20 2

โรคไตเสื่อม

เขาว่ากันว่า “ข้าวกระเพราไก่ไข่ดาว” คืออาหารจานโปรดอันดับหนึ่งของคนไทย แต่สิ่งที่น่าจะเป็นของโปรดยิ่งกว่าคงจะเป็น “น้ำปลาพริก” ถ้วยเล็กๆ ที่ไม่ว่าจะสั่งเมนูไหน อร่อยขึ้นชื่ออย่างไร ขอให้ฉันได้เติมน้ำปลาเพื่อรสชาติที่เข้มข้นไว้ก่อน รสเค็มเป็นรสชาติยอดนิยมคู่ชาติบ้านเมืองมาช้านาน จึงไม่น่าแปลกใจว่าขณะนี้คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย 2 แสนคน โดยมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 คนต่อปี           ไต เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการกรองของเสียที่อยู่ในเลือดจากทั่วร่างกาย ออกมาเป็นน้ำปัสสาวะ นอกจากไตจะมีหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกายแล้ว ไตยังทำหน้าที่สำคัญอื่นอีก ได้แก่ การควบคุมความดันโลหิต การควบคุมสมดุลของเกลือแร่และภาวะกรดด่างภายในร่างกาย ดังนั้นหากเราบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมากเกินพอดี ปริมาณเกลือโซเดียมในเลือดจะเพิ่มภาระให้กับไตในการกรองของเสียมากขึ้น ทำให้ไตสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานไปจากเดิมเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ภาวะนี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ “โรคไตเรื้อรัง” นอกจากอาหารที่มีรสชาติเค็มแล้ว ยาแก้อักเสบ ลดปวดข้อ ยาไข้หวัดลดน้ำมูก ยาความดัน และ อาหารเสริมบางประเภทยังมีส่วนทำให้ไตเสื่อมก่อนเวลาอันควร ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรังยังรวมไปถึง ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคไต และ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคลูปัส โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ เป็นต้น           สำหรับหลายคนการรับประทานคือการเติมความสุขในช่วงเวลาสั้นๆ ยิ่งในสมัยนี้ ข้อจำกัดเกี่ยวกับอาหารมีมากขึ้นทุกวันจนอาจทำให้เรารู้สึกได้ว่า ที่ผ่านมาเราต่างรับประทานอาหารอย่างผิดๆหรือไม่ มันอาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคนที่ต้องปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานเพื่อสุขภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงนี้นอกจากจะเป็นการรักษาสุขภาพแล้วยังเป็นการรักษาเงินในกระเป๋าอีกด้วย …

โรคไตเสื่อม Read More »

19 2

โรคไข้สมองอักเสบเจอี

โรคไข้สมองอักเสบเจอี โรคไข้สมองอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิด แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัสเจอี Japanese encephalitis (JE) ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อสมองทั่วๆ ไป หรือเฉพาะที่บางส่วน เนื่องจากเนื้อสมองอยู่ติดกับเยื่อหุ้มสมอง จึงอาจพบการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองร่วมกับการอักเสบของสมองด้วยได้ โรคไข้สมองอักเสบเจอี ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตและเป็นโรคที่รักษายาก ที่สำคัญเมื่อเป็นแล้วมีอัตราการตายสูง หากรอดชีวิตมักมีความพิการหรือผิดปกติทางสมองตามมา อัตราป่วยตายอยู่ระหว่างร้อยละ 20-30 ประมาณสองในสามของผู้รอดชีวิต จะมีความพิการเหลืออยู่ เชื้อไวรัสเจอีเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของโรคไข้สมองอักเสบในเอเชีย พบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณปีละ 30,000-50,000 ราย โรคนี้เรียกว่า Japanese เนื่องจากสามารถแยกเชื้อได้จากผู้ป่วยในญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2476 จากสมองของผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคไข้สมองอักเสบ ชื่อที่เรียกในระยะต้นคือ Japanese B encephalitis virus เพื่อบ่งว่าเป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบชนิด B ซึ่งระบาดในหน้าร้อน ส่วนไข้สมองอักเสบชนิด A ซึ่งระบาดตลอดปีในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีชื่อเรียกว่า Von Economo’s encephalitis          โรคไข้สมองอักเสบเจอีพบแพร่กระจายทั่วไปในทวีปเอเชีย พบในหลายประเทศและมีการระบาดบ่อยครั้งในญี่ปุ่น เกาหลี จีน และไต้หวัน แต่ปัจจุบันประเทศดังกล่าวสามารถควบคุมโรคนี้ได้ ในประเทศไทยมีรายงานการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 ที่จังหวัดเชียงใหม่ และระบาดเรื่อยมาทุกภาค บริเวณที่มีการระบาดชุกชุมมากที่สุดคือ …

