เทคนิคการเย็บปิดแผลผ่าตัด
เทคนิคการเย็บปิดแผลผ่าตัดสามารถกระทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเย็บด้วยไหมละลาย ไหมดำการใช้ลวดเย็บ staples หรือการใช้กาวผิวหนัง skin glue การดูแลแผลผ่าตัดถือเป็นส่วนสำคัญในการรักษาทางศัลยกรรม จากการศึกษาวิจัยพบว่าโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดพบได้ประมาณร้อยละ0.5-2 ของการผ่าตัดทั้งหมด ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ และอาจก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้มาก บางครั้งอาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การติดเชื้อของแผลผ่าตัดเรียกว่า surgical wound infection ปัจจุบันการป้องกันแผลผ่าตัดจากการติดเชื้อกระทำได้ดียิ่งขึ้นสามารถลดอุบัติการณ์ลงได้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การผ่าตัดรักษาประสบความสำเร็จมากขึ้นกว่าเดิมการเย็บปิดแผลผ่าตัดด้วยการใช้ไหมละลาย absorbable-suture มักเย็บที่ชั้นใต้ผิวหนัง เมื่อแผลสมานเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้วก็ไม่ต้องตัดไหม ปรากฏร่องรอยบนผิวหนังเพียงเล็กน้อยหรือเห็นเป็นเส้นจางๆ หลังเย็บแผลผ่าตัดนิยมปิดด้วย steri-strips ซึ่งเป็นวัสดุปิดแผลชนิดพิเศษ ช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น ส่วนการเย็บแผลผ่าตัดที่ผิวหนังด้วยไหมดำมีข้อดีคือทำให้ปากแผลกระชับแน่นได้ดีกว่าการเย็บด้วยไหมละลาย โดยทั่วไปสามารถตัดไหมได้ภายใน 7-10 วัน หากแผลปิดสนิทและไม่มีลักษณะของการติดเชื้อเกิดขึ้นการหายของแผลผ่าตัด เรียกว่า wound healing ถือเป็นหลักสำคัญทางศัลยกรรมประการหนึ่งปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องกับการหายของแผลเป็นสิ่งที่แพทย์นำมาพิจารณาในการดูแลรักษาผู้ป่วยหลังผ่าตัดเสมอรวมทั้งตรวจประเมินลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแผลผ่าตัดทุกวัน บางครั้งอาจพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัดตามความเหมาะสมและข้อบ่งชี้ทางศัลยกรรมแผลผ่าตัดวันแรกๆจะมีสีแดงเรื่อๆและบวมได้บ้างเล็กน้อยเมื่อคลำแผลจะพบว่าแข็งและหนากว่าผิวหนังปกติ ในการตรวจแผลผ่าตัดด้วยการคลำต้องใส่ถุงมือที่ปราศจากเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลโดยตรงเนื่องจากเป็นการนำเชื้อโรคเข้าไปสู่บริเวณปากแผล บางครั้งการบีบบริเวณโดยรอบของปากแผลช่วยให้สามารถประเมินลักษณะของแผลผ่าตัดได้เป็นอย่างดีการดูแลแผลผ่าตัดต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดเป็นหลัก ไม่สัมผัสโดยตรง ห้ามแคะ แกะ เกาแผลผ่าตัดเป็นอันขาด และหมั่นทำแผลอยู่เสมอ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล dressings ประกอบด้วยผ้า gauze และ tape ปิดบนผิวหนัง รวมทั้งการใช้ยาฆ่าเชื้อบางชนิดเรียกว่า antiseptics ตามความเหมาะสม …