77 2

โรคฮิต ฤดูฝน ตอนที่ 2 : โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคพบบ่อยช่วงฤดูฝน ตอนที่ 1 ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพได้แนะนำโรคติดต่อที่เกิดจากยุงกันไปแล้ว สำหรับตอนที่ 2 นี้ จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยได้ประกาศเตือนประชาชนทั้งหมด 5 โรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด โรคไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) และ โรคตับอักเสบ (Hepatitis) จากสถิติเมื่อปี พ.ศ. 2556 โรคติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เนื่องจากในฤดูฝนมีความชื้นในอากาศมากทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อ ได้ดี อีกทั้งน้ำที่ใช้บริโภคอุปโภคอาจไม่สะอาดจึงมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคได้ เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารได้ง่าย ดังนั้นจึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือและป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารกันครับ 1. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวกว่าปกติเกิน 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกปนเลือด 1 ครั้งต่อวัน โดยอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจถ่ายบ่อยมากถึงกว่า 20 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้จะต้องที่ไม่เคยมีอาการถ่ายเหลวเป็นๆ …

โรคฮิต ฤดูฝน ตอนที่ 2 : โรคระบบทางเดินอาหาร Read More »

76 2

โรคอาหารเป็นพิษ

โครงการศึกษาคุณภาพความปลอดภัยของส้มตำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำการสำรวจส่วนประกอบที่ใช้ในการทำส้มตำและส้มตำปรุงสำเร็จรวม ทั้งสิ้น 202 ตัวอย่าง ตรวจโดยชุดทดสอบอาหารและวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์ ผลปรากฏว่าในจำนวนตัวอย่าง 202 ตัวอย่าง ไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 21.7 พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษและสุขลักษณะที่ไม่ดีในส้มตำปรุงสำเร็จสูงถึงร้อยละ 67 สำหรับวัตถุดิบที่ประกอบส้มตำ พบสีในกุ้งแห้งสูงถึงร้อยละ 95 พบสารอะฟลาทอกซินที่ทำให้เกิดมะเร็งตับเกินมาตรฐานในถั่วลิสงคั่วร้อยละ 15 และตรวจพบยาฆ่าแมลงในพริกขี้หนูจำนวนหนึ่ง ภาวะอาหารเป็นพิษ หรือที่เรียกว่า “food poisoning” จัด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในอาหารพบว่าเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ “ซัลโมเนลลา” salmonella และ “แคมไพโรแบคเตอร์” campylobacter เป็นเชื้อก่อเหตุที่สำคัญที่สุดของภาวะอาหารเป็นพิษ ทั้ง รายงานจากต่างประเทศและการศึกษาในประเทศไทย เชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา พบในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หลายชนิด รวมทั้งไข่เป็ดไข่ไก่ ส่วนเชื้อแบคทีเรียแคมไพโรแบคเตอร์ มักพบในเนื้อไก่ที่ใช้บริโภค ตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วภาวะอาหารเป็นพิษมักจะไม่มีอาการรุนแรงมากเท่าใด และอาการจะเป็นไม่นาน ผู้ป่วยอาจมีเพียงอาการท้องเสียเพียงแค่สองสามวัน อาจมีไข้ต่ำๆ หรือบางคนไม่มีไข้เลยก็ได้ อาการปวดท้องมักไม่รุนแรง อาจเพียงรู้สึกปวดมวนท้องบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม หากภาวะอาหารเป็นพิษนี้เกิดขึ้นกับผู้ที่จัดว่ามีภูมิต้านทานลดน้อยลง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ โรคเบาหวาน …

โรคอาหารเป็นพิษ Read More »

