คุมเบาหวานให้อยู่หมัด

จากการที่ผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนมากขึ้น และเป็นเบาหวานกันตั้งแต่อายุยังน้อย แถมยังเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลรักษากันอย่างต่อเนื่อง เราจึงอยากชวนคุณมารู้ถึงการศึกษาที่บอกถึงความสำคัญของ การตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง เพื่อคุมเบาหวานให้อยู่หมัด โดยผู้วิจัยที่นำความรู้ ที่ได้รับจากทีมสหสาขาวิชาชีพมาใช้ปฏิบัติ นำไปสู่คำตอบเรื่องนี้คือ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1c)ได้ตามเป้าหมาย คือไม่เกิน 7 %

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยเบาหวานทุกรายที่เข้าโครงการ DM type2 pathway จำนวน167ราย ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2555 – เดือนธันวาคม 2556 บันทึกข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านการรับประทานอาหาร การใช้ยา การออกกำลังกาย การตรวจน้ำตาลด้วยตนเองและผลน้ำตาลเฉลี่ยสะสม(HbA1c)ได้จากเวชระเบียนแบบอิเลคโทรนิก(EMR) วิเคราะห์เชิงพรรณนาเปรียบเทียบระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม(HbA1c)ก่อนและหลังเข้า Pathway ด้วย Chi-square test และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม(HbA1c) ด้วย Odds Ratio with 95%Confidence interval และ Logistic Regression

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ศึกษาเป็นเพศชายร้อยละ 64.4 มีอายุเฉลี่ย 53.7±11.5 ปี และมีค่าเฉลี่ยHbA1c ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < 0.01) จาก 9.6 ± 2.0% เมื่อเรื่มเข้า Pathway เป็น 7.6 ± 1.6% หลังจากอยู่ใน Pathway หนึ่งปี เมื่อนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาหาความสัมพันธ์กับ HbA1c หลังเข้าPathway พบว่า การใช้เครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตนเองมีความสัมพันธ์กับการลดลงของ ค่าเฉลี่ยHbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < 0.01) ส่วนปัจจัยด้านการออกกำลังกาย และการที่ผู้ป่วยไม่เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา(DRP) พบว่าทั้ง2ปัจจัยมีความเกี่ยวข้องกับการลดลงของค่าเฉลี่ยHbA1c แม้จะไม่พบความสัมพันธ์ในทางสถิติก็ตาม

สรุปงานวิจัยพบว่า การใช้เครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตนเองช่วยลด HbA1c ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.01 ทีมผู้วิจัยจึงนำผลจากการวิจัยมาใช้ประโยชน์ โดยการส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานทุกคนได้มีการประเมินระดับน้ำตาลด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมต่อไป

research weekly 14

ผู้สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากบทความ Effect of Participation in Type 2 Diabetes Mellitus (T2DM) Education Pathway on HbA1c ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Bangkok Medical Journal , FEBRUARY 2016 – VOL.11 CLICK LINK

Reference : พรรณี ส่งสาย

Scroll to Top