50 1

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 4: โรคไข้สุกใส

นอกเหนือจากโรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคหัดเยอรมันแล้ว โรคสุกใสเป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าหนาวนี้เช่นกัน บางท่านอาจไม่คุ้นว่าโรคสุกใสคืออะไร แต่ถ้าพูดว่า “อีสุกอีใส” ก็คงพอจะคุ้นหูกันมากกว่า สมัยก่อนโรคนี้ยังไม่มีทางป้องกัน แต่ปัจจุบันมีวัคซีนช่วยป้องกันให้เราปลอดภัยจากโรคนี้ได้ เรามาทำความรู้จักโรคสุกใสกันนะคะ โรคไข้สุกใส (Chickenpox หรือ Varicella)           โรคอีสุกอีใสหรือไข้สุกใส ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยหนุ่มสาว แต่ถ้าเป็นในผู้ใหญ่แล้วมักจะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนมากกว่าในเด็ก เมื่อปี พ.ศ. 2553 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานโรคสุกใสจำนวน 49,189 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 77.22 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมามีรายงานผู้เสียชีวิตปีละ 1 ถึง 3 ราย สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากมีโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบ และ/หรือ ตับอักเสบรุนแรง การระบาดมักพบในช่วงต้นปีตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน           โรคไข้สุกใสเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ วาริเซลลา (Varicella virus) หรือ ฮิวแมนเฮอร์ปี่ไวรัส ชนิดที่ 3 …

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 4: โรคไข้สุกใส Read More »

48 2

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 2: โรคปอดบวม

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคที่มากับฤดูหนาวส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และที่พบบ่อยได้แก่ โรคไข้หวัดทั่วไป โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปวดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคสุกใส ในตอนที่ 1 เราได้แนะนำโรคไข้หวัดทั่วไปและโรคไข้หวัดใหญ่ไปแล้ว ส่วนตอนที่ 2 นี้เราขอเสนอรายละเอียด “โรคปอดบวม” เพื่อให้ทุกท่านเตรียมป้องกันโรคในช่วงหน้าหนาวนี้กันค่ะ           โรคปอดบวม มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือโรคนิวโมเนีย (pneumonia) เป็นโรคติดเชื้อที่ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่นได้ เช่น เชื้อไมโคพลาสมา (mycloplasma) และเชื้อรา เมื่อปอดติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวมาที่เซลล์ปอด และเกิดปฏิกิริยาจากการทำลายเชื้อโรค ทำให้เซลล์ปอดบวมใหญ่ขึ้น เป็นที่มาของคำว่า “ปอดบวม” นั่นเอง เมื่อเชื้อโรคถูกทำลายแล้วจะทำให้เกิดหนองหรือของเหลวท่วมขังอยู่ภายในถุงลมปอด ทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย จากข้อมูลของสำนักงานระบาดวิทยา ในปี พ.ศ. 2553 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจำนวน 170,486 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 267.63 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน โดยมีอัตราเสียชีวิต 1.95 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน โรคนี้พบบ่อยช่วงระหว่างฤดูฝนและฤดูหนาว หรือตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนมีนาคม และจากข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ พ.ศ.2544 ถึง พ.ศ. 2553 พบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเพิ่มขึ้น …

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 2: โรคปอดบวม Read More »

47 2

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 1: ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่

ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยคงเริ่มสัมผัสกับกลิ่นอายของ “ลมหนาว” ที่พัดโชยเข้ามาทำให้รู้สึกถึงอากาศที่เริ่มหนาวเย็น สำหรับผู้ที่ยังคงประสบภัยน้ำท่วมอยู่นั้นควรเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลสุขภาพเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความเปียกชื้นสูงกว่าที่อื่น ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น วัด โรงเรียน หรือ ศูนย์อพยพ หากไม่ป้องกันให้ดีแล้วอาจทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย           อากาศที่แปรปรวนและฤดูฝนที่ยาวนาน ส่งผลให้เราอาจมีช่วงเวลา ที่อุณหภูมิที่ลดต่ำลงหรือมีหน้าหนาวยาวนานกว่าปกติ โรคที่พบได้บ่อยในฤดูหนาวส่วนใหญ่จะเป็นโรค ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปวดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน และโรคสุกใส ดังนั้นเรามาเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันโรคที่มากับฤดูหนาวกันนะคะ 1. ไข้หวัด (Common Cold) โรคไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดได้ตลอดทั้งปี พบบ่อยในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดแต่ละครั้งมักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดเพียงชนิดเดียว และเมื่อหายแล้วร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนั้น และเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดครั้งใหม่ก็มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ การติดต่อ           เชื้อไวรัสไข้หวัดที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ ติดต่อโดยการไอ หรือหายใจรดกัน หรือจากการสัมผัส เมื่อมีเชื้อหวัดติดที่มือแล้วไปสัมผัสผู้อื่น เชื้อหวัดก็จะติดคนๆนั้น และเมื่อนำไปขยี้ตาหรือแคะจมูกก็จะเข้าสู่ร่างกายจนกลายเป็นไข้หวัดได้อาการของโรคหลังจากเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายประมาณ 1 ถึง 3 วัน …

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 1: ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ Read More »

46 2

โรคที่ไม่ควรรักษาด้วยตนเอง

โรคภัยไข้เจ็บส่วนมากหายเองได้ และคนไข้สามารถรักษาตนเองได้ แต่ก็มีการเจ็บป่วยอีกพอสมควร ที่การรักษามีความสำคัญต่อการหายของโรค การรักษาโรคภัยไข้เจ็บกลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์ ดังนั้นคนไข้จึงต้องมีความรู้ตามสมควร ที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจว่า เมื่อไรอาจรักษาตนเองได้ โดยไม่มีโทษ และเมื่อไรจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ และถ้าต้องหาหมอ เมื่อไรต้องรีบ และเมื่อไรไม่ต้องรีบ กรณีต่อไปนี้ ท่านไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง 1. โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน diabetes ความดันเลือดสูง hypertension ตับแข็ง cirrhosis หอบหืด asthma แม้จะรู้จักชื่อยาที่ใช้รักษา แต่ความสำคัญของการรักษาอยู่ที่การพยายามรักษาให้ร่างกายอยู่ในภาวะที่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด และการระวังป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่ลึกซึ้งพอสมควรจึงจำเป็นต้องให้หมอรักษาซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่า 2. โรคเฉียบพลันรุนแรง เช่น ไส้ติ่งอักเสบ บาดแผลที่เลือดออกไม่หยุด เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด เป็นต้น จำเป็นต้องให้หมอรักษา บางกรณีถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน 3. โรคหรือการเจ็บป่วยใดๆ ที่คิดว่ารักษาด้วยตนเองได้ แต่เมื่อรักษาแล้วไม่ดีขึ้นดังคาดไม่ควรลังเลใจที่จะปรึกษาแพทย์ 4. อาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร 5. อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หายแล้วเป็นอีกโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรเข้ารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ ยกตัวอย่างอาการเจ็บหน้าอก chest pain มีทั้งกรณีที่อาจเป็นอันตรายและกรณีที่เป็นเพียงอาการที่น่ารำคาญ ความแตกต่างนี้ พิจารณาได้จากลักษณะของอาการเจ็บ อาการอื่นที่เกิดร่วมด้วย และวัยของคนไข้ 1. เจ็บหน้าอก บริเวณแคบๆ ตื้นๆ เอานิ้วกดเบาๆ ก็เจ็บ แต่กดบริเวณห่างออกไปไม่เจ็บ …

โรคที่ไม่ควรรักษาด้วยตนเอง Read More »

45 2

โรคที่เกิดจากผ้ารัดเข่าและรัดหลัง (knee support and back support)

