article_writer

40 2

โรคติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล O104

เชื้ออีโคไล E.coli เชื้ออีโคไล E.coli เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ส่วนใหญ่ของเชื้ออีโคไลจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย มีบางสายพันธุ์ของเชื้ออีโคไล เช่น enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) สามารถก่อให้เกิดอาการที่รุนแรง เชื้อ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) ทำให้เกิดโรคโดยการสร้างและปล่อยสารพิษชื่อ Shiga toxin ซึ่งสามารถทำลายเม็ดเลือดแดงและไตได้ ตัวอย่างที่สำคัญของเชื้อสายพันธุ์ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) เช่น สายพันธุ์ E.coli O157:H7 และ E.coli serogroup O104 ที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุการระบาดที่เยอรมัน ณ ขณะนี้ องค์การอนามัยโลกระบุว่าในภูมิภาคยุโรปมีการรายงานผู้ป่วยกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย หรือ Haemolytic uraemic syndrome (HUS) และติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในเยอรมัน และอีก 10 ประเทศในภูมิภาคยุโรป ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่กลุ่มที่เรียกว่า Enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) หรือ อีโคไลชนิดร้ายแรง สามารถทำให้เลือดออกรุนแรง โดยสร้างพิษ Shiga toxins …

โรคติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล O104 Read More »

39 2

โรคติดเชื้อ (infectious diseases)

โรคติดเชื้อ (infectious diseases)หมายถึง โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรค การที่จะทำให้เกิดโรคมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ เช่นชนิดและปริมาณของเชื้อโรค ภูมิต้านทานของร่างกายผู้ป่วย ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นต้น บางครั้งเชื้อโรคก็ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ เช่น ภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ก็จะสามารถกำจัดเชื้อได้ แต่เมื่อร่างกายอ่อนแอลง เชื้อโรคก็จะก่อเหตุทันทีเชื้อโรค อาจเรียกได้หลายอย่างเช่น เชื้อจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ เชื้อจุลชีพ จุลชีพ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อโรค เรียกว่า จุลชีววิทยา ซึ่งแบ่งออกเป็นแขนงย่อยๆ อีกมากมายหลายแขนง           เชื้อโรคบางชนิดไม่สามารถก่อให้เกิดโรค ขณะที่ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ แต่เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อเหล่านั้นกลับกลายเป็นเชื้อก่อโรคได้ทันที กระบวนการติดเชื้อเป็นปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นกับว่าร่างกายสามารถตอบโต้หรือจัดการกับเชื้อโรคได้หรือไม่เชื้อโรคที่เรียกว่า จุลชีพประจำถิ่น อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์โดยไม่ทำให้เกิดโรค เช่น ในลำไส้นอกจากจะช่วยผลิตสารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคได้ด้วย หลักการวินิจฉัยโรคติดเชื้อ 1.โรคติดเชื้ออาจเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย หรืออาจเกิดขึ้นทั่วร่างกายก็ได้ ลักษณะอาการของโรคติดเชื้อที่มักเกี่ยวข้องกับอวัยวะหลักๆ ได้แก่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อระบบประสาท โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อของกระดูกและข้อ โรคติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน เป็นต้น2.การวินิจฉัยโรคติดเชื้อต้องกระทำอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากมีผลต่อการวางแผนการรักษาอย่างมาก ความล่าช้าในการวินิจฉัยโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผล3.วิธีเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้อ ต้องกระทำอย่างถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิกการเก็บตัวอย่าง การดูแลเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ การขนส่งเคลื่อนย้ายไปยังห้องปฏิบัติการ4.แพทย์ต้องใช้ลักษณะประวัติอาการเจ็บป่วยเป็นข้อมูลสำคัญในการวินิจฉัยเบื้องต้น รวมทั้งการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ทุกซอกทุกมุมของร่างกาย บางครั้งการตรวจผลความผิดปกติเพียงตำแหน่งเดียวอาจช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมาก5.ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์ของพยาธิสภาพ และผลแทรกซ้อนจากการติดเชื้อชนิดต่างๆ …

โรคติดเชื้อ (infectious diseases) Read More »

38 2

โรคติ๊ก (TICS)

