article_writer

53 1

โรคประสาทซึมเศร้า

โรคประสาทซึมเศร้า เป็นโรคประสาทชนิดหนึ่งซึ่งมีอาการเด่น คือ อารมณ์ซึมเศร้า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีบุคลิกภาพเดิมไม่ดีนัก เช่น เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ขี้น้อยใจ ทักษะสังคมต่ำ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน จะเกิดความรู้สึกอึดอัดไม่พอใจ เสียใจกับการกระทำของบุคคลอื่นตลอดเวลา จนเกิดมีอาการเครียด กังวล เบื่อหน่าย ท้อแท้ โกรธคนอื่นที่ไม่ทำอย่างที่ตนเองต้องการ อาจจะมีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หงุดหงิด และคิดอยากตายได้ อาการของโรคประสาทซึมเศร้า มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่วัยหนุ่มสาว และเป็นเรื้อรังต่อเนื่องไปตลอดชีวิต สาเหตุมักเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมมาตั้งแต่เด็ก โรคประสาทซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษายาก จิตแพทย์จะช่วยได้โดยการให้จิตบำบัด และอาจมีการให้ยารับประทานร่วมด้วย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

4 2

โรคบุคลิกภาพผิดปกติ : (ลักษณะ)

โรคบุคลิกภาพผิดปกติ คือโรคที่แสดงอาการของบุคลิกภาพของตนแตกต่างไปจากคนอื่นทั่วๆไปอย่างมาก ทำให้มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น           อาการของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ จะแสดงออกเป็นพฤติกรรมซึ่งมีความแปลก แตกต่างไปจากคนปกติทั่วไป เช่น เก็บตัวแยกตัว , หวาดระแวง , ทำอะไรแปลกๆ , ต่อต้านกฏเกณฑ์และละเมิดสิทธิบุคคลอื่น อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ตามเหตุการณ์ , เรียกร้องเอาแต่ใจ, เห็นตนเองดีเด่นกว่าคนอื่นๆ และเหยียบย่ำทับถมคนอื่น ,พึ่งพิงคนอื่นมาก, หลีกเลี่ยงปัญหา , เจ้าระเบียบและดื้อเงียบ แต่ละแบบจะมีความแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับการถูกเลี้ยงดูมาในวัยเด็ก           คนที่เป็นโรคบุคลิกภาพผิดปกติ มักจะไม่มีความรู้ตัวว่าตนเองบกพร่อง แต่จะมองว่าคนอื่นผิดปกติ เมื่อมีปัญหาหรือความขัดแย้งกัน ก็จะเพ่งโทษไปสู่บุคคลอื่น ไม่รู้จักพิจารณาตนเอง ทำให้คนใกล้ชิดเบื่อหน่าย ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมหรือสนิทสนมด้วย โรคนี้จะทำให้คนที่เป็น ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ยาก เมื่อจำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ มักจะเกิดอาการทางจิตเวชอื่นๆ เช่น วิตกกังวล ,ซึมเศร้า ,หรืออาการโรคจิตได้ง่าย           บุคลิกภาพผิดปกติเป็นโรคที่รักษาได้ยาก ควรจะป้องกันตั้งแต่เด็กๆ โดยให้การเลี้ยงดูอย่างถูกต้องและเหมาะสม ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

52 2

โรคบิดชิเกลล่า (shigellosis)

ในระยะเริ่มแรก อาจมีอาการถ่ายเป็นน้ำอย่างรุนแรง จนเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดกับเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ พบในคนทุกเพศทุกวัย สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารสุก ไม่มีแมลงวันตอม และดื่มน้ำสะอาด โรคแทรกซ้อนอื่นๆ พบได้น้อย เช่น เชื้อแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดทำให้เกิดโรคข้ออักเสบเฉียบพลัน หรืออาจทำให้ลำไส้อักเสบรุนแรงจนลำไส้ทะลุ ทำให้เยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบ โรคนี้ปัจจุบันเรียกว่า “บิดชิเกลล่า” ซึ่งเรียกทับศัพท์อังกฤษตามชื่อเชื้อที่เป็นสาเหตุ ในสมัยก่อนการวินิจฉัยโรคอาศัยการตรวจหาเชื้อในอุจจาระด้วยการส่องตรวจด้วย กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ถ้าเกิดจากเชื้ออะมีบา ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว สามารถมองเห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์ จึงเรียกว่า บิดมีตัว แต่ถ้าเกิดจากเชื้อบิดชิเกลล่า ซึ่งเป็นแบคทีเรียขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คือตรวจไม่พบตัวเชื้อ จึงเรียกว่า บิดไม่มีตัว          โดยทั่วไป “โรคบิด” หมายถึง อาการถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดกะปริดกะปรอยบ่อยครั้ง ส่วน “โรคท้องเสีย” หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ตาม นิยาม และความหมายขององค์การอนามัยโลก หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวหรือมีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายมีมูกเลือด 1 ครั้ง ในเวลา 1 วัน กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นโรคท้องเสีย …

โรคบิดชิเกลล่า (shigellosis) Read More »

