35 2

โรคตับอักเสบ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะที่สำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย หน้าที่ ของตับเริ่มตั้งแต่ขณะที่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ตับทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ตับก็ทำหน้าที่สำคัญมากมายหลายอย่าง เช่น ทำหน้าที่เก็บสำรองอาหาร เป็นแหล่งสร้างพลังงานความร้อน เป็นแหล่งสร้างสารที่จำเป็นต่างๆ ได้แก่ สร้างน้ำดี สังเคราะห์วิตามิน สังเคราะห์สารที่ทำให้เลือดแข็งตัว เป็นต้น สาเหตุ          ตับอักเสบ เป็น ภาวะที่เซลตับถูกทำลาย การทำลายเซลล์ตับเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นได้ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตชัว หรือเซลล์ตับอาจถูกทำลายจากสาเหตุอื่น ได้แก่ จากพิษของสุรา ยาบางชนิด รวมถึงสารเคมี สาเหตุของโรคตับแข็ง          สาเหตุของตับอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีวิธีการติดต่อ และแพร่เชื้อที่แตกต่างกัน ตับอักเสบจากไวรัส          พบได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยตับอักเสบจากไวรัส เอ จะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป ส่วนตับอักเสบจากไวรัส บี พบได้ทั้งในเด็กเล็ก ซึ่งมักไม่มีอาการ จนกระทั่งถึงเด็กโต และผู้ใหญ่ที่อาจมีอาการรุนแรงขึ้น สามารถติดต่อได้ทั้งทางเลือด เพศสัมพันธ์ หรือ แม้แต่การรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป …

โรคตับอักเสบ Read More »

34 2

โรคต้อหิน

ต้อหิน (glaucoma) เป็นโรคตาซึ่งคนที่เป็นส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตนป่วยเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะในระยะแรกๆ พอทราบก็มักจะใกล้บอดแล้ว ที่อันตรายที่สุดคือ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตาจะบอดในที่สุด ไม่ช้าก็เร็ว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในแต่ละบุคคลต้อหินเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคต้อ ตามที่คนเรียกกันโดยทั่วๆ ไป ที่พบบ่อยๆ มีต้อกระจก ต้อเนื้อ ต้อลม และต้อหิน แต่ต้อหินเป็นต้อเพียงชนิดที่ไม่มีตัวต้อให้เห็น เพราะต้อหินเป็นกลุ่มโรคที่มีการทำลายขั้วประสาทตา ซึ่งเป็นตัวนำกระแสการมองเห็นไปสู่สมอง ซึ่งเมื่อขั้วประสาทตาถูกทำลายจะมีผลทำให้สูญเสียลานสายตา เมื่อเป็นมากๆ ก็สูญเสียการมองเห็นในที่สุด ซึ่งเป็นการสูญเสียชนิดถาวร ไม่สามารถรักษาให้กลับคืนมามองเห็นได้ อุบัติการณ์และความชุกของโรค           ครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ร้อยละ 2 ของประชากรที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี ตรวจพบว่าความดันในลูกตาสูง และร้อยละ 8 ของประชากรที่มีอายุเกิน 70 ปี ตรวจพบว่ามีภาวะความดันลูกตาสูง ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยตาบอดจากต้อหินปีละ 120,000 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 9-12 ของทั้งหมด ถือว่าเป็นโรคที่ทำให้ตาบอดมากเป็นอันดับสอง ต้อหินชนิดมุมปิด พบมากในคนเอเชียและชาวเอสกิโม พบบ่อยในผู้หญิง คนชรา ผู้ที่สายตาสั้น และมักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ส่วนต้อหินชนิดความดันลูกตาปกติ พบได้บ่อยในคนญี่ปุ่น มักมีประวัติโรคหัวใจร่วมด้วย …

โรคต้อหิน Read More »