75 2

โรคอ้วน และการดูแลตนเอง

การค่อยๆ จำกัดอาหารที่มีทั้งไขมัน และความหวานต่างๆท่านต้องทำควบคู่กันไปกับการออกกำลังกายที่เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เพราะส่วนใหญ่คนอ้วน มักจะไม่ค่อย ได้ออกกำลังกาย และถ้าหักโหมไปก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อได้ง่าย การออกกำลังกายจะต้องเหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเรา มีข้อห้ามเกี่ยวกับโรคประจำตัวของเราเองหรือไม่? กรณีสงสัย ท่านควรจะปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องการออกกำลังกายเสียก่อน วิธีการออกกำลังกาย มีตั้งแต่การเดิน การวิ่ง การขี่จักรยานอยู่กับที่ การเดินหรือวิ่งบนลู่วิ่งที่บ้าน การยกน้ำหนัก ว่ายน้ำ กระโดดเชือก การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ล้วนแล้วแต่เป็นการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งในที่สุดก็จะต้องไปดึงเอาไขมันที่สะสมเป็นส่วนเกินอยู่ในร่างกายออกมา ทำให้น้ำหนักของท่านลดลงมาได้ และนอกเหนือจากลดน้ำหนักได้แล้ว สิ่งที่ท่านได้กำไรด้วยคือ ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ได้แก่ หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันโรคอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี           หากท่านได้พยายามลดน้ำหนักด้วยตนเองแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ท่านควรจะต้องสำรวจว่าไม่สำเร็จเพราะอะไร? แก้ไขได้หรือไม่? ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจปรึกษาแพทย์หรือผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องการลดน้ำหนักต่อไป ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

74 2

โรคหูดหงอนไก่ (condyloma acuminata)

โรคหูดหงอนไก่ (genital wart, condyloma acuminata)เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง ลักษณะเป็นหูดที่เกิดที่อวัยวะเพศ รวมทั้งที่ทวารหนัก สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อเรียกว่า human papilloma virus โดยทั่วไปมักพบเป็นติ่งเนื้อสีชมพูรวมกันเป็นก้อนคล้ายหงอนไก่ พบได้หลายรูปแบบ อาจมีจำนวนและขนาดที่แตกต่างกันได้มาก และอาจพบได้มากกว่าหนึ่งแห่ง มักพบเป็นก้อนเนื้อผิวขรุขระ ก้อนเนื้ออาจรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียว หรือเป็นก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อเล็กๆหลายก้อน ตำแหน่งที่พบบ่อยเป็นที่บริเวณคอคอดของอวัยวะเพศชาย นอกจากนี้ยังพบได้มากที่บริเวณแคมช่องคลอดและปากมดลูกของเพศหญิง หูดหงอนไก่ชนิดแบนมักพบที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน เช่น ในท่อปัสสาวะชาย หรือช่องคลอดและปากมดลูก ปกติโรคหูดหงอนไก่จะไม่มีอาการอะไร เว้นเสียแต่อาจมีการฉีกขาดเลือดออก หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม จึงทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองได้ จำนวนและขนาดของหูดจะใหญ่ขึ้นในขณะตั้งครรภ์ สาเหตุ           โรคหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี human papilloma virus (HPV) โดยเป็นการติดเชื้อที่ชั้นหนังกำพร้าไวรัส papilloma เป็น DNA virus จัดอยู่ใน Family Papovaviridae ชื่อของแฟมิลีได้มาจากอักษรสองตัวแรกของเชื้อ 3 ชนิดคือ papilloma, polyoma และ vacuolating agent โดยเชื้อไวรัสในแฟมิลีนี้มีจีโนมเป็น DNA สายคู่ …

โรคหูดหงอนไก่ (condyloma acuminata) Read More »

73 2

โรคหืด หรือหอบหืด (asthma)