โรคติ๊ก เป็นโรคของการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อผิดปกติ พบในวัยเด็ก อายุประมาณ 7 ปี มีอาการกล้ามเนื้อกระตุกบริเวณใบหน้า คอ ไหล่ แขนและมือ อาการเป็นๆ หายๆ จะเป็นมากเวลาเครียดหรือวิตกกังวล เวลานอนหลับอาการจะหายไป เด็กจะควบคุมตัวเองไม่ให้เกิดอาการได้ชั่วคราว แต่พอเผลอก็จะมีอาการขึ้นมาอีกโดยที่เด็กไม่ได้ตั้งใจทำ บางครั้งอาการอาจมีมากจนทำให้เด็กมีเสียงพูด เป็นคำๆ หรือเป็นเสียงสะอึก บางทีเป็นคำหยาบร่วมกับอาการกล้ามเนื้อกระตุก           โรคนี้มักเป็นเองหายเองภายใน 1 ปี ถ้าพ่อแม่หรือครูพบว่าเด็ก เป็นควรจะทำเฉยๆ ไม่สนใจ อย่าให้เพื่อนสนใจหรือล้อเลียน ไม่ควรดุว่าหรือลงโทษรุนแรง เพราะจะยิ่งทำให้อาการมากขึ้น ถ้ามีอาการเกิน 1 ปี หรือมีเสียงดังร่วมด้วย ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็ก โรคนี้มียาช่วยรักษาให้หายขาดได้ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

37 2

โรคต่างๆ ที่เกิดในผู้สูงอายุ

ปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถือว่าเป็นกลุ่มประชากรที่มีอัตราการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ปัญหาทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญมากขึ้น ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเกิดจากการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โรคที่พบบ่อยคือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะทุพลภาพ ต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและผู้ที่ต้องดูแลรักษา นอกจากนี้แล้วภาวะหรือโรคบางอย่างจะมีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญและรุนแรงขึ้น เช่น โรคสมองเสื่อม โรคกระดูกพรุน โรคขาดสารอาหารบางชนิด นอกจากภาวะทางกายแล้ว ภาวะทางจิตใจก็มีผลต่อการดำรงชีวิต ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ สาเหตุมีมากมายอาจเกิดจากภาวะผิดปกติทางกาย ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรืออาจเกิดจากการที่ต้องอยู่คนเดียวตามลำพัง           ดังนั้น การตรวจร่างกายประจำปีจึงมีความสำคัญในผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงโรคต่างๆ ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพ ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลในเรื่องการออกกำลังกายเป็นประจำ การได้รับสารอาหารให้ครบถ้วน การมีกิจกรรมทางสังคม และการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ควรมีแพทย์หรือพยาบาลประจำตัวเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพ และมีที่พึ่งพิงเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย ที่มา : นพ. ถนัด ไพศาขมาศ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

36 2

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส

“โรคตาแดง” ในความหมายโดยทั่วไปคือ อาการที่เยื่อบุตาขาวเปลี่ยนเป็นสีแดง ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของเส้นเลือดใต้เยื่อบุตา (conjunctiva) เนื่องจากการอักเสบ โรคตาแดงอาจจะเป็น แบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง โรคตาแดงนี้สามารถพบได้ตลอดปี และจะระบาดได้เป็นช่วงๆ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ด้วยเหตุที่ ฝนตกก่อให้เกิดความชื้นแฉะทั่วๆ ไป ทำให้เชื้อไวรัสบางตัว เจริญงอกงามก่อโรคแก่พวกเราขึ้น ส่วนใหญ่โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เยื่อบุตาอักเสบ เพราะเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย เพศชายและเพศหญิงพบได้เท่าๆ กัน เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับหวัด ใครจะเป็นก็ได้ แต่เนื่องจากในเด็กมีภูมิคุ้มกันน้อย ร่วมกับการดูแลตนเอง หรือการป้องกันการติดเชื้อไม่ดีพอ จึงทำให้เป็นโรคตาแดง ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ตาแดงเป็นอาการแสดงออกของโรคตาและโรคอื่นๆหลายชนิด ส่วนจะเป็นโรคอะไรนั้น คงต้องอาศัยคุณหมอช่วยวินิจฉัยกันอีกทีค่ะ สาเหตุของตาแดง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่หลายชนิด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อที่มีชื่อว่า อะดิโนไวรัส (Adenovirus) และส่วนน้อยเกิดจากเชื้อ พิโคร์นาไวรัส (Picornavirus) เป็นต้น มีการตรวจพบเชื้อไวรัสหลายตัวด้วยกันประมาณกันว่า 2-4 ตัว ทั้งหมดให้อาการของโรคคล้ายคลึงกัน อาศัยอาการจึงไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสตัวไหน ดังนั้นในคนหนึ่งคนจึงเป็นโรคตาแดงชนิดนี้แล้วเป็นได้อีก หรือทำไมจึงไม่มีภูมิคุ้มกันดังเช่น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่น ตัวอย่างเช่นเป็นโรคหัด หรืออีสุกอีใส ในตอนเด็ก คนนั้นจะไม่เป็นโรคอีกเลยตลอดชีวิต แต่โรคตาแดงระบาด …