ในเมืองไทยมีสินค้าทางด้านสุขภาพ วางขายให้เลือกซื้อกันอย่างเสรีมากมายครับ ในบางครั้งก็อาจจะเป็นการดีในเเง่ของความสะดวกรวดเร็วในการดูเเลรักษา ตัวเองเป็นเบื้องต้นครับเเต่ในทางตรงกันข้ามบางครั้งความถูกต้องในความเข้าใจของวิธีการใช้สินค้าสุขภาพเหล่านั้นก็ผิดเพี้ยนไป จนส่งผลย้อนกลับ ทางให้สุขภาพของคนที่ใช้สินค้านั้นๆ เเย่ลงอย่างไม่รู้ตัว           ผ้ารัดหัวเข่า หรือเสื้อรัดประคองหลัง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งครับ ที่เราอาจจะเคยเห็น คนรอบตัวเราใช้กันอยู่สม่ำเสมอ เเต่เพราะการใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี จึงทำให้มีคนจำนวนมากมายเกิดเป็นโรคเเทรกซ้อนบางอย่าง เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกระดูกสันหลังเสื่อม เข่าเสื่อม ง่ายกว่าคนปกติที่ไม่ได้ใส่ผ้ารัดเหล่านี้ครับ           นักกีฬามืออาชีพทั้งหลาย เวลาจะลงเล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะกันนั้น เขาจะต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกายไม่ว่าจะเป็น เสื้อเกราะสำหรับนักกีฬาอมริกันฟุตบอลใส่กันเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่กระดูกหน้าอก หรือนักฟุตบอลที่ต้องใส่ผ้ารัดหัวเข่าที่พันไว้รอบรอบหัวเข่า ป้องกันเข่าบิดงอลดโอกาสที่จะเกิดการบาดเข็บของกระดูกเเละการฉีกขาดของเอ็นทั้งหลายที่อยู่รอบเข่า           เเต่คนทั่วไปที่ไม่ค่อยชอบเล่นกีฬานั้น กล้ามเนื้อหลังจะมีความอ่อนเเอ เป็นทุนเดิมอยู่เเล้ว เวลาที่มีปัญหา ปวดหลังเเละแก้ปัญหา อย่างง่ายๆ เเต่ผิดวิธีครับ โดยการไปหา เสื้อเการะรัดหลังมาสวมใส่ ด้วยหวังว่า ผ้ารัดหลังนั้น จะไปช่วยทำให้ กล้ามเนื้อหลังทำงานน้อยลง เเละหายปวดหลังได้ หรือคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อม ในระยะเเรก นั้นจะมีภาวะที่กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนเเอลง เวลาเดินมาทั้งวันก็จะมีอาการเมื่อยล้าปวดเข่าเวลากลางคืน หลายคนที่ไม่ทราบความจริงจึงไปซื้อผ้ารัดหัวเข่ามาสวมใส่กันเอง เพราะคิดว่า จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวเข่าทำงานน้อยลง เเล้ว อาการปวดเข่าจะลดลง ตามไปด้วย           เมื่อใส่ใหม่ๆอาการปวดหลัง หรือปวดเข่าอาจจะลดลงครับ ในบางคนจึงเกิดอาการติดใจ ใส่บ่อยขึ้น เเละนานขึ้นตรงนี้เเหละครับที่จะเกิดปัญหาใหญ่หลวงตามมา เเละเเก้ไขยากมาก นั้นก็คือจะทำให้กล้ามเนื้อในส่วนที่สวมใส่เกิดภาวะอ่อนเเออย่างมาก …

โรคที่เกิดจากผ้ารัดเข่าและรัดหลัง (knee support and back support) Read More »