โรคหืด หรือหอบหืด (asthma)โรคหอบหืด เมื่อปลายปีที่ผ่านมาหลายท่านคงได้ยินข่าวการเสียชีวิตของดาราหนุ่ม ออฟ – อภิชาติ พัวพิมล ที่เสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคหอบหืด ที่เป็นมาตั้งแต่เด็กๆ นอกจากนี้ดาราตลก ‘ดี๋ ดอกมะดัน’ ยังคงนอนพักรักษาตัวในห้องไอซียู เนื่องมาจากถูกโรคหอบหืดกำเริบเล่นงานเช่นเดียวกัน           โรคหอบหืด เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากภูมิแพ้ โดยสองในสามของผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีภาวะภูมิแพ้ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการไอในตอนเช้า และตอนกลางคืน คัดจมูก มีน้ำมูกไหล ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 จากประชากรทั้งหมด ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยโรคหอบหืดประมาณ 3 ล้านคน เสียชีวิต 1,000 คนต่อปี กว่า 70% ของผู้เสียชีวิตเนื่องจากการเดินทางมาถึงโรงพยาบาลช้าเกินไป           โดยทั่วไปโรคหอบหืดเกิดจากอาการแพ้ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ หรือแม้แต่การแพ้อาหารทะเล ซึ่งขึ้นอยู่กับความไวในการตอบสนองสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ในบางรายอาจรุนแรงมากทำให้เสียชีวิตได้ อาการของผู้ป่วยโรคหอบหืด เกิดจากการหดตัวของหลอดลมอย่างรุนแรงทำให้หลอดลมตีบ มีเสมหะที่เหนียวออกมามาก ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อหายใจออกเกิดอาการเหนื่อยเวลาหายใจ เมื่ออาการหอบเพิ่มขึ้นเวลาหายใจจะมีเสียงดังวี้ดๆ เมื่อเป็นมากขึ้นจะเหนื่อยจนไม่สามารถหายใจเข้าออกได้ จนทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที           Fatal Asthma Attack เป็นอาการจับหืดขั้นรุนแรงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ …

โรคหืด หรือหอบหืด (asthma) Read More »

72 2

โรคหิด

โรคหิด (Scabies) เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากตัวหิด ซึ่งเป็นตัวไรเล็ก ๆ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นจุดขาวเล็ก ๆ ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคหิด หรือการใช้เสื้อผ้า เครื่องใช้ที่นอนร่วมกัน เนื่องจากตัวเชื้อสามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ 2-3 วัน สาเหตุ           โรคหิดเกิดจากการติดเชื้อปาราสิตชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Sarcoptes scabieiซึ่งเชื้อนี้เป็นแมลงเล็กมากตัวหิดมีขนาดเล็กกว่าปลายเข็ม จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลเดียวกับตัวไร ขนาดประมาณ 0.4 มิลลิเมตรลักษณะเป็นตัวกลมรีๆ และแบนเหมือนเห็บสุนัข ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวแก่มี8 ขา เชื้อหิดผสมพันธุ์กันบนผิวหนังของคน เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวผู้ก็จะตายไป ส่วนตัวเมียก็จะขุดอุโมงค์วางไข่ต่อไป โดยตัวเมียเจาะอุโมงค์ในชั้นหนังกำพร้า เพื่อใช้วางไข่ ตัวเมียจะฝังตัวใต้ผิวและขึ้นมาวางไข่วันละ 2-3 ฟอง จนกระทั่งถึง 10-25 ฟอง ก็จะตายไปตัวอ่อนจะออกจากไข่ในวันที่ 3 หรือ 4 โดยจะคลานออกจากอุโมงค์ เพื่อหาที่อยู่ใหม่ และอาศัยอยู่ในรูขุมขน ทำให้มีตุ่มแดงตรงรูขุมขนและมีอาการคัน ตัวหิดสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายของคนเราได้ 2-3 วัน ส่วนตัวอ่อนจะโตเต็มที่ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ การติดต่อ …

โรคหิด Read More »

