ทุกคนคงมีโอกาสได้ “ตรวจสายตา” กันหลายครั้ง ส่วนใหญ่เราต้องไปอ่านเลขหรือตัวหนังสือที่มีขนาดแตกต่างกัน เพื่อดูการมองเห็น (visual acuity) โดยใช้แผ่นภาพ Snellen chart หลายคนคงทราบดีว่า ในการตรวจคัดกรองทางอาชีวเวชศาสตร์ ยังมีการตรวจการมองเห็นสี (Color perception) และการตรวจการกะระยะ (Stereoacuity) ทั้งหมดนี้ใช้เวลาและแรงงานผู้ตรวจมาก หากต้องตรวจคัดกรองครั้งละหลายๆคน เช่น ตรวจคนงาน ก็มักใช้เครื่องมือตรวจที่ให้ผลเร็วที่ใช้กันบ่อยๆ เช่น Titmus ,Optec เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่า ผลการตรวจด้วยเครื่องคัดกรองเหล่านี้ถูกต้องเชื่อถือได้ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและอาชีวเวชศาสตร์ รพ.กรุงเทพ พิษณุโลก จึงร่วมกับศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ทำการศึกษาความน่าเชื่อถือของเครื่องตรวจTitmus ที่มีใช้อยู่
จึงทำการศึกษาในอาสาสมัคร 220 คน เป็นชาย 43 คน (19.5%) หญิง 177 คน (80.5%) ส่วนใหญ่อายุ 20-40 ปี (76.9%) พบว่า
- ค่าเฉลี่ยของค่าสายตา (visual acuity)ที่ตรวจโดยเครื่องมือมาตรฐาน (Snallen chart) ผลออกมาดีกว่าการตรวจด้วยเครื่อง Titmus ทั้งการมองไกลและการมองใกล้
- ค่าเฉลี่ยของการกะระยะ เมื่อตรวจด้วยเครื่องมือมาตรฐาน (Stereofly) พบว่าผลออกมาดีกว่า ค่าเฉลี่ยของ Titmus ถึง 1.5 เท่า
- ความไวของTitmus สามารถตรวจพบพนักงานที่การมองเห็นที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยของงาน ซึ่งเครื่องTitmusให้ความไวสูงสำหรับการตรวจ ค่าสายตาทั้งการมองไกลและใกล้ การมองเห็นสี แต่กลับให้ความไวปานกลางในการตรวจการกะระยะ
- ความจำเพาะของ Titmus คือ สามารถตรวจพบพนักงานที่การมองเห็นสีที่ให้ความจำเพาะสูง ด้านอื่นอยู่ในระดับปานกลาง
สรุปได้ว่า เครื่องTitmus V4 occupational landolt model ที่ทำการทดสอบ ให้ผลการตรวจคัดกรองทางอาชีวเวชศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ สำหรับการมองเห็นสี การมองไกล มองใกล้ ด้วยค่าความไว 100%, 95.8% และ 90.9% ตามลำดับ แต่ไม่แนะนำกับการตรวจคัดกรอง การกะระยะเพราะมีความไว ความจำเพาะอยู่ในระดับปานกลาง64.3% และ 68.2% ตามลำดับ
ผลการศึกษาวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสาร The Bangkok Medical Journal Volume 15 number 2 (August 2019) ชื่อบทความ Validity of Vision Screener among Workers in a Private Hospital in the Northern Part of Thailand โดยผู้สนใจสามารถดาว์นโหลดบทความได้จากเว็ปไซท์ www.bangkokmedjournal.com click
Reference : ชัยยศ คุณานุสนธิ์ ชลวิภา ธีรศานติพันธ์