90

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง อดทน มีพละกำลังในการทำงาน มีอารมณ์และจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน กระฉับกระเฉงตลอดเวลา มีความคิดที่ฉับไว ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน การออกกำลังกายยังช่วยให้บุคลิกภาพ รูปร่างสง่างามทุกย่างก้าว เพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง เมื่อรูปร่างได้สัดส่วนสวยงาม การสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญเริ่มต้นต้องมีกำลังใจที่แน่วแน่ ควรให้กำลังใจซึ่งกันและกัน สร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเพื่อน ชักชวนไปออกกำลังกายด้วยกัน ความสุขจากการออกกำลังกายหาได้ไม่ยาก เพียงแค่สร้างความพร้อมที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ทดสอบสมรรถภาพก่อนออกกำลังกาย การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เป็นสิ่งที่พึงกระทำก่อนการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายนั้น ร่างกายจะต้องทำงานมากว่าภาวะปกติ ผลการทดสอบสมรรถภาพร่างกายก่อนการออกกำลังกายจะเป็นตัวชี้วัดว่าควรออกกำลังกายแบบใด หนักแค่ไหน ใช้เวลาเท่าไร บ่อยแค่ไหน และควรมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำหรือจัดโปรแกรมการออกกำลังกาย จะทำให้สามารถออกกำลังกายได้อย่างมั่นใจและถูกต้องตามหลักวิชาการมากขึ้น การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ควรมุ่งหวังให้เกิดการเพิ่มสมรรถภาพร่างกายทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1. ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและปอด โดยถ้าหัวใจ ปอด และระบบไหลเวียนของเลือดสมบูรณ์แข็งแรง จะช่วยให้ไม่เหนื่อยง่าย จึงป้องกันและรักษาโรคหัวใจขาดเลือดได้2. ความแข็งแรงของข้อต่อและเส้นเอ็น โดยต้องการให้ข้อต่อและเอ็นที่ยึดข้อต่ออ่อนตัวและยืดหยุ่น ป้องกันการติดยึดของข้อต่อและภาวะข้อเสื่อมเมื่อถึงวัยกลางคนและวัยสูงอายุ3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ4. ความอดทนของกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการเมื่อยล้าในชีวิตประจำวัน5. การมีสัดส่วนของร่างกายที่เหมาะสม รวมทั้งสัดส่วนไขมันของร่างกายที่ไม่มากเกินไป ออกกำลังกายแค่ไหนจึงจะดี การออกกำลังกายควรเริ่มด้วยการออกกำลังกายแบบเบาๆ และค่อยๆเพิ่มความหนักขึ้นโดยใช้ชีพจรเป็นตัวกำหนดความหนัก ซึ่งชีพจรสูงสุดของแต่ละคนสามารถคำนวณได้โดยนำ 220-อายุ …

การออกกำลังกาย Read More »

89

การอบอุ่นร่างกาย

หรือคำว่า “วอร์ม อัพ ” ในภาษาอังกฤษ เป็นคำที่ทุกท่านอาจจะคุ้นเคย ถ้าหากท่านเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเป็นประจำ สำหรับท่านที่ดูกีฬาทางทีวี ท่านอาจจะได้ยินผู้บรรยาย พูดว่า “ผู้เล่นกำลังวอร์มอยู่ก่อนการแข่งขันจะเริ่มต้น”การอบอุ่นร่างกาย จะทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อต่างๆ ตลอดจนหัวใจ และปอด ได้รับสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่า อีกสักครู่จะต้องทำงานมากขึ้น การอบอุ่นร่างกายจะประกอบไปด้วยการยืดกล้ามเนื้อ และเอ็นของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ประมาณ 5-10 นาที ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสถานที่ที่จะออกกำลังกายด้วย ถ้าอากาศเย็นอาจต้องเพิ่มเวลา การอบอุ่นร่างกาย เพราะจะทำให้เลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อต่างๆ มากขึ้น กีฬาแต่ละประเภทจะมีวิธีการอบอุ่นร่างกายไม่เหมือนกัน แต่หลักการ ก็คือ ต้องการให้กล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ได้ถูกยืดออกให้เต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนจะออกกำลังกายจริง เพราะเวลาออกกำลังกายจริง การเคลื่อนไหวของร่างกายตามลักษณะกีฬาและวิธีออกกำลังกายที่ท่านจะเล่นต่อไป จะต้องอาศัยการยืด หรือการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างเต็มที่ ถ้าหากไม่ได้ยืดเอาไว้ก่อน กล้ามเนื้อหรือเอ็นอาจได้รับบาดเจ็บ ในบางรายอาจฉีกขาดได้ กล่าวโดยสรุป ประโยชน์ในการอบอุ่นร่างกาย มีดังนี้ คือ – เป็นการเตรียมกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อต่างๆ ให้พร้อมที่จะออกกำลังกายต่อไป ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งในด้านประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ และในด้านป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬา เช่น กล้ามเนื้อฉีกหรือข้อแพลง เป็นต้น– …

การอบอุ่นร่างกาย Read More »

