75

อาการปวดหลังระดับบั้นเอว

อาการปวดหลังระดับบั้นเอว เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนไข้โรคกระดูกและข้อ ที่ไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีน้อยคนที่จะไม่เคยมีประสพการณ์เรื่องการปวดหลังสาเหตุของอาการปวดหลังระดับบั้นเอว อาจมาจากความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือ อาจเกิดจากตัวกระดูกสันหลังมีการอักเสบติดเชื้อ เช่น วัณโรคกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ปัญหาภายในช่องท้อง อาจมีการปวดร้าวมาด้านหลังได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะต้องมีอาการของระบบนั้นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ อาจมีความผิดปกติของปัสสาวะ ปัญหาภายในช่องท้องอาจมีความผิดปกติในเรื่องการรับประทานอาหาร หรือการถ่ายอุจจาระ เป็นต้น อาการปวดหลังระดับบั้นเอว ที่พบได้บ่อยๆ เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณนั้น เพราะการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น ก้มลงหยิบของ การยกของหนัก การเอี้ยวหรือบิดลำตัว การไอหรือจามแรงๆ การนั่งทำงานหรือเดินทางนานๆ หลายชั่วโมง การนอนในที่นอนที่นิ่มเกินไป การนั่งที่ไม่ถูกต้อง การที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น บางท่านอาจลงพุงหรือในสตรีที่ตั้งครรภ์ รวมทั้งบางท่านมีโครงกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวค่อนข้างแอ่นมาก มีกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรง สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดอาการปวดหลังระดับบั้นเอวได้ทั้งสิ้นสำหรับ ท่านที่มีอาการปวดหลังระดับบั้นเอว และมีอาการปวดร้าวจากหลังลงไปที่สะโพก หรือขา ตลอดจนถึงน่องหรือปลายเท้า อาจต้องคิดถึงโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทการรักษาอาการปวดหลังระดับบั้นเอว ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย การได้พักผ่อนของกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง การใช้ประคบเย็นหรือประคบร้อน การรับประทานยา หรือการทำกายภาพบำบัดถ้าอาการไม่ดีขึ้น และที่สำคัญคือการใช้หลังอย่างถูกต้อง …

อาการปวดหลังระดับบั้นเอว Read More »

74

อาการปวดหลังเฉียบพลัน

เป็นอาการปวดหลังที่สาเหตุมักเกิดจากกล้ามเนื้อหลังมีอาการเครียดตึงอย่างรุนแรงเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเคยมีประสบการณ์เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังเฉียบพลันเกิดขึ้นเชื่อกันว่าเกิดจากการที่กล้ามเนื้อมีการอ่อนล้าและเมื่อต้องพบกับกิจวัตรประจำวัน ซึ่งหักโหมเกินกว่าที่กล้ามเนื้อหลังรองรับได้กล้ามเนื้อหลังนั้นจะเกิดการเครียดตึงขึ้นในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาการอาจหมายถึง อาการที่มีกล้ามเนื้อหลังบาดเจ็บ (Back Muscle Strain) หรือมีการฉีกขาดภายในของกล้ามเนื้อหลังเกิดขึ้นซึ่งอาการปวดอาจจะมีได้ตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆเพียงแต่ทานยาแก้ปวดก็สามารถหายได้ จนถึงอาการปวดที่มีลักษณะรุนแรงจนถึงขั้นไม่สามารถลุกขึ้นนั่งได้อย่างไรก็ตามไม่ว่าการปวดจะรุนแรงมากจนถึงขั้นเดินไม่ได้ก็ตาม เป็นที่ยอมรับว่าการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังเฉียบพลันนี้สามารถรักษาได้ด้วยเทคนิคที่ไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัด หรือ Non-surgical Treatment ได้แก่ การนอนพักการรับประทานยาแก้ปวด การทำกายภาพบำบัดซึ่งจะมักทำให้ผู้ป่วยหายได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 5-7 วันอย่างไรก็ตามในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลันนี้มีผู้ป่วยอยู่จำนวนหนึ่งที่ไม่หายสนิทและกลับไปมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังเรื้อรังในอนาคต นอกจากปัญหาของกล้ามเนื้อที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังเฉียบพลันได้แล้ว การฉีกขาดของเนื้อเยื่ออ่อน อาทิเช่นการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังเฉียบพลันได้เช่นกัน แต่พบน้อยกว่าปัญหากล้ามเนื้อ อาทิเช่นในผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวตัวผิดปกติผิดท่าผิดทางหรือยกของหนักอาจมีการปริของเปลือกหมอนรองกระดูกเกิดขึ้น (Anular tear) ซึ่งบริเวณของเปลือกหมอนรองกระดูกนั้นมีเส้นประสาทฝอยอยู่จำนวนมากทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นปะสาทเหล่านี้และก่อให้เกิดอาการปวดหลังอย่างรุนแรงได้เช่นเดียวกันในกลุ่มที่มีการปริของเปลือกหมอนรองกระดูกและทำให้เกิดอาการปวดหลังอย่างรุนแรงนี้ ส่วนใหญ่สามารถหายได้ด้วยการนอนพัก รับประทานยา และกายภาพบำบัดเช่นเดียวกับปัญหาของกล้ามเนื้อแต่มีผู้ป่วยบางส่วนที่มีการปริฉีกขาดรุนแรงและเกิดปัญหาการแตกปริ้นของไส้หมอนรองกระดูก (Herniated Nucleus Pulposus) ตามมาในอนาคตได้ทำให้อาการเปลี่ยนจากอาการปวดหลัง (Back Pain) อย่างเฉียบพลันเป็นอาการปวดขา (Leg Pain) อย่างรุนแรง ซึ่งหมายถึงมีการกดทับเส้นประสาทเกิดขึ้นดังนั้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเฉียบพลันจึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยในกรณีปวดหลังนั้น ไม่สามารถจะหายได้ภายในระยะเวลาอันสั้น