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส Read More »

35 2

โรคตับอักเสบ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะที่สำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย หน้าที่ ของตับเริ่มตั้งแต่ขณะที่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ตับทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ตับก็ทำหน้าที่สำคัญมากมายหลายอย่าง เช่น ทำหน้าที่เก็บสำรองอาหาร เป็นแหล่งสร้างพลังงานความร้อน เป็นแหล่งสร้างสารที่จำเป็นต่างๆ ได้แก่ สร้างน้ำดี สังเคราะห์วิตามิน สังเคราะห์สารที่ทำให้เลือดแข็งตัว เป็นต้น สาเหตุ          ตับอักเสบ เป็น ภาวะที่เซลตับถูกทำลาย การทำลายเซลล์ตับเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นได้ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตชัว หรือเซลล์ตับอาจถูกทำลายจากสาเหตุอื่น ได้แก่ จากพิษของสุรา ยาบางชนิด รวมถึงสารเคมี สาเหตุของโรคตับแข็ง          สาเหตุของตับอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีวิธีการติดต่อ และแพร่เชื้อที่แตกต่างกัน ตับอักเสบจากไวรัส          พบได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยตับอักเสบจากไวรัส เอ จะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป ส่วนตับอักเสบจากไวรัส บี พบได้ทั้งในเด็กเล็ก ซึ่งมักไม่มีอาการ จนกระทั่งถึงเด็กโต และผู้ใหญ่ที่อาจมีอาการรุนแรงขึ้น สามารถติดต่อได้ทั้งทางเลือด เพศสัมพันธ์ หรือ แม้แต่การรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป …

โรคตับอักเสบ Read More »

34 2

โรคต้อหิน

ต้อหิน (glaucoma) เป็นโรคตาซึ่งคนที่เป็นส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตนป่วยเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะในระยะแรกๆ พอทราบก็มักจะใกล้บอดแล้ว ที่อันตรายที่สุดคือ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตาจะบอดในที่สุด ไม่ช้าก็เร็ว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในแต่ละบุคคลต้อหินเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคต้อ ตามที่คนเรียกกันโดยทั่วๆ ไป ที่พบบ่อยๆ มีต้อกระจก ต้อเนื้อ ต้อลม และต้อหิน แต่ต้อหินเป็นต้อเพียงชนิดที่ไม่มีตัวต้อให้เห็น เพราะต้อหินเป็นกลุ่มโรคที่มีการทำลายขั้วประสาทตา ซึ่งเป็นตัวนำกระแสการมองเห็นไปสู่สมอง ซึ่งเมื่อขั้วประสาทตาถูกทำลายจะมีผลทำให้สูญเสียลานสายตา เมื่อเป็นมากๆ ก็สูญเสียการมองเห็นในที่สุด ซึ่งเป็นการสูญเสียชนิดถาวร ไม่สามารถรักษาให้กลับคืนมามองเห็นได้ อุบัติการณ์และความชุกของโรค           ครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ร้อยละ 2 ของประชากรที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี ตรวจพบว่าความดันในลูกตาสูง และร้อยละ 8 ของประชากรที่มีอายุเกิน 70 ปี ตรวจพบว่ามีภาวะความดันลูกตาสูง ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยตาบอดจากต้อหินปีละ 120,000 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 9-12 ของทั้งหมด ถือว่าเป็นโรคที่ทำให้ตาบอดมากเป็นอันดับสอง ต้อหินชนิดมุมปิด พบมากในคนเอเชียและชาวเอสกิโม พบบ่อยในผู้หญิง คนชรา ผู้ที่สายตาสั้น และมักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ส่วนต้อหินชนิดความดันลูกตาปกติ พบได้บ่อยในคนญี่ปุ่น มักมีประวัติโรคหัวใจร่วมด้วย …