88

การสำลักอาหาร

การสำลักอาหาร ภาวะการสำลักอาหาร คือการที่มีเศษอาหารหรือน้ำ (Food particle) หลังกลืนอาหารหล่นเข้าไปอยู่ในหลอดลม ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอติดต่อกันหลายๆครั้งเพื่อขับดันให้เศษอาหารนั้นหลุดออกไปจากหลอดลม ปกติแล้วเมื่อเกิดกระบวนการกลืนอาหารขึ้น โคนลิ้นจะผลักอาหารให้เข้าไปอยู่ในคอหอยจากนั้นฝาปิดกล่องเสียงจะเคลื่อนตัวลงมาปิดทางเข้าของกล่องเสียงรวมทั้งสายเสียงทั้ง 2 ข้างจะเคลื่อนตัวมาชิดกันเพื่อปิดทางเข้าของหลอดลมทำให้อาหารที่กำลังจะเคลื่อนตัวผ่านลงไปในทางเข้าของหลอดอาหารนั้นไม่สามารถหลุดเข้าไปในหลอดลมได้ จึงไม่เกิดการสำลักขึ้นซึ่งการสำลักอาหารนั้นจึงเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. คนที่พูดในขณะรับประทานอาหาร หรือในขณะกลืนอาหารนั้น ฝาปิดกล่องเสียงและสายเสียงจะเปิดออกเพื่อให้เกิดเสียงพูด อาหารจึงตกลงไปในหลอดลมและเกิดการสำลักขึ้นได้ 2. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณคอหอย เช่นผ่าตัดโคนลิ้น ผ่าตัดมะเร็งคอหอย ผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงจะทำให้การทำงานของอวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการสำลักขึ้น 3. ผู้ป่วยที่สายเสียงเป็นอัมพาตขยับและทำงานไม่ได้ก็จะเกิดการสำลักอาหารและน้ำ รวมทั้งมีอาการเสียงแหบร่วมด้วย 4. ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณลำคอ บางครั้งจะเกิดการบวมของเนื้อเยื่อในคอได้ และเกิดการสำลักอาหารได้เช่นกัน 5. ผู้ป่วยที่ได้รับการดมยาสลบมีการใส่ท่อช่วยหายใจ บางครั้งจะทำให้สายเสียงบวมและทำงานผิดปกติไปได้ จึงเกิดภาวะเสียงแหบและการสำลักอาหารขึ้นได้ การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและตำแหน่งของอวัยวะที่ทำให้เกิดการสำลักบางกรณีสามารถรักษาได้ด้วยยา บางกรณีอาจต้องใช้การฝึกกลืนช่วยบางกรณีใช้วิธีการฝึกการออกเสียงเพื่อให้สายเสียงแข็งแรงขึ้นและบางกรณีอาจต้องอาศัยการผ่าตัด ซึ่งภาวะการสำลักอาหารนั้นถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือรุนแรง (โดยเฉพาะในคนสูงอายุ)สามารถทำให้เกิดทางเดินหายใจอักเสบติดเชื้อได้ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบเป็นต้น แพทย์หญิง จิราวดี จัตุทะศรีหูคอจมูกผู้ประพันธ์

87

การสวนล้างช่องคลอด

ช่องคลอดของผู้หญิงมีลักษณะเป็นถุงตัน ผนังถุงนั้นปกติจะชิดติดกัน ยกเว้นคนที่เคยผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว ผนังของถุงอาจจะแยกออกจากกันและปากถุงมีลักษณะเผยอได้ ผนังช่องคลอดจะมีลักษณะขรุขระคล้ายลูกคลื่น โดยเฉพาะในวัยสาวจะเห็นเด่นชัด แต่ในวัยใกล้หมดประจำเดือนหรือที่เรียกกันว่าวัยทอง ลูกคลื่นนี้จะแบนราบลง กลายเป็นหนังเรียบและบาง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะการขาดฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทองนั่นเองถัดจากปากช่องคลอดด้านนอกเข้ามา 3-4 มิลลิเมตร จะมีเยื่อหนาตัวเป็นวงแหวนล้อมรอบช่องคลอด เรียกว่าเยื่อพรหมจรรย์ โดยทั่วไปเชื่อกันว่าเยื่อพรหมจรรย์จะฉีกขาดเมื่อมีการร่วมเพศครั้งแรก ส่วนความลึกของช่องคลอดนั้นเมื่อคลำเข้าไปด้านหน้า ลึกไม่เกิน 6-7 เซนติเมตร คลำไปด้านหลัง ลึกไม่เกิน 8-9 เซนติเมตร เนื่องจากช่องคลอดด้านหลังลึกกว่าด้านหน้า ตรงบริเวณกลางๆของก้นถุงช่องคลอดจะมีปากมดลูก ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนกลมแข็ง คล้ายยางลบดินสอยื่นยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ตรงกลางของปากมดลูกจะมีรูปากมดลูกภายในช่องคลอดนั้นตามปกติของคนวัยสาวจะอยู่ในสภาพเป็นกรด เพราะผนังช่องคลอดของคนวัยสาวนั้นถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนเพศที่ชื่อเอสโตรเจน ฮอร์โมนเอสโตรเจนกระตุ้นเซลบุผนังช่องคลอดให้สะสมสารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งชื่อไกลโคเจน (Glyclgen) สารไกลโคเจนนี้จะถูกแบคทีเรียในช่องคลอดที่มีอยู่แล้วเปลี่ยนเป็นกรดแลคติค และกรดแลคติคนี้เองช่วยรักษาสภาพกรดด่างของช่องคลอดไว้ความสำคัญของสภาวะกรดด่างของช่องคลอด เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่มักก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อภายในช่องคลอด เมื่อช่องคลอดเป็นกรด โอกาสติดเชื้อทางช่องคลอดก็น้อยลง สำหรับตกขาวธรรมดานั้น จะมีสีขาวปนมูก ไม่คัน ไม่มีกลิ่นเหม็น จำนวนไม่มาก เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุผนังช่องคลอดตามธรรมชาติ และแบคทีเรียที่อาศัยเป็นปกติอยู่ภายในช่องคลอด ดังนั้นตามปกติคนในวัยสาวซึ่งยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดก็มักเป็นกรดอยู่แล้ว ไม่ค่อยมีการติดเชื้อผิดปกติอะไร จึงไม่จำเป็นต้องสวนล้างเอาตกขาวธรรมดาออก แต่ในกรณีที่ต้องการให้ช่องคลอดเป็นกรด เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ซ้ำ เช่น คนที่เคยติดเชื้อรารักษาหายแล้ว คนที่เคยติดเชื้อโรคต่างๆ …