73

อาการปวดบริเวณทวารหนัก

อาการปวดบริเวณทวารหนักเวลามีประจำเดือน (dyschezia) หมายถึงอาการปวดลึก ๆ บริเวณทวารหนักขณะมีประจำเดือน สาเหตุของอาการดังกล่าวมีได้หลายชนิด แต่ที่พบบ่อยและมักพบได้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดเนื่องมาจากการที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกบริเวณทวารหนักหรือลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง ถ้าพยาธิสภาพของโรคมาก นอกจากจะปวดแล้วยังอาจทำให้มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด ๆ ได้ในระยะที่มีประจำเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกบริเวณดังกล่าว มักพบร่วมกับเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บริเวณช่องคลอดด้านหลังซึ่งอาจจะมีอาการเจ็บลึก ๆ ในอุ้งเชิงกรานหรือในบริเวณช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจจะมีอาการปวดลึก ๆ ในช่องคลอดหรือบริเวณท้องน้อยร่วมด้วยขณะที่มีประจำเดือนทางการแพทย์เรียกโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่รวมๆ กันว่า Endometriosisอาการปวดขณะร่วมเพศ อาจจะมาจากความผิดปกติทางกาย หรือทางจิตใจก็เป็นได้ สาเหตุทางกายที่พบได้บ่อยเกิดจากการที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายในเช่นตัวมดลูกมีการยึดตรึง ทำให้เมื่อมีการร่วมเพศอวัยวะสืบพันธุ์ภายในโดยเฉพาะตัวมดลูก ซึ่งจะถูกกระทบกระแทกให้มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น จะเกิดการเจ็บปวด เพราะเอ็นหรือผังพืดที่มัดโยงอยู่ถูกยึดจนมีการฉีกขาด สาเหตุที่พบบ่อยจากการที่เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่หรือเกิดจากมีการอักเสบเก่าอยู่ก่อนทำให้เกิดแผลเป็นและพังผืดยึดตรึง มีบ้างที่เกิดจากสาเหตุเพราะความผิดปกติของช่องคลอด และปากช่องคลอดผิดสัดส่วน ซึ่งความผิดปกติลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว สามารถจะใช้ยาหรือการผ่าตัดแก้ไขได้ภาวะมีบุตรยาก เป็นสาเหตุร่วมรับผิดชอบของคู่สามีภรรยา ปัญหาที่เกิดในเพศหญิงถือเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการมีบุตรยากถึง 70 % อีก 30 % เป็นสาเหตุจากเพศชาย การตรวจหาความผิดปกติในเพศชายนั้น สะดวกกว่าเพศหญิง เพียงการตรวจพิเคราะห์น้ำอสุจิก็จะทราบได้ ในเพศหญิงสาเหตุส่วนใหญ่ของการมีบุตรยากเกิดจากปัจจัยของท่อนำไข่ผิดปกติตีบตัน คดงอ รองลงมาเกิดจากปัจจัยภายนอกของโพรงมดลูก เช่น อาจจะมีเนื้องอกหรือความสมบูรณ์ไม่พอเพียงของเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก และปัจจัยจากรังไข่ซึ่งเป็นแหล่งสร้างไข่เพื่อมาปฏิสนธิกับตัวอสุจิ โรคเยื่อบุ มดลูกเจริญผิดที่ก็เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะมีบุตรยากที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ ดังนั้นการวิเคราะห์หาสาเหตุของการก่อให้เกิดมีบุตรยาก จึงเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อการวางแผนการแก้ไขรักษาได้ถูกต้องต่อไปพยาธิสภาพของโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่อาจแตกต่างกันได้มาก …

อาการปวดบริเวณทวารหนัก Read More »