โรคไข้สมองอักเสบเจอี Read More »

18 2

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 มีรายงานพบว่าโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้กระจายไปหลายอำเภอของจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของไทย ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 มีรายงานพบว่าโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้กระจายไปหลายอำเภอของจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของไทย แต่ยังไม่มีรายงานว่ากระจายไปยังเขตอื่นๆ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงว่าจะพบโรคนี้มากขึ้น จนถึงขั้นอาจเกิดการระบาดได้ ถ้าไม่มีการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ และถ้าเกิดการแพร่ระบาดขึ้นแล้ว ก็จะยากแก่การหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคไข้ปวดข้อยุงลายนี้ ไม่ให้ระบาดไปยังพื้นที่อื่นของประเทศไทย เนื่องจากยุงลายที่เป็นพาหะทั้ง 2 ชนิด คือยุงลายบ้านและยุงลายสวน มีชุกชุมอยู่ทั่วประเทศ           มาตรการที่สำคัญในขณะนี้ ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการลงพื้นที่ โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และอาสาสมัครสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์ร่วมมือกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างเข้มข้นในช่วงหน้าแล้งนี้ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya disease) เป็นโรคที่ยังไม่มียาหรือวัคซีนป้องกันได้ พบว่าเกิดการกลับมาระบาดซ้ำในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย โดยโรคดังกล่าวมียุงเป็นพาหะนำโรคเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก แต่มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อป่วยหากอาการรุนแรงผู้ป่วยจะนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้ สถานการณ์โรคในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย 1.สถานการณ์โรคชิคุนกุนยาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 พบผู้ป่วยในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 5,534 …

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย Read More »

17 1

โรคไขข้อพาลินโดรมิก (Palindromic Rheumatism)

โรคไขข้อพาลินโดรมิก (Palindromic Rheumatism)หรือเรียกย่อๆ ว่า PR เป็นโรคข้ออักเสบชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุโดยพบว่ามีข้ออักเสบเป็นๆ หายๆ แต่ละครั้งไม่เกิน 2 วันอาการข้ออักเสบอาจเป็นได้ทั้งข้อเล็ก และข้อใหญ่ครั้งแรกๆอาจเป็นเพียงข้อเดียว ข้อที่อักเสบมีอาการปวด บวม แดง ร้อนซึ่งเป็นลักษณะของการอักเสบ บางคนแนะนำให้สังเกตอาการเด่นของโรคนี้ดังนี้ “ข้ออักเสบ” “เป็นเร็วหายเร็ว” “น้อยข้อ” “เรื้อรังอย่างน้อย 2 ปี”โดยเฉลี่ยพบโรคไขข้อพาลินโดรมิกในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยแต่ก็พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวถึงวัยสูงอายุ ชายหญิงพบโรคนี้พอๆ กันเมื่อพิจารณาจากรากศัพท์ คำว่า palindromic มาจากภาษากรีก มีความหมายว่า “กลับมาอีกครั้งหนึ่ง” (to run back, to recur) บ่งบอกถึงลักษณะของโรคนี้ที่เป็นๆ หายๆ เกิดได้รวดเร็วและหายได้รวดเร็วเช่นกัน สลับช่วงปลอดอาการผู้ป่วยโรคไขข้อพาลินโดรมิกบางรายอาการเป็นๆ หายๆ ระยะเวลาไม่สม่ำเสมอส่วนมากเป็นข้อเดียว แต่อาจเป็นหลายข้อก็ได้ บางรายอาจมีอาการขึ้นๆ ลงๆมากบ้างน้อยบ้าง หรืออาการของโรคเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาที่สม่ำเสมอ           เมื่อติดตามผู้ป่วยโรคไขข้อพาลินโดรมิกไปเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งจะกลายไปเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดใดชนิดหนึ่งที่พบบ่อยคือจากโรคไขข้อพาลินโดรมิกกลายเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โรคไขข้อพาลินโดรมิกอาจเปลี่ยนไปเป็นโรคข้ออักเสบอื่นๆ เช่นโรคลูปุสหรือเอสแอลอี โรคข้ออักเสบชนิด SNSA เป็นต้นแต่อีกส่วนหนึ่งก็จะยังคงปวดข้อเป็นๆหายๆ ต่อไปปัจจัยที่อาจทำให้โรคเปลี่ยนแปลงไปยังไม่ชัดเจนแต่ผู้ป่วยที่มีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ในเลือดให้ผลบวกขณะวินิจฉัยมีโอกาสที่จะเปลี่ยนไปเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในอนาคตได้มากกว่าธรรมดา สาเหตุ …

