5 3

คาร์โบไฮเดรต : มีในอาหารประเภทใด?

คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานที่สำคัญแก่เรา เพราะมีราคาถูกกว่าโปรตีนและไขมัน เราสามารถแบ่งคาร์โบไฮเดรตตามแหล่งที่มาได้ดังนี้1. ธัญญพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และข้าวสาลีที่ใช้ทำขนมปัง ให้คาร์โบไฮเดรต 70-80เปอร์เซ็นต์2. ถั่วเมล็ดแห้ง ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสงและถั่วดำ นอกจากให้คาร์โบไฮเดรต 60-70เปอร์เซนต์แล้ว ยังมีคุณค่าในการให้สารอาหารประเภทโปรตีนใน จำนวนที่มากพอสมควรอีกด้วย3. น้ำตาลชนิดต่างๆ ได้แก่ น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลโตนด น้ำตาลมะพร้าวและน้ำผึ้ง4. พืชผักและผลไม้ พวกนี้จะมีคาร์โบไฮเดรตจำนวนไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ยกเว้นพวกที่มีความหวาน เช่น ทุเรียน กล้วย เป็นต้น5. อาหารที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อ นมและไข่ พวกนี้จะมีคาร์โบไฮเดรตน้อยปัญหาที่พบในบ้านเรา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชนบท บางพื้นที่ที่รับประทานอาหารส่วนใหญ่เป็นพวกคาร์โบไฮเดรต ทำให้เกิดการขาดสารอาหารอย่างอื่นๆ ที่สำคัญคือ โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต 1. ช่วยให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวเพื่อทำงานหรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้ (คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม จะให้พลังงาน …

คาร์โบไฮเดรต : มีในอาหารประเภทใด? Read More »

4 3

คัดจมูก…จะใช้ยาอะไรในวันที่ไม่มี ซูโด

ในช่วงเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ซูโดอีเฟดรีน” ตัวยาหนึ่งในสูตรตำรับยาแก้หวัดคัดจมูกที่นิยมใช้กัน มายาวนาน และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา บางท่านอาจนึกไม่ออกว่าซูโดอีเฟดรีนคือยาอะไร แต่ถ้ายกตัวอย่างยายี่ห้อดัง เช่น แอคติเฟด ซูลิดีน นาโซลิน หรือยาแก้หวัดแบบบรรจุเสร็จ เช่น ทิฟฟี่ ฟู หรือ ดีคอลเจน พลัส เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก หรือเคยรับประทานยาเหล่านี้มาแล้ว เหตุใดยาบ้านๆ อย่างซูโดอีเฟดรีนถึงถูกเปลี่ยนบทบาทจาก “ยารักษาโรค” กลายเป็น “สารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า” แล้วประชาชนอย่างเราจะเลือกใช้ยาชนิดใดทดแทน ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ มีคำตอบมาฝากค่ะ ช่วงเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ซูโดอีเฟดรีน” ตัวยาหนึ่งในสูตรตำรับยาแก้หวัดคัดจมูกที่นิยมใช้กัน มายาวนาน และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา บางท่านอาจนึกไม่ออกว่าซูโดอีเฟดรีนคือยาอะไร แต่ถ้ายกตัวอย่างยายี่ห้อดัง เช่น แอคติเฟด ซูลิดีน นาโซลิน หรือยาแก้หวัดแบบบรรจุเสร็จ เช่น ทิฟฟี่ ฟู หรือ ดีคอลเจน พลัส เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก หรือเคยรับประทานยาเหล่านี้มาแล้ว เหตุใดยาบ้านๆ อย่างซูโดอีเฟดรีนถึงถูกเปลี่ยนบทบาทจาก “ยารักษาโรค” กลายเป็น “สารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า” แล้วประชาชนอย่างเราจะเลือกใช้ยาชนิดใดทดแทน ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ มีคำตอบมาฝากค่ะ ซูโดอีเฟดรีน คืออะไร ซูโดอีเฟดรีน1 (Pseudoephedrine) …

คัดจมูก…จะใช้ยาอะไรในวันที่ไม่มี ซูโด Read More »

