62 2

โรคมะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer)

โรคมะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer) พบได้น้อยโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยวัยอายุไม่มาก แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี จะพบว่าโรคมะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ชายช่วงอายุนี้ข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยโรคมะเร็งอัณฑะร้อยละ 1 ของผู้ป่วยชายที่เป็นโรคมะเร็งทั้งหมด แต่ละปีมีผู้ป่วยประมาณ 7,400 ราย พบได้บ่อยในผู้ชายผิวขาว ระยะหลังพบผู้ป่วยโรคมะเร็งอัณฑะมากขึ้น โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด สาเหตุ ปัจจัยทางพันธุกรรม ประวัติการมีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งอัณฑะ ประวัติการเป็นมะเร็งที่อัณฑะข้างหนึ่ง จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะตรวจพบมะเร็งที่ลูกอัณฑะอีกข้าง ภาวะที่ลูกอัณฑะไม่เคลื่อนลงสู่ถุงอัณฑะ เรียกว่าundescended testicle (cryptorchidism) เกี่ยวข้องกับยาฆ่าแมลง พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งอัณฑะตรวจพบระดับ DDE สูงกว่าปกติ โดย DDEเป็นสารที่เปลี่ยนแปลงมาจาก DDT ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สั่งระงับการใช้ไปแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ.1973 ผลการศึกษาพบว่าโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.7 เท่า รายงานผลการวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าพนักงานดับเพลิงมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งอัณฑะสูงกว่าคนธรรมดาหนึ่งเท่าตัว จากการคลุกคลีกับสารเบนซิน โคโรฟอร์ม และเขม่า และยังมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เสี่ยงกับการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและเนื้องอกไขกระดูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับผู้ประกอบอาชีพอื่นและพลเมืองทั่วไป อาการ อาการแสดงของมะเร็งลูกอัณฑะ นอกจากจะ คลำก้อนหรือมีอาการบวมของลูกอัณฑะแล้ว ยังอาจจะมีอาการปวดและกดเจ็บ และคนไข้จะรู้สึกตึงหนักๆ บริเวณลูกอัณฑะ การคลำพบก้อนผิดปกติด้วยตนเองซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการเจ็บปวด …

โรคมะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer) Read More »

61 1

โรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง (skin allergy)

เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้กลไกต่างๆ กัน ที่พบได้บ่อยมี 3 โรค ได้แก่ ลมพิษ ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดสัมผัส และผื่นผิวหนังอักเสบอะโทปิก ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่ผิวหนังจะมีอาการคันมาก เนื่องจากอาการคันเป็นผลจากสารฮิสตามีนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแพ้ การค้นหาสาเหตุที่แพ้บางครั้งอาจทำได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นชนิดเรื้อรัง ถ้าตรวจพบสาเหตุ ผลการรักษาจะดีขึ้นกว่าในรายที่ไม่พบสาเหตุ 1.ลมพิษ (urticaria/hives)มักจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นราว 3-4 ชั่วโมง และไม่เกิน 24 ชั่วโมง ก็จะจางหายไป ถ้าสาเหตุของลมพิษยังไม่ถูกกำจัดออกไป โอกาสที่จะเป็นอีกก็จะมีสูง และบางรายเป็นๆ หายๆ อยู่ตลอดเวลา ลมพิษที่เกิดขึ้นแล้วเป็นๆ หายๆ นานเกิน 6 สัปดาห์ เรียกว่า ลมพิษชนิดเรื้อรัง สาเหตุที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ อาหารทะเล เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้บางชนิด นมเนย รวมทั้งยากันบูดและสีผสมอาหาร ยาบางอย่างก็เป็นสาเหตุด้วย ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบของกระดูกและข้อ ยาระบาย ยาแก้ปวดนอกจากนี้ ลมพิษอาจเกิดจากการติดเชื้อเรื้อรังของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเช่น ฟันผุ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและในช่องคลอด สำหรับสารระเหยและละอองเกสรที่ได้รับโดยการหายใจ การกดรัดที่ผิวหนัง หรือ ปฏิกิริยาอิมมูนก็เป็นสาเหตุของลมพิษได้ ลมพิษพบได้ทุกอายุ …

โรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง (skin allergy) Read More »

60 2

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเกิดจากเชื้อไวรัสรูปร่างคล้ายกระสุนปืน ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สุนัข แมว ลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว โรคนี้เมื่อเป็นแล้วจะทำให้มีอาการทางประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง และถ้าเป็นแล้วเสียชีวิตทุกราย ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าถูกทำลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ความแห้ง แสงแดด ยาฆ่าเชื้อพวกคลอรีน แอลกอฮอล์ กรดหรือด่างอย่างแรง โรคพิษสุนัขบ้าเกิดขึ้นได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี กระรอก กระแต เสือ หมี หนู ค้างคาว รวมทั้งคน แต่ในประเทศไทยพบมากที่สุดในสุนัข ประมาณร้อยละ 96 ของจำนวนที่พบเชื้อจากการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ รองลงมา คือ แมว ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าปีละกว่า 30,000 คน ในทวีปเอเซียมักมีสุนัขเป็นสัตว์นำโรคที่สำคัญ ปัจจุบันในทวีปยุโรปยังมีปัญหาในสัตว์ป่า เช่น สุนัขจิ้งจอก ยังพบมีรายงานโรคนี้ในค้างคาวในเดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ และเยอรมันตะวันตก ส่วนในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ยังมีปัญหาโรคนี้ในสัตว์ป่า …

โรคพิษสุนัขบ้า Read More »

59 2

โรคพาร์กินสัน (Parkinsons disease)

ในปัจจุบันนี้มีความตื่นตัวในโรคพาร์กินสันเป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่มีผู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอาทิเช่น ดาราภาพยนตร์ชื่อดังของฮอลลีวู้ดซึ่งได้แก่ ไมเคิร์ล เจ ฟ็อกซ์ นักมวยชื่อก้องโลกอย่าง โมฮัมเหม็ด อาลี หรือแม้กระทั่งสันตะปาปา โป๊ปจอนห์ พอลที่/2 ที่ล่วงลับไปแล้วต่างก็ออกมาเปิดเผยว่าป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน และได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุของโรคพาร์กินสันและการรักษาขึ้นมาด้วย เนื่องในวันพาร์กินสันโรค ที่จะมาถึงในวันที่ 11 เมษายน 2555 นี้ จึงอยากนำเสนอบทความที่ให้ความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับการรักษา ทั้งจากทางการใช้ยาใหม่ๆ และการผ่าตัดสมอง หรือการผ่าตัดสอดสายเข้าลำไส้เล็กเพื่อปลดปล่อยยาอย่างสม่ำเสมอโดยใช้เครื่องปั้มยาช่วย           มีการคาดการว่าโดยทางสถิติน่าจะมีผู้ป่วย ป่วยด้วยโรคนี้ในประเทศไทย ประมาณ 40,000 ถึง 50,000 คน โดยบางส่วนอาจยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ตลอดจนยังไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธี อาการของโรคพาร์กินสัน อาการหลักของโรคพาร์กินสันประกอบด้วย 4 อาการหลัก ได้แก่ 1.อาการสั่น (Rest Tremor)2.อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle rigidity)3.อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia)4.อาการสูญเสียการทรงตัว (Postural instability)โดยอาการที่อาจพบร่วมด้วยได้แก่อาการน้ำลายไหล เขียนตัวหนังสือเล็ก เดินไม่แกว่งแขน เดินซอยเท้า เท้าติด ยกเท้าลำบาก หกล้มบ่อย พูดเสียงเบาๆอยู่ในลำคอ นอนไม่หลับ …

โรคพาร์กินสัน (Parkinsons disease) Read More »