โรคต้อหิน Read More »

33 1

โรคซีวีเอส

คนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น เกินสองถึงสามชั่วโมง มักจะมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย อาการทางสายตาเหล่านี้เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่า”คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” (computer vision syndrome) หรือ “โรคซีวีเอส”อาการเหล่านี้พบได้ถึงร้อยละ 75 ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อาการในบางคนอาจเป็นเล็กๆ น้อยๆ ไม่บั่นทอนการทำงาน หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์สักครู่ก็หายไป บางคนอาจต้องว่างเว้นการใช้เป็นวันก็หายไป บางรายอาจต้องใช้ยาระงับอาการ สาเหตุของโรค ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่ค่อยกระพริบตา ปกติแล้วเราทุกคนจะต้องกระพริบตาอยู่เสมอ เป็นการเกลี่ยน้ำตาให้คลุมผิวตาให้ทั่วๆ โดยมีอัตราการกระพริบ 20 ครั้งต่อนาที หากเราอ่านหนังสือหรือนั่งจ้องคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบจะลดลง โดยเฉพาะการจ้องคอมพิวเตอร์การกระพริบตาจะลดลงกว่าร้อยละ 60 ทำให้ผิวตาแห้ง ก่อให้เกิดอาการแสบตา ตาแห้ง รู้สึกฝืดๆ ในตาแสงจ้า และแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาเมื่อยล้า ทั้งแสงจ้าและแสงสะท้อนมายังจอภาพ อาจเกิดจากแสงสว่างไม่พอเหมาะ มีไฟส่องเข้าหน้าหรือหลังจอภาพโดยตรง หรือแม้แต่แสงสว่างจากหน้าต่างปะทะหน้าจอภาพโดยตรง ก่อให้เกิดแสงจ้าและแสงสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทำให้เมื่อยล้าตาง่าย การออกแบบและการจัดภาพ ระยะทำงานที่ห่างจากจอภาพให้เหมาะสม ควรจัดจอภาพให้อยู่ในระยะพอเหมาะที่ตามองสบายๆ ไม่ต้องเพ่ง โดยเฉลี่ยระยะจากตาถึงจอภาพควรเป็น …

โรคซีวีเอส Read More »

32 2

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในจังหวัดพัทลุง รายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาแล้ว 33 คน โดยสำรวจพบผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือระหว่าง 25-34 ปี อาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือกลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และอาชีพรับจ้าง อำเภอที่พบผู้ป่วยมากสุด คืออำเภอป่าพะยอม อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน และอำเภอเมือง ตามลำดับ โดยผู้ป่วยทั้งหมดได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอำเภอนั้น ผู้ป่วยทุกรายอยู่ในอาการปลอดภัย           อัตราการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นหลังมีผู้ป่วยเดินทางกลับจากรับจ้างกรีดยางพาราจากจังหวัดใกล้เคียง เบื้องต้นทางจังหวัดได้เรียกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประชุมด่วน เพื่อรับมือป้องกันโรคดังกล่าวไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน และหากพบผู้ป่วยเพิ่มในพื้นที่ใดให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าควบคุมโรคทันที กรมควบคุมโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดวางแผนกำลังดำเนินการระดม อสม.ในพื้นที่ที่มีผู้ป่วย กำจัดลูกน้ำยุงลายทั้งในบ้าน และรอบๆ บ้าน ในสวนทุก 7 วัน พ่นหมอกควันเคมีทำลายยุงตัวแก่ทั้งตำบล ติดต่อกันทุกสัปดาห์ และได้แจ้งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ปริมาณยุงลายมีมากขึ้น และแจ้งโรงพยาบาล สถานีอนามัยทั่วประเทศ สังเกตอาการผู้ป่วยหากพบมีไข้สูง ร่วมกับอาการผื่น และมีอาการปวดข้อต่างๆ …

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) Read More »

31 2

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)