71 2

โรคหวัดในเด็ก

สาเหตุ           เกือบทั้งหมดมักเกิดจากการติดเชื้อกลุ่มไวรัส ซึ่งมีหลายกลุ่ม หลายสายพันธุ์ ที่เป็นสาเหตุมีมากมาย กว่า 200 ชนิด กลุ่มที่สำคัญได้แก่ Rhinovirus พบได้ถึง 1/3 ของผู้ป่วยทั้งหมด รองลงมาได้แก่ Corona virus, Adenovirus, Coxsackie virus เป็นต้น เชื้อแบคทีเรียก็อาจเป็นสาเหตุเริ่มแต่แรกได้แต่พบได้น้อย ส่วนใหญ่การติดเชื้อแบคทีเรียของโรคหวัดมักเป็นการติดเชื้อซ้ำเติมภายหลังการติดเชื้อไวรัสพยาธิสภาพและการดำเนินโรค           โรคนี้เป็นโรคที่หายได้เอง แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุด ในเด็กเล็กอาการมักรุนแรงกว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่ อาการจะแสดงให้เห็นตั้งแต่รับเชื้อเข้าไปประมาณ 1-2 วัน และจะแสดงอาการมากที่สุดภายใน 2 – 3 วัน แล้วจึงจะค่อยๆ ทุเลาลง ภายใน 5 – 7 วัน เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปทางจมูก หรือระบบทางเดินหายใจ จะทำให้เยื่อบุจมูกบวมแดง มีการหลั่งของเมือก ออกมาเป็นน้ำมูกใส แต่หากน้ำมูกระบายได้ไม่ดี มีการหมักหมมก็จะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ข้นขึ้น หรือถึงขั้นเป็นสีเขียวได้ ทำให้หายใจไม่ออก และหากไหลไปด้านหลังที่คอก็จะทำให้มีอาการไอ เจ็บคอได้ตามลำดับ           …

โรคหวัดในเด็ก Read More »

70 2

โรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis) เป็น โรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมาก ทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบไม่บ่อย มักพบร่วมกับการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนอื่นด้วย เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หรือปอดอักเสบ สาเหตุ 1. สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส2. เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ อะดิโนไวรัส ไรโนไวรัส ฟลูไวรัส บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย3. ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดมจนทำให้หลอดลมกิดการอักเสบ ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคืองเช่น ฝุ่น สารเคมี มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าปกติ4. ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ คือ การสูบบุหรี่ หรือผู้ที่อยู่กับคนที่สูบบุหรี่5. ผู้ป่วยโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน ผู้ที่มีโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ มีโอกาสเป็นโรคหลอดลมอักเสบมากขึ้น อาการ           ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการไอ และมีเสมหะ อาการไอถือเป็นอาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ เสมหะอาจจะมีสีเหลืองหรือเขียว ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ ถ้ามีไข้ มักจะไม่มีไข้สูง บางรายจะมีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจเสียงดังหวีด ผู้ป่วยที่เป็นหวัด เริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล …

โรคหลอดลมอักเสบ Read More »

69 2

โรคหลอดเลือดสมองตีบ (อัมพาต)

โรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตรค (Stroke) อาจฟังดูไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่าอัมพาต หลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เพราะพบมากขึ้นทุกวันในสภาวะความเครียดทางเศรษฐกิจปัจจุบัน อัมพาตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้สถิติตัวเลขของผู้ป่วยอัมพาตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคือ การที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่เป็นทางเดินของเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ ส่งผลให้เกิดอาการอัมพาตในระยะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค จะทราบได้อย่างไรว่ามีอาการสมองขาดเลือด อาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกัน แยกได้เป็น 3 ระดับ1. อาการน้อย คือ กลุ่มของผู้ที่มีหลอดเลือดสมองแตก หรือตีบตันเป็นหลอดเลือดขนาดเล็ก ยังไม่เกิดการทำลายของเซลล์สมองในบริเวณนั้น สมองขาดเลือดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้เกิดอาการซึ่งอาจเป็นวินาที นาที หรือชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ลักษณะอาการประกอบด้วย กล้ามเนื้ออ่อนแรงจะเป็นที่แขนอย่างเดียว ขาอย่างเดียว หน้าและแขน การเคลื่อนไหวช้าลง ที่ใบหน้าจะเห็นมุมปากตก อมน้ำไว้ในปากไม่ได้ ความจำเสื่อมชั่วขณะ คิดอะไรไม่ออก พูดไม่ชัด เป็นต้น2. อาการปานกลาง (อัมพฤกษ์) กลุ่มนั้นเซลล์สมองถูกทำลายไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ทั้งหมด ภายหลังการรักษาแล้ว อาการอาจดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 3-6 เดือน อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด นอกจากล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้ว ผู้ป่วยจะสูญเสียการทรงตัวบางขณะ มีอาการตามัวครึ่งตา หรือมืดไปข้างหนึ่ง สูญเสียความทรงจำ และความสามารถในด้านการคิดคำนวณ …