72

อาการปวดท้อง

อาการปวดท้อง (abdominal pain) ที่มีสาเหตุจากอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ภายในช่องท้อง ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่ตับทางชายโครงขวา ม้ามทางชายโครงซ้าย กระเพาะอาหาร 9 และหลอดอาหารตรงกลาง ต่ำลงไปเป็นตับอ่อน ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ในสตรีมียังมีอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดท้องได้ เช่น มดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ ส่วนกระเพาะปัสสาวะที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานนั้น ถ้าเกิดการอักเสบ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาปวดท้องได้เช่นกันเนื่องจากอาการปวดท้องนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ตั้งแต่โรคง่ายๆ ที่ไม่มีอันตรายมากนัก เช่นอาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ อักเสบ หรือปวดประจำเดือน ซึ่งอาจหายได้เอง หรือเมื่อได้รับยาบรรเทาอาการก็จะดีขึ้น ไปจนถึงโรคบางโรค ซึ่งเป็นโรคร้ายแรง ถ้าวินิจฉัยผิดพลาด หรือให้การรักษาไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก ก็อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ แผลในกระเพาะอาหารทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อุดตันหรือตีบตัน ท้องนอกมดลูก หรือถุงน้ำของรังไข่แตก เป็นต้นดังนั้น การที่ผู้ป่วย หรือผู้ใกล้ชิดที่ดูแลผู้ป่วย สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับอาการปวดท้องได้มากเท่าใด แพทย์ก็จะสามารถวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้และทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ถูกต้อง รวดเร็วโดยไม่เสียเวลา หรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น สาเหตุ 1.อาการปวดท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาการอาจเป็นแค่ปวดเล็กน้อย หรือปวดมากและรุนแรงมากได้ อาการปวดมักจะไม่จำเพาะเจาะจง …

อาการปวดท้อง Read More »

71

อาการปวดต้นคอ / สะบัก

อาการปวดต้นคอและสะบักก็เหมือนอาการปวดทั่วไป ที่ต้องคำนึงถึงว่าเป็นการปวดที่มี่สาเหตุจากตำแหน่งที่ปวดเอง หรือมีสาเหตุมาจากส่วนอื่นๆ แล้วปวดร้าวมาที่คอและสะบัก การปวดที่มีสาเหตุจากตำแหน่งที่ปวด อาจได้แก่ การอักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณก้านคอ และพื้นที่ด้านข้างของกระดูกสันหลัง ระหว่างสะบัก 2 ข้าง บาง ครั้งอาจเป็นบริเวณเหนือไหล่ก็ได้ บางคนอาจเกิดขึ้นภายหลังการใช้งานผิดปกติเช่น เงยคอมากเกินไป เอี้ยวคอและไหล่มากเกินไป บางคนเกิดจากนั่งรถอยู่เบาะหน้าแล้ว เอื้อมไปหยิบของตรงเบาะหลัง บางคนเอื้อมแขนมากเกินไปเพื่อเก็บของ เป็นต้น ส่วนใหญ่อาการที่พบจะเป็นอาการเจ็บปวดเฉพาะที่ ไม่มีลักษณะของอาการปวดร้าวมาจากที่ใด การปวดที่มีสาเหตุจากส่วนอื่นๆ อาจได้แก่ การ ผิดปกติของหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ มีการเสื่อมหรือมีการอักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอจะมีเส้นประสาทอยู่ภายใน หากมีการเปลี่ยนแปลงและมีการรบกวนเส้นประสาท จะทำให้คนไข้มีอาการปวดร้าวมาที่คอและพื้นที่ระหว่างสะบัก 2 ข้างได้ นอก จากนี้ในคนไข้ที่มีอายุมากขึ้นประมาณ 40ปีขึ้นไป ถ้าเกิดหมอนรองกระดูกเสื่อมมากขึ้นมีการยุบตัวของหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดการแคบของช่องที่ เป็นทางออก ของเส้นประสาทที่จะมาเลี้ยงแขนและบางรายทำให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่ที่ เรียกว่ากระดูกงอก แล้วไปกดทับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงหัวไหล่ แขนหรือมือทำให้มีอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงของแขนหรือมือได้ สำหรับการดูแลรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการระมัดระวังการใช้คอหรือการใช้ส่วน ที่เคลื่อนไหวแล้วทำให้เกิดอาการเจ็บ อาจใช้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ยาคลายกล้ามเนื้อ ในบางรายอาจใช้กายภาพบำบัด หรือใช้การฉีดยาเฉพาะที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ …

อาการปวดต้นคอ / สะบัก Read More »