58 2

โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (inherited metabolic disorders)

ที่ “น้องกัน” และ “น้องกี้” ป่วย และเสียชีวิตไปแล้วตามที่ปรากฎเป็นข่าวนั้น เป็นโรคที่เกิดจากระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายบกพร่อง เมื่อระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานไม่สมบูรณ์ จึงส่งผลให้เกิดการตกค้างของสารอาหารที่รับประทานเข้าไป และกลายเป็นสารพิษในที่สุด ซึ่งอาการของโรคจะเริ่มแสดง เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง และสภาพร่างกายของเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้ หน้าตาจะผิดรูปผิดร่างไม่เหมือนเด็กปกติทั่วไป ขนตายาว คิ้วดก ดั้งจมูกแบน ลิ้นจุกปาก ตับ และม้ามโต ท้องป่อง ตัวเกร็ง หลังแอ่น ดวงตาปูดโปน และอายุสั้น แม้โรคที่ว่านี้จะไม่ได้พบอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่ก็มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้อยู่จำนวนไม่น้อย โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก           โรคพันธุกรรมเมตาบอลิคมีหลายร้อยโรคด้วยกัน และเป็นที่ยอมรับว่าอุบัติการของโรคกลุ่มนี้มักจะน้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการวินิจฉัยโรคทำได้ด้วยความยากลำบาก การวินิจฉัยทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากแต่ละโรคพบได้น้อย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเมื่ออาการมากแล้ว หรือเมื่อได้ทำการวินิจฉัยแยกโรคที่พบได้บ่อยออกไปแล้ว การตรวจทางห้องปฎิบัติการโดยเฉพาะการตรวจเลือด และปัสสาวะเบื้องต้น มักไม่ค่อยบอกโรคชัดเจนในทารกแรกเกิดซึ่งมีโอกาสพบโรคกลุ่มนี้ได้บ่อย มักจะมีการตอบสนองต่อความเจ็บป่วยรุนแรงอย่างมีขีดจำกัด หรือแสดงอาการไม่เฉพาะเจาะจง ยากแก่การวินิจฉัยในเบื้องต้นส่วนใหญ่กุมารแพทย์คิดถึงโรคกลุ่มนี้ในบางภาวะเท่านั้น เช่น ภาวะปัญญาอ่อน หรือชักที่คุมได้ยาก ทำให้อาจมองข้ามอาการแสดงบางอย่างที่เป็นเงื่อนงำสำคัญในการวินิจฉัยโรค สาเหตุ           โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกเป็นโรคพันธุกรรมกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว โดยพบความผิดปกติของการเรียงลำดับของเบส ก่อให้เกิดความผิดปกติของการสร้างโปรตีน เช่น เอนไซม์ โปรตีนตัวรับ โปรตีนขนส่ง …

โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (inherited metabolic disorders) Read More »

57 2

โรคพยาธิแคปิลลาเรีย

พยาธิแคปิลลาเรีย (Capillaria philippinensis) เป็นพยาธิตัวกลมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก ทำให้เกิดท้องร่วงรุนแรงและเรื้อรัง Chitwood และคณะได้รายงานพยาธิเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2506 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ถือเป็นรายแรกในโลก สี่ปีต่อมา ระหว่างปี พ.ศ.2510 ถึง พ.ศ.2512 ได้เกิดการระบาดใหญ่บนเกาะลูซอนในประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้ป่วยติดเชื้อชนิดนี้มากกว่า 1000 ราย และเสียชีวิตร้อยละ 30           ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการท้องร่วงเรื้อรัง ซูบผอม และขาดอาหารอย่างรุนแรง จนถึงกับเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษา โรคนี้มีรายงานพบเฉพาะในทวีปเอเชีย เช่นประเทศฟิลิปปินส์ ไทย และญี่ปุ่น และเร็วๆนี้มีรายงานจากประเทศอิหร่านในประเทศไทยมีการพบครั้งแรกเมื่อปี 2516 ที่ อ.บางพลีจ.สมุทรปราการ และในปี 2524 มีรายงานการระบาดที่ อ.บึงไพร จ.ศรีสะเกษ พบผู้ป่วยนับ 100 ราย และมีผู้เสียชีวิต 9 ราย จากนั้นก็ยังมีรายงานการพบผู้ป่วยโรคพยาธิแคปิลลาเรียเป็นระยะในทุกภาคของ ประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 มีรายงานการระบาดของโรคท้องร่วงเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิแคปิลลา เรียครั้งแรกในไทย ที่หมู่บ้าน …