การสวนล้างช่องคลอด Read More »

86

การสวนปัสสาวะทิ้งด้วยตนเองในผู้หญิง

เริ่มแรกเรามาทำความรู้จักอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายปัสสาวะกันก่อน ระบบทางเดินปัสสาวะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนด้วยกันคือ 1.ไตสองข้าง2.หลอดไตสองอัน3.กระเพาะปัสสาวะ4.กล้ามเนื้อหูรูด5.ท่อปัสสาวะ ไตของเราจะกรองเลือดที่ไหลเวียนภายในตัวเราและขับของเสียหรือสารส่วนที่เกินความต้องการออกมาเป็นน้ำปัสสาวะ ไหล ผ่านหลอดไตลงไปเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ ไหลผ่านหลอดไตลงไปเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเปรียบเสมือนกับถุงกล้ามเนื้อคล้ายลูกโป่งจุได้ประมาณ 300-400 ซีซี ปัสสาวะถูกเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะโดยมีกล้ามเนื้อหูรูดเป็นวงๆรัดอยู่ที่ ท่อปัสสาวะ เมื่อมีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ ตัวกระเพาะปัสสาวะจะส่งความรู้สึกไปที่สมอง สมองก็จะส่งให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัวออก เราก็จะถ่ายปัสสาวะออกมาเองซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง โดยทั่วไปคนเราจะเริ่มมีความรู้สึกปวดเมื่อมีปัสสาวะประมาณ 150-200 ซีซี หากเรายังไม่พร้อมหรือยังไม่ต้องการที่จะถ่ายปัสสาวะก็อาจจะเก็บไว้ได้อีก ระยะหนึ่งจนถึงประมาณ 300-400 ซีซี ซึ่งจะรู้สึกปวดมากขึ้นจำเป็นที่จะต้องปัสสาวะทิ้งไปเพราะใกล้จะล้นแล้ว มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ กล้ามเนื้อหูรูดหรือการสั่งงานของสมองทำงานไม่ดี จะทำให้กระเพาะปัสสาวะยืดออกมากจนเกินไป จะเกิดการอักเสบขึ้นไปถึงไต เกิดแผลที่ไตในที่สุดจะทำลายไตข้างนั้นด้วย การสวนปัสสาวะทิ้งเป็นครั้งคราวจะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะไม่ยืดจนเกินไป ทำไมจึงต้องสวนปัสสาวะทิ้งเป็นครั้งคราว ? ป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะยืดมากเกินไป ซึ่งจะสูญเสียแรงบีบตัว ลดจำนวนปัสสาวะที่เหลือค้าง หลังจากถ่ายปัสสาวะแล้ว แต่ออกไม่ได้หมด ปัสสาวะไม่ล้นซึม คุณมีสุขภาพกายและใจดีขึ้น เมื่อไม่ต้องมีสายสวนคาอยู่ตลอดเวลา แล้วต้องเตรียมอะไรบ้าง ? 1.สายยางหรือแท่งแก้ว สำหรับสวนปัสสาวะ2.สบู่ล้างมือ ผ้าเช็ดมือหรือกระดาษทิชชู3.กล่องพร้อมน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น Savlon สำหรับแช่สายยางหรือแท่งแก้ว4.สำลีก้อนสำหรับชุบน้ำยาทำความสะอาดท่อปัสสาวะก่อนสวน5.กระจกขนาดแผ่นโตพอสมควร สำหรับส่องดูท่อปัสสาวะ6.ภาชนะตวงใส่ปัสสาวะ7.สารหล่อลื่นสายสวน8.ชาม/ถ้วย ใบใหญ่ สำหรับใส่ปัสสาวะ …