70

อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก

เส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) เป็นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่วิ่งจากกระดูกสันหลังส่วนเอวไปเลี้ยงความรู้และกล้ามเนื้อของขา 2 ข้าง อาการปวดร้าวที่วิ่งไปตามเส้นประสาท Sciatic นี้ เราเรียกว่า อาการปวดแบบ Sciatic หรือ Sciatica pain ซึ่งพบบ่อยว่าเกิดจากการกดทับรากประสาทไขสันหลัง หรือ (Nerve Root Compression) จุดที่มีการกดทับรากประสาทที่พบบ่อยที่สุดที่ได้รับการวินิจฉัยก็คือบริเวณของ กระดูกสันหลังส่วนเอวโรคที่ทำให้เกิดการกดทับของรากประสาทตรงบริเวณไขสันหลังส่วนเอวที่พบบ่อยที่สุดก็คือ โรคของหมอนรองกระดูก ดังนั้น อาการปวดแบบ Sciatica Pain มักพบว่าเกิดจากปัญหาของหมอนรองกระดูกสันหลัง อาทิเช่นมีหมอนรองกระดูกสันหลังแตกไปกดทับรากประสาทที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวเป็นต้น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดแบบ Sciatica Pain นี้ จะมีลักษณะที่ชัดเจนกล่าวคือ มีอาการปวดร้าวจากบริเวณหลังไปสะโพก และไปที่บริเวณของ ขาทั้ง 2 ข้าง หรือข้างเดียว หรือขาข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดจะเป็นรุนแรงในบางครั้งจะเป็นรุนแรงมากจนไม่สามารถจะเดินได้อาการปวดมักสัมพันธ์กับอริยาบทนั่งหรือยืน ผู้ป่วยมักกล่าวว่าอาการปวดอาจจะเป็นรุนแรงตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือนั่งนานๆไม่สามารถลุกขึ้นจากเก้าอี้หรือไม่สามารถลุกออกจากรถยนต์ที่นั่งอยู่เป็นเวลานานๆ ได้ เนื่องจากมีอาการปวดสะโพกร้าวลงไปตามด้านหลังของขาอย่างรุนแรงอาการปวดแบบ Sciatic จะมีลักษณะที่สำคัญ คือมักจะปวดตามเส้นและลงไปจนถึงน่องหรือปลายเท้าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการป่วยแบบ Sciatic นี้ อาจจะเกิดจากปัญหาอื่นๆ ได้ที่ไม่ใช่เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้น อาทิเช่นมีการกดทับที่บริเวณกล้ามเนื้อสะโพกหรือเกิดการกดทับจากการหนีบของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่พบบ่อยที่เป็นปัญหาคือกล้ามเนื้อ Piriformisซึ่งอยู่บริเวณสะโพก ก่อให้เกิดอาการปวดในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คืออาการปวดร้าวจากสะโพกไปตามเส้นประสาทลงไปถึงปลายเท้าดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวตามเส้นประสาท Sciatic …

อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก Read More »

69

อาการปวดขาจากกล้ามเนื้อสะโพก หนีบเส้นประสาท

อาการปวดร้าวตามขามักถูกวินิจฉัยว่าเป็นอาการปวดที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทที่บริเวณกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการกดทับเส้นประสาทอย่างไรก็ตามเราพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนนึง ที่อาการปวดร้าวตามขานั้นไม่ได้เกิด จากการกระดูกสันหลังแต่เกิดจากกล้ามเนื้อสะโพกมีการหนีบทับเส้นประสาทเกิดขึ้น กล้ามเนื้อที่พบบ่อยว่ากดทับหรือหนีบทับเส้นประสาท คือ กล้ามเนื้อ (Piriformis) ชึ่งโรคนี้ชื่อว่า (Piriformis Syndrome) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวตามขาเรื้อรัง และมีอาการปวดสะโพกบริเวณที่นั่งทับอาจจะมีอาการเล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง และเดินไม่ได้ผู้ป่วยบางรายได้รับการทำ MRI เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกทับเส้นแต่พบว่ากระดูกสันหลังปกติทั้งหมด แต่ยังมีอาการปวดขาอย่างรุนแรงอยู่ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรแต่สาเหตุที่ทำให้เกิดปวดขานั้นเกิดจากโรคนี้ ที่โชคร้ายกว่านั้นคือผู้ป่วยมีพยาธิสภาพบางอย่างอยู่ที่หลัง และมีอาการปวดขาที่เกิดจากกล้ามเนื้อหนีบทับเส้นประสาทนี้มีบางครั้งผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่กระดูกสันหลังไปแล้วไม่หายปวด จากอาการปวดขา ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหนีบทับเส้นประสาทนี้ ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาจะมีลักษณะคล้ายการปวดตามแนวของเส้นประสาทจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวินิจฉัยแยกระหว่างโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเกร็งตัวหนีบทับเส้นประสาทนี้ออกจากกันซึ่งจะทำให้อุบัติการณ์ของการผ่าตัดลดลงและผู้ป่วยไม่ต้องถูกผ่าตัดโดยไม่จำเป็น แพทย์ผู้ชาญทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation) จะเป็นผู้ที่ทำการรักษาโรคของกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาทที่บริเวณของสะโพกได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของที่ผู้ป่วยทุกรายควรจะได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ด้านเวชศาตร์ฟื้นฟู เพื่อแยกโรคกล้ามเนื้อต่างๆออกเสียก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดเราเรียกการรักษาผู้ป่วยร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยทั้งแพทย์สาขาอื่นๆนี้ว่าการรักษาแบบ Comprehensive Approach ซึ่งศูนย์รักษากระดูกสันหลังครบวงจร รพ.กรุงเทพ มีแนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังโดยวิธีการดังกล่าวซึ่งน่าจะช่วยลดอุบัติการของการผ่าตัดซ้ำซ้อน หรือการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นได้และนับเป็นประโยนช์ที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย ที่มีปัญหาลักษณะดังที่กล่าว นาวาอากาศเอก นพ. ทายาท บูรณกาลผู้อำนวยการศูนย์กระดูกสันหลังครบวงจร รพ.กรุงเทพผู้ประพันธ์