โรคพยาธิแคปิลลาเรีย Read More »

56 3

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis)

เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคติดต่อ มักเริ่มพบในวัยเด็ก โดยพบประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 70 เช่น ประวัติว่าพ่อแม่เป็นหืดหอบ ลมพิษ หรือน้ำมูกไหลเพราะแพ้อากาศ           โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ พบบ่อยในเด็ก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ ผู้ป่วยมักมีประวัติเยื่อบุตาอักเสบ แพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หรือหอบหืด โดยเฉพาะเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ตอนเช้ามืดคนในครอบครัวผู้ป่วยมักมีประวัติโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ แพ้อากาศ ไอจามบ่อยๆ หอบหืด หรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหาร หรือสารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากผิวหนังของผู้ป่วยไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งสภาพร้อน เย็น แห้ง ชื้น เชื้อโรค และสารเคมีที่ระคายผิวหนัง อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเลยก็เป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะความผิดปกติซ่อนเร้นอยู่ในยีนของครอบครัวผู้ป่วยโดยไม่เกิดอาการก็ได้ โรคนี้แบ่งลักษณะตามช่วงอายุได้เป็น 3 ช่วง 1.ช่วงวัยทารก เริ่มมีอาการคัน และผื่นขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ อาการคันอาจเป็นมากจนเด็กอายุถึง 2 ขวบ พบเป็นผื่นที่แก้มทั้ง 2 ข้าง หรือตามด้านนอกของแขน …

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis) Read More »

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis)

เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคติดต่อ มักเริ่มพบในวัยเด็ก โดยพบประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 70 เช่น ประวัติว่าพ่อแม่เป็นหืดหอบ ลมพิษ หรือน้ำมูกไหลเพราะแพ้อากาศ           โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ พบบ่อยในเด็ก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ ผู้ป่วยมักมีประวัติเยื่อบุตาอักเสบ แพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หรือหอบหืด โดยเฉพาะเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ตอนเช้ามืดคนในครอบครัวผู้ป่วยมักมีประวัติโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ แพ้อากาศ ไอจามบ่อยๆ หอบหืด หรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหาร หรือสารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากผิวหนังของผู้ป่วยไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งสภาพร้อน เย็น แห้ง ชื้น เชื้อโรค และสารเคมีที่ระคายผิวหนัง อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเลยก็เป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะความผิดปกติซ่อนเร้นอยู่ในยีนของครอบครัวผู้ป่วยโดยไม่เกิดอาการก็ได้ โรคนี้แบ่งลักษณะตามช่วงอายุได้เป็น 3 ช่วง 1.ช่วงวัยทารก เริ่มมีอาการคัน และผื่นขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ อาการคันอาจเป็นมากจนเด็กอายุถึง 2 ขวบ พบเป็นผื่นที่แก้มทั้ง 2 ข้าง หรือตามด้านนอกของแขน …

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis) Read More »