3 3

ความอ้วนกับข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่ผิวข้อกระดูกอ่อนเกิดการสึกหรอ สึกกร่อน เกิดอาการอักเสบ ปวด บวมเเดงร้อนที่ข้อเข่า เข่าโก่ง สุดท้ายจะเจ็บเข่ามาก จนเดินไม่ได้ เราพบว่า โรคข้อเข่าเสื่อม นั้น มีปัจจัย มากมายหลายอย่างที่กระตุ้น ทำให้เป็นโรคนี้เร็วขึ้น เเละมากขึ้น หนึ่งในนั้นที่คนไทยมีกันมาก ก็คือ ความอ้วนครับ มีการวัดค่าความอ้วนได้หลายอย่าง ซึ่งผมคงไม่ต้องบอกนะครับว่า อย่างไร ถึงจะเรียกว่า อ้วน คุณน่าจะเป็นคนที่รู้ดีที่สุด มีข้อมูลที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับความอ้วนหลายอย่าง โดยเฉพาะความอ้วนที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อม ความอ้วนถูกจัดให้เป็นปัจจัยหนึ่งที่โดดเด่นที่ก่อให้โรคข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะในเพศหญิง ถ้ามีน้ำหนักตัวเกินด้วยเเล้วทำให้มีโอกาสเกิดโรคนี้ถึง 9 เท่า ความอ้วนนอกจากจะเป็นตัวเร่งให้เกิดข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นในวัยหนุ่มสาวเล้วยังทำให้โรคลุกลามได้ไวมากขึ้นเเละยังมีผลทำให้ผลของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมไม่ดีเท่าคนน้ำหนักปกติครับ ในสมัยก่อน เราอาจจะเข้าใจว่า สาเหตุของความอ้วนไม่ใช่อยู่ที่พฤติกรรมการทานอาหารที่ผิดปกติเท่านั้น เเต่ในปัจจุบันเราค้นพบว่า เกิดจากการถ่ายทอดตามกรรมพันธุ์เสียด้วย โดยเฉพาะมีมากกว่า 400 ยีนส์ที่เดียวครับ เเต่เป็นที่ยืนยันเเล้วว่า ยีนส์เหล่านี้ไม่ได้ทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นครับ เวลาเดินในเเต่ละก้าว จะมีเเรงที่มากดที่ข้อเข่าของคนอ้วนมากกว่าคนไม่อ้วนครับ นอกจากนั้นบางคนยังเชื่อว่า ข้อเข่าที่มีเนื้อเยื่อไขมันมากๆ จะล้นไปกดเเละทำลายผิวกระดุกอ่อนที่อยู่ใกล้ๆ กัน ทำให้ไปเร่งในการเป็นข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น เมื่อความอ้วนทำให้เป็นข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น ก็มีนักวิทยาศาสตร์คิดในทางตรงกันข้ามครับว่าถ้าเราลดน้ำหนักลงจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น หรือไม่ ในปี 1997 มีนักวิทยาศาสตร์วิจัย …

ความอ้วนกับข้อเข่าเสื่อม Read More »

2 3

ความสำคัญของสัตว์ป่า

พวกเราทุกคนคงไม่มีใครปฏิเสธว่าสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเราทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าหากพวกเราไม่ช่วยกันพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ตัวเราเองหรือลูกหลานของเราก็จะต้องประสบเคราะห์กรรมจากภาวะที่สิ่งแวดล้อมเลวร้ายลงเรื่อย ๆ ทรัพยากรทางธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้มีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ เพราะฝีมือมนุษย์ และสิ่งที่จะหมดไปด้วยก็คือสัตว์ป่าที่อยู่ในป่าดงพงไพร มีวัฏจักรที่หมุนเวียนชีวิตของตนเองโดยต้องอาศัยวงจรธรรมชาติของป่าไม้ซึ่งนับวันจะมีจำนวนพื้นที่ลดน้อยลงตลอดเวลา ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ได้แบ่งสัตว์ป่าไว้ 2 ประเภทคือ สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งมีสัตว์ชื่ออะไรบ้างเราจะไม่ขอกล่าวถึง เพราะคิดว่าพวกเราคงทราบดีว่าสัตว์ประเภทใดเป็นสัตว์ป่า แต่เราต้องการให้ท่านได้รับทราบว่าความสำคัญของสัตว์ป่าว่ามีอย่างไร สัตว์ป่าอำนวยประโยชน์นานาประการต่อมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นทางอ้อมมากกว่าทางตรง จึงทำให้พวกเรามองไม่ค่อยเห็นคุณค่าของสัตว์ป่าเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ป่าไม้ ลำน้ำ และแร่ธาตุเป็นต้น สัตว์ป่ามีคุณค่าทั้งด้านเศรษฐกิจ การเป็นอาหาร เครื่องยาสมุนไพร การนำมาเป็นเครื่องใช้ การนำมาเลี้ยงเพื่อนันทนาการ และการพักผ่อนหย่อนใจ การนำมาสำหรับการทดสอบ การวิเคราะห์วิจัยทางการแพทย์ การเป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในธรรมชาติ เช่น ค้างคาวกินแมลง นกฮูก และงูกินหนู นกกินหนอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ป่ามีคุณค่าต่อทรัพยากรป่าไม้หลายประการ เช่น ทำลายศัตรูของป่าไม้ ช่วยผสมเกษรดอกไม้ในป่า ช่วยในการกระจายเมล็ดพันธ์พืชไม้ในป่า และสัตว์ป่าช่วยทำให้ดินในป่าอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น จะเห็นกันแล้วว่ามนุษย์เรามองเห็นความสำคัญของสัตว์ป่าที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติมากมายหลายประการด้วยกัน แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่พยายามหาประโยชน์จากการไล่ล่าหรือฆ่าสัตว์ป่า ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พวกเราจึงต้องช่วยกันปลุกจิตสำนึกของคนใกล้ชิดและลูกหลานให้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ …

ความสำคัญของสัตว์ป่า Read More »

1 2

ความสำคัญของป่าไม้

หลาย ๆ ท่านอาจจะได้มีโอกาสไปสัมผัสความเป็นธรรมชาติของป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เขียวชอุ่มชุ่มชื้นอยู่เกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะตามเขตหรือพื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นต้น ตรงกันข้ามกับบางพื้นที่ที่มีแต่ความแห้งแล้ง ต้นไม้ใหญ่น้อยมาก ขาดความชุ่มชื้นและดูรู้สึกหดหู่อย่างบอกไม่ถูก ซึ่งถ้าหากพวกเรามองลงไปให้ลึกซึ้งกว่านี้อีก ก็จะยิ่งมีความรู้สึกหวงแหนความเขียวชอุ่มของต้นไม้ใหญ่ทั้งหลายในป่าไม้ เพราะทราบดีว่าประโยชน์อันใหญ่หลวงของป่าไม้มีมากมาย และล้วนมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เราต่อไปในภายภาคหน้า เพื่อให้พวกเราได้ทราบประโยชน์ของป่าไม้ว่ามีมากมาย ซึ่งอาจแยกเป็นประเภทกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้ คือ ประโยชน์ที่ได้จากป่าไม้โดยตรง เช่น ใช้เนื้อไม้ทำอาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ทำเครื่องนุ่งห่ม ใบพืชทำยารักษาโรคหรือทำเครื่องสำอางค์ ทำสี ทำฟืนและอื่น ๆ อีกมากมายประโยชน์ที่ได้จากป่าไม้โดยอ้อม เช่น การที่ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร การป้องกันลมพายุและน้ำท่วม การเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งการเป็นที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ จากของจริงที่อยู่ในป่า สำหรับประโยชน์โดยตรงที่พวกเราเห็นกันอยู่ตลอดเวลาแล้วว่า หากเราไม่มีแนวความคิดในการอนุรักษ์ หรือหาสิ่งทดแทนการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ สักวันหนึ่งป่าไม้ก็จะค่อย ๆ หายไปทีละน้อย ๆ ประโยชน์โดยอ้อมก็จะลดน้อยลง และประโยชน์โดยอ้อมนี่เอง เช่น การเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร การเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้กับพื้นผิวดิน จะเป็นหัวใจของความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตอื่น …

ความสำคัญของป่าไม้ Read More »

101

ความสำคัญของปะการัง

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ นอกจากป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่าและแหล่งน้ำแล้ว ปะการังจัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอย่างหนึ่งที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล เพราะแนวปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์นำจำนวนมากมาย อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่และหลบภัยอีกด้วย นับได้ว่าแนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสำหรับสัตว์น้ำด้วยกัน และส่งผลกระทบถึงมนุษย์เราด้วย นอกจากจะมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล การประมง และมีส่วนช่วยรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่งแล้ว ทัศนียภาพอันสวยงามของแนวปะการังยังก่อให้เกิดคุณค่าอย่างมากต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปะการังมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล ทั้งประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ก็ยังมีปัจจัยที่มาทำให้เกิดความเสื่อมโทรมเสียหายต่อปะการังได้แก่ การลักลอบทำการประมง ระเบิดปลาในแนวปะการัง การค้าซากปะการัง ตลอดจนกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หาไปดูปะการังแล้วไม่ระมัดระวัง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการัง หากท่านได้เห็นความสำคัญของปะการัง ดังที่ได้กล่าวแล้วโปรดได้ช่วยกันปลุกจิตสำนึกของคนใกล้ชิดและลูกหลานให้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง ซึ่งนับว่าก็จะน้อยลงไปทุกที และช่วยกันต่อต้านการใช้ประโยชน์จากปะการังในทางที่ผิดนะคะ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

100 1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคไข้เหลือง (Yellow fever)