การสวนปัสสาวะทิ้งด้วยตนเองในผู้หญิง Read More »

85

การสลายนิ่ว

ในปัจจุบันนี้กรรมวิธีในการรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะในปัจจุบันได้พัฒนาไปมากมีวิธีการรักษาใหม่ๆหลายวิธี รวมทั้งการสลายนิ่วด้วย การสลายนิ่วเป็นกรรมวิธีการรักษาโรคนิ่วที่ไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องดมยาสลบ ทำโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่ออกแบบมาโดยเฉพาะทำให้เกิดแรงกระแทก และก่อให้ก้อนนิ่วร้าวและแตกออกเป็นผงในที่สุด ซึ่งแหล่งกำเนิดคลื่นเสียงนี้มีหลายชนิด แล้วแต่บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแต่จะมีหลักการเดียวกัน โดยเครื่องกำเนิดคลื่นออกมาเป็นช่วงๆ ตามการควบคุมของแพทย์ เมื่อผ่านออกมาแล้วสามารถผ่านเนื้อของคนไข้ โดยไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อเมื่อกระทบกับก้อนนิ่วซึ่งจะมีความแข็งมากกว่าเนื้อของคนไข้มากจะเกิดแรงกระแทกขึ้น ทำให้เกิดรอยปริบริเวณก้อนนิ่วแตกออกเป็นเม็ดเล็กๆและกลายเป็นผงนิ่วในที่สุด เมื่อนิ่วแตกออกเป็นผงแล้วจะถูกขับออกมาโดยกลไกตามธรรมชาติ คือน้ำปัสสาวะจะชะก้อนนิ่วให้คนไข้ถ่ายปัสสาวะออกมาเอง การสลายนิ่ว (ESWL; Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy) เป็นการรักษาโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะด้วยเครื่องมือที่สามารถสร้างและส่งคลื่นพลังงานช็อคเวฟจากนอกตัวผู้ป่วย เข้าไปยังเป้าหมายคือนิ่วในตัวผู้ป่วยให้นิ่วแตกสลายออกเป็นชิ้นเล็กพอที่จะผ่านออกมาได้เองตามกระแสปัสสาวะ shock wave เป็นคลื่นพลังงานรูปหนึ่งที่มีความถี่ต่ำ เกิดเป็นช่วงๆ แต่มีแรงดันสูง การเกิดคลื่นในช่วงแรงดันบวกจะเกิดในช่วงสั้น ตามมาด้วยแรงดันลบ ในช่วงระยะเวลาที่นานกว่า นิ่วแตกได้อย่างไร มีกลไกที่เกิดจากแรง 3 อย่างที่ทำให้นิ่วแตก ได้แก่ compression force, spalling force และ cavitation force พลังงานช็อคเวฟจากนอกตัวผู้ป่วยที่กำเนิดจากเครื่องสลายนิ่ว จะผ่านมาที่ตัวนิ่วด้านหน้า พลังงานนี้จะทำให้เกิดแรงอัดที่เรียกว่า compression force แรงนี้จะเริ่มทำให้นิ่วแตก นอกจากนี้เมื่อพลังงานนี้ผ่านตัวนิ่ว จะเกิดแรงสะท้อนกลับบริเวณด้านหลังนิ่วตำแหน่งที่นิ่วสัมผัสกับปัสสาวะ ซึ่งเป็นของเหลวที่อยู่รอบ แรงชนิดนี้คือ spalling force แรงทั้งสองนี้จะช่วยกันอัดทำให้นิ่วเกิดรอยและการปริแตกมากขึ้น …

การสลายนิ่ว Read More »

การสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ (MUSCLE – STRETCHING EXERCISE)