55 2

โรคผิวหนังอักเสบ eczema

โรคผื่นผิวหนังอักเสบ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Eczema หรือ Dermatitis จัดเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง และมีชื่อเรียกได้ต่างๆ กันไป กลไกการเกิดโรค           พบว่าเกิดปฏิกิริยาการอักเสบขึ้นที่ผิวหนังตำแหน่งต่างๆ เช่น ใบหน้า แขนขา ลำตัว มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี ปฏิกิริยาอักเสบที่เกิดขึ้นในคนหนึ่งอาจแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ได้ สาเหตุ การอักเสบของผิวหนังเกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลาย สารหลายชนิดเป็นต้นเหตุที่สำคัญ ในบางรายอาจตรวจไม่พบสารที่เป็นสาเหตุ เมื่อเกิดการอักเสบจะแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้แล้วแต่ระยะของโรค เช่น เป็นชนิดเฉียบพลัน หรือชนิดเรื้อรัง โดยทั่วไปสามารถแบ่งตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคออกเป็นสองประเภท สาเหตุจากภายนอกร่างกาย และสาเหตุจากภายในร่างกาย สาเหตุจากภายนอกร่างกาย เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารเคมีที่สัมผัสผิวหนัง ส่วนมากเป็นสารที่พบเห็นหรือสัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวัน ประเภทเครื่องใช้ประจำวัน เครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น บางครั้งจึงอาจเรียกว่าผื่นระคายสัมผัส โรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม มักเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กๆ และเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาภูมิไวเกินของร่างกาย การวินิจฉัยโรคผื่นระคายสัมผัส           ผื่นระคายสัมผัสเกิดจากสาเหตุจากภายนอกร่างกาย โดยส่วนใหญ่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารเคมีที่สัมผัสผิวหนัง ส่วนมากเป็นสารที่พบเห็นหรือสัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวัน ประเภทเครื่องใช้ประจำวัน เครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น ผื่นชนิดนี้พบได้บ่อยมากและมักจะตรวจหาสาเหตุได้โดยการวินิจฉัยสาเหตุอาศัยการทดสอบภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Patch test เป็นการทดสอบที่ง่ายไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด ผื่นสัมผัสนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะสารที่เป็นสาเหตุอาจมาจากการประกอบอาชีพ เช่นโลหะ,ผลิตภัณฑ์ยาง, กาว …

โรคผิวหนังอักเสบ eczema Read More »

54 2

โรคประสาทวิตกกังวล : (การรักษา)

การรักษาโรคประสาทวิตกกังวล มี 2 วิธี คือ วิธีการที่ไม่ใช้ยาและวิธีการที่ใช้ยา           สำหรับการรักษาแบบไม่ใช้ยา จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อที่จะคิคได้ดี มองโลกในแง่ดี รู้จักการเผชิญปัญหาแบบที่ไม่เคร่งเครียดแบบเดิม มีวิธีการตรวจสอบความคิดและการประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และมีโอกาสได้ระบายอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งฝังอยู่ในจิตใจส่วนลึกออกมา รู้จักการผ่อนคลายความคิดตนเอง ทำให้จิตใจสงบด้วยตนเองได้ ผู้ป่วยจะกลับไปดำเนินชีวิตด้วยวิธีการใหม่ๆ ซึ่งสามารถต่อสู้กับปัญหาได้ดีกว่าเดิม การรักษาแบบไม่ใช้ยานี้อาจทำเป็นรายบุคคล หรือ ทำเป็นกลุ่มก็ได้ เรียกการรักษาแบบนี้ว่า”จิตบำบัด”           ส่วนการรักษาแบบใช้ยา แพทย์อาจจะสั่งยาเพื่อช่วยรักษาโรคนี้ โดยฤทธิ์ของยาจะช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวล หรือ อาการทางร่างกายอื่นๆ ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