โรคไขข้อพาลินโดรมิก (Palindromic Rheumatism) Read More »

37 1

โรคไข้เหลือง (yellow fever)

โรคไข้เหลือง (yellow fever)เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลัน พบการระบาดในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ โรคนี้เป้นโรคเก่าแก่ที่รู้จักกันมานานกว่า 400 ปีแล้ว การติดเชื้อไวรัสก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงจะแยกไม่ออกจากโรคติดเชื้อชนิดอื่น ในรายที่รุนแรงจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะตับวายและไตวาย อัตราตายจากโรคโดยรวมของผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นน้อยกว่าร้อยละ 5 อาการที่เป็นลักษณะชัดเจนจะมีไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อทั่วไป อ่อนเปลี้ยหมดเรี่ยวหมดแรง คลื่นไส้ และอาเจียน ชีพจรจะช้า และอ่อนไม่เป็นสัดส่วนกับอุณหภูมิที่ขึ้นสูง ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองปานกลางในระยะแรก และมากขึ้นในระยะต่อมา ไข่ขาวในปัสสาวะ หรืออาการไม่มีน้ำปัสสาวะอาจจะเกิดขึ้นได้ เม็ดเลือดขาวขึ้นสูงตั้งแต่ระยะแรก และมากขึ้นอีกในวันที่ 5 ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นในระยะนี้ โรคอาจจะสงบอยู่หลายชั่วโมงหรือเป็นวัน หลายรายลุกลามเป็นระยะต่อไปโดยมีอาการเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกที่เหงือก อุจจาระ ตับ และไตล้มเหลว           ผู้ป่วยดีซ่านร้อยละ 20-50 มักจะเสียชีวิตในที่สุดโรคไข้เหลืองตามธรรมชาติอาจเกิดเป็นวงจรในป่าซึ่งประกอบด้วยยุงกับลิง และวงจรในเมืองซึ่งประกอบด้วยยุงกับมนุษย์ การแพร่โรคของวงจรในป่าจะจำกัดอยู่เฉพาะเขตร้อนแถบแอฟริกา และอเมริกาใต้ มีรายงานผู้ป่วย 200 – 300 รายต่อปี ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยรุ่นผู้ชายที่มีอาชีพทำงานอยู่ในป่าหรือบริเวณชายป่าในโบลิเวีย บราซิล โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู …

โรคไข้เหลือง (yellow fever) Read More »