“การยืดเอ็นและกล้ามเนื้อ” STRETCHING EXERCISE มาแล้วว่ามีความจำเป็นก่อนออกกำลังกายหรืออาจทำทุกวันโดยไม่ต้องทำก่อนออกกำลังกายก็ได้ เพราะถือว่าการยืดเอ็นและกล้ามเนื้อนั้นจะช่วยป้องกันไม่ให้ท่านมีอาการเคล็ดขัดยอกได้จากการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น ท่านที่ขับรถยนต์แล้วจำเป็นต้องเอื้อมไปหยิบของที่เบาะหลัง ก็อาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบได้บริเวณด้านหลังส่วนสะบัก บางคนต้องไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษาก็จะเสียทั้งเวลาและเงินทองโดยไม่จำเป็น หรือบางท่านนั่งเก้าอี้เขียนหนังสือ เกิดทำของตกไปที่พื้นแล้วจำเป็นต้องก้มลงไปเก็บของแบบสุดเอื้อม ก็จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่เกิดการอักเสบขัดยอกขึ้นมาได้ ทำไมต้องสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ การใช้งานของกล้ามเนื้อในชีวิตประจำวันโดยเป็นคนที่กระฉับกระเฉงหรือ Active ก็อาจมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเพียงพอในระดับที่ต้องการได้แล้ว แต่ในบางคนที่ไม่ได้กระฉับกระเฉงหรือแอคตีฟ ผมขอแนะนำให้มีการออกกำลังกายเฉพาะเพื่อการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงมากขึ้นสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยไม่ควรทำติดต่อกัน ควรจะทำวันเว้นวัน หรือวันเว้น 2 วันก็ได้ วิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาแห่งสหรัฐอเมริกา (AMERICAN COLLEGE OF SPORTS MEDICINE) ได้ให้คำแนะนำสำหรับคนที่สุขภาพปกติทั่วๆ ไปว่าควรบริหารการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยมุ่งเน้นไปที่กล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยแต่ละส่วนควรทำการบริหารซ้ำ 8-12 ครั้งในแต่ละท่า เพื่อให้ผลในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนั้นๆ อย่างจริงจังวิธีง่ายๆ ในการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ หลักการ หากท่านต้องการให้กล้ามเนื้อมัดใดหรือกลุ่มใดมีความแข็งแรงมากขึ้น สิ่งที่ท่านต้องทำคือ ฝึกให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ทำงานให้หนักมากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ถูกฝึกให้ทำงานมากขึ้นบ่อยๆ เข้า หนักขึ้นบ่อยๆ กล้ามเนื้อเหล่านั้นก็จะมีความแข็งแรงมากขึ้น และถ้าใข้น้ำหนักที่มีขนาดหนักขึ้นเรื่อยๆ ในการบริหารกล้ามเนื้อเหล่านั้นก็มีโอกาสเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นได้ …

การสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ (MUSCLE – STRETCHING EXERCISE) Read More »

83

การให้ยาสลบ/ระงับความรู้สึก

ผู้ที่รับผิดชอบหรือมีความชำนาญในเรื่องให้ยาสลบ หรือยาระงับความรู้สึกเราเรียกกันว่า วิสัญญีแพทย์ หรือหมอดมยา หลายท่านอาจจะเคยได้ยิน หรือเคยมีประสบการณ์มาแล้ว เวลาคนไข้จะเข้ารับการผ่าตัดส่วนที่จะต้องถูกผ่าตัด เช่น มือ แขน ขา หรือท้อง จะต้องไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งพอจะแบ่งเป็นวิธีการต่างๆ ได้ดังนี้1. การผ่าตัดเฉพาะที่ ที่มีพื้นที่ที่จะผ่าตัดขนาดไม่ใหญ่มากนัก แพทย์ผู้ผ่าตัดอาจจะเป็นผู้รับผิดชอบในการฉีดยาระงับความรู้สึก หรือเรียกว่ายาชา เหมือนอย่างที่ท่านทั้งหลายเคยมีประสบการณ์ในการถูกเย็บแผล หรือในการถอนฟันมาแล้ว2. การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนสำหรับ การผ่าตัดที่แขน และขาโดยถ้าทำผ่าตัดที่มือหรือแขน วิสัญญีแพทย์ หรือหมอดมยา อาจใช้วิธีฉีดยาชาในที่บริเวณเหนือไหปลาร้าด้านเดียวกับที่ผ่าตัด ซึ่งจะเป็นตำแหน่งของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขน หรือรับความรู้สึกจากแขน และมือ ทำให้ไม่ต้องใช้วิธีดมยาสลบ ก็สามารถทำให้การผ่าตัดดำเนินไปได้ เช่นเดียวกัน ส่วนการผ่าตัดที่เท้าขึ้นมาจนถึงต้นขา สะโพก ตลอดจนการผ่าตัดบริเวณเชิงกราน ทวารหนัก และการผ่าคลอดลูกทางหน้าท้อง อาจใช้วิธีฉีดยาชาเข้าไปบริเวณไขสันหลัง ระดับบั้นเอว ก็ทำให้การผ่าตัดดำเนินไปได้เช่นกัน3. การให้ยาสลบ จะทำให้คนไข้หมดความรู้สึกหรือหลับไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยอาศัยยาฉีดเข้าทางเส้นเลือด และยาที่ให้ผ่านท่อหายใจ คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลยแม้แต่น้อยขณะผ่าตัด แพทย์สามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าโดยทั่วไปการให้ยาชาเฉพาะที่ หรือเฉพาะส่วนจะเป็นทางเลือกแรกมากกว่าการดมยาสลบ แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับวิจารณญาน และการตัดสินใจของวิสัญญีแพทย์กับแพทย์ผู้ผ่าตัด โดยยึดถือความปลอดภัยต่อคนไข้เป็นหลัก ขั้นตอนในการวางยาสลบ 1. ระยะแรกการเตรียมผู้ป่วยก่อนวางยา …

การให้ยาสลบ/ระงับความรู้สึก Read More »