44 2

โรคท้าวแสนปม

โรคท้าวแสนปม เรียกว่า neurofibromatosis (NF) เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติที่กระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และผิวหนัง ความผิดปกติต่างๆ จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในรายที่รุนแรงจะมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และอาจเกิดเป็นมะเร็งได้โรคท้าวแสนปมแบ่งเป็นสองชนิดใหญ่ๆ ชนิดแรกเรียกว่า neurofibromatosis 1 (NF-1) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด บางครั้งอาจเรียกว่า peripheral NF ส่วนชนิดที่สอง เรียกว่า neurofibromatosis 2 (NF-2)หรือ central NF โรคท้าวแสนปมชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบบ่อย พบประมาณ 1 ใน 2,500 ถึง 3,500 คน สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยพบอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ใน 7 อาการ 1.ปานสีกาแฟใส่นมอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง2.พบก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง 2 ตุ่มขึ้นไป3.พบกระที่บริเวณรักแร้ หรือขาหนีบ4.พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา5.พบเนื้องอกของม่านตา 2 แห่งขึ้นไป6.พบความผิดปกติของกระดูก7.มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ 1. ปานสีกาแฟใส่นม           …

โรคท้าวแสนปม Read More »

43 2

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture

เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดในท่อปัสสาวะหรืออยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอุดกั้นของน้ำปัสสาวะ ซึ่งต่อมาจะเกิดการอักเสบ และการติดเชื้อตามมาในภายหลังโรคท่อปัสสาวะตีบเป็นปัญหาสำหรับผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้ชายมีความยาวมากกว่าของผู้หญิงมาก จึงเกิดพยาธิสภาพหรือเกิดภยันตรายได้ง่าย ท่อปัสสาวะแบ่งออกเป็นสามส่วน           ส่วนแรกเป็นท่อปัสสาวะที่ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะผ่านต่อมลูกหมาก เรียกว่า prostatic urethra          ส่วนที่สองเป็นกล้ามเนื้อเรียบทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหูรูดควบคุมการถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า membranous urethra ทั้งสองส่วนรวมกันมีความยาว 1-2 นิ้ว          ส่วนที่สามเรียกว่า bulbar urethra และ penile urethra เป็นส่วนของท่อปัสสาวะที่อยู่ภายในองคชาติ ส่วนที่สามนี้มีความยาว 9-10 นิ้ว สาเหตุ 1.เกิดจากอุบัติเหตุและภยันตรายต่อท่อปัสสาวะ2.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหนองใน (gonorrhea)3.กรณีท่อปัสสาวะส่วนด้านหลังตีบ อาจเกิดจากกระดูกเชิงกรานแตกหักจากอุบัติเหตุรถยนต์หรืออุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม4.เกิดจากการใส่สายสวนท่อปัสสาวะ5.ในบางรายเกิดภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก การผ่าตัดนิ่วในไต อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปริมาณน้ำปัสสาวะน้อย ไม่พุ่ง อาจพบเลือดในปัสสาวะ หรือปวดท้องได้ การวินิจฉัยโรค           แพทย์วินิจฉัยโรคจากลักษณะประวัติอาการและการตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบทางเดิน ปัสสาวะ การถ่ายภาพรังสี การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ และการตรวจโดยการส่องกล้อง การตรวจพิเศษทางรังสีที่เรียกว่า retrograde urethrogram ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างดีทำให้ทราบถึงจำนวน ตำแหน่ง ความยาว และความรุนแรงของการตีบ …

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture Read More »