โรคไข้เหลืองเป็นโรคติดเชื้อไวรัสแบบเฉียบพลัน ซึ่งจัดเป็นโรคในกลุ่มไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 50 หากไม่ได้รับการรักษา แต่ละปีมีผู้ติดเชื้อประมาณสองแสนคนทั่วโลก เสียชีวิตประมาณสามหมื่นคน โรคนี้เกิดจากเชื้อ Yellow fever virus (รูปที่ 1) ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่มฟลาวิไวรัส (Flaviviruses) สามารถก่อให้เกิดอาการป่วยในคนและสัตว์จำพวกลิง โรคนี้ระบาดโดยมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ยุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงป่าในกลุ่ม Haemogogus (พบเฉพาะในทวีปอเมริกา) เป็นพาหะ โดยยุงที่เป็นพาหะนั้นมีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดมีแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหากินและแหล่งเพาะพันธุ์แตกต่างกัน เช่น บริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ในป่าทึบ หรือบริเวณแนวเขตระหว่างบ้านเรือนกับป่า การแพร่กระจายของเชื้อโดยมียุงเป็นพาหะเกิดได้สามลักษณะ คือ การติดเชื้อระหว่างสัตว์จำพวกลิงด้วยกัน การติดเชื้อจากสัตว์มาสู่คน และการติดเชื้อระหว่างผู้ป่วยมาสู่คนปกติ การติดเชื้อและการแพร่กระจายของโรคเฉพาะพื้นที่มักเกิดจากการที่คนเข้าไปในป่าหรืออาศัยอยู่บริเวณแนวเขตป่าทำให้ได้รับเชื้อมาจากสัตว์ผ่านทางยุงป่า เมื่อผู้ติดเชื้อเหล่านี้เดินทางเข้าสู่เขตเมืองที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่นก็จะเป็นแหล่งแพร่กระจายของโรคไปสู่ผู้อื่นโดยมียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการระบาดของโรคอย่างรุนแรง ในปัจจุบันพบการระบาดของโรคไข้เหลืองในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้เท่านั้น โดยมีการระบาดบริเวณตอนกลางของทวีปแอฟริกาและตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ (รูปที่ 2 และ 3) ซึ่งเป็นเขตร้อนชื้นที่ยุงพาหะสามารถวางไข่เพาะพันธุ์ได้ รวมทั้งมีพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์จำพวกลิงซึ่งเป็นตัวกักโรค (Reservoir) อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ยังไม่พบการระบาดในทวีปเอเชียรวมทั้งประเทศไทย อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสไข้เหลืองแต่ละรายมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการแบบไม่รุนแรงนั้นจะมีลักษณะอาการไม่แตกต่างจากอาการของโรคติดเชื้ออื่นๆ ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรง เริ่มแรกอาจมีไข้แบบเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อตามตัว อ่อนเปลี้ย …

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคไข้เหลือง (Yellow fever) Read More »