สวัสดีสมาชิกที่รักและใส่ใจในสุขภาพทุกคนครับ เผลอนิดเดียวนี่ก็จะหมดครึ่งแรกของปีแล้วนะครับ และช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่เปลี่ยนจากฤดูร้อนมาเป็นฤดูฝน และในภาวะที่ฝนตกหนักจนในพื้นที่เกิดนำ้ท่วมขัง ซึ่งทุกคนคงพอจะนึกภาพออกกับการเดินลุยนำ้ท่วมขัง ซึ่งมีเชื้อโรคมากมาย ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดโรคตาแดง นำ้กัดเท้า เชื้อราที่เท้า อหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วง ฯลฯ แล้วนั้น ยังมีอีกโรคที่รุนแรงและเกิดเป็นประจำทุกปี นำมาซึ่งการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของพี่น้องคนไทยทุกปี นั้นก็คือ โรคฉี่หนู พอถึงตรงนี้หากท่านใดที่ยังจำเป็นต้องเดินเท้าลุยนำ้ หรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่นำ้ท่วมขังตลอดเมื่อมีฝนตก คงต้องมาทำความรู้จัก กับโรคฉี่หนู เพื่อหาวิธีป้องกัน เอาไว้ดีกว่าแก้ไข เพราะโรคนี้มักจะระบาดในช่วงที่มีนำ้ท่วมขัง และยังรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตได้ด้วยเช่นกันครับ โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)          เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์ที่แพร่เชื้อโรคนี้ ได้แก่ พวกสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไว้ที่ไต ดังนั้นเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อนี้ปนอยู่ด้วยจึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคฉี่หนู” นอกจากจะพบเชื้อนี้ในหนูแล้วยังพบได้ใน สุนัข วัว ควาย เชื้อโรคนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทางคือโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) สาเหตุ เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน …

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) Read More »

30 2

โรคจิต : (สาเหตุ)

สาเหตุของโรคจิตนั้นเกิดขึ้นได้หลายประการ ขึ้นอยู่กับโรคจิตนั้นๆ เป็นโรคจิตประเภทใด เช่น คนที่ป่วยเป็นโรคจิตแบบจิตเภท อาการของโรคจิตนั้นเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและชีววิทยา หมายความว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มีโอกาสถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้มากกว่าคนปกติทั่วๆ ไป ปัจจุบันมีการค้นคว้าวิจัยพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางสารเคมีในระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการของโรคจิตต่างๆ ยาที่ใช้รักษาโรคจิตจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงระดับของสารเคมีเหล่านี้ ให้กลับคืนมาเป็นปกติ ผู้ป่วยจึงหายจากอาการโรคจิตได้           โรคจิตบางประเภท เกิดจากการได้รับสารเคมีที่ผิดปกติเข้าไปในร่างกาย เช่น ผู้ที่เสพยาม้า หรือยาเสพติดอื่นๆ อาจเกิดอาการโรคจิตได้ มีผู้ใช้ยาม้าหลายรายเกิดอาการคุ้มคลั่ง หลงผิดหวาดระแวง คิดว่ามีผู้ตามทำร้าย ทำให้กลัวและมักจะจับเด็กเป็นตัวประกันมีให้เห็นเป็นข่าวเสมอๆ ผู้ที่ดื่มเหล้าบ่อยๆ ก็มีโอกาสเกิดอาการโรคจิต จากฤทธิ์ของเหล้าที่เข้าไปทำลายระบบประสาท           ในผู้ป่วยโรคทางกายบางอย่าง อาจเกิดอาการโรคจิตอย่างเฉียบพลันได้ มีอาการคุ้มคลั่ง เพ้อเจ้อ หูแว่ว และเห็นภาพหลอน เมื่อรักษาโรคทางกายหาย อาการโรคจิตก็หายไปด้วย           ผู้ที่จะหาสาเหตุของอาการโรคจิตได้คือ แพทย์ หรือ จิตแพทย์ เมื่อสงสัยว่าผู้ใดป่วยเป็นโรคจิตจึงควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ทันที ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