16 2

โรคใหม่คล้ายเอดส์ ไม่ใช่โรคติดต่อ

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2555 สำนักข่าวต่างประเทศซีเอ็นเอ็น (CNN) ได้รายงานข่าวพบโรคชนิดใหม่ในทวีปเอเชีย ซึ่งมีลักษณะอาการคล้ายโรคเอชไอวี หรือเอดส์ (HIV/AIDS) คือ ทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย รายงานยังกล่าวอีกว่าโรคที่พบใหม่นี้ไม่ใช่โรคติดเชื้อ และไม่มีความเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสเอชไอวี ต่อมาเมื่อมีการเสนอข่าวนี้ในสื่อหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ของประเทศไทย ทำให้ผู้ที่ทราบข่าวนี้เกิดความไม่สบายใจ รวมถึงกังวลว่า อาการเจ็บป่วยของตนจะเข้าข่ายเป็นโรคใหม่นี้หรือไม่ อีกทั้งยังมีข้อสงสัยตามมาอีกมากมายว่า โรคนี้คืออะไร มีที่มาอย่างไร ติดต่อกันได้หรือไม่ และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพจึงขอเสนอรายละเอียดของโรคใหม่ดังกล่าวเพื่อคลายความกังวลกันครับ ที่มาของการค้นพบ           เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน แพทย์ได้สังเกตว่า มีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่มีอาการแบบเดียวกันกับผู้ป่วยโรคเอดส์ คือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) และไม่พบว่ามีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน มะเร็ง หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอื่นๆ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยลักษณะเช่นนี้ประมาณ 100 รายที่ป่วยด้วยอาการเป็นๆหายๆ ไม่หายขาด ต่อมาในปีพ.ศ.2547 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พบผู้ป่วยชาวเอเชียที่มีลักษณะอาการเช่นเดียวกัน ทำให้สถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health หรือ NIH) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาวิจัยร่วมกับประเทศไทย และประเทศไต้หวัน โดยรวบรวมอาสาสมัครผู้ป่วยจากทั้งสองประเทศได้ประมาณ 200 ราย …

โรคใหม่คล้ายเอดส์ ไม่ใช่โรคติดต่อ Read More »

15 2

โรคโปลิโอ (Polio)

โปลิโอ เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ เชื้อนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของประสาทไขสันหลัง เป็นสาเหตุให้ขาพิการไปจนตลอดชีวิต ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้ออย่างถาวร เป็นผลให้พิการหรือเสียชีวิตได้ มักจะพบโรคนี้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ปัจจุบันพบได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีการให้วัคซีนป้องกันได้อย่างทั่วถึง           สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ (poliovirus) ติดต่อโดยการกินหรือสูดเอาเชื้อเข้าไปในร่างกาย แล้วทำให้ประสาทไขสันหลังส่วนที่บังคับการทำงานของกล้ามเนื้อเสียไป ถ้าเป็นรุนแรงประสาทสมองจะเสียด้วย เชื้อไวรัสโปลิโอสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ง่ายมาก โดยผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการจะขับถ่ายไวรัสโปลิโอปนออกมากับอุจจาระ แล้วไวรัสผ่านเข้าสู่ร่างกายผู้อื่นทางปาก โดยเชื้ออาจติดมากับมือ หรือปนเปื้อนกับอาหาร หรือน้ำดื่ม หากผู้ที่ได้รับเชื้อโปลิโอยังไม่มีภูมิคุ้มกัน โรคจะมีการติดเชื้อเกือบทุกราย แม้ว่าส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อโปลิโอจะไม่มีอาการ ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้เช่นเดียวกับผู้ที่มีอาการ ผู้ติดเชื้อโปลิโอทั้งในรายที่มีอาการและไม่มีอาการจะสามารถถ่ายทอดเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ วิธีการแพร่เชื้อ            พบว่าติดต่อได้โดยตรงโดยการใกล้ชิดกับผู้ป่วย และสามารถติดต่อจากนมหรืออาหารที่ปนเปื้อนกับอุจจาระ ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสามารถติดต่อทางแมลง ขยะ หรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระ การติดต่อโดยการรับประทานเชื้อเข้าไปเป็นวิธีการติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี แต่ในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลที่ดีหรือในภาวะการระบาด มักพบการติดต่อจากสารคัดหลั่งบริเวณลำคอเป็นสำคัญ เชื้อไวรัสโปลิโอพบได้จำนวนมาก และมีชีวิตอยู่ในอุจจาระได้นานกว่าในสารคัดหลั่งบริเวณลำคอ หลังจากคนได้รับเชื้อจากการกิน ไวรัสโปลิโอจะไปเพิ่มจำนวนในทางเดินอาหาร และตามมาด้วยการมีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งสามารถกระจายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง และรบกวนการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ เป็นผลทำให้เกิดภาวะอัมพาตของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักพบในบริเวณส่วนล่างของร่างกาย เช่น ขาทั้งสองข้าง ระยะฟักตัวของเชื้อ           โดยปกติประมาณ 7-14 วันในรายที่มีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ แต่พบว่ามีรายงานตั้งแต่ 3-35 วัน ส่วนระยะติดต่อของโรคนั้น ยังไม่ทราบระยะเวลาการติดต่อที่แน่นอน …

