เมื่อทราบถึงความสำคัญของการคำนวณขนาดตัวอย่างแล้ว เพื่อให้ได้ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวก่อนคำนวณ ดังนี้
- กำหนดคำถามหลักของงานวิจัยและวัตถุประสงค์หลักให้ชัดเจน เนื่องสูตรคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับคำถามงานวิจัย ซึ่งจะกำหนดรูปแบบงานวิจัยและสถิติที่จะต้องใช้ ฉะนั้นหากมีคำถามที่ชัดเจนก็จะคำนวณขนาดตัวอย่างได้เหมาะสม
- กำหนดผลลัพธ์หลัก (Primary outcome) ของงานวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบอกว่าสิ่งที่ต้องการจะวัดผลในงานวิจัย เป็นข้อมูลชนิดใด ทำให้ผู้ที่คำนวณขนาดตัวอย่างเลือกสูตรได้ถูกต้อง (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ รู้จักรูปแบบของข้อมูล)
โดยส่วนใหญ่แล้วการคำนวณขนาดตัวอย่างจะใช้เพียงคำถามและผลลัพธ์ของงานวิจัยเท่านั้น แต่ในบางกรณีอาจจะต้องพิจารณาข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ดังนี้
- ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) แบบ Cohort Study, Case-Control Study, Diagnostic test จะมีสูตรคำนวณขนาดตัวอย่างเฉพาะของระเบียบวิธีวิจัยเหล่านี้ด้วย
- วิธีการสุ่ม (Randomization Method) ในบางกรณีที่ใช้วิธีการสุ่มที่ซับซ้อนจะต้องพิจารณาคำนึงถึงอิทธิพลจากการกระจายตัวของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นด้วย
–ติดตามตอนต่อไป–
Authors : วรุฒ ชัยวงษ์