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture

เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดในท่อปัสสาวะหรืออยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอุดกั้นของน้ำปัสสาวะ ซึ่งต่อมาจะเกิดการอักเสบ และการติดเชื้อตามมาในภายหลังโรคท่อปัสสาวะตีบเป็นปัญหาสำหรับผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้ชายมีความยาวมากกว่าของผู้หญิงมาก จึงเกิดพยาธิสภาพหรือเกิดภยันตรายได้ง่าย ท่อปัสสาวะแบ่งออกเป็นสามส่วน           ส่วนแรกเป็นท่อปัสสาวะที่ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะผ่านต่อมลูกหมาก เรียกว่า prostatic urethra          ส่วนที่สองเป็นกล้ามเนื้อเรียบทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหูรูดควบคุมการถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า membranous urethra ทั้งสองส่วนรวมกันมีความยาว 1-2 นิ้ว          ส่วนที่สามเรียกว่า bulbar urethra และ penile urethra เป็นส่วนของท่อปัสสาวะที่อยู่ภายในองคชาติ ส่วนที่สามนี้มีความยาว 9-10 นิ้ว สาเหตุ 1.เกิดจากอุบัติเหตุและภยันตรายต่อท่อปัสสาวะ2.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหนองใน (gonorrhea)3.กรณีท่อปัสสาวะส่วนด้านหลังตีบ อาจเกิดจากกระดูกเชิงกรานแตกหักจากอุบัติเหตุรถยนต์หรืออุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม4.เกิดจากการใส่สายสวนท่อปัสสาวะ5.ในบางรายเกิดภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก การผ่าตัดนิ่วในไต อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปริมาณน้ำปัสสาวะน้อย ไม่พุ่ง อาจพบเลือดในปัสสาวะ หรือปวดท้องได้ การวินิจฉัยโรค           แพทย์วินิจฉัยโรคจากลักษณะประวัติอาการและการตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบทางเดิน ปัสสาวะ การถ่ายภาพรังสี การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ และการตรวจโดยการส่องกล้อง การตรวจพิเศษทางรังสีที่เรียกว่า retrograde urethrogram ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างดีทำให้ทราบถึงจำนวน ตำแหน่ง ความยาว และความรุนแรงของการตีบ …

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture Read More »

42 2

โรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ

หรือที่เรียกว่า antibiotic-associated diarrhea เป็นโรคที่พบได้ประปรายในเวชปฏิบัติ และเป็นโรคที่มีความรุนแรงแตกต่างกันได้มาก ใน ร่างกายของคนปกติ จะพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดอาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งถือว่าเป็นจุลชีพเฉพาะถิ่น เชื้อพวกนี้อาศัยอยู่ในลำไส้โดยไม่ได้ก่อให้เกิดโรคแต่อย่างใด บางชนิดยังช่วยทำให้หน้าที่บางอย่างให้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็อาจพบการลุกลามของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งความรุนแรงของโรคอาจมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่แล้วการลุกลามของเชื้อโรคไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เนื่องจากในภาวะปกติร่างกายจะมีกลไกที่สามารถควบคุมเชื้อจุลชีพเฉพาะถิ่นไม่ ให้เจริญเติบโตมากเกินไป           แต่เมื่อกินยาปฏิชีวนะ สมดุลของร่างกายจะเปลี่ยนไป เนื่องจากยาปฏิชีวนะ จะทำลายแบคทีเรียที่เป็นจุลชีพเฉพาะถิ่นในลำไส้ ยาปฏิชีวนะจะทำลายเชื้อแบคทีเรียไปเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดภาวะเสียสมดุลของจุลชีพในลำไส้ ส่วนใหญ่ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นแค่อาการเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลว ซึ่งอาการถ่ายเหลวจะหายไปหลังจากหยุดยาปฏิชีวนะไม่นาน แต่ก็มีบางครั้งที่ยาปฏิชีวนะทำลายเชื้อแบคทีเรียไปมาก จนกระทั่งทำให้แบคทีเรียสายพันธุ์ที่ก่อโรคบางชนิดแบ่งตัวแพร่กระจายโดยร่างกายไม่สามารถควบคุมได้           เชื้อแบคทีเรียที่สำคัญชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า Clostridium difficile (C. difficile) สามารถเจริญเติบโตได้ดีมากในลำไส้แบคทีเรียชนิดนี้ สร้างสารทำลายผนังลำไส้ และทำให้ลำไส้อักเสบ ภาวะลำไส้อักเสบนี้เรียกว่า colitis อาการท้องเสียเป็นน้ำจะเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง และมีไข้ต่ำ ๆ อาจถ่ายเหลวจนกระทั่งผู้ป่วยตกอยู่ในภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย ในบางรายเชื้อแบคทีเรียทำ ให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญสองชนิด ชนิดเแรกเรียกว่า pseudomembranous colitis โดยเกิดเป็นพังผืดที่ผนังลำไส้ที่อักเสบ ชนิดที่สอง อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้ทะลุได้ซึ่งเป็นอันตรายมาก           …

โรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ Read More »