โรคหลอดเลือดสมองตีบ (อัมพาต) Read More »

68 2

โรคหมาแท้ง

โรคแท้งติดต่อในสุนัข (Brucellosis) เป็นโรคที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยมีโอกาสติดต่อโรคได้ในกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัข นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ โดยติดต่อจากการกิน การผสมพันธุ์ และ การสัมผัสสารคัดหลั่ง โดยโรคนี้มีการตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2509 ส่วนในประเทศไทยมีการตรวจพบและยืนยันเชื้อครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541 และพบการระบาดของโรคนี้ในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก สาเหตุ โรคนี้เกิดจากเชื้อบรูเซลลา เคนนิส (Brucella canis) โดยปัจจุบันกลุ่มสายพันธุ์สุนัขที่สามารถตรวจพบเชื้อบรูเซลลา เคนนิส จากการเพาะเชื้อมีอยู่ 8 สายพันธุ์ คือ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, บัสเซ็ท ฮาวด์, เซนต์ เบอร์นาร์ด, ดัลเมเชี่ยน, โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, ชิตสึ, พุดเดิ้ล และ พิตบูล การติดต่อของโรคในสัตว์เกิดจากการกินหรือเลียสารคัดหลั่งจากช่องคลอด กินเนื้อเยื่อของลูกที่แท้ง กินหรือเลียรกหรือน้ำคร่ำที่ออกมาจากการแท้ง กินน้ำนมของสุนัขที่ติดเชื้อ กินหรือเลียน้ำอสุจิของสุนัขเพศผู้ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะในน้ำปัสสาวะของสุนัขเพศผู้จะมีปริมาณเชื้อชนิดนี้สูงมาก นอกจากนี้ยังพบเชื้อได้ในน้ำลายและในโพรงจมูกของสุนัขที่ติดเชื้อ รวมทั้งมีการติดโรคจากการผสมพันธุ์ด้วย กลุ่มแบคทีเรียบรูเซลลา มีหลายสายพันธุ์ ที่พบมาก ได้แก่ บรูเซลลา อะบอตัส …

โรคหมาแท้ง Read More »

67 2

โรคหนองใน

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeaเชื้อนี้จะทำให้เกิดโรคเฉพาะที่บริเวณเยื่อเมือก เช่น เยื่อเมือกในท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ท่อรังไข่ ทวารหนัก เยื่อบุตา เยื่อเมือกในลำคอ ปัจจุบันพบว่าความชุกของโรคหนองในลดลง เนื่องจากมีการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้น จากการรณรงค์ให้ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี สาเหตุ           เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุท่อปัสสาวะในผู้ชาย และทางปากมดลูกและท่อปัสสาวะของผู้หญิง ทำให้เกิดโรคโดยเชื้อแบคทีเรียเกาะจับเซลล์เยื่อบุชนิดที่ไม่มีขนโบก และสร้างสารพิษ lipopolysaccharide endotoxin รวมทั้งสร้างเอ็นไซม์ IgA proteases ทำให้ความสามารถในการก่อโรคเพิ่มมากขึ้น ระยะฟักตัว 1 – 14 วัน แต่ที่พบบ่อยคือ 3 – 5 วัน โรคหนองในติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางปาก ช่องคลอดหรือทางทวาร การร่วมเพศทางปากจะทำให้เชื้อสามารถติดต่อจากปากไปอวัยวะเพศ หรือจากอวัยวะเพศไปยังปาก หากช่องคลอดหรืออวัยวะดังกล่าวปนเปื้อนหนองที่มีเชื้อก็สามารถติดเชื้อนี้ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการร่วมเพศ ถ้ามีคู่ขามาก ก็จะยิ่งมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น การจับมือหรือการนั่งฝาโถส้วมไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ อาการ           ผู้ชาย จะมีอาการปัสสาวะแสบและมีหนองไหล บางรายอาจมีอาการน้อย หรือถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการแทรกซ้อนได้ …