53 1

โรคประสาทซึมเศร้า

โรคประสาทซึมเศร้า เป็นโรคประสาทชนิดหนึ่งซึ่งมีอาการเด่น คือ อารมณ์ซึมเศร้า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีบุคลิกภาพเดิมไม่ดีนัก เช่น เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ขี้น้อยใจ ทักษะสังคมต่ำ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน จะเกิดความรู้สึกอึดอัดไม่พอใจ เสียใจกับการกระทำของบุคคลอื่นตลอดเวลา จนเกิดมีอาการเครียด กังวล เบื่อหน่าย ท้อแท้ โกรธคนอื่นที่ไม่ทำอย่างที่ตนเองต้องการ อาจจะมีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หงุดหงิด และคิดอยากตายได้ อาการของโรคประสาทซึมเศร้า มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่วัยหนุ่มสาว และเป็นเรื้อรังต่อเนื่องไปตลอดชีวิต สาเหตุมักเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมมาตั้งแต่เด็ก โรคประสาทซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษายาก จิตแพทย์จะช่วยได้โดยการให้จิตบำบัด และอาจมีการให้ยารับประทานร่วมด้วย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

4 2

โรคบุคลิกภาพผิดปกติ : (ลักษณะ)

โรคบุคลิกภาพผิดปกติ คือโรคที่แสดงอาการของบุคลิกภาพของตนแตกต่างไปจากคนอื่นทั่วๆไปอย่างมาก ทำให้มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น           อาการของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ จะแสดงออกเป็นพฤติกรรมซึ่งมีความแปลก แตกต่างไปจากคนปกติทั่วไป เช่น เก็บตัวแยกตัว , หวาดระแวง , ทำอะไรแปลกๆ , ต่อต้านกฏเกณฑ์และละเมิดสิทธิบุคคลอื่น อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ตามเหตุการณ์ , เรียกร้องเอาแต่ใจ, เห็นตนเองดีเด่นกว่าคนอื่นๆ และเหยียบย่ำทับถมคนอื่น ,พึ่งพิงคนอื่นมาก, หลีกเลี่ยงปัญหา , เจ้าระเบียบและดื้อเงียบ แต่ละแบบจะมีความแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับการถูกเลี้ยงดูมาในวัยเด็ก           คนที่เป็นโรคบุคลิกภาพผิดปกติ มักจะไม่มีความรู้ตัวว่าตนเองบกพร่อง แต่จะมองว่าคนอื่นผิดปกติ เมื่อมีปัญหาหรือความขัดแย้งกัน ก็จะเพ่งโทษไปสู่บุคคลอื่น ไม่รู้จักพิจารณาตนเอง ทำให้คนใกล้ชิดเบื่อหน่าย ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมหรือสนิทสนมด้วย โรคนี้จะทำให้คนที่เป็น ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ยาก เมื่อจำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ มักจะเกิดอาการทางจิตเวชอื่นๆ เช่น วิตกกังวล ,ซึมเศร้า ,หรืออาการโรคจิตได้ง่าย           บุคลิกภาพผิดปกติเป็นโรคที่รักษาได้ยาก ควรจะป้องกันตั้งแต่เด็กๆ โดยให้การเลี้ยงดูอย่างถูกต้องและเหมาะสม ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

52 2

โรคบิดชิเกลล่า (shigellosis)

ในระยะเริ่มแรก อาจมีอาการถ่ายเป็นน้ำอย่างรุนแรง จนเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดกับเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ พบในคนทุกเพศทุกวัย สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารสุก ไม่มีแมลงวันตอม และดื่มน้ำสะอาด โรคแทรกซ้อนอื่นๆ พบได้น้อย เช่น เชื้อแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดทำให้เกิดโรคข้ออักเสบเฉียบพลัน หรืออาจทำให้ลำไส้อักเสบรุนแรงจนลำไส้ทะลุ ทำให้เยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบ โรคนี้ปัจจุบันเรียกว่า “บิดชิเกลล่า” ซึ่งเรียกทับศัพท์อังกฤษตามชื่อเชื้อที่เป็นสาเหตุ ในสมัยก่อนการวินิจฉัยโรคอาศัยการตรวจหาเชื้อในอุจจาระด้วยการส่องตรวจด้วย กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ถ้าเกิดจากเชื้ออะมีบา ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว สามารถมองเห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์ จึงเรียกว่า บิดมีตัว แต่ถ้าเกิดจากเชื้อบิดชิเกลล่า ซึ่งเป็นแบคทีเรียขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คือตรวจไม่พบตัวเชื้อ จึงเรียกว่า บิดไม่มีตัว          โดยทั่วไป “โรคบิด” หมายถึง อาการถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดกะปริดกะปรอยบ่อยครั้ง ส่วน “โรคท้องเสีย” หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ตาม นิยาม และความหมายขององค์การอนามัยโลก หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวหรือมีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายมีมูกเลือด 1 ครั้ง ในเวลา 1 วัน กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นโรคท้องเสีย …