41 2

โรคติดเชื้อไวรัสฮันทาก่อให้เกิดลักษณะกลุ่มอาการทางเดินหายใจอย่างไร

โรคติดเชื้อไวรัสฮันทาก่อให้เกิดลักษณะกลุ่มอาการทางเดินหายใจอย่างไรผู้ป่วยจะเริ่มปรากฎอาการภายหลังได้รับเชื้อไวรัสฮันทา 1-3 สัปดาห์ โดยมีอาการไข้สูงหนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อต้นขา สะโพก กล้ามเนื้อหลัง และบริเวณหัวไหล่ อาการไข้หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมักจะรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรืออุจจาระร่วง ที่น่าสังเกตคือ มักจะไม่พบผื่นผิวหนัง ไม่พบจุดเลือดออกตามตัว และไม่มีอาการบวมรอบตาหรือแขนขา หลังจากนั้นภายใน 4-5 วันต่อมา ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ หอบเหนื่อย ต่อมาจะตามด้วยอาการปอดบวมน้ำ และภาวะช็อก ที่สำคัญความผิดปกติของปอดจะมีการลุกลามอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเป็นชั่วโมง           ในระยะที่เริ่มมีอาการของระบบทางเดินหายใจ การตรวจทางห้องปฎิบัติการจะแสดงถึงการรั่วของสารน้ำออกจากหลอดเลือด ตรวจพบความเข้มข้นของเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น ปริมาณของอัลบูมินในเลือดลดลง การตรวจเม็ดเลือดขาวพบว่า มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น การจำแนกประเภทของเม็ดเลือดขาว จะพบมีปริมาณของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลตัวอ่อนสูงขึ้น ร่วมกับพบมีตัวอ่อนของลิมโฟซัยท์ และมีการลดลงของเกร็ดเลือด การลดลงอย่างรวดเร็วของเกร็ดเลือดจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนจากระยะนำเข้าสู่ระยะปอดบวมน้ำ ในทางปฎิติแพทย์จะนึกถึงโรคนี้ในผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมน้ำ ซึ่งตรวจพบตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล ลิมโฟซัยท์ และมีการลดต่ำลงของเกร็ดเลือด           เชื้อไวรัสฮันทาสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 2-3 วันที่อุณหภูมิห้อง ไวรัสถูกทำลายโดยแสงแดด หรือรังสีอัลตราไวโอเล็ต การทำความสะอาดล้างถูหรือซักล้าง โดยใช้ผงซักฟอกตามปกติ …

โรคติดเชื้อไวรัสฮันทาก่อให้เกิดลักษณะกลุ่มอาการทางเดินหายใจอย่างไร Read More »

40 2

โรคติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล O104

เชื้ออีโคไล E.coli เชื้ออีโคไล E.coli เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ส่วนใหญ่ของเชื้ออีโคไลจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย มีบางสายพันธุ์ของเชื้ออีโคไล เช่น enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) สามารถก่อให้เกิดอาการที่รุนแรง เชื้อ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) ทำให้เกิดโรคโดยการสร้างและปล่อยสารพิษชื่อ Shiga toxin ซึ่งสามารถทำลายเม็ดเลือดแดงและไตได้ ตัวอย่างที่สำคัญของเชื้อสายพันธุ์ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) เช่น สายพันธุ์ E.coli O157:H7 และ E.coli serogroup O104 ที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุการระบาดที่เยอรมัน ณ ขณะนี้ องค์การอนามัยโลกระบุว่าในภูมิภาคยุโรปมีการรายงานผู้ป่วยกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย หรือ Haemolytic uraemic syndrome (HUS) และติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในเยอรมัน และอีก 10 ประเทศในภูมิภาคยุโรป ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่กลุ่มที่เรียกว่า Enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) หรือ อีโคไลชนิดร้ายแรง สามารถทำให้เลือดออกรุนแรง โดยสร้างพิษ Shiga toxins …

โรคติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล O104 Read More »

39 2

โรคติดเชื้อ (infectious diseases)