68

อาการปวดแขนจากกล้ามเนื้อคอ หนีบเส้นประสาท

อาการปวดแขนจากกล้ามเนื้อคอ หนีบเส้นประสาทอาการปวดแขนที่ร้าวจากบริเวณคอไปไหล่ และไปปลายแขนนั้น โรคที่พบบ่อย คือ การกดทับเส้นประสาทที่บริเวณคออย่างไรก็ตามอาการปวดแขนที่ร้าวมาตามเส้นประสาทที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันยังสามารถเกิดจากกล้ามเนื้อคอหนีบทับเส้นประสาทได้กล้ามเนื้อที่พบบ่อยว่ามีการหนีบเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงร้าวลงไปถึงปลายแขนได้ คือ กล้ามเนื้อ (Scalene) ดังนั้นจึงมีโรคอีกโรคหนึ่งที่เราควรนึกถึงว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามแขนได้คือโรคกล้ามเนื้อ Scalene บีบเส้นประสาทหรือ (Anterior Scalene Syndrome) อาการปวดอาจจะมีอาการรุนแรง จนกระทั่งผู้ป่วยจำเป็นต้องประคองแขนเอาไว้นิ่งๆ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งบางรายปวดมากจนร้องไห้สาเหตุที่กล้ามเนื้อ Scalene บีบทับเส้นประสาทนั้นเชื่อว่าเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะจากการอยู่ใน Position หรื่อท่าทางที่ผิดปกติระยะเวลานานๆ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียดผู้ป่วยบางรายมีประวัติ ว่านอนสัปหงก หรือฟุบไปกับโต๊ะหลายรายมีประวัติการใช้คอมพิวเตอร์ระยะเวลานานๆ บางรายนั่งหลับบนรถทัวร์เป็นต้น ทำให้เกิดอาการปวดร้าวตามแขน ในเวลาต่อมาปัญหาของการปวดร้าวตามแขนที่เกิดจากกล้ามเนื้อคอหนีบเส้นประสาท ที่เกิดจากการวินิจฉัยเนื่องจากมีอาการคล้ายกับการกดทับเส้นประสาทบริเวณกระดูกคอเป็นอย่างมากบางครั้งผู้ป่วยมีพยาธิสภาพ เช่น โรคหมอนรองกระดูกที่คออยู่แล้วจึงมักถูกวินิจฉัยเป็นเรื่องของกระดูกคอทับเส้นประสาท เป็นต้น แพทย์ที่ทำหน้าที่ในการรักษาโรคกล้ามเนื้อคอหนีบเส้นประสาท คือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งมีวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและไม่ใช่การผ่าตัดอาทิเช่น การทำให้กล้ามเนื้อคอผ่อนคลาย โดยการใช้กายภาพบำบัดหรือการฉีดยาเข้าที่กล้ามเนื้อที่เป็นปัญหา เช่น การทำ (Trigger point injection) หรือการฉีดยาที่กล้ามเนื้อ Scalene การปวดแขนจากกล้ามเนื้อคอหนีบเส้นประสาทนี้มักจะหายได้หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและได้รับคำแนะนำในการใช้งานศีรษะและลำคอที่ถูกต้องเพื่อที่จะไม่ได้กลับมาเป็นอีกสิ่งที่สำคัญสำหรับการวินิจฉัยอาการปวดแขนจากกล้ามเนื้อนี้ คือต้องวินิจฉัยให้ได้ก่อนการผ่าตัดหากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดกระดูกคอมาแล้ว และไม่หายปวดผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการจากโรคกล้ามเนื้อคอหนีบเส้นประสาทนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวไปตามแขนก่อนที่ได้รับการผ่าตัด ควรจะได้รับการวินิจฉัยแยกโรคของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ และคอที่อาจจะหนีบทับเส้นประสาทนี้ออกไปเพื่อไม่ให้เกิดภาวะที่เรียกว่าการผ่าตัดแล้วไม่หายปวดเกิดขึ้นการรักษาแบบองค์รวมของศัลยแพทย์ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูร่วมกันจะทำให้ลดอุบัติการผ่าตัดโดยไม่จำเป็นและสามารถรักษาอาการปวดแขนของเส้นประสาทนี้ได้โดยไม่ต้องผ่าตัดมากขึ้น นาวาอากาศเอก นพ. ทายาท บูรณกาลผู้อำนวยการศูนย์กระดูกสันหลังครบวงจร รพ.กรุงเทพผู้ประพันธ์