โรคโปลิโอ (Polio) Read More »

14 2

โรคโคเลสเตอรอลสูงในเลือด

โคเลสเตอรอลเป็นไขมัน ชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งได้รับมาจากอาหารที่มาจากสัตว์ อาหารที่มาจากพืชจะไม่มีโคเลสเตอรอล ส่วนร่างกายสร้างขึ้นเอง จากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและ ไขมันหากมีโคเลสเตอรอลปริมาณสูงในเลือด ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจาการกรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัวมากเกินไป บางรายอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือจากโรคไต โรคตับ และโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีผลทำให้เส้นเลือดแดงแข็ง ถ้าหากเกิดที่เส้นเลือดแดงของหัวใจ ก็จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้การตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณโคเลสเตอรอลสูงกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร หรือไม่ โดยการงดอาหารทุกชนิดก่อนเจาะเลือด 12 ชม. จะทำให้วินิจฉัยโรคนี้ได้ สำหรับคำแนะนำในการป้องกันและรักษาโรคคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีดังนี้ การจำกัดอาหารประเภทไขมัน เพราะอาหารที่มีไขมันมาก จะมีโคเลสเตอรอลสูงด้วย รับประทานน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคอย่างเพียงพอ ซึ่งมีผลทำให้เพิ่มการขับถ่ายโคเลสเตอรอลออกจากร่างกาย รับประทานโคเลสเตอรอลให้น้อยลง ได้แก่ พวกเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะพวกสมอง หนังเป็ด หนังไก่ สำหรับไข่ซึ่งมีโคเลสเตอรอลอยู่ 250-300 กรัม ใน 1 ฟอง ยังคงรับประทานได้อาจจะวันเว้นวัน หรือถ้ากลัวมากอาจทานแต่ไข่ขาว เพราะไม่มีโคเลสเตอรอล ผู้สูงอายุบางคนไม่ยอมทานไข่ ปรากฏว่าอาหารที่รับประทานอยู่มีโปรตีนที่มีคุณภาพน้อยไม่เพียงพอ บางทีทำให้เกิดโรคขาดโปรตีน การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยรักษาระดับของโคเลสเตอรอลในเลือดได้อีกวิธีหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี การรับคำแนะนำและการรักษาจากแพทย์ ซึ่งบางรายต้องรับการรักษาด้วยยา …

โรคโคเลสเตอรอลสูงในเลือด Read More »

13 2

โรคแมเนีย (โรคคลั่ง)

โรคแมเนียเป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีอาการเด่นทางอารมณ์ที่ตรงกันข้ามกับอารมณ์ซึมเศร้า อาการแมเนีย มีลักษณะอารมณ์ดี ร่าเริง แจ่มใสมากกว่าปกติ ผู้ป่วยจะรู้สึกตนเองมีความสามารถเกินความเป็นจริง มีความภูมิใจในตนเองสูงมาก พูดคุยโม้โอ้อวด พูดมากไม่หยุด พูดแบบไม่เหมาะสมไปตามความคิดที่ล่องลอยไปหลายๆ เรื่อง ความคิดจะแล่นไปรวดเร็ว สมาธิจะสั้นมาก ทำให้วอกแวก เปลี่ยนความสนใจได้ง่าย คิดอยากทำอะไรหลายอย่าง เคลื่อนไหวมาก ใช้เงินมาก แสดงออกทางเพศอย่างมากและไม่เหมาะสม กลางคืนไม่ยอมนอนเพราะไม่ง่วง และอยากทำอะไรอยู่ตลอดเวลา ในผู้ป่วยโรคแมเนียบางคน อาจมีอารมณ์หงุดหงิดโมโหง่าย ก้าวร้าวได้ง่าย เวลาถูกขัดใจได้เหมือนกัน           โรคแมเนีย เป็นโรคทางอารมณ์ที่รักษาได้ผลดีมากเช่นกัน ควรรีบพาผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด การรักษาจะใช้ยาเป็นหลัก ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยสงบภายใน 2-3 สัปดาห์ และเมื่อหายแล้วต้องรับประทานยาป้องกันต่อเนื่องไปอีก 6-12 เดือน จิตแพทย์จะจัดยาให้ และสั่งให้หยุดยาตามกำหนด ไม่ควรให้ผู้ป่วยหยุดยาเองเด็ดขาด ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

12 2

โรคเอดส์คืออะไร?