โรคติดเชื้อ (infectious diseases)หมายถึง โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรค การที่จะทำให้เกิดโรคมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ เช่นชนิดและปริมาณของเชื้อโรค ภูมิต้านทานของร่างกายผู้ป่วย ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นต้น บางครั้งเชื้อโรคก็ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ เช่น ภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ก็จะสามารถกำจัดเชื้อได้ แต่เมื่อร่างกายอ่อนแอลง เชื้อโรคก็จะก่อเหตุทันทีเชื้อโรค อาจเรียกได้หลายอย่างเช่น เชื้อจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ เชื้อจุลชีพ จุลชีพ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อโรค เรียกว่า จุลชีววิทยา ซึ่งแบ่งออกเป็นแขนงย่อยๆ อีกมากมายหลายแขนง           เชื้อโรคบางชนิดไม่สามารถก่อให้เกิดโรค ขณะที่ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ แต่เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อเหล่านั้นกลับกลายเป็นเชื้อก่อโรคได้ทันที กระบวนการติดเชื้อเป็นปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นกับว่าร่างกายสามารถตอบโต้หรือจัดการกับเชื้อโรคได้หรือไม่เชื้อโรคที่เรียกว่า จุลชีพประจำถิ่น อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์โดยไม่ทำให้เกิดโรค เช่น ในลำไส้นอกจากจะช่วยผลิตสารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคได้ด้วย หลักการวินิจฉัยโรคติดเชื้อ 1.โรคติดเชื้ออาจเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย หรืออาจเกิดขึ้นทั่วร่างกายก็ได้ ลักษณะอาการของโรคติดเชื้อที่มักเกี่ยวข้องกับอวัยวะหลักๆ ได้แก่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อระบบประสาท โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อของกระดูกและข้อ โรคติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน เป็นต้น2.การวินิจฉัยโรคติดเชื้อต้องกระทำอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากมีผลต่อการวางแผนการรักษาอย่างมาก ความล่าช้าในการวินิจฉัยโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผล3.วิธีเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้อ ต้องกระทำอย่างถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิกการเก็บตัวอย่าง การดูแลเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ การขนส่งเคลื่อนย้ายไปยังห้องปฏิบัติการ4.แพทย์ต้องใช้ลักษณะประวัติอาการเจ็บป่วยเป็นข้อมูลสำคัญในการวินิจฉัยเบื้องต้น รวมทั้งการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ทุกซอกทุกมุมของร่างกาย บางครั้งการตรวจผลความผิดปกติเพียงตำแหน่งเดียวอาจช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมาก5.ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์ของพยาธิสภาพ และผลแทรกซ้อนจากการติดเชื้อชนิดต่างๆ …

โรคติดเชื้อ (infectious diseases) Read More »

38 2

โรคติ๊ก (TICS)

โรคติ๊ก เป็นโรคของการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อผิดปกติ พบในวัยเด็ก อายุประมาณ 7 ปี มีอาการกล้ามเนื้อกระตุกบริเวณใบหน้า คอ ไหล่ แขนและมือ อาการเป็นๆ หายๆ จะเป็นมากเวลาเครียดหรือวิตกกังวล เวลานอนหลับอาการจะหายไป เด็กจะควบคุมตัวเองไม่ให้เกิดอาการได้ชั่วคราว แต่พอเผลอก็จะมีอาการขึ้นมาอีกโดยที่เด็กไม่ได้ตั้งใจทำ บางครั้งอาการอาจมีมากจนทำให้เด็กมีเสียงพูด เป็นคำๆ หรือเป็นเสียงสะอึก บางทีเป็นคำหยาบร่วมกับอาการกล้ามเนื้อกระตุก           โรคนี้มักเป็นเองหายเองภายใน 1 ปี ถ้าพ่อแม่หรือครูพบว่าเด็ก เป็นควรจะทำเฉยๆ ไม่สนใจ อย่าให้เพื่อนสนใจหรือล้อเลียน ไม่ควรดุว่าหรือลงโทษรุนแรง เพราะจะยิ่งทำให้อาการมากขึ้น ถ้ามีอาการเกิน 1 ปี หรือมีเสียงดังร่วมด้วย ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็ก โรคนี้มียาช่วยรักษาให้หายขาดได้ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