67

อาการชักในเด็ก

อาการชักในเด็กมีหลายรูปแบบขึ้นกับว่าสมองส่วนใดที่ทำงานผิดปกติ เด็กบางคนอาจมีแค่อาการเหม่อลอยช่วงสั้นๆเหมือนใจลอย โดยไม่มีอาการเกร็งหรือกระตุกของร่างกายให้เห็น บางคนอาจมีอาการเหมือนเป็นลมล้มลงทันที โรคลมชักบางชนิดสามารถทำให้เด็กมีอาการชักได้หลายรูปแบบ อาการ ชักบางประเภทเกิดเฉพาะบางช่วงอายุเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ รูปแบบอาการชักในแต่ละช่วงอายุจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยแยกชนิดของโรคลมชักใน เด็กได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ อาการชักอาจจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีไข้สูงๆ มักจะมากกว่า 40 องศาเซลเซียส เรียกว่า Acute Febrile Seizure ซึ่งเกิดในเด็กที่อายุ 6 เดือนถึง 5 ปี สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากการพัฒนาของสมองที่ยังไม่สมบูรณ์ในช่วงอายุน้อยจึงทำให้กลไกการปรับอุณหภูมิทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งอาการชักนี้ จะไม่เกี่ยวกับพยาธิสภาพในสมองของเด็ก และจะไม่ทิ้งรอยโรคไว้ในสมองเด็ก เมื่ออายุมากขึ้น อาการชักเมื่อมีไข้สูงจะหายไปเอง เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะชักนี้ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองจึงควรให้บุตรหลานทานยาลดไข้และเช็ดตัว เพื่อไม่ให้อุณหภูมิกายเด็กแตะ 40 องศาเซลเซียส อาการชักไม่ใช่แค่เกร็งกระตุกทั้งตัว อาการชักที่เป็นที่รู้จักกันดี และสามารถสังเกตได้ชัดเจนคือ อาการเกร็งกระตุกทั้งตัว ตาเหลือก และหมดสติไม่รูสึกตัว ซึ่งสมัยก่อนเรียก อาการชักเช่นนี้ว่า “ลมบ้าหมู” นอกจากนี้ยังมีอาการชักบางประเภทที่ผู้ป่วยอาจไม่ชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ได้แก่ อาการชักเฉพาะส่วน (Partial Seizure) เช่น อาการกระตุกของแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ใบหน้า อาการคลื่นไส้ปวดท้อง อาการกลัวหรือความรู้สึกแปลกๆ อาการเห็นภาพหลอนหรือหูแว่ว …

อาการชักในเด็ก Read More »

66

อาการของผู้ป่วยโรคเอดส์

แม้ว่าโรคเอดส์จะยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน แต่ถ้าผู้ติดเชื้อเอดส์รู้ตัวได้เร็ว มีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ก็สามารถจะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อไปได้อีกหลายปีทีเดียวล่ะค่ะ เพราะฉะนั้นลองฟังดูนะคะว่า อาการนำที่พบได้บ่อย ๆ ในผู้ติดเชื้อเอดส์ นั้นมีอะไรบ้าง 1.มีไข้ต่ำ ๆ เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นตลอดเวลา มีเหงื่อออกมาตอนกลางคืน2.น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว กว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวในระยะเวลา 1 เดือน เบื่ออาหาร อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย3.ต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้เป็นก้อนขนาดโตกว่า 1-1.5 เซนติเมตร หลายตำแหน่ง เช่น บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ4.มีอาการทางจิตประสาท เช่น ความจำเสื่อม อารมณ์แปรปรวนเปลี่ยนแปลงง่าย และอาจมีอาการทางสมอง เช่น แขนขาชา อัมพาตครึ่งซีก ชักกระตุก5.มีฝ้าขาวที่ลิ้นและช่องปากเป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์6.มีเริมที่ริมฝีปากหรืออวัยวะเพศ มักเป็นชนิดลุกลามและเป็นอยู่นาน7.มีอาการกลืนเจ็บ กลืนติด กลืนลำบาก สาเหตุเกิดจากเชื้อราในช่องปากลุกลาม ลงไปที่หลอดอาหารส่วนต้น ทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ8.มีผื่นสีม่วงแดงหรือตุ่มสีม่วงขึ้นตามผิวหนัง แขน ขา ลำตัว หน้า ศีรษะ อวัยวะเพศ …

อาการของผู้ป่วยโรคเอดส์ Read More »