99 2

การผ่าตัดขากรรไกร

การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกร เรียกว่า Orthognatic Surgery เป็นการผ่าตัดเพื่อปรับตำแหน่งของขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน เพื่อช่วยแก้ไขและปรับปรุงโครงหน้าที่ปกติ รวมถึงการแก้ปัญหาการสบฟันให้มีความถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากในบางกรณีความผิดปกติของขนาด รูปร่างหรือตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรเพียงเล็กน้อยนั้นสามารถส่งผลกระทบทำให้การสบฟันและการบดเคี้ยวผิดปกติ รวมไปถึงความผิดปกติของรูปหน้าอีกด้วย คางยื่นผิดปกติ           สำหรับผู้ที่มีคางยื่นผิดปกติ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรจะช่วยปรับตำแหน่งให้มีการสบฟันที่ถูกต้อง ช่วยแก้ไขโครงหน้าให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น การผ่าตัดทำได้โดยเลื่อนขากรรไกรล่างให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งอาจทำร่วมกับการปลูกถ่ายกระดูกขากรรไกร หรือการปรับแต่งกระดูกคางในบางกรณี กระดูกขากรรไกรล่าง           กระดูกขากรรไกรล่างมีเส้นประสาททอดไปตามมุมของขากรรไกร ลักษณะการวางตัวอยู่ในชั้นพื้นผิวต่อชั้นกล้ามเนื้อเส้นประสาทเส้นนี้มีโอกาสได้รับอันตรายได้ง่าย ทั้งจากขั้นตอนการตัดกล้ามเนื้อแมสเซ็ทเตอร์ที่เกี่ยวกับการเคี้ยวอาหารและจากการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ผ่าตัดหลายชนิด ส่วนเส้นเลือดแดงจะอยู่ทางด้านหน้าของขอบกล้ามเนื้อ ดังนั้นการเลาะเนื้อเยื่อหุ้มกระดูก อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นเลือดดังกล่าวได้ ข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยศัลยกรรมช่องปาก แก้ไขปัญหารูปหน้าและการสบฟันที่ผิดปกติ ปรับปรุงการสบฟันและการเคี้ยวให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นทำให้ริมฝีปากหุบได้สนิท ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถออกเสียงได้ดีขึ้น ป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกรผิดปกติเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขั้นตอนการรักษา           การตรวจวินิจฉัยและการวางแผนการรักษา ทางเลือกในการรักษามีทั้งกรณีจัดฟันก่อนผ่าตัด และผ่าตัดก่อนจัดฟัน          การวางแผนการรักษาล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญและเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จนอกเหนือจากขั้นตอนการรักษาและผ่าตัด โดยพิจารณาจากรูปภาพ แบบจำลองฟัน และภาพถ่ายรังสีกรณีจัดฟันก่อนผ่าตัด เพื่อให้ได้ฟันที่มีการเรียงตัวและการสบฟันที่เหมาะสม จะช่วยให้เกิดการสบฟันที่ถูกต้องหลังเข้ารับการผ่าตัด และการจัดฟันหลังการผ่าตัดยังคงมีความจำเป็นในทุกกรณีเพื่อแก้ไขการสบฟันที่อาจยังไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ หรือเพื่อคงสภาพฟันหลังการผ่าตัด          การจัดฟันก่อนการผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ปี อาจต้องมีการถอนฟันร่วมด้วย หากฟันซ้อนเกมาก การจัดฟันก่อนผ่าตัดจะใช้เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นเคลื่อนฟันในแต่ละขากรรไกรไปในตำแหน่งที่สัมพันธ์กับขากรรไกรนั้นๆ เนื่องจากการสบฟันที่ผิดปกตินั้น ฟันจะล้มเอนตามธรรมชาติไปในแนวที่ปิดบังความผิดปกติของขากรรไกร ดังนั้นการแก้การล้มเอนตามธรรมชาติและจัดเรียงฟันให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องบนแต่ละขากรรไกรก่อนการผ่าตัด มักจะทำให้การสบฟันก่อนผ่าตัดรวมทั้งใบหน้าดูแย่ลงชั่วคราว          เมื่อพร้อมที่จะทำการผ่าตัด จะพิมพ์ปากและเอ็กซ์เรย์อีกครั้งเพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบฟัน และเตรียมทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนและหลังการผ่าตัด การผ่าตัดจะกระทำในโรงพยาบาล …

การผ่าตัดขากรรไกร Read More »

98 2

ไอออนโต-โฟโน

ปัจจุบันเทคนิคการเสริมความงามที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนี้ก็คือเครื่องไอออนโตโฟเรซิส(iontophoresis) และโฟโนโฟเรซิส (phonophoresis) นิยมนำมาใช้ในการรักษาแผลเป็นจากสิวและฝ้า โดยจะใช้เครื่องมือนี้ควบคู่กับวิตามินเอ นำมาแก้ไขปัญหาสิวอุดตัน ลบรอยแผลเป็นหรือรอยหลุม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับวิตามินซีนำมาแก้ไขปัญหาหน้าหมองคล้ำ ฝ้า กระ ฟอกสีผิวให้ขาวขึ้น บางแห่งใช้สารอัลบูตินแก้ไขปัญหาหน้าหมองคล้ำ ฝ้า กระ ฟอกสีผิวให้ขาวขึ้น aloeveraหรือ hyaluronic acid นำมาช่วยรักษาปัญหารูขุมขนกว้าง ช่วยทำให้ผิวหน้ากระชับ และใช้สารazeleic Acid นำมารักษาปัญหาฝ้าและรอยดำหลักการทำไอออนโตฟอเรซิส (ionotophoresis) เดิมเป็นวิธีการชุบโลหะ โดยแช่โลหะ 2 ขั้วในสารละลาย เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าตรงผ่านขั้วทั้งสองจะมีการแตกตัวของสารละลายเป็นอิออนสารซึ่งแตกตัวจะถูกผลักไปเกาะกับโลหะที่ต้องการชุบ จึงใช้หลักการนี้กับยาทาผิวหนัง โดยหวังว่ากระแสที่ผ่านวงจรจะทำให้สารละลายซึ่งเป็นยาถูกผลักเข้าไปในชั้นผิวหนังเพิ่มขึ้น ด้วยหลักการดังกล่าวเชื่อว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพของตัวยาให้ดูดซึมและออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นจึงได้มีการนำไอออนโตฟอเรซิสมารักษาผิวหน้ากันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการทำไอออนโตด้วยวิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอ เพื่อช่วยรักษาฝ้าหรือลดริ้วรอย ซึ่งโดยทั่วไปวิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอ สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการผลักยาด้วยไอออนโต และเมื่อใช้ไอออนโตวิตามินดังกล่าวก็ไม่สามารถถูกผลักเข้าไปได้จริงอีกทั้งไม่มีผลงานการศึกษาวิจัยยืนยันแต่อย่างใด นอกจากนี้การทำไอออนโตด้วยวิตามินซีกระแสไฟฟ้าจะต้องผ่านเข้าไปในสารละลายวิตามินซีซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของวิตามินซีเสื่อมลงเช่นกันทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ฃอย่างกว้างขวางว่าการทำไอออนโตและโฟโนเพื่อผลักวิตามินต่างๆสู่ผิวหน้านั้นเข้าข่ายการหลอกลวงประชาชนซึ่งเป็น           ข้อสรุปจากการประชุมเรื่องมาตรฐานการใช้เครื่องมือไอออนโต-โฟโนที่ฃกระทรวงสาธารณสุข จัดโดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยสำหรับโฟโนโฟเรซิส (phonophoresis) เป็นวิธีการเพิ่มการดูดซึมของยาโดยใช้อัลตราซาวด์ช่วย แต่จากการศึกษาการใช้ โฟโนกับยา xylocaine, fluocinolone acetonide และ amphoterin B …