33 1

โรคซีวีเอส

คนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น เกินสองถึงสามชั่วโมง มักจะมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย อาการทางสายตาเหล่านี้เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่า”คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” (computer vision syndrome) หรือ “โรคซีวีเอส”อาการเหล่านี้พบได้ถึงร้อยละ 75 ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อาการในบางคนอาจเป็นเล็กๆ น้อยๆ ไม่บั่นทอนการทำงาน หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์สักครู่ก็หายไป บางคนอาจต้องว่างเว้นการใช้เป็นวันก็หายไป บางรายอาจต้องใช้ยาระงับอาการ สาเหตุของโรค ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่ค่อยกระพริบตา ปกติแล้วเราทุกคนจะต้องกระพริบตาอยู่เสมอ เป็นการเกลี่ยน้ำตาให้คลุมผิวตาให้ทั่วๆ โดยมีอัตราการกระพริบ 20 ครั้งต่อนาที หากเราอ่านหนังสือหรือนั่งจ้องคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบจะลดลง โดยเฉพาะการจ้องคอมพิวเตอร์การกระพริบตาจะลดลงกว่าร้อยละ 60 ทำให้ผิวตาแห้ง ก่อให้เกิดอาการแสบตา ตาแห้ง รู้สึกฝืดๆ ในตาแสงจ้า และแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาเมื่อยล้า ทั้งแสงจ้าและแสงสะท้อนมายังจอภาพ อาจเกิดจากแสงสว่างไม่พอเหมาะ มีไฟส่องเข้าหน้าหรือหลังจอภาพโดยตรง หรือแม้แต่แสงสว่างจากหน้าต่างปะทะหน้าจอภาพโดยตรง ก่อให้เกิดแสงจ้าและแสงสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทำให้เมื่อยล้าตาง่าย การออกแบบและการจัดภาพ ระยะทำงานที่ห่างจากจอภาพให้เหมาะสม ควรจัดจอภาพให้อยู่ในระยะพอเหมาะที่ตามองสบายๆ ไม่ต้องเพ่ง โดยเฉลี่ยระยะจากตาถึงจอภาพควรเป็น …

โรคซีวีเอส Read More »

32 2

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในจังหวัดพัทลุง รายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาแล้ว 33 คน โดยสำรวจพบผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือระหว่าง 25-34 ปี อาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือกลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และอาชีพรับจ้าง อำเภอที่พบผู้ป่วยมากสุด คืออำเภอป่าพะยอม อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน และอำเภอเมือง ตามลำดับ โดยผู้ป่วยทั้งหมดได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอำเภอนั้น ผู้ป่วยทุกรายอยู่ในอาการปลอดภัย           อัตราการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นหลังมีผู้ป่วยเดินทางกลับจากรับจ้างกรีดยางพาราจากจังหวัดใกล้เคียง เบื้องต้นทางจังหวัดได้เรียกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประชุมด่วน เพื่อรับมือป้องกันโรคดังกล่าวไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน และหากพบผู้ป่วยเพิ่มในพื้นที่ใดให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าควบคุมโรคทันที กรมควบคุมโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดวางแผนกำลังดำเนินการระดม อสม.ในพื้นที่ที่มีผู้ป่วย กำจัดลูกน้ำยุงลายทั้งในบ้าน และรอบๆ บ้าน ในสวนทุก 7 วัน พ่นหมอกควันเคมีทำลายยุงตัวแก่ทั้งตำบล ติดต่อกันทุกสัปดาห์ และได้แจ้งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ปริมาณยุงลายมีมากขึ้น และแจ้งโรงพยาบาล สถานีอนามัยทั่วประเทศ สังเกตอาการผู้ป่วยหากพบมีไข้สูง ร่วมกับอาการผื่น และมีอาการปวดข้อต่างๆ …

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) Read More »

31 2

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)

สวัสดีสมาชิกที่รักและใส่ใจในสุขภาพทุกคนครับ เผลอนิดเดียวนี่ก็จะหมดครึ่งแรกของปีแล้วนะครับ และช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่เปลี่ยนจากฤดูร้อนมาเป็นฤดูฝน และในภาวะที่ฝนตกหนักจนในพื้นที่เกิดนำ้ท่วมขัง ซึ่งทุกคนคงพอจะนึกภาพออกกับการเดินลุยนำ้ท่วมขัง ซึ่งมีเชื้อโรคมากมาย ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดโรคตาแดง นำ้กัดเท้า เชื้อราที่เท้า อหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วง ฯลฯ แล้วนั้น ยังมีอีกโรคที่รุนแรงและเกิดเป็นประจำทุกปี นำมาซึ่งการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของพี่น้องคนไทยทุกปี นั้นก็คือ โรคฉี่หนู พอถึงตรงนี้หากท่านใดที่ยังจำเป็นต้องเดินเท้าลุยนำ้ หรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่นำ้ท่วมขังตลอดเมื่อมีฝนตก คงต้องมาทำความรู้จัก กับโรคฉี่หนู เพื่อหาวิธีป้องกัน เอาไว้ดีกว่าแก้ไข เพราะโรคนี้มักจะระบาดในช่วงที่มีนำ้ท่วมขัง และยังรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตได้ด้วยเช่นกันครับ โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)          เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์ที่แพร่เชื้อโรคนี้ ได้แก่ พวกสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไว้ที่ไต ดังนั้นเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อนี้ปนอยู่ด้วยจึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคฉี่หนู” นอกจากจะพบเชื้อนี้ในหนูแล้วยังพบได้ใน สุนัข วัว ควาย เชื้อโรคนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทางคือโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) สาเหตุ เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน …

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) Read More »

30 2

โรคจิต : (สาเหตุ)

สาเหตุของโรคจิตนั้นเกิดขึ้นได้หลายประการ ขึ้นอยู่กับโรคจิตนั้นๆ เป็นโรคจิตประเภทใด เช่น คนที่ป่วยเป็นโรคจิตแบบจิตเภท อาการของโรคจิตนั้นเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและชีววิทยา หมายความว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มีโอกาสถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้มากกว่าคนปกติทั่วๆ ไป ปัจจุบันมีการค้นคว้าวิจัยพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางสารเคมีในระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการของโรคจิตต่างๆ ยาที่ใช้รักษาโรคจิตจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงระดับของสารเคมีเหล่านี้ ให้กลับคืนมาเป็นปกติ ผู้ป่วยจึงหายจากอาการโรคจิตได้           โรคจิตบางประเภท เกิดจากการได้รับสารเคมีที่ผิดปกติเข้าไปในร่างกาย เช่น ผู้ที่เสพยาม้า หรือยาเสพติดอื่นๆ อาจเกิดอาการโรคจิตได้ มีผู้ใช้ยาม้าหลายรายเกิดอาการคุ้มคลั่ง หลงผิดหวาดระแวง คิดว่ามีผู้ตามทำร้าย ทำให้กลัวและมักจะจับเด็กเป็นตัวประกันมีให้เห็นเป็นข่าวเสมอๆ ผู้ที่ดื่มเหล้าบ่อยๆ ก็มีโอกาสเกิดอาการโรคจิต จากฤทธิ์ของเหล้าที่เข้าไปทำลายระบบประสาท           ในผู้ป่วยโรคทางกายบางอย่าง อาจเกิดอาการโรคจิตอย่างเฉียบพลันได้ มีอาการคุ้มคลั่ง เพ้อเจ้อ หูแว่ว และเห็นภาพหลอน เมื่อรักษาโรคทางกายหาย อาการโรคจิตก็หายไปด้วย           ผู้ที่จะหาสาเหตุของอาการโรคจิตได้คือ แพทย์ หรือ จิตแพทย์ เมื่อสงสัยว่าผู้ใดป่วยเป็นโรคจิตจึงควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ทันที ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

29 2

โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม

เป็นที่ทราบกันว่าโรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จึงทำให้ผู้คนเอาใจใส่และให้ความสำคัญทว่าภัยของโรคความดันโลหิตต่ำนั้นคนทั่วไปมักไม่รู้เท่าทัน เรามักจะพบผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นแม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดี โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม          คนที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำมักมีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย แม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดี เป็นที่ทราบกันว่าโรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จึงทำให้ผู้คนเอาใจใส่และให้ความสำคัญทว่าภัยของโรคความดันโลหิตต่ำนั้นคนทั่วไปมักไม่รู้เท่าทัน เรามักจะพบผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นแม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดีตามปกติ อีกทั้งยังเสริมอาหารและวิตามินบำรุงร่างกายอย่างเต็มที่ ส่วนด้านการงานก็ไม่ได้เหน็ดเหนื่อยและไม่มีความกดดัน ทว่ายังคงรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง โดยเฉพาะหลักจากรับประทานอาหารมือกลางวันแล้วจะรู้สึกง่วงซึม เรี่ยวแรงหดหาย นั่งฟุบโต๊ะหาวหวอดๆ จนน้ำหูน้ำตาไหล ไม่มีสมาธิในการทำงานยิ่งไปกว่านั้นอาจมีอาการใจสั่น ขี้หนาว ในขณะที่เพื่อนร่วมงานล้วนคิดว่าอุณหภูมิจากเครื่องปรับอากาศกำลังพอเหมาะแต่ตนเองกลับรู้สึกว่าช่างหนาวเย็นจับใจจนต้องสวมเสื้อคลุมทับ แต่พอไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลกลับไม่พบความผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรตรวจวัดความดันโลหิตเพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นผลมาจากความดันโลหิตต่ำ อย่างไรถึงเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ           โดยทั่วไปในทางการแพทย์ ความดันโลหิตของผู้ใหญ่ที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) และความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่ต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) จะถูกจัดว่าเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะพบบ่อยในสตรีที่ร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตต่ำมีชนิดใดบ้าง…           ความดันโลหิตต่ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยความดันโลหิตต่ำชนิดเฉียลพลันหมายถึงว่า ความดันโลหิตต่ำลงอย่างฮวบฮาบจากเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะแสดงอาการหลัก ๆ คือ หน้ามืดและช็อคหมดสติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นลมหรือหัวใจล้มเหลว แต่ภาวะความดันโลหิตต่ำที่เราพูดถึงกันโดยทั่วไปนั้นหายถึงความดันโลหิตต่ำชนิดเรื้อรัง …

โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม Read More »

28 2

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

โรคข้อเสื่อมจัดเป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากความเสื่อมของร่างกายทำให้เกิดความไม่สมดุลในการสร้าง การทำลายและการซ่อมแซมภายในข้อ เกิดการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้ออย่างช้าๆทำให้ผิวกระดูกอ่อนสึกกร่อน กระดูกใต้กระดูกอ่อนหนาตัวเกิดกระดูกงอกทั้งตรงกลางและริมกระดูก และเยื่อบุผิวข้อสร้างน้ำไขข้อลดลงผลจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ข้อฝืด ใช้งานข้อไม่คล่อง มีเสียงดังในข้อปวดหรือเสียวในข้อโดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวหรือใช้งานข้อมากกว่าปกติโรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้อที่บ่อยที่สุดโดยเฉพาะผู้หญิงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุตั้งแต่ 80 ปีเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความพิการทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงเป็นโรคที่สำคัญทางสาธารณสุขมากที่สุดโรคหนึ่ง1,2 ประเภทของข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อมแบ่งเป็น 2 ประเภทตามสาเหตุและปัจจัยเสริม ได้แก่ข้อเสื่อมชนิดปฐมภูมิ (primary) คือไม่สามารถระบุสาเหตุหรือปัจจัยเสริมได้ชัดเจนและเป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด ส่วนข้อเสื่อมชนิดทุติยภูมิ (secondary) เกิดจากสาเหตุทางเมตาบอลิก เช่นโรคเก๊าท์เทียม ข้อเสื่อมจากการบาดเจ็บและข้อเสื่อมจากโรคข้อเรื้อรังเช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์อย่างไรก็ตามโรคข้อเสื่อมทั้งสองประเภทนี้จะมีอาการและอาการแสดงที่คล้ายคลึงกัน สาเหตุของโรค โรคข้อเสื่อมเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ 1. ปัจจัยทั่วไป (constitutional factors) เช่น พันธุกรรม เพศ อายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว           เพศ เพศหญิงมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือช่วงวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (estrogen) ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่มีตัวจับกับฮอร์โมนเพศหญิงทำงานน้อยลงทำให้การสร้างโปรติโอไกลแคน (proteoglycan) ที่ใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนลดลงอย่างไรก็ตามพบว่าหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนจะช่วยลดโอกาสเกิดข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมได้3           อายุ โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีจะเป็นโรคข้อเสื่อมถ้านำผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าวมาถ่ายภาพเอกซเรย์ก็จะพบข้อเสื่อมทุกรายแต่จะมีอาการหรือไม่นั้นก็ขึ้นกับปัจจัยอื่นอีกทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นการตอบสนองต่อสารกระตุ้นการเจริญเติบโต …

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ Read More »