82

การใส่สายยาง (สำหรับให้อาหาร) เข้าทางรูจมูก

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองตามปกติ เช่นเจ็บคอมากเวลากลืนอาหาร คออักเสบรุนแรง มีแผลร้อนในหลายๆ แผลเจ็บจนรับประทานอาหารไม่ได้ แพทย์มักจะให้น้ำเกลือทดแทนโดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำแต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้เป็นระยะเวลาติดต่อกันนานหลายวัน เช่น การผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรและใบหน้าจากการได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงพบว่าการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ นั้น ไม่เพียงพอในการทดแทนการรับประทานอาหารได้ และการให้น้ำเกลือเป็นเวลานานๆอาจก่อให้เกิดเส้นเลือดดำบริเวณนั้นๆ อักเสบ เกิดไข้ขึ้นมาได้แพทย์จึงเปลี่ยนมาให้อาหารทางสายยยางแทน โดยสายยางนั้นจะถูกสอดผ่านจากรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งผ่านไปในโพรงจมูกวกลงไปในคอหอย, หลอดอาหาร จนกระทั่งปลายสายยางอยู่ในตำแหน่งของกระเพาะอาหาร และเนื่องจากสายยางนี้มักจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เป็นเวลานาน เช่น เกิน 1 สัปดาห์ จึงมักมีคำถามว่า ใส่สายยางอยู่ในร่างกายนานๆจะเกิดข้อเสียอะไรหรือไม่ คำตอบคือ “อาจจะมีข้อเสียได้” เช่น สายยางลื่นหลุดออกจากตำแหน่งของ-กระเพาะอาหาร ทำให้ต้องใส่ใหม่, สายยางก่อให้เกิดจมูก และไซนัสอักเสบได้ เนื่องจากให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุจมูกข้างนั้นๆ ขึ้นมาได้, สายยางอาจทำให้เกิดคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบได้, ตัวสายยางอาจไประคายเคืองที่รูเปิดของท่อปรับความดันของหูชั้นกลาง (Eustachian tube) ซึ่งอยู่ด้านหลังของโพรงจมูก และก่อให้เกิดหูอื้อหรือก่อให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบได้, รวมทั้งผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่ากลืนน้ำลายได้ไม่ปกติเนื่องจากสายยางนั้นค้ำอยู่ในหลอดอาหาร, อาหารบางส่วนอาจย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาในคอหอยได้เนื่องจากสายยางคาอยู่ที่รูเปิดของกระเพาะอาหารกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารจึงทำงานได้ไม่ดีเหมือนสภาวะปกติ หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้เป็นเวลานานวันขึ้นนั้นมักจะเกิดข้อเสียของสายยางนี้ขึ้นได้และอาจมีการสำลักอาหารจากอาหารที่ย้อนขึ้นมาจากกระเพาะแพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนวิธีการให้อาหารแก่ผู้ป่วยโดยเปลี่ยนจากสายยางในจมูกเป็น “การเจาะกระเพาะ” โดยสอดสายยางจากแผลบริเวณผิวหนังที่หน้าท้องเข้าไปยังกระเพาะโดยตรง แพทย์หญิง จิราวดี จัตุทะศรีหูคอจมูก13 บทความผู้ประพันธ์

81

การเอาชิ้นเนื้อจากเต้านมไปตรวจ

การเอาชิ้นเนื้อจากเต้านมไปตรวจในกรณีที่แพทย์ตรวจพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจเป็นไปได้ใน 3 กรณีดังนี้คือ 1.คลำก้อนได้อย่างชัดเจน2. คลำ ก้อนได้ไม่ชัดเจน แต่ตรวจพบได้จากการตรวจเอกซเย์เต้านม MammoGram หรือ3 อาจเป็นในกรณีที่คลำก้อนไม่ได้เลย แต่ใปรับการตรวจเอกซเรย์เต้านมตามระยะเวลา แล้วพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้วกับเต้านม3.กรณีแพทย์จะแนะนำให้ เอาชิ้นเนื้อจากก้อนที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นในเต้านมมาตรวจ ซึ่งจะเป็นวิธี เดียวเท่านั้นที่จะยืนยันได้ว่าก้อนเนื้อนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ สำหรับการจะได้ชิ้นเนื้อมาตรวจอาจทำได้ 3 วิธีดังนี้ คือ 1. ใน ระหว่างทำการตรวจเอกซเรย์เต้านม ในบางสถาบันหรือในบางโรงพยาบาลจะสามารถทำการเจาะชิ้นเนื้อจากตำแหน่งก้อนที่ พบว่ามีความผิดปกติเอาไปตรวจได้เลย โดยอาศัยภาพเอกซเรย์ช่วยให้เกิดความแม่นยำว่า เจาะเนื้อออกจากตำแหน่งที่เป็นก้อนที่สงสัยจริง2. ในกรณีคลำก้อนได้ อาจใช้เข็มเจาะลงไปตรงตำแหน่งก้อนและดูดเอาชิ้นเนื้อหรือน้ำ จากดำแหน่งที่เป็นก้อนเอาไปตรวจ สำหรับวิธีนี้ถ้าก้อนไม่ใหญ่มาก ความแม่นยำอาจไม่ดีพอ3. ในกรณีที่พบความผิดปกติทั้งคลำได้หรือคลำไม่ ได้ แพทย์อาจจะแนะนำให้เอาชิ้นเนื้อไปตรวจโดยการผ่าตัดลงไปที่ก้อนนั้นๆ และส่งตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ก่อนผ่าตัดแพทย์อาจจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะทำอะไร และถ้าหากพบสิ่งปิดปกติแล้วเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางกล้อง จุลทรรรศ์พบว่าเป็นมะเร็ง จะทำอะไรต่อไปในการผ่าตัดคราวเดียวกัน หรือจะรอไว้ก่อนเพื่อตัดสินใจ ภายหลัง ก็อาจจะกระทำได้ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาสอบถามจากแพทย์ผู้รักษานะคะ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