65

อัลตราซาวด์

อัลตราซาวด์ (ultrasound)เป็น การตรวจวิเคราะห์โดยการใช้เคลื่อนเสียงความถี่สูง โดยมีหลักการคือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกจากเครื่องอัลตราซาวด์ ผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปภายในช่องท้อง เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบอวัยวะที่ทึบหรือมีความหนาแน่นแตกต่างกัน ก็จะสะท้อนกลับมาที่เครื่องอัลตราซาวด์ และแปลงเป็นสัญญาณภาพปรากฎบนจอมอนิเตอร์ ซึ่งสามารถถ่ายเป็นภาพบนแผ่นเอ็กซเรย์เก็บไว้ได้ ปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่องมือที่เรียกว่าอัลตราซาวด์ ถือเป็นการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่สำคัญทางรังสีวิทยาวิธีหนึ่ง การตรวจด้วยวิธีนี้จัดเป็นการตรวจที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเตรียมผู้ป่วยมากนัก เครื่องมือหาได้ง่าย มีในโรงพยาบาลเกือบทุกจังหวัด และอำเภอของประเทศไทย จนบางครั้งมีผู้กล่าวว่า ในอนาคตจะสามารถใช้แทนหูฟัง stethoscope ของแพทย์ได้ นอกจากนี้อัลตราซาวด์ยังทำการตรวจได้ที่ข้างเตียงผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่ยนที่ มีอาการหนัก ข้อมูลที่ได้จากการตรวจด้วยวิธีนี้แม้จะไม่มากเท่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ก็ทำให้แพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่เบื้องต้นได้ โดยเฉพาะโรคในช่องท้อง ปัจจุบันเครื่องอัลตราซาวด์มีราคาไม่แพงมากนัก ในโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งสามารถจัดหาเครื่องได้ ข้อสำคัญการตรวจอัลตราซาวด์ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ตรวจเป็นอย่างมาก หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง อัลตราซาวด์เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดยให้ทรานส์ดิว เซอร์ ส่งคลื่นอัลตราซาวด์กระทบกับผิว ต่อมหรือเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติต่างกัน จะเกิดการสะท้อนกระเจิงของคลื่น และคลื่นที่สะท้อน กระเจิงกลับเข้าสู่ทรานส์ดิวเซอร์ จะถูกบันทึก ขยายและปรับแต่งก่อนส่งไปแสดงผลทางจอภาพการนำมาใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถใช้ตรวจส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่1. ส่วนหัว ใช้ตรวจเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เพื่อตรวจดูความผิดปกติในกระโหลกศีรษะ โดยตรวจผ่านกระหม่อมที่ยังไม่ปิด2. ส่วนคอ ใช้ตรวจหาความผิดปกติและหารอยโรคของต่อมไทรอยด์, ต่อมน้ำลาย, ก้อนในบริเวณคอ และใช้ตรวจเส้นเลือดแดงคาโรติด3. ส่วนอก ใช้ตรวจทรวงอก เพื่อดูน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือตรวจดูรอยโรคว่า เป็นเนื้อหรือน้ำติดกับผนังทรวงอก …

อัลตราซาวด์ Read More »

64

อัลตราซาวด์ ระบบทางเดินปัสสาวะ

เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจดูลักษณะของทางเดินปัสสาวะ สามารถให้ข้อมูลได้ใกล้เคียงกับภาพเอ็กซเรย์ที่ฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือด แต่การตรวจด้วยอัลตราซาวน์ไม่ต้องฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือด และไม่มีอันตรายใด ๆ อัลตราซาวน์ใช้คลื่นเสียงเข้าไปเพื่อที่จะให้คลื่นเสียงนั้นสะท้อนออกมา และแปรผลจากคลื่นเสียงเป็นภาพ ดังนั้นการตรวจด้วยอัลตราซาวน์จะช่วยลดความเสี่ยงจากการแพ้สารทึบแสง จะเลือกใช้การอัลตราซาวน์กับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้สารไอโอดีน และสารอื่น ๆ ที่จะทำให้ไตวายได้ ผู้ป่วยที่จะตรวจควรจะงดน้ำ และอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน อัลตราซาวน์จะช่วยในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิ่ว มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ โรคมะเร็ง และโรคไตบางชนิดหรือไม่ การตรวจด้วยอัลตราซาวน์นั้น ถ้าหากต้องการจะดูลักษณะของกระเพาะปัสสาวะจะต้องกลั้นปัสสาวะนานหลายชั่วโมง เพื่อให้ปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะเพื่อจะเห็นภาพของกระเพาะปัสสาวะได้ ชัดเจน ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์ นพ. วรวุฒิ เจริญศิริศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพที่ปรึกษา

62

การสูญเสียเหงื่อและการชดเชยในการออกกำลังกาย

การสูญเสียเหงื่อและการชดเชยในการออกกำลังกาย ในปัจจุบันมีการสนับสนุนให้คนไทยออกกำลังกายกันมากยิ่งขึ้น โดยหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สสส. หรือ สำนักงานส่งเสริมการสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาพซึ่งเป็นองค์กรที่คล่องตัว มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมเรื่องเหล่านี้ และที่สำคัญคือ มีงบประมาณสนับสนุนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ในปัจจุบันเราไปที่ไหนๆในประเทศไทย จะเห็นมีคนออกกำลังกายกันมากขึ้นอย่างชัดเจน แต่จะมีจำนวนเท่าใด และคิดเป็นกี่เปอร์เซนต์ของคนไทยทั้งประเทศ ผมยังไม่มีตัวเลข และเป้าหมายควรจะเป็นเท่าใด จึงจะเห็นผลว่าคนไทยมีสุขภาพดีจึงมีอัตราการเจ็บป่วยน้อยลงอย่างเป็นรูปธรรม น้ำในร่างกาย ก่อนอื่นผมอยากเรียนให้ทางผู้อ่านได้ทราบว่า ร่างกายคนเรานั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 40-60% ทีเดียว สมมุติว่าท่านมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ท่านจะมีน้ำอยู่ในร่างกายประมาณ 24-36 กิโลกรัมเลยทีเดียว กระจายอยู่ในส่วนต่างๆในตัวท่าน ที่มากที่สุดก็จะอยู่ในเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย (ร่างกายของคนเราจะประกอบไปด้วยเซลล์มากมายที่มีชีวิต เช่น เซลล์ที่ผิวหนัง ไขมันใต้ผิวหนังในกล้ามเนื้ออวัยวะต่างๆ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ไต หัวใจ ปอด สมอง ไขสันหลัง เป็นต้น) การที่เซลล์ของอวัยวะต่างๆทำงานได้นั้นจะต้องอาศัยน้ำภายในเซลล์ (Intra cellular water) ซึ่งคิดรวมแล้วมีประมาณ 62% ของน้ำทั้งหมดภายในร่างกาย (24-36 กก.) ส่วนที่เหลืออีก 38% …