27 2

โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม

มีประมาณ 20 ชนิด ที่พบบ่อยที่สุด มีชื่อเรียกว่า Duchenne Muscular Dystrophy (DMD) พบได้หนึ่งในสามพันรายของทารกแรกคลอดเพศชาย เกิดจากกล้ามเนื้อทั่วร่างกายลีบและตายอย่างช้าๆ โรคนี้เกิดความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม X ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศร้อยละ 75 ของผู้ป่วยพบว่า มีการขาดหายไปหนึ่งส่วนของ DMD gene ทำให้เกิดการอ่านรหัสพันธุกรรมผิดพลาด ร่างกายจึงไม่สามารถสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้ามเนื้อได้           โปรตีนดังกล่าวมีชื่อว่า “ดิสโทรปิน” (dystrophin) ผู้ป่วยโรค DMD จะสร้างดิสโทรปินที่มีขนาดสั้นกว่าปกติ และไม่สามารถทำหน้าที่ได้ โปรตีนจึงถูกทำลายไปในที่สุด ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อตาย ในระยะแรกหลังคลอด ร่างกายของเด็กยังพอจะซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหายได้ จึงไม่ปรากฎอาการให้เห็น อาการกล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงจะเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเด็กมีอายุ 4-6 ปี ซึ่งอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียน อาการแรกเริ่มที่พ่อแม่สังเกตพบ คือ เด็กลุกนั่งลำบาก มักใช้มือช่วยประคองตัวเวลายืน เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อแขนขาเริ่มลีบลงเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เด็กจะไม่อยากเดิน เจ็บกล้ามเนื้อ เมื่อได้นอนรู้สึกสบายขึ้น หลังเริ่มแอ่น ปลายเท้าถ่างออกจากกัน ลักษณะอาการของผู้ป่วย DMD คล้ายกันแทบทุกรายและเป็นลักษณะเฉพาะ ที่แพทย์ให้การวินิจฉัยได้ไม่ยาก …

โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม Read More »

26 2

โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม

มีประมาณ 20 ชนิด ที่พบบ่อยที่สุด มีชื่อเรียกว่า Duchenne Muscular Dystrophy (DMD) พบได้หนึ่งในสามพันรายของทารกแรกคลอดเพศชาย เกิดจากกล้ามเนื้อทั่วร่างกายลีบและตายอย่างช้าๆ โรคนี้เกิดความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม X ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศร้อยละ 75 ของผู้ป่วยพบว่า มีการขาดหายไปหนึ่งส่วนของ DMD gene ทำให้เกิดการอ่านรหัสพันธุกรรมผิดพลาด ร่างกายจึงไม่สามารถสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้ามเนื้อได้           โปรตีนดังกล่าวมีชื่อว่า “ดิสโทรปิน” (dystrophin) ผู้ป่วยโรค DMD จะสร้างดิสโทรปินที่มีขนาดสั้นกว่าปกติ และไม่สามารถทำหน้าที่ได้ โปรตีนจึงถูกทำลายไปในที่สุด ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อตาย ในระยะแรกหลังคลอด ร่างกายของเด็กยังพอจะซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหายได้ จึงไม่ปรากฎอาการให้เห็น อาการกล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงจะเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเด็กมีอายุ 4-6 ปี ซึ่งอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียน อาการแรกเริ่มที่พ่อแม่สังเกตพบ คือ เด็กลุกนั่งลำบาก มักใช้มือช่วยประคองตัวเวลายืน เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อแขนขาเริ่มลีบลงเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เด็กจะไม่อยากเดิน เจ็บกล้ามเนื้อ เมื่อได้นอนรู้สึกสบายขึ้น หลังเริ่มแอ่น ปลายเท้าถ่างออกจากกัน ลักษณะอาการของผู้ป่วย DMD คล้ายกันแทบทุกรายและเป็นลักษณะเฉพาะ ที่แพทย์ให้การวินิจฉัยได้ไม่ยาก …

โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม Read More »

25 3

โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa)

เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารเพื่อคงน้ำหนักไว้ในระดับปกติ โดยมีทัศนคติที่ผิดต่อรูปร่าง และน้ำหนักตัวผิดปกติ คนที่เป็นโรคนี้ จะเป็นคนที่กลัวอ้วน กลัวเอามากๆ เห็นน้ำหนักตัวเองเป็นศัตรู ปฏิเสธอาหารอย่างมากจนผ่ายผอม ในสังคมปัจจุบันสนใจน้ำหนักตัว ไม่ต้องการอ้วน ไม่ต้องการหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน คาดว่ามีผู้ป่วยโรคกลัวอ้วนเสียจนผอมเกินไปราวร้อยละ 0.5-1.8 ของประชากร มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นราว 5-10 รายต่อประชากร 1 แสนคน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า ในผู้ป่วยทั้งหมดจะเป็นผู้ชาย ไม่เกินร้อยละ 5-10 อาการของโรคมักเริ่มตอนวัยรุ่น โดยเฉลี่ยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุ 17 ปี มีบ้างที่เป็นตอนเรียนมัธยมต้น หรือตอนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว พบมากในประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศที่เจริญแล้ว ประเทศด้อยพัฒนาจะพบน้อยกว่า สาเหตุ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ป่วยมักเป็นวัยรุ่นที่เป็น เด็กดี เด็กตัวอย่าง ของครอบครัว มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์แบบ ย้ำคิดย้ำทำ ขาดทักษะในการใช้ชีวิตในสังคม มีความเป็นตัวของตัวเอง มีปัญหาความขัดแย้งในจิตใจเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกไม่มีค่า มักทำตามความคาดหวังของผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับเกิดจากการมองภาพตนเองบิดเบือน มองเห็นสัดส่วนร่างกายอ้วนไป ทั้งๆ ที่ไม่ได้อ้วน มักปฏิเสธว่าไม่หิว ไม่ป่วย บอกว่าสบายดี มักแยกแยะความหิวไม่ได้ บางรายพบปัจจัยที่เกี่ยวกับครอบครัว ถูกเลี้ยงดูแบบใกล้ชิด …

โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) Read More »

24 2

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

พบมากกว่าร้อยละ 70 ของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบบ่อยในเพศหญิงในช่วงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ สาเหตุ ที่โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่เกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร้อยละ 70 จะกลับเป็นซ้ำอีกภายใน 6 เดือน            ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่ วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนานๆ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อย ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังอาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ            ส่วนใหญ่โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากการกลั้นปัสสาวะมากไป รับประทานน้ำไม่พอเพียง การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เป็น ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่สำคัญที่สุด ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่าเป็นบ่อยๆ เนื่องจากมีความผิดปกติทางกายวิภาคของของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หรืออาจพบว่าเป็นโรคนิ่วร่วมด้วย           ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ พบ ว่ามีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดย เฉพาะในช่วงระยะหลังการแต่งงานใหม่ๆ อาจเกิดการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ เชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย เกิดการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะขึ้น เรียกภาวะดังกล่าวว่า Honeymoon Cystitis           อาการปัสสาวะบ่อย …

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) Read More »

23 2

โรคไตวาย

โรคไตวาย คือ ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ ปกติไตจะทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกทางปัสสาวะ ดังนั้น ภาวะไตวายก็คือ ภาวะที่ไตจะไม่สามารถขับของเสียรวมทั้งเกลือแร่ต่างๆ ออกมาทางปัสสาวะได้ ของเสียเหล่านั้นก็จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือด ไตเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย มีสองข้าง ลักษณะเป็นรูปถั่ว ขนาด ในผู้ใหญ่ประมาณ 10-13 ซ.ม. ตำแหน่งอยู่ทางด้านหลังตรงบริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง ไตจะทำหน้าที่กรองเลือดที่มาเลี้ยงไตและนำของเสียและน้ำส่วนเกิน กรองและขับออกมาเป็นปัสสาวะ ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมากและไม่มีเวลาพักผ่อน โดยจะรับเลือดจากหัวใจในปริมาณถึงร้อยละ 20 หรือเท่ากับหนึ่งในห้าของเลือดที่บีบตัวออกจากหัวใจแต่ละครั้ง รวมปริมาณเลือดถึงประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 1,400 ลิตร และนำมากรองขับออกมาเป็นปัสสาวะประมาณวันละ 1-2 ลิตรเท่านั้น           ภาวะไตวายโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง เช่น คนไข้มีอาการความดันโลหิตต่ำอยู่ในภาวะช็อกนานๆ หรือคนไข้ที่เสียเลือดมากๆ แต่ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถรักษาให้ไตกลับมาทำงานปกติได้ ส่วนภาวะไตวายเรื้อรังนั้นเป็นโรคที่มีการทำลายของเนื้อไตอย่างช้าๆ อย่างต่อเนื่อง จนไตไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ สาเหตุ           สาเหตุที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโรค ดังกล่าวถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งสองโรคนี้ในระยะยาวจะส่งผลทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้ ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากและเกิดเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เกิดอาการเร็วขึ้นและรุนแรงมากขึ้น …

โรคไตวาย Read More »