ไอออนโต-โฟโน Read More »

97 2

ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)

ไอบูโปรเฟนเป็นยาต้านการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ เป็นยาที่มีการใช้มาเป็นระยะเวลานาน ใช้บำบัดอาการปวด หรือลดอาการอักเสบของระบบกล้ามเนื้อ และโครงกระดูก ปวดศีรษะไมเกรน ยานี้มีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด และยาน้ำ สำหรับยาน้ำมีข้อบ่งใช้เพื่อลดไข้ในเด็ก ยานี้มีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถที่จะลดอาการดังกล่าวได้ โดยให้รับประทานหลังอาหารทันที ขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่ส่วนมากจะใช้ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง สำหรับในเด็กจะใช้ตามน้ำหนักตัวจึงควรปรึกษาเภสัชกรก่อน สำหรับสตรียานี้มีประโยชน์ที่สำคัญอีกประการ คือ ใช้บำบัดอาการปวดประจำเดือน ข้อควรรู้ ไม่ควรใช้ในคนที่มีประวัติโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าวร่วมกับยาแก้ปวด หรือลดอาการอักเสบของระบบกล้ามเนื้อชนิดอื่น ๆ ที่มา : แผ่นพับคณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์และข่าวสาร สภาเภสัชกรรม ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

96 2

ไส้เลื่อน (inguinal hernia)

ไส้เลื่อน (inguinal hernia)เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในเพศชาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ผนังบุช่องท้องมีความอ่อนแอ และความดันภายในช่องท้องดันเอาลำไส้ออกมาตรงตำแหน่งที่ผนังบุช่องท้องที่อ่อนแอนั้น โดยปกติภายในช่องท้องของคนเรา จะมีอวัยวะหลายอย่างอยู่ เช่น ตับ ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ไส้ติ่งและลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ช่องท้องจะมีผนังบุอยู่โดยรอบ และหากมีการอ่อนแอของผนังบุช่องท้อง และความดันในช่องท้องมีมากกว่าก็จะดันผนังช่องท้องให้โป่งออกมา และจะมีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อมีลำไส้เคลื่อนตามออกมา บางครั้งลำไส้อาจเคลื่อนกลับเข้าไปในช่องท้องได้ก็จะไม่มีอาการอะไร ถ้าหากลำไส้ที่เคลื่อนออกมาแล้วกลับเข้าไปในช่องท้องไม่ได้ จะทำให้รู้สึกหน่วงๆ เวลายืนหรือเดิน ถ้าเกิดเป็นเวลานานๆ ลำไส้ที่เคลื่อนออกมาขาดเลือดมาเลี้ยงจะทำให้ลำไส้ตาย และเน่าได้จะก่อให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงได้ ตำแหน่ง           ตำแหน่งของไส้เลื่อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณขาหนีบ และบริเวณลูกอัณฑะ บริเวณขาหนีบจะพบว่ามีก้อนหรือมีอะไรออกมาตุงอยู่ เพราะผนังบุช่องท้องบริเวณนั้นอ่อนแอ ความดันในช่องท้องจะดันเอาลำไส้ออกมา ส่วนบริเวณลูกอัณฑะก็เช่นเดียวกัน ลำไส้จะเคลื่อนออกมาตามแนวของลูกอัณฑะ ที่เคลื่อนลงมาจากช่องท้อง ลงมาอยู่ในลูกอัณฑะ ทำให้พบว่าลูกอัณฑะมีขนาดใหญ่มากๆ ได้ โดยเฉพาะในรายที่ไม่ได้รับการรักษา การรักษา           1.การรักษาโรคไส้เลื่อนนี้ขึ้นอยู่กับอาการที่มี ว่ามากน้อยเพียงใด และเกิดบ่อยครั้งแค่ไหน ศัลยแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาว่าจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดหรือไม่ ควรปรึกษาศัลยแพทย์ผู้รักษาถึงแนวทางการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ          2.การรักษาโรคไส้เลื่อนนี้ขึ้นอยู่กับอาการที่มีว่ามากน้อยเพียงใด และเกิดบ่อยครั้งแค่ไหน แพทย์จะช่วยตัดสินใจ และเลือกวิธีการรักษาว่าจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดหรือไม่ หลักการรักษาไส้เลื่อนทำได้โดยการผ่าตัดนำลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้อง และเย็บซ่อมรูหรือตำแหน่งที่ลำไส้ออกมา …