เอดส์ คือ โรคที่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง หรือ เสื่อมไปเพราะถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า เอชไอวี (HIV) หรือเชื้อเอดส์ เอดส์ เขียนใน ภาษาอังกฤษว่า A I D S ประกอบด้วยตัวย่อจากคำต่าง ๆ 4 คำนั่นคือ A มาจาก Acquired หมายถึงการเกิดขึ้นภายหลังไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด I มาจาก Immune หมายถึง ภูมิคุ้มกัน D มาจาก Deficiency หมายถึง การขาดแคลน S มาจาก Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการ           ดังนั้น โรคเอดส์ จึงหมายถึงกลุ่มอาการที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีการทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายหลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัสโรคเอดส์เข้าไป ภูมิคุ้มกันที่ว่าก็คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในกระแสโลหิต ซึ่งปกติทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันดักจับทำลายเชื้อโรคร้ายที่เข้ามา แต่เมื่อใดที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอดส์ เชื้อไวรัสชนิดนี้ก็จะเข้าไปทำลายเซลเม็ดเลือดขาว ทำให้ประสิทธิภาพในการเป็นภูมิคุ้มกันร่างกายเสียไป ไม่สามารถดักจับเชื้อโรคจากภายนอกที่ล่วงล้ำเข้ามาในร่างกายได้เหมือนเดิม เป็นผลให้เจ็บไข้ไม่สบายได้ง่ายจากโรคติดเชื้อต่าง ๆ อาทิ ท้องเสีย หวัด วัณโรค และโรคผิวหนังต่าง …

โรคเอดส์คืออะไร? Read More »

11 2

โรคเอดส์

มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Acquired Immune Deficiency Syndrome มีชื่อโดยย่อว่า AIDS = เอดส์โรคเอดส์ คือ โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่ายกว่าคนปกติขณะนี้โรคเอดส์กำลังระบาดในทวีปอเมริกา ยุโรป อาฟริกา แคนนาดา โรคนี้ได้ติดต่อมาถึงบางประเทศในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย โรคเอดส์เกิดจากอะไร โรคเอดส์เกิดจากเชื้อไวรัส มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Human Immunodeficiency Virus (HIV) โรคเอดส์เป็นกับใครบ้าง           โรคเอดส์ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย จากสถิติ โรคเอดส์มักพบในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หรือชายหญิงที่เปลี่ยนคู่บ่อย ๆ ปัจจุบันพบว่าเกิดในพวกรักต่างเพศได้ โดยเฉพาะในเพศชายที่ชอบเที่ยวโสเภณี โรคเอดส์ติดต่อกันได้อย่างไร โรคเอดส์ติดต่อกันได้หลายทาง แต่ที่สำคัญ และพบบ่อย ได้แก่ การร่วมเพศกับผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือมีเชื้อโรคเอดส์ การรับถ่ายเลือดจากผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือมีเชื้อโรคเอดส์ การใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด หรือร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ จากแม่ที่ตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคเอดส์ ติดต่อไปถึงลูกที่อยู่ในครรภ์ โรค เอดส์ไม่ติดต่อโดยการเล่นด้วยกัน รับประทานอาหารร่วมกัน เรียนร่วมกัน …

โรคเอดส์ Read More »