22 2

โรคไตรกลีเซอร์ไรด์สูงในเลือด

โคเลสเตอรอลเป็นไขมัน ชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งได้รับมาจากอาหารที่มาจากสัตว์ อาหารที่มาจากพืชจะไม่มีโคเลสเตอรอล ส่วนร่างกายสร้างขึ้นเอง จากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและ ไขมัน หากมีโคเลสเตอรอลปริมาณสูงในเลือด ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจาการกรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัวมากเกินไป บางรายอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือจากโรคไต โรคตับ และโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีผลทำให้เส้นเลือดแดงแข็ง ถ้าหากเกิดที่เส้นเลือดแดงของหัวใจ ก็จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้การตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณโคเลสเตอรอลสูงกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร หรือไม่ โดยการงดอาหารทุกชนิดก่อนเจาะเลือด 12 ชม. จะทำให้วินิจฉัยโรคนี้ได้ สำหรับคำแนะนำในการป้องกันและรักษาโรคคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีดังนี้ 1. การจำกัดอาหารประเภทไขมัน เพราะอาหารที่มีไขมันมาก จะมีโคเลสเตอรอลสูงด้วย2. รับประทานน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคอย่างเพียงพอ ซึ่งมีผลทำให้เพิ่มการขับถ่ายโคเลสเตอรอลออกจากร่างกาย3. รับประทานโคเลสเตอรอลให้น้อยลง ได้แก่ พวกเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะพวกสมอง หนังเป็ด หนังไก่ สำหรับไข่ซึ่งมีโคเลสเตอรอลอยู่ 250-300 กรัม ใน 1 ฟอง ยังคงรับประทานได้อาจจะวันเว้นวัน หรือถ้ากลัวมากอาจทานแต่ไข่ขาว เพราะไม่มีโคเลสเตอรอล ผู้สูงอายุบางคนไม่ยอมทานไข่ ปรากฏว่าอาหารที่รับประทานอยู่มีโปรตีนที่มีคุณภาพน้อยไม่เพียงพอ บางทีทำให้เกิดโรคขาดโปรตีน4. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยรักษาระดับของโคเลสเตอรอลในเลือดได้อีกวิธีหนึ่ง …

โรคไตรกลีเซอร์ไรด์สูงในเลือด Read More »

21 2

โรคไตในผู้ป่วย SLE

โรคไตในผู้ป่วย SLE มีความหลากหลายมาก ทั้งในด้านกลไกการเกิดโรค ลักษณะอาการและการดำเนินโรค รวมทั้งการตอบสนองต่อการรักษา โรคในเด็กและในผู้ใหญ่ ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ดังนั้น ผลการศึกษาในผู้ใหญ่จึงใช้ในเด็กได้เช่นกันอุบัติการการเกิดโรคไตในผู้ป่วย SLE ขึ้น อยู่กับเกณฑ์ที่ใช้การวินิจฉัยโรค ในกรณีที่ทำการตรวจพยาธิสภาพของไตในผู้ป่วย SLE ทุกรายจะพบอุบัติการสูงถึงร้อยละ 90 แต่ถ้าใช้เกณฑ์การวินิจฉัย โดยพบว่ามีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ หรือพบโปรตีนในปัสสาวะ จะพบว่ามีอุบัติการประมาณ ร้อยละ 50 – 70ผู้ป่วยบางรายมีความผิดปกติของไต แต่ไม่มีอาการ หรือตรวจไม่พบความผิดปกติของปัสสาวะและการทำงานของไตเลย สาเหตุของโรค 1.โรคลูปุส หรือ SLE เป็น โรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่พบว่าปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกายได้ทำลายต่อเนื้อเยื่อภายในข้อ หรือในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย 2.กลไกที่ทำให้เกิดโรคที่ไต เนื่อง จากปฏิกิริยาทางอิมมูน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อต้านเนื้อเยื่อส่วนประกอบของ นิวเคลียสของเซลล์ และจับกับเป็นสารเชิงซ้อน ซึ่งเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นที่ไต 3.กระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นสามารถตรวจพบได้จากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยจะพบว่าสารเชิงซ้อนดังกล่าวกระตุ้นระบบคอมพลีเม้นท์ และชักนำให้เซลล์เม็ดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเข้ามารวมกันเป็นจำนวนมาก อาการของโรค           อาการของโรคจะแสดงออกมาในหลายๆ รูปแบบ เช่น อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผื่นแดงหรือแผลตามใบหน้า แขน …

โรคไตในผู้ป่วย SLE Read More »

Scroll to Top