ไส้เลื่อน (inguinal hernia) Read More »

95 2

ไวรัสฮันทาคืออะไร

ไวรัสฮันทา (Hanta virus) เป็นอาร์เอ็นเอไวรัส ชนิดสายเดียว จัดอยู่ในตระกูลบันยาไวรัส ซึ่งไวรัสในกลุ่มนี้ไม่ค่อยเป็นเชื้อก่อโรคในมนุษย์เท่าใดนัก ไวรัสฮันทาก่อให้เกิดโรคที่สำคัญๆ สองลักษณะ ประการแรกไวรัสฮันทาทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกที่มีภาวะไตวายร่วมด้วย ซึ่งโรคที่เกิดมีอาการค่อนข้างรุนแรง พบมีรายงานการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสฮันทา ลักษณะนี้ในประเทศเกาหลี ประเทศจีน และทางตะวันออกของประเทศรัสเซีย อีกประการหนึ่งไวรัสฮันทาทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจที่รุนแรง อาการสำคัญคือ ไข้และปอดบวมน้ำที่มีความรุนแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในเวลาที่รวดเร็ว เชื้อไวรัสฮันทาที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบบทางเดินหายใจพบการระบาดทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือ           พาหะของโรคติดเชื้อไวรัสฮันทาคือ สัตว์ประเภทกัดแทะประเภทหนู มนุษย์จะได้รับเชื้อไวรัสฮันทาที่ถูกขับออกมาทางสารคัดหลั่งของหนู เช่น ปัสสาวะ น้ำลาย รวมทั้งมูลอุจจาระ เมื่อคนหายใจเอาละอองสารคัดหลั่งดังกล่าวที่มีเชื้อไวรัสฮันทาเข้าไปในร่างกาย ก็จะเกิดภาวะการติดเชื้อขึ้น สำหรับกรณีที่คนถูกหนูกัดโดยตรง โอกาสที่เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล อาจพบได้แต่ความเสี่ยงไม่สูงนัก จากการศึกษาพบว่าการติดต่อโรคโดยการจับหรือสัมผัสกับฉี่หนู น้ำลายหนู หรือมูลอุจจาระ จะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่ามาก ส่วนใหญ่พบหนูที่ติดเชื้อไวรัสในบริเวณนอกบ้านมากกว่าในบ้าน เช่น พบในฟาร์ม ในบริเวณชนบท มาตราการป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาเพ่นพ่านในบริเวณบ้าน ที่ซึ่งผู้คนมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งปฎิกูลของมัน จึงมีความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง           การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสฮันทาภายในกลุ่มของสัตว์ที่เป็นพาหะคือ หนู จะมีลักษณะเป็นการแพร่กระจายในแนวราบ โดยการขยายพันธุ์ของสัตว์ หรือสัมผัสกันโดยตรง เช่น การต่อสู้กัน และเป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่าเชื้อไวรัสฮันทาจะไม่ก่อโรคในหนูเลย และไม่ใช่หนูทุกชนิดที่แพร่เชื้อไวรัสฮันทา พบว่าชนิดของหนูที่แพร่เชื้อไวรัสมากที่สุดเป็นหนูเล็กซึ่งเป็นหนูท้องถิ่น ขนาดลำตัว …

ไวรัสฮันทาคืออะไร Read More »

94 2

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C virus)