10 2

โรคเหา

เหา เป็นแมลงที่ชอบกัดและดูดเลือดคน อาศัยอยู่บนศีรษะและอยู่ตามขนบริเวณลำตัว มีลักษณะตัวแบนคล้ายตัวเห็บ แต่มีขนาดเล็กกว่า มีสีดำ เหา 1 ตัวจะวางไข่ประมาณ 150 ฟอง มีสีขาวขุ่นอยู่ติดกับโคนผม ไข่เหาจะฟักเป็นตัวภายใน 7 – 10 วัน เด็กเป็นเหาจะมีอาการคันมากและเกาจนหนังศีรษะถลอก อักเสบ และเป็นแผลติดเชื้อได้ ทำให้เสียสมาธิในการเรียน วิธีป้องกันไม่ให้เป็นเหา ควรปฏิบัติตัวดังนี้ คือ สระผมให้สะอาดเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่อยู่ใกล้คลุกคลีหรือใช้ของร่วมกัน ครูหรือผู้ปกครองควรตรวจเหาให้เด็กและสมาชิกในครอบครัวอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แนะนำให้เพื่อนและคนในครอบครัวกำจัดเหาพร้อมกันด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเหาได้สำหรับการรักษาโรคเหาให้สระผมวันเว้นวัน ใช้หวีเสนียดสางเหาใส่กระดาษและเผาทำลาย ทำเช่นนี้ทุกวันประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ จะช่วยให้เหาหมดไปได้โดยไม่ต้องใช้ยากำจัดหรือใช้สมุนไพร เช่นยาฉุน ใบหรือเมล็ดน้อยหน่า ตำแล้วคั้นกับน้ำหรือน้ำมันชโลมผมให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้ 3 – 4 ชั่วโมง จึงสระผม หากใช้ยารักษาหิดเหาขององค์การเภสัชกรรมซึ่งมีลักษณะเป็นยาน้ำแขวนตะกอนสีขาวขุ่น ก็ควรใช้อย่างระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก ดังนั้นถ้าเด็ก ๆ ไม่อยากเป็นโรคเหาซึ่งน่ารังเกียจต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย และสระผมเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ …

โรคเหา Read More »

9 3

โรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบเป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อโรคที่สะสมรอบๆ ตัวฟัน พบว่าเกือบทุกคนจะเป็นโรคเหงือกอักเสบ อาจมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป โดยปกติเหงือกจะทำหน้าที่ห่อหุ้ม และป้องกันอันตรายให้แก่กระดูกและฟัน โดยมีเอ็นยึดกับรากฟันเอาไว้ ขอบเหงือกที่บริเวณคอฟันจะมีลักษณะบาง ผิวเรียบ ไม่ยึดกับตัวฟัน ทำให้เกิดเป็นร่องเหงือกลึกประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ส่วนของเหงือกที่อยู่ต่ำลงมาจะยึดกับกระดูกเบ้าฟัน ส่วนของเหงือกยึดนี้มีความแข็งแรงกว่าเหงือกที่อยู่บริเวณขอบเหงือกและถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่ามีลักษณะขรุขระเล็กน้อย ไม่เรียบเหมือนขอบเหงือก            ประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของฟันขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของตัวฟันและอวัยวะที่อยู่รอบๆ ซึ่งทำหน้าที่ยึดฟันและพยุงฟันให้คงอยู่ในขากรรไกร อวัยวะที่อยู่รอบๆ ตัวฟัน มีชื่อเรียกรวมกันว่าอวัยวะปริทันต์ ซึ่งประกอบด้วย เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน imageถ้าสังเกตดูที่เหงือกของเราจะเห็นว่ามีสีชมพูและซีดแต่ถ้าเกิดโรคมีการอักเสบหรือมีการติดเชื้อจะมีสีแดง เรียบเป็นมันหรือเป็นสีม่วง คล้ำ ช้ำ เมื่อเหงือกมีการอักเสบและติดเชื้อจะมีหนองเกิดขึ้น โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือก ถ้าลองกดดูจะเห็นว่ามีหนองไหลออกมา อย่างไรก็ตามในบางคนอาจจะมีเหงือกสีคล้ำได้เช่นคนผิวดำ คนที่สูบบุหรี่เป็นประจำนานๆ หรืออาจจะพบได้ในคนที่ทำงานสัมผัสกับสารเคมีเป็นประจำนานๆ สาเหตุ 1.เชื้อแบคทีเรีย โดยปกติในช่องปากของคนเราจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ 200-300 ชนิด เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอักเสบมักเป็นชนิดผสม ประกอบด้วยเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส (Streptococcus mutans) เชื้อแบคทีเรียชนิด Treponema denticola และPorphyromonas gingivalis โดยที่ในน้ำลายของเรามีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสอยู่ เมื่อมีการสะสมเป็นเวลานานเข้าก็จะกลายเป็นหินปูนในปาก ถ้าทำความสะอาดฟันและช่องปากไม่ดีพอแบคทีเรียในแผ่นคราบฟันจะไปยึดติดกับหินปูนเหล่านี้ และไปเกาะตามบริเวณขอบเหงือก ปล่อยสารพิษออกมาทำให้เหงือกอักเสบ2.คราบหินปูน หินปูนหรือบางทีเรียกว่าหินน้ำลาย …

