ABOUT US
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
วิสัยทัศน์และพันธกิจ (Vision and Mission) และจุดมุ่งหมาย (Aim) ของคณะกรรมการฯ
คณะกรรมการฯ มีวิสัยทัศน์ ที่จะเป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนที่มีคุณภาพระดับสากล พันธกิจของคณะกรรมการฯ คือ ธำรงไว้ซึ่งสิทธิ ศักดิ์ศรี ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย (volunteers and participant) (ICH GCP 3.1.1)
นอกจากนี้คณะกรรมการฯยังมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
(1) ปฏิบัติตามพันธกิจ
(2) สนับสนุนให้ผู้วิจัยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องจริยธรรมการวิจัยในคน
(3) ธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกียรติคุณขององค์กร
ประวัติความเป็นมา
โครงการวิจัยในโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ถูกพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรม ในอดีต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ โดยได้มีการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ และมีพันธกิจ โดยมุ่งเน้นการดูแลอาสาสมัครที่เข้าร่วมวิจัย มีการแบ่งขอบเขตการพิจารณางานวิจัย โดยรับโครงการวิจัยทั้ง โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ และเครือข่าย มีองค์ประกอบของคณะกรรมการทั้งที่เป็นบุคลากรในสังกัด และ กรรมการที่มิใช่บุคลากรในสังกัด กรรมการที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นแพทย์ หรือพยาบาล แต่เป็นประชาชนทั่วไป (lay person) ภายใต้แนวทางการดำเนินงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่
ซึ่งจัดทำฉบับแรก มกราคม พ.ศ.2558 ( SOP Version 1. in 2014) และได้มีการปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานสากล ได้แก่ มกราคม พ.ศ.2560 (SOP Version 2.0 2017) ,และ ธันวาคม 2562 (SOPs version 3.0) และได้ผ่านการรับรองของคณะกรรมการ The Forum for Ethical Review Committees in the Asian and Western Pacific Region (FERCAP) ที่ร่วมกับ the Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) Program ในการส่งเสริมมาตรฐานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนทั่วโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และตรวจล่าสุด พ.ศ. 2563
และยังได้การรับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฉบับปัจจุบัน 12/2566 วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2570 https://drug.fda.moph.go.th/media.php?id=577378175970058240&name=List%20EC%20_%202566.pdf
และได้รับการตรวจติดตามการรับรองคุณภาพจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยระบบการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คือ National Ethics Committee Accreditation System of Thailand: NECAST
ทั้งนี้ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ได้ยึดตามมาตรฐานสากลโดยอิง ปฏิญญาเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) รายงานเบลมอนต์ (Belmont Report) แนวทางจริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยในมนุษย์ของสภาองค์การสากล ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (CIOMS, WHO) แนวปฏิบัติองค์การสากลเพื่อสร้างความประสานสอดคล้อง (International Conference on Harmonization; ICH) และ หลักการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice; GCP) รวมถึงกฎหมายไทย