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C virus) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งการเป็นตับอักเสบเรื้อรังจะนำไปสู่ภาวะตับแข็งและเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุดตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกปี 2017 พบว่ามีผู้ป่วยตับอักเสบซีเรื้อรัง(Chronic Hepatitis C virus infection)ทั่วโลกประมาณ 71 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 4 แสนรายต่อปี การติดต่อ ไวรัสตับอักเสบซียังไม่มีวัคซีนป้องกัน และสามารถติดต่อได้ทางเลือด จากแม่สู่ลูกและทางเพศสัมพันธ์ ผู้ติดเชื้อประมาณ 55 – 85% จะพัฒนาไปสู่โรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นตับแข็งและมะเร็งตับ อาการของผู้ป่วยตับอักเสบซี ผู้ติดไวรัสตับอักเสบซีช่วงแรกๆ มักไม่มีอาอาการ ดังนั้นการวินิจฉัยจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสได้โดยการตรวจคัดกรองการติดไวรัสตับอักเสบซี (HCV antibody) โดยผู้ป่วยที่เคยรับเชื่อ HCV จะให้ผลบวก และควรตรวจยืนยันด้วย HCV PCR เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีไวรัสอยู่ และตรวจวัดปริมาณไวรัส Quantitative HCV RNA (HCV viral load)พร้อมกับการตรวจหายสายพันธุ์ (Genotype) ของไวรัสก่อนการรักษา เนื่องจากไวรัสแต่ละ Genotype มีวิธีการรักษาและช่วงเวลาการรักษาที่แตกต่างกัน N Health พร้อมให้บริการตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี …

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C virus) Read More »

93 2

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus)

ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และการอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี จึงนับว่ามีความสำคัญมาก แต่ในปัจจุบันหลังจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในเด็กแรก เกิดทุกคน ทำให้อุบัติการณ์ในคนไทยลดลง ประมาณร้อยละ 3-5เมื่อเป็นโรคตับอักเสบบีระยะเฉียบพลันแล้วมีโอกาสจะหายขาดประมาณ ร้อยละ 90 ซึ่งจะกลับเป็นปกติทุกอย่าง ส่วนอีกร้อยละ10 จะไม่หายขาด โดยบางคนอาจจะเป็นพาหะของโรคโดยไม่มีอาการ หรือบางคนอาจจะเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้บางคนอาจจะเป็นโรคตับแข็งตามมา ถ้ายังมีการอักเสบของตับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักต้องเป็นนานประมาณ 10-20 ปี บางคนอาจจะเป็นโรคมะเร็งตับได้โดยเฉพาะถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค มะเร็งตับ โอกาสที่จะเป็นโรคตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ ในแต่ละคนไม่เท่ากัน ความร้ายแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรค และมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น แต่ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยจะมีเชื้อไวรัสในเลือด และตับ โดยอาจมีอาการของตับอักเสบเรื้อรัง หรืออาจไม่มีอาการ บุคคลทั้งสองกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไปได้ เราเรียกบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ว่าเป็น “พาหะ” หรือตับอักเสบเรื้อรัง ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน ประมาณร้อยละ …

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus) Read More »

92 2

ไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจ

ไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจไวรัสเป็นจุลชีพชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมาก จึงสามารถผ่านแผ่นกรองได้ง่ายดายกว่าแบคทีเรียซึ่งไม่สามารถผ่านได้ ปัจจุบันพบว่าไวรัสมีมากมายหลายร้อยชนิด ไวรัสที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในคน ไวรัสของสัตว์ ไวรัสของพืช ไวรัสของแบคทีเรีย และไวรัสของเชื้อรา ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในคนนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งชนิดของไวรัสตามหลักวิทยาศาสตร์ได้หลายวิธี อาทิเช่น แบ่งตามชนิดของสารพันธุกรรม ได้แก่ ไวรัสชนิดดีเอ็นเอ (DNA-virus) หรือไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ (RNA-virus) แบ่งตามขนาดหรือแบ่งตามชนิดที่มีเปลือกหุ้มหรือไม่มีเปลือกหุ้ม แบ่งเป็นกลุ่มตามระบบหรืออวัยวะที่ก่อให้เกิดโรค ได้แก่ ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบ ไวรัสที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดไข้ และผื่นไวรัสที่ต้องอาศัยยุงในการนำให้เกิดโรค เช่น ไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี เป็นต้น           โรคติดเชื้อไวรัสเป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในเด็กวัยแรกเกิดจนถึง 6 ปี และส่วนใหญ่มักพบในเด็กก่อนวัยเรียน บางครั้งเป็นถึงปีละหลายครั้ง โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาจมีความรุนแรงแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของไวรัส และภูมิต้านทานของเด็กด้วย ไวรัสบางชนิดอาจทำให้เกิดไข้ต่ำๆ ไอ มีน้ำมูกใสๆ และจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน แต่ไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสอินฟลูเอ็นซ่าที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรง ไข้สูง ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ และเด็กบางคนอาจถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อไปได้หลายวัน …

ไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจ Read More »

Scroll to Top