80

การเสียชีวิตของนักมวย (หลังการชก)

ท่านทั้งหลายคงได้เห็นข่าวการเสียชีวิตของนักมวยชาวฟิลิปปินส์ ริโต ซิสนอริโอ ที่มาชกอุ่นเครื่องกับนักมวยไทย ฉัตรชัย กระทิงแดงยิม ในรุ่น 112 ปอนด์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550 และถูกชกน็อคเอาท์ในยกที่ 4 โดยถูกหมัดชุด 3-4 หมัดติดต่อกันที่ศรีษะ และใบหน้าจนหมดสติทันที (หลับกลางอากาศ) ซึ่งต่อมารู้สึกตัวฟื้นขึ้นมา และในระหว่างเดินทางกลับโรงแรมเกิดอาเจียนอย่างรุนแรงจนต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที แพทย์ได้ตรวจพบมีเลือดคั่งในสมองจึงทำการผ่าตัดให้ทันทีและรับตัวไว้รักษาในไอซียู ซึ่งในเวลาต่อมาทราบว่านักมวยท่านนี้ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2550 สถิติการเสียชีวิตของนักมวย ผมพยายามเปิดดูหนังสือเกี่ยวกับเวชศาสตร์การกีฬาและสอบถามจากแพทย์ศัลยกรรมประสาทบางท่าน ทราบว่าไม่มีตัวเลขสถิติ การเสียชีวิตของนักมวยว่ามีมากเพียงใด รวมทั้งสถิติของนักมวยที่เลิกชกแล้ว มีอาการเมาหมัดอยู่มากน้อยเพียงใด แต่เท่าที่มีการเสนอข่าวของ นสพ.บางฉบับในช่วงที่มีข่าวการเสียชีวิตของนักมวยฟิลิปปินส์รายนี้ ทราบว่ามีนักมวยชาวไทยรายหนึ่ง คือ ดีเด่น เก่งการุณ อดีตแชมป์ PABA ชาวไทยรุ่น 108 ปอนด์ ได้เดินทางไปชกที่ฟิลิปปินส์เมื่อเดือนมีนาคม 2550 ที่ผ่านมา และกลับมาเมืองไทยมีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง ซึ่งพบว่าเกิดจากมีเลือดออกในสมองและต่อมาเสียชีวิตเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2550 นอกจากนี้ยังมีข่าวการเสียชีวิตของนักชกชาวอินโดนีเซีย ชื่อ อาวิส อิวี มุลยา …

การเสียชีวิตของนักมวย (หลังการชก) Read More »

79

Cystic fibrosis (CF)

Cystic fibrosis (CF) เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ก่อให้เกิดโรคที่ปอดและระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตับอ่อน ในสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยโรค cystic fibrosis ประมาณ 30,000 ราย โรคนี้ก่อให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุที่เรียกว่า epithelial cells ที่ต่อมเหงื่อในผิวหนัง เยื่อบุทางเดินระบบทางเดินหายใจ ตับ ตับอ่อน ทางเดินอาหาร และระบบสืบพันธุ์ โดยสร้างโปรตีนผิดปกติชื่อ CFTR (Cystic Fibrosis Transmembrane Conductance Regulator) ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมปริมาณ chloride ที่ผ่านเข้าออกเซลล์ เยื่อเมือกจึงหนาตัว เหนียว และเกาะติดแน่น เยื่อเมือกที่ทางเดินหายใจที่เหนียวหนืดทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายในปอดและทางเดินหายใจ ส่วนที่ตับอ่อน เยื่อเมือกทำให้เอ็นซัยม์ย่อยไขมันจากตับอ่อนผิดปกติ ผู้ป่วยเด็กจะอ้วนผิดปกติแม้ว่ารับประทานอาหารได้ตามปกติ ปัจจุบันพบว่ายีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้คือ CF gene อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 7 ผู้ป่วยได้รับยีนจากทั้งพ่อและแม่ ส่วนผู้ที่เป็นพาหะจะได้รับจากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกามีผู้เป็นพาหะ 12 ล้านคน การเกิดโรคนี้พบได้ 1,200 mutations ของ CF gene …

Cystic fibrosis (CF) Read More »