โรคหนองใน Read More »

66 2

โรคสุกใส

โรคสุกใส (chickenpox) เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชี่อว่า Varicella-Zoster Virus (VZV) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรค”งูสวัด” โดยทั่วไปมักพบการระบาดในช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี ลักษณะสำคัญของโรคสุกใสคือ มีผื่นขึ้น ระยะแรกจะเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูนมีน้ำใสๆ อยู่ข้างใน และมีอาการคัน ผื่นและตุ่มจะทยอยขึ้นที่ละระลอกๆทั่วร่างกาย โดยทั่วไปผื่นจะหายโดยไม่มีแผลเป็น ยกเว้นมีเชื้อแบคทีเรียมาแทรกซ้อนบนผิวหนัง ทำให้กลายเป็นหนองและมีแผลเป็นตามมา ในบางรายเชื้อที่แทรกซ้อนอาจกระจายเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ และปอดบวมได้โรคสุกใสเมื่อหายแล้วมักจะมีเชื้อหลบอยู่ที่ปมประสาท ซึ่งอาจเกิดเป็นโรค “งูสวัด” ในภายหลังได้ โรคสุกใสถึงแม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นสาเหตุของการขาดเรียน ขาดงาน ก่อให้เกิดความรำคาญ อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อน เป็นแผลเป็นที่มีผลต่อความสวยงาม จึงมีผู้พยายามคิดค้น วัคซีนป้องกันโรคสุกใส           วัคซีนป้องกันโรคสุกใสที่ค้นพบและผลิตขึ้นมาใช้ในระยะแรก มีข้อจำกัดที่ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำถึง -20 องศาเซลเซียส แต่ปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นวัคซีนที่เก็บให้คงประสิทธิภาพได้ที่อุณหภูมิ2-8 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิตู้เย็นปกติ เก็บได้นาน 2 ปี ภายใต้ชื่อการค้า ” Varilrix ” ของบริษัท Glaxo Smith Kline และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน วัคซีนสุกใส           วัคซีนป้องกันโรคสุกใสเป็นวัคซีนชนิดมีชีวิต …

โรคสุกใส Read More »

65 1

โรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) และเป็นต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และอาจมีความรุนแรงมากจนก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตประจำวัน โดยความผิดปกติดังกล่าวพบถึงร้อยละ 5-15 ในเด็กวัยเรียน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม, อารมณ์, การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็กกลุ่มอาการนี้ ได้แก่ การขาดสมาธิ (attention deficit) การขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) อาการซน (hyperactivity) เด็กบางคนอาจจะมีอาการซน และการขาดความสามารถในการควบคุมตนเองเป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือบางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก ซึ่งพบได้บ่อยพอๆ กันในเด็กผู้หญิง และเด็กผู้ชาย โรคสมาธิสั้นนี้พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าประมาณ 3-5% ของเด็กในวัยเรียนเป็นโรคสมาธิสั้น การซน (hyperactivity) และการขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (Impulsivity) เด็กจะมีลักษณะ ดังนี้ 1.ยุกยิก อยู่ไม่สุขนั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อยๆ ขณะอยู่ที่บ้าน หรือในห้องเรียน2.ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ3.พูดมาก พูดไม่หยุด4.เล่นเสียงดัง5.ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย6.ชอบโพล่งคำตอบเวลาครู หรือพ่อแม่ถาม โดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ7.รอคอยไม่เป็น8.ชอบขัดจังหวะ หรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่หากเด็กมีลักษณะในข้อดังกล่าวรวมกันมากกว่า 6 อาการ …