โรคเหงือกอักเสบ Read More »

8 2

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

พบ ประเทศไทยเป็นพาหะโรคธาลัสซียเมียมากถึงร้อยละ 30-40 ของประชากรหรือประมาณ 18-24 ล้านคน และมีผู้เป็นโรคประมาณร้อยละ 1 หรือประมาณ 6 แสนคนของประชากรทั้งหมด โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตก และถูกทำลายง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด และเลือดจางเรื้องรัง ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียทั้งที่เป็นโรค และเป็นพาหะของโรคสามารถถ่ายทอดความผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้ โรคเลือดจางธาลัสซีเมียแบ่งได้เป็น 2 ชนิด เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มียีนหรือสารพันธุกรรมผิดปกติที่ทำให้เป็นโรคธาลัสซีเมียแฝงอยู่ บุคคลเหล่านี้จะมีสุขภาพปกติเหมือนคนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นโรค และจะมีชีวิตยืนยาวเหมือนบุคคลอื่นๆ แต่สามารถถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมียต่อไปให้ลูกได้ หากบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับข้อมูลของธาลัสซีเมียที่เพียงพอ ก็จะไม่ตระหนักถึงความสำคัญของโรค และไม่ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติ และหากโชคไม่ดีมีคู่สมรสที่มียีนที่ผิดปกติเช่นเดียวกัน สามี – ภรรยาคู่นี้ก็จะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติร่วมกันไปสู่ลูกทำให้ลูกเป็นผู้ ป่วยโรคธาลัสซีเมียได้ ทั้งๆ ที่พ่อ และแม่ต่างก็มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเช่นเดียวกับคนปกติทั่วๆ ไป เป็นโรค คือ ผู้ที่ได้รับยีนของโรคเลือดจางธาลัสซีเมียพวกเดียวกันมาจากทั้งพ่อและแม่ จะแสดงอาการของโรค และสามารถถ่ายทอดความผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้ ลักษณะของผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย           ผู้ป่วยจะมีลักษณะซีดโลหิตจาง โหนกแก้มสูง หน้าผากกว้าง ตาเหลือง ดั้งจมูกแฟบ ผิวหนังดำคล้ำ เพราะมีธาตุเหล็กมากในร่างกาย …

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย Read More »

7 2

โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis)

เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งไม่มีอาการจำเพาะ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หรือมีอาการรุนแรง เช่น พบเนื้อตาย แผล ฝีหนองที่ปอด ตับ หรือม้าม หรือพบการติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรวดเร็ว โรคเมลิออยโดสิสเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาของหลายประเทศ รายงานว่าประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางเหนือของทวีปออสเตรเลีย เป็นบริเวณที่มีโรคชุกชุม และสามารถตรวจพบโรคนี้ได้บ้างในฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย นิวซีแลนด์ และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โรคเมลิออยโดสิสเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ระยะฟักตัวไม่แน่นอน อาจสั้นเพียง 2-3 วัน หรือยาวนานเป็นปี เชื้อแบคทีเรียนี้มีอยู่ในดินน้ำ สัตว์หลายชนิด เช่น โค กระบือ แพะ แกะ ม้า สุกร ลิง และสัตว์แทะ เป็นแหล่งแพร่โรค โรคนี้ติดต่อโดยการได้รับเชื้อเข้าไปทางบาดแผล หรือโดยการกิน และการหายใจ ผู้ป่วยอาจมีอาการและอาการแสดงอาการที่พบมีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นรุนแรงมาก เช่น มีไข้ ปอดบวม พบมีการติดเชื้อในกระแสโลหิต และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วมาก อาจมีอาการคล้ายไข้ไทฟอยด์ หรือวัณโรคถุงลมปอดโป่งพอง ฝีเรื้อรังหรือข้อกระดูกอักเสบเป็นต้น โรคนี้พบได้บ่อยในประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ …

โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) Read More »

Scroll to Top