78

Computer vision syndrome สายตาพังจากการใช้คอมพิวเตอร์

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ แท๊บเล็ท หรือสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือที่ทำงาน เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยประสบปัญหากับหนึ่งในอาการเหล่านี้ เช่น ปวดเมื่อยตา ตาแห้ง แสบตา เคืองตา ตาพร่ามัว โฟกัสได้ช้าลง ตาสู้แสงไม่ได้ ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ หรือบางครั้งอาจมีอาการปวดหลัง ไหล่หรือต้นคอร่วมด้วย หากคุณเคยมีอาการเหล่านี้ร่วมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน อาจบ่งบอกว่าคุณน่าจะมีกลุ่มอาการที่เรียกว่า Computer vision syndrome Computer vision syndrome คือกลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น มีการศึกษาพบว่าประมาณ 90% ของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน เคยประสบกับหนึ่งในกลุ่มอาการนี้ ทั้งนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น ขณะเราจดจ่อกับการอ่านหนังสือหรือจ้องจอคอมพิวเตอร์ เราจะกระพริบตาน้อยลงจึงทำให้เกิดอาการตาแห้งง่ายขึ้น แสงสว่างภายในห้องไม่เหมาะสม รวมทั้งการมีแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ การที่ตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ไม่เรียบคมชัดเท่าตัวพิมพ์บนหน้าหนังสือ หรือการมีความไม่นิ่งของสัญญาณในจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เราต้องพยายามในการโฟกัสมากขึ้นจึงก่อให้เกิดอาการตาเมื่อยล้าได้ง่ายขึ้น ระยะห่างจากหน้าจอ ระดับสายตาในการมองจอคอมพิวเตอร์ หรือท่าทางในการในการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม แม้ว่ากลุ่มอาการนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อตาหรือการมองเห็น แต่มักก่อให้เกิดความไม่สบายตา และอาจเป็นปัญหารบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งวิธีง่ายๆที่จะช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยง Computer vision syndrome มีดังนี้คือ 1.ปรับระดับการมองเห็นและปรับท่านั่งในการทำงานให้เหมาะสม …

Computer vision syndrome สายตาพังจากการใช้คอมพิวเตอร์ Read More »

77

อาการผิดปกติที่ควรรีบไปพบแพทย์สำหรับสตรีตั้งครรภ์

ผู้ตั้งครรภ์ มีภาระอันยิ่งใหญ่ที่จะต้อง เฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น อันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารก รวมทั้งผู้ที่เป็นคุณแม่ครั้งแรก สภาวะผิดปกติที่พึงสังวร เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรจะไปพบแพทย์ทันที อาทิเช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องอย่างรุนแรง มีน้ำเดิน (น้ำคร่ำไหลออกจากช่องคลอด) กระหายน้ำอย่างรุนแรงและปัสสาวะลดลงอย่างมาก มีอาการบวมตามส่วนของร่างกาย เช่นที่หน้า แขน และขา ปวดหัวอย่างรุนแรง ปัสสาวะแสบและขัด ถ้ามีไข้ตัวร้อนด้วยยิ่งเป็นอันตราย การมองเห็นแปรปรวนไป หน้ามืดเป็นลม หรือแม้แต่การท้องเสีย อาเจียน ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษา เพราะจะส่งผลกระทบต่อทารก เท่านั้นยังไม่พอ ผู้เป็นแม่ยังต้องคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์ด้วย โดยอาจจะสังเกตจากการเพิ่มหรือลดของน้ำหนัก การเคลื่อนไหวของทารกหรือการดิ้นลดลง ซึ่งจะเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงสุขภาพของทารกได้เป็นอย่างดี ถ้ามีความผิดปกติ อย่าชักช้าควรพบแพทย์ทันที ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

76

อาการปวดหู

อาการ “ปวดหู”เป็นอาการที่พบบ่อยที่นำผู้ป่วยมาหาแพทย์ ส่วนหนึ่งเกิดจากการอักเสบ เช่น การอักเสบของรูหู หรือใบหู การอักเสบของหูชั้นกลางโดยเริ่มจากไข้หวัดแล้วลามไปที่หู ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก ๆ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการแคะหูหรือเช็ดหูไม่ระมัดระวังเวลามีน้ำเข้าหู เพราะนอกจากจะมีโอกาสบาดเจ็บ หรืออักเสบจากการแคะแล้ว ยังมีโอกาสนำเชื้อโรค เชื้อราเข้าไปในหูด้วยบางครั้งเราพบว่าสาเหตุของอาการปวดหู ไม่ได้มากจากโรคของหู แต่มาจากอวัยวะข้างเคียง เช่นอาจมาจากโรคของฟัน เช่นฟันผุ เหงือกอักเสบ ต่อมทอนซิลหรือคออักเสบ , ไซนัสอักเสบ บางครั้งกุมารแพทย์อาจปรึกษาแพทย์ หู คอ จมูก เพื่อตรวจเพิ่มเติมและหาสาเหตุของการปวดหูต่อไป หากไม่สามารถหาสาเหตุและรักษาเบื้องต้นแล้วอาการปวดหูไม่ดีขึ้น นพ. วรวุฒิ เจริญศิริศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพผู้ประพันธ์

Scroll to Top