29 2

โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม

เป็นที่ทราบกันว่าโรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จึงทำให้ผู้คนเอาใจใส่และให้ความสำคัญทว่าภัยของโรคความดันโลหิตต่ำนั้นคนทั่วไปมักไม่รู้เท่าทัน เรามักจะพบผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นแม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดี โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม          คนที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำมักมีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย แม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดี เป็นที่ทราบกันว่าโรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จึงทำให้ผู้คนเอาใจใส่และให้ความสำคัญทว่าภัยของโรคความดันโลหิตต่ำนั้นคนทั่วไปมักไม่รู้เท่าทัน เรามักจะพบผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นแม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดีตามปกติ อีกทั้งยังเสริมอาหารและวิตามินบำรุงร่างกายอย่างเต็มที่ ส่วนด้านการงานก็ไม่ได้เหน็ดเหนื่อยและไม่มีความกดดัน ทว่ายังคงรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง โดยเฉพาะหลักจากรับประทานอาหารมือกลางวันแล้วจะรู้สึกง่วงซึม เรี่ยวแรงหดหาย นั่งฟุบโต๊ะหาวหวอดๆ จนน้ำหูน้ำตาไหล ไม่มีสมาธิในการทำงานยิ่งไปกว่านั้นอาจมีอาการใจสั่น ขี้หนาว ในขณะที่เพื่อนร่วมงานล้วนคิดว่าอุณหภูมิจากเครื่องปรับอากาศกำลังพอเหมาะแต่ตนเองกลับรู้สึกว่าช่างหนาวเย็นจับใจจนต้องสวมเสื้อคลุมทับ แต่พอไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลกลับไม่พบความผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรตรวจวัดความดันโลหิตเพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นผลมาจากความดันโลหิตต่ำ อย่างไรถึงเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ           โดยทั่วไปในทางการแพทย์ ความดันโลหิตของผู้ใหญ่ที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) และความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่ต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) จะถูกจัดว่าเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะพบบ่อยในสตรีที่ร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตต่ำมีชนิดใดบ้าง…           ความดันโลหิตต่ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยความดันโลหิตต่ำชนิดเฉียลพลันหมายถึงว่า ความดันโลหิตต่ำลงอย่างฮวบฮาบจากเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะแสดงอาการหลัก ๆ คือ หน้ามืดและช็อคหมดสติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นลมหรือหัวใจล้มเหลว แต่ภาวะความดันโลหิตต่ำที่เราพูดถึงกันโดยทั่วไปนั้นหายถึงความดันโลหิตต่ำชนิดเรื้อรัง …

โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม Read More »

28 2

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

โรคข้อเสื่อมจัดเป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากความเสื่อมของร่างกายทำให้เกิดความไม่สมดุลในการสร้าง การทำลายและการซ่อมแซมภายในข้อ เกิดการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้ออย่างช้าๆทำให้ผิวกระดูกอ่อนสึกกร่อน กระดูกใต้กระดูกอ่อนหนาตัวเกิดกระดูกงอกทั้งตรงกลางและริมกระดูก และเยื่อบุผิวข้อสร้างน้ำไขข้อลดลงผลจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ข้อฝืด ใช้งานข้อไม่คล่อง มีเสียงดังในข้อปวดหรือเสียวในข้อโดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวหรือใช้งานข้อมากกว่าปกติโรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้อที่บ่อยที่สุดโดยเฉพาะผู้หญิงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุตั้งแต่ 80 ปีเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความพิการทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงเป็นโรคที่สำคัญทางสาธารณสุขมากที่สุดโรคหนึ่ง1,2 ประเภทของข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อมแบ่งเป็น 2 ประเภทตามสาเหตุและปัจจัยเสริม ได้แก่ข้อเสื่อมชนิดปฐมภูมิ (primary) คือไม่สามารถระบุสาเหตุหรือปัจจัยเสริมได้ชัดเจนและเป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด ส่วนข้อเสื่อมชนิดทุติยภูมิ (secondary) เกิดจากสาเหตุทางเมตาบอลิก เช่นโรคเก๊าท์เทียม ข้อเสื่อมจากการบาดเจ็บและข้อเสื่อมจากโรคข้อเรื้อรังเช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์อย่างไรก็ตามโรคข้อเสื่อมทั้งสองประเภทนี้จะมีอาการและอาการแสดงที่คล้ายคลึงกัน สาเหตุของโรค โรคข้อเสื่อมเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ 1. ปัจจัยทั่วไป (constitutional factors) เช่น พันธุกรรม เพศ อายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว           เพศ เพศหญิงมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือช่วงวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (estrogen) ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่มีตัวจับกับฮอร์โมนเพศหญิงทำงานน้อยลงทำให้การสร้างโปรติโอไกลแคน (proteoglycan) ที่ใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนลดลงอย่างไรก็ตามพบว่าหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนจะช่วยลดโอกาสเกิดข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมได้3           อายุ โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีจะเป็นโรคข้อเสื่อมถ้านำผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าวมาถ่ายภาพเอกซเรย์ก็จะพบข้อเสื่อมทุกรายแต่จะมีอาการหรือไม่นั้นก็ขึ้นกับปัจจัยอื่นอีกทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นการตอบสนองต่อสารกระตุ้นการเจริญเติบโต …