โรคบิดชิเกลล่า (shigellosis) Read More »

51 2

โรคนิ่ว

โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะเป็นชื่อรวมของนิ่วที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะแบ่งตามตำแหน่งที่อยู่ของนิ่ว ได้แก่ นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ โรคนิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งถ้านิ่วมีขนาดเล็กก็จะหลุดออกมาเองได้ตอนผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โรคนิ่วไตในคนไทยพบว่ามีอุบัติการณ์การเป็นนิ่วซ้ำสูงมาก ทำให้ทั้งผู้ป่วย และภาครัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา และป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำสูงมาก ดังนั้นโรคนิ่วไตจึงจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยเป็นอย่างยิ่ง           โรคนิ่วมีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือนิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนิ่วทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในส่วนประกอบ สาเหตุ รวมทั้งการดูแลรักษา แต่ที่เรียกว่านิ่วเหมือนกัน อันนี้คงเป็นเพราะว่า ลักษณะที่เห็นนั้น เป็นก้อนคล้ายหินเหมือนกัน เวลาพูดถึงโรคนิ่ว จึงต้องรู้ว่าเป็นนิ่วที่ไหน โรคนิ่วเป็นโรคที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ได้มีรายงานพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในโครงกระดูกศพมัมมี่ของประเทศอียิปต์   ปัจจุบันโรคนิ่วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และอุบัติการณ์โรคนิ่วไตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคนิ่วไตสูงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุ 1.เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมตาบอลิซึมของร่างกายแต่ละคน ปัจจัยทางพันธุกรรม …

โรคนิ่ว Read More »

โรคนิ่ว

โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะเป็นชื่อรวมของนิ่วที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะแบ่งตามตำแหน่งที่อยู่ของนิ่ว ได้แก่ นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ โรคนิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งถ้านิ่วมีขนาดเล็กก็จะหลุดออกมาเองได้ตอนผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โรคนิ่วไตในคนไทยพบว่ามีอุบัติการณ์การเป็นนิ่วซ้ำสูงมาก ทำให้ทั้งผู้ป่วย และภาครัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา และป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำสูงมาก ดังนั้นโรคนิ่วไตจึงจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยเป็นอย่างยิ่ง           โรคนิ่วมีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือนิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนิ่วทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในส่วนประกอบ สาเหตุ รวมทั้งการดูแลรักษา แต่ที่เรียกว่านิ่วเหมือนกัน อันนี้คงเป็นเพราะว่า ลักษณะที่เห็นนั้น เป็นก้อนคล้ายหินเหมือนกัน เวลาพูดถึงโรคนิ่ว จึงต้องรู้ว่าเป็นนิ่วที่ไหน โรคนิ่วเป็นโรคที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ได้มีรายงานพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในโครงกระดูกศพมัมมี่ของประเทศอียิปต์   ปัจจุบันโรคนิ่วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และอุบัติการณ์โรคนิ่วไตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคนิ่วไตสูงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุ 1.เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมตาบอลิซึมของร่างกายแต่ละคน ปัจจัยทางพันธุกรรม …

โรคนิ่ว Read More »

Scroll to Top