37 2

โรคต่างๆ ที่เกิดในผู้สูงอายุ

ปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถือว่าเป็นกลุ่มประชากรที่มีอัตราการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ปัญหาทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญมากขึ้น ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเกิดจากการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โรคที่พบบ่อยคือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะทุพลภาพ ต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและผู้ที่ต้องดูแลรักษา นอกจากนี้แล้วภาวะหรือโรคบางอย่างจะมีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญและรุนแรงขึ้น เช่น โรคสมองเสื่อม โรคกระดูกพรุน โรคขาดสารอาหารบางชนิด นอกจากภาวะทางกายแล้ว ภาวะทางจิตใจก็มีผลต่อการดำรงชีวิต ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ สาเหตุมีมากมายอาจเกิดจากภาวะผิดปกติทางกาย ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรืออาจเกิดจากการที่ต้องอยู่คนเดียวตามลำพัง           ดังนั้น การตรวจร่างกายประจำปีจึงมีความสำคัญในผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงโรคต่างๆ ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพ ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลในเรื่องการออกกำลังกายเป็นประจำ การได้รับสารอาหารให้ครบถ้วน การมีกิจกรรมทางสังคม และการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ควรมีแพทย์หรือพยาบาลประจำตัวเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพ และมีที่พึ่งพิงเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย ที่มา : นพ. ถนัด ไพศาขมาศ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

36 2

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส

“โรคตาแดง” ในความหมายโดยทั่วไปคือ อาการที่เยื่อบุตาขาวเปลี่ยนเป็นสีแดง ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของเส้นเลือดใต้เยื่อบุตา (conjunctiva) เนื่องจากการอักเสบ โรคตาแดงอาจจะเป็น แบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง โรคตาแดงนี้สามารถพบได้ตลอดปี และจะระบาดได้เป็นช่วงๆ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ด้วยเหตุที่ ฝนตกก่อให้เกิดความชื้นแฉะทั่วๆ ไป ทำให้เชื้อไวรัสบางตัว เจริญงอกงามก่อโรคแก่พวกเราขึ้น ส่วนใหญ่โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เยื่อบุตาอักเสบ เพราะเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย เพศชายและเพศหญิงพบได้เท่าๆ กัน เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับหวัด ใครจะเป็นก็ได้ แต่เนื่องจากในเด็กมีภูมิคุ้มกันน้อย ร่วมกับการดูแลตนเอง หรือการป้องกันการติดเชื้อไม่ดีพอ จึงทำให้เป็นโรคตาแดง ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ตาแดงเป็นอาการแสดงออกของโรคตาและโรคอื่นๆหลายชนิด ส่วนจะเป็นโรคอะไรนั้น คงต้องอาศัยคุณหมอช่วยวินิจฉัยกันอีกทีค่ะ สาเหตุของตาแดง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่หลายชนิด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อที่มีชื่อว่า อะดิโนไวรัส (Adenovirus) และส่วนน้อยเกิดจากเชื้อ พิโคร์นาไวรัส (Picornavirus) เป็นต้น มีการตรวจพบเชื้อไวรัสหลายตัวด้วยกันประมาณกันว่า 2-4 ตัว ทั้งหมดให้อาการของโรคคล้ายคลึงกัน อาศัยอาการจึงไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสตัวไหน ดังนั้นในคนหนึ่งคนจึงเป็นโรคตาแดงชนิดนี้แล้วเป็นได้อีก หรือทำไมจึงไม่มีภูมิคุ้มกันดังเช่น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่น ตัวอย่างเช่นเป็นโรคหัด หรืออีสุกอีใส ในตอนเด็ก คนนั้นจะไม่เป็นโรคอีกเลยตลอดชีวิต แต่โรคตาแดงระบาด …

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส Read More »

Scroll to Top