การสูญเสียเหงื่อและการชดเชยในการออกกำลังกาย Read More »

60

การวินิจฉัยโรคเอ็มเอ็ม

การวินิจฉัยโรคเอ็มเอ็มโรคเอ็มเอ็ม (MM) หรือชื่อเต็มๆ ว่า มัลติเพิล มัยอิโลมา (Multiple Myeloma) เป็น โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยารูปแบบหนึ่ง ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งตัวของพลาสมาเซลล์ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากไขกระดูก มีการสร้างโปรตีนที่ผิดปกติในเลือด โดยปกติพลาสมาเซลล์ทำ หน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย แต่เมื่อผู้ป่วยได้ป่วยเป็นโรคเอ็มเอ็มแล้ว พลาสม่าเซลล์จะถูกเปลี่ยนให้เป็นเซลล์มะเร็งและไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ตามปกติ แต่จะสร้างเอ็มโปรตีนขึ้นมา พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ผิดปกติออกมาสู่ร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติต่อไขกระดูก ตลอดจนอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย โรคเอ็มเอ็มเป็นมะเร็งของพลาสมาเซลล์ เกิดจากการกระตุ้นยีนมะเร็ง หรือมีความผิดปกติในการควบคุมสารซัยโตไคน์ และยีนตัวรับซัยโตไคน์ หรือการขาดหายของยีนกดมะเร็ง เซลล์เอ็มเอ็มเป็นเซลล์ซึ่งแบ่งตัวช้า มี interleukin-6 (IL-6) เป็นสารกระตุ้นให้เซลล์ แบ่งตัว ทำให้มีการทำลายกระดูก และกดการทำงานของเซลล์ปกติในไขกระดูก มีการสร้างโปรตีนผิดปกติ (M-protein) ซึ่งตรวจพบในซีรั่ม และ light-chain ซึ่งถูกขับออกมาในปัสสาวะ เรียก Bence–Jones protein โรคเอ็มเอ็มมักจะทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายได้หลายระบบ เช่น ไต กระดูก ผิวหนัง หัวใจ ระบบประสาท และเมตาบอลิสมอื่น ๆ โรคเอ็มเอ็มพบมากในวัยผู้ใหญ่ …

การวินิจฉัยโรคเอ็มเอ็ม Read More »

59

การวัดอุณหภูมิในเด็ก

ปรอทวัดไข้มีหลายประเภท ได้แก่ ปรอทวัดไข้แบบแท่งแก้ว ปรอทวัดไข้ชนิดนี้มีข้อดีคือราคาประหยัด แต่อาจจะอ่านยาก ปรอทชนิดนี้มี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้วัดทางปากและแบบที่ใช้วัดทางก้น แบบที่ใช้วัดทางก้นจะมีปลายมนกว่า หากจะนำแบบที่ใช้วัดทางปากไปใช้วัดทางก้น จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังไม่ให้ปลายปรอทไปทำอันตรายต่อก้นและลำไส้ตรง ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล ข้อดีคือวัดได้รวดเร็ว แสดงผลเป็นตัวเลขทำให้ง่ายต่อการอ่าน ใช้ได้ทั้งวัดทางปากและทวารหนัก ปรอทที่ใช้วัดไข้ทางหู ข้อดีคือรวดเร็วมากในการวัดไข้และความแม่นยำสูง แต่ผู้ใช้จะต้องมีความชำนาญ ข้อเสียคือราคาแพง วิธีการวัดไข้ ปรอทวัดไข้แบบแท่งแก้ว สลัดปรอทจนลงต่ำกว่า 37 ํC การวัดไข้ทางทวารหนักนั้นแม่นยำที่สุด การวัดทางปากหรือหูก็ใช้ได้ผลดี การวัดทางรักแร้ไม่ค่อยแม่นยำแต่ก็ดีกว่าไม่ได้วัดเลย สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ควรจะวัดทางทวารหนัก เด็กที่อายุมากกว่า 5 ปี ใช้ปรอทวัดไข้ทางปาก การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก จับให้นอนคว่ำบนตัก ใช้ Jelly ทาปลายปรอทวัดไข้ และที่ทวารหนัก ค่อย ๆ ใส่ปรอทวัดไข้ ในเด็กอายุ < 6 เดือน ใส่เข้าประมาณ ¼ – ½ นิ้ว ไม่ควรออกแรง ถ้ามีปัญหาใส่ไม่เข้า จับเด็กให้อยู่กับที่ …

การวัดอุณหภูมิในเด็ก Read More »

Scroll to Top