ผู้สนใจงานวิจัยนี้สามารถติดต่อ
- นศพ. ชณิฎสฬา อิสระวิสุทธิ์ อีเมล์ ([email protected] )
- อาจารย์ที่ปรึกษา นพ.อานนท์ จำลองกุล ([email protected])
- ผศ.ดร.สุธี วัฒนศิริเวช ([email protected])
Authors : ชณิฎสฬา อิสระวิสุทธิ์, อานนท์ จำลองกุล, และ ชัยยศ คุณานุสนธิ์