โรคสมาธิสั้น Read More »

64 2

โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive neurosis) เป็นโรคประสาทชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยพอสมควร ซึ่งมีอาการย้ำคิด หรือย้ำทำเป็นอาการเด่น อาการย้ำคิด เป็นความคิดที่ผุดเข้ามาในสมองโดยไม่ตั้งใจ และทำให้เกิดความกลัว หรือความกังวล ส่วนอาการย้ำทำ เป็นการกระทำ หรือการคิดเพื่อลดความกลัว หรือความกังวลที่เกิดจากอาการย้ำคิด อาการย้ำคิดย้ำทำบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้ในคนปกติ           โรคประสาท (neurosis) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีพื้นเพของการพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งชักนำให้ตีค่าตัวเอง ความขัดแย้งใจ ตลอดจนการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง คนที่เป็นโรคประสาทจะไม่มีอาการหลงผิด หรือประสาทหลอน ยังอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้หลุดออกจากโลกแห่งความเป็นจริงเหมือนคนที่เป็นโรคจิต(psychosis)คนที่เป็นโรคประสาทรู้สึกว่าตนไม่มีความสามารถ และทนต่อสภาพความบีบคั้นได้น้อย วิตกกังวลและขี้กลัว ตื่นเต้นมากเกินไป มักจะเอาแต่ใจตนเอง และสนใจตัวเองมากเกินไป ไม่ยืดหยุ่น และขาดความเข้าใจในปัญหาต่างๆ รวมทั้งไม่มีความพอใจ และไม่เป็นสุข มีอารมณ์เครียดได้ง่ายความย้ำคิดเป็นความคิดที่ผุดขึ้นมาในสมองโดยไม่ต้องการ ความย้ำทำเป็นการกระทำซ้ำๆ ที่ผู้นั้นอดไม่ได้ที่จะต้องทำแม้ว่าจะดูโง่ๆ ก็ตาม ที่เหมือนโรคประสาทกลัวคือโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำมักเริ่มในช่วงต้นๆ ของวัยผู้ใหญ่แต่ที่ต่างจากโรคประสาทกลัวคือมันพบได้เท่าๆ กันทั้งหญิง และชาย ปัญหานี้มักเกิดในคนที่พิถีพิถันเจ้าระเบียบตลอดเวลาแต่ก็ไม่แน่เสมอไป ความย้ำคิดถึงการกระทำที่เป็นอันตรายมักไม่มีเหตุผล น้อยรายมากที่ผู้ป่วยจะทำตามความคิดนั้น สาเหตุ 1.อาการย้ำคิดจะมีลักษณะคิดซ้ำๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความคิดอาจเป็นเรื่องแปลก เช่น คิดจะพูดคำหยาบ คิดจะว่าคนอื่น คิดจะทำร้ายคนอื่นโดย ที่ตนเองก็ไม่อยากจะทำเช่นนั้น อยากจะตัดความคิดออกไป …

โรคย้ำคิดย้ำทำ Read More »

63 1

โรคมือ เท้า ปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เป็นอย่างไร

โรคมือ เท้า ปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เป็นอย่างไร           โรคมือ เท้า ปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เป็นอย่างไรโรคมือ เท้า ปาก หรือที่เรียกว่า Hand-foot-and-mouth disease เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลัน เกิดตุ่มน้ำใสขึ้นที่ปาก มือ เท้า ก้น และบริเวณอวัยวะเพศ           ในปี 2549 ตั้งแต่ 1 มกราคม -30 กรกฎาคม 2549 สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จากสำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดและสำนักอนามัยกรุงเทพฯ มีผู้ป่วย 1,009 ราย เสียชีวิต 4 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ 2-5 ปีมากถึงร้อยละ 95 มี 1 รายอายุ 8 เดือน           เกิดจากเชื้อไวรัสหลายตัวแต่ตัวที่รุนแรงชื่อว่า …

โรคมือ เท้า ปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เป็นอย่างไร Read More »

Scroll to Top