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ Read More »

27 2

โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม

มีประมาณ 20 ชนิด ที่พบบ่อยที่สุด มีชื่อเรียกว่า Duchenne Muscular Dystrophy (DMD) พบได้หนึ่งในสามพันรายของทารกแรกคลอดเพศชาย เกิดจากกล้ามเนื้อทั่วร่างกายลีบและตายอย่างช้าๆ โรคนี้เกิดความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม X ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศร้อยละ 75 ของผู้ป่วยพบว่า มีการขาดหายไปหนึ่งส่วนของ DMD gene ทำให้เกิดการอ่านรหัสพันธุกรรมผิดพลาด ร่างกายจึงไม่สามารถสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้ามเนื้อได้           โปรตีนดังกล่าวมีชื่อว่า “ดิสโทรปิน” (dystrophin) ผู้ป่วยโรค DMD จะสร้างดิสโทรปินที่มีขนาดสั้นกว่าปกติ และไม่สามารถทำหน้าที่ได้ โปรตีนจึงถูกทำลายไปในที่สุด ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อตาย ในระยะแรกหลังคลอด ร่างกายของเด็กยังพอจะซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหายได้ จึงไม่ปรากฎอาการให้เห็น อาการกล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงจะเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเด็กมีอายุ 4-6 ปี ซึ่งอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียน อาการแรกเริ่มที่พ่อแม่สังเกตพบ คือ เด็กลุกนั่งลำบาก มักใช้มือช่วยประคองตัวเวลายืน เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อแขนขาเริ่มลีบลงเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เด็กจะไม่อยากเดิน เจ็บกล้ามเนื้อ เมื่อได้นอนรู้สึกสบายขึ้น หลังเริ่มแอ่น ปลายเท้าถ่างออกจากกัน ลักษณะอาการของผู้ป่วย DMD คล้ายกันแทบทุกรายและเป็นลักษณะเฉพาะ ที่แพทย์ให้การวินิจฉัยได้ไม่ยาก …

โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม Read More »

26 2

โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม

มีประมาณ 20 ชนิด ที่พบบ่อยที่สุด มีชื่อเรียกว่า Duchenne Muscular Dystrophy (DMD) พบได้หนึ่งในสามพันรายของทารกแรกคลอดเพศชาย เกิดจากกล้ามเนื้อทั่วร่างกายลีบและตายอย่างช้าๆ โรคนี้เกิดความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม X ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศร้อยละ 75 ของผู้ป่วยพบว่า มีการขาดหายไปหนึ่งส่วนของ DMD gene ทำให้เกิดการอ่านรหัสพันธุกรรมผิดพลาด ร่างกายจึงไม่สามารถสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้ามเนื้อได้           โปรตีนดังกล่าวมีชื่อว่า “ดิสโทรปิน” (dystrophin) ผู้ป่วยโรค DMD จะสร้างดิสโทรปินที่มีขนาดสั้นกว่าปกติ และไม่สามารถทำหน้าที่ได้ โปรตีนจึงถูกทำลายไปในที่สุด ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อตาย ในระยะแรกหลังคลอด ร่างกายของเด็กยังพอจะซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหายได้ จึงไม่ปรากฎอาการให้เห็น อาการกล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงจะเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเด็กมีอายุ 4-6 ปี ซึ่งอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียน อาการแรกเริ่มที่พ่อแม่สังเกตพบ คือ เด็กลุกนั่งลำบาก มักใช้มือช่วยประคองตัวเวลายืน เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อแขนขาเริ่มลีบลงเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เด็กจะไม่อยากเดิน เจ็บกล้ามเนื้อ เมื่อได้นอนรู้สึกสบายขึ้น หลังเริ่มแอ่น ปลายเท้าถ่างออกจากกัน ลักษณะอาการของผู้ป่วย DMD คล้ายกันแทบทุกรายและเป็นลักษณะเฉพาะ ที่แพทย์ให้การวินิจฉัยได้ไม่ยาก …

โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม Read More »

Scroll to Top