จากข้อมูลทะเบียนการบาดเจ็บ (COE Trauma Registry) ของ BDMS Trauma Network ที่ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพศึกษาอยู่ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มากกว่าครึ่ง (56.9%) มีการบาดเจ็บที่เดียว ประมาณหนึ่งในห้า (17.6%) มีการบาดเจ็บสองที่ และประมาณหนึ่งในสิบ (9.9%) มีการบาดเจ็บมากกว่าสองที่ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลของผู้ป่วยอีก 15.6% ที่ไม่ได้บันทึกไว้ว่าบาดเจ็บที่ใดและเมื่อจำแนกการบาดเจ็บตามอวัยวะต่างๆ ก็พบการบาดเจ็บแขนขาเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ ศีรษะ ทรวงอก หลัง ลำคอ ท้อง สะโพก จมูก ตา และส่วนอื่นๆ ตามลำดับ (รูปที่1)
ถึงตรงนี้หลายท่านคงบอกว่า ไม่แปลก บางท่านอาจจะบอกว่า จำนวนที่รายงานในรูปไม่ใช่จำนวนคนไข้ เพราะผู้ป่วยเกือบๆหนึ่งในสาม (17.6% + 9.9% = 27.5%) ที่มีการบาดเจ็บหลายอวัยวะด้วยความอยากรู้ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ จึงวิเคราะห์ดูว่า อวัยวะใดบ้างที่มักจะบาดเจ็บไปด้วยกัน ดังแสดงในรูปที่2 (ตัวเลขมากแสดงว่าพบบาดเจ็บด้วยกันบ่อย) เช่น จมูกกับดวงตาบาดเจ็บด้วยกันบ่อยที่สุดอีกประการคือ ถ้าไม่นับศีรษะที่มักมีอวัยวะอื่นบาดเจ็บไปด้วย การบาดเจ็บที่ลำคอก็มีอวัยวะอื่นบาดเจ็บตามด้วยไม่น้อย
จากการสังเกตข้อมูลทำให้เรายิ่งมั่นใจว่า การจำลองกลไกการบาดเจ็บ (Mechanism of injury) ในผู้ป่วยแต่ละรายที่มี Multiple injury นั้นมีความสำคัญ ทำให้เราไม่พลาดเรื่องการรักษาแม้แต่อวัยวะเดียวเรื่องการศึกษา Multiple injury ในชุดข้อมูลของ BDMS ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมาก ขอชวนคุณมาสร้างความรู้ใหม่ด้วยกัน หรือส่งคำแนะนำแจ้งศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพได้ตลอดเวลา
Authors: วรุตม์ วิเศษจินดา ชัยยศ คุณานุสนธิ์