51 2

โรคนิ่ว

โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะเป็นชื่อรวมของนิ่วที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะแบ่งตามตำแหน่งที่อยู่ของนิ่ว ได้แก่ นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ โรคนิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งถ้านิ่วมีขนาดเล็กก็จะหลุดออกมาเองได้ตอนผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โรคนิ่วไตในคนไทยพบว่ามีอุบัติการณ์การเป็นนิ่วซ้ำสูงมาก ทำให้ทั้งผู้ป่วย และภาครัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา และป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำสูงมาก ดังนั้นโรคนิ่วไตจึงจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยเป็นอย่างยิ่ง           โรคนิ่วมีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือนิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนิ่วทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในส่วนประกอบ สาเหตุ รวมทั้งการดูแลรักษา แต่ที่เรียกว่านิ่วเหมือนกัน อันนี้คงเป็นเพราะว่า ลักษณะที่เห็นนั้น เป็นก้อนคล้ายหินเหมือนกัน เวลาพูดถึงโรคนิ่ว จึงต้องรู้ว่าเป็นนิ่วที่ไหน โรคนิ่วเป็นโรคที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ได้มีรายงานพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในโครงกระดูกศพมัมมี่ของประเทศอียิปต์   ปัจจุบันโรคนิ่วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และอุบัติการณ์โรคนิ่วไตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคนิ่วไตสูงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุ 1.เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมตาบอลิซึมของร่างกายแต่ละคน ปัจจัยทางพันธุกรรม …

โรคนิ่ว Read More »

โรคนิ่ว

โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะเป็นชื่อรวมของนิ่วที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะแบ่งตามตำแหน่งที่อยู่ของนิ่ว ได้แก่ นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ โรคนิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งถ้านิ่วมีขนาดเล็กก็จะหลุดออกมาเองได้ตอนผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โรคนิ่วไตในคนไทยพบว่ามีอุบัติการณ์การเป็นนิ่วซ้ำสูงมาก ทำให้ทั้งผู้ป่วย และภาครัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา และป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำสูงมาก ดังนั้นโรคนิ่วไตจึงจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยเป็นอย่างยิ่ง           โรคนิ่วมีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือนิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนิ่วทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในส่วนประกอบ สาเหตุ รวมทั้งการดูแลรักษา แต่ที่เรียกว่านิ่วเหมือนกัน อันนี้คงเป็นเพราะว่า ลักษณะที่เห็นนั้น เป็นก้อนคล้ายหินเหมือนกัน เวลาพูดถึงโรคนิ่ว จึงต้องรู้ว่าเป็นนิ่วที่ไหน โรคนิ่วเป็นโรคที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ได้มีรายงานพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในโครงกระดูกศพมัมมี่ของประเทศอียิปต์   ปัจจุบันโรคนิ่วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และอุบัติการณ์โรคนิ่วไตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคนิ่วไตสูงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุ 1.เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมตาบอลิซึมของร่างกายแต่ละคน ปัจจัยทางพันธุกรรม …

โรคนิ่ว Read More »

50 1

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 4: โรคไข้สุกใส

นอกเหนือจากโรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคหัดเยอรมันแล้ว โรคสุกใสเป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าหนาวนี้เช่นกัน บางท่านอาจไม่คุ้นว่าโรคสุกใสคืออะไร แต่ถ้าพูดว่า “อีสุกอีใส” ก็คงพอจะคุ้นหูกันมากกว่า สมัยก่อนโรคนี้ยังไม่มีทางป้องกัน แต่ปัจจุบันมีวัคซีนช่วยป้องกันให้เราปลอดภัยจากโรคนี้ได้ เรามาทำความรู้จักโรคสุกใสกันนะคะ โรคไข้สุกใส (Chickenpox หรือ Varicella)           โรคอีสุกอีใสหรือไข้สุกใส ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยหนุ่มสาว แต่ถ้าเป็นในผู้ใหญ่แล้วมักจะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนมากกว่าในเด็ก เมื่อปี พ.ศ. 2553 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานโรคสุกใสจำนวน 49,189 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 77.22 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมามีรายงานผู้เสียชีวิตปีละ 1 ถึง 3 ราย สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากมีโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบ และ/หรือ ตับอักเสบรุนแรง การระบาดมักพบในช่วงต้นปีตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน           โรคไข้สุกใสเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ วาริเซลลา (Varicella virus) หรือ ฮิวแมนเฮอร์ปี่ไวรัส ชนิดที่ 3 …

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 4: โรคไข้สุกใส Read More »

48 2

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 2: โรคปอดบวม

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคที่มากับฤดูหนาวส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และที่พบบ่อยได้แก่ โรคไข้หวัดทั่วไป โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปวดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคสุกใส ในตอนที่ 1 เราได้แนะนำโรคไข้หวัดทั่วไปและโรคไข้หวัดใหญ่ไปแล้ว ส่วนตอนที่ 2 นี้เราขอเสนอรายละเอียด “โรคปอดบวม” เพื่อให้ทุกท่านเตรียมป้องกันโรคในช่วงหน้าหนาวนี้กันค่ะ           โรคปอดบวม มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือโรคนิวโมเนีย (pneumonia) เป็นโรคติดเชื้อที่ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่นได้ เช่น เชื้อไมโคพลาสมา (mycloplasma) และเชื้อรา เมื่อปอดติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวมาที่เซลล์ปอด และเกิดปฏิกิริยาจากการทำลายเชื้อโรค ทำให้เซลล์ปอดบวมใหญ่ขึ้น เป็นที่มาของคำว่า “ปอดบวม” นั่นเอง เมื่อเชื้อโรคถูกทำลายแล้วจะทำให้เกิดหนองหรือของเหลวท่วมขังอยู่ภายในถุงลมปอด ทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย จากข้อมูลของสำนักงานระบาดวิทยา ในปี พ.ศ. 2553 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจำนวน 170,486 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 267.63 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน โดยมีอัตราเสียชีวิต 1.95 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน โรคนี้พบบ่อยช่วงระหว่างฤดูฝนและฤดูหนาว หรือตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนมีนาคม และจากข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ พ.ศ.2544 ถึง พ.ศ. 2553 พบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเพิ่มขึ้น …

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 2: โรคปอดบวม Read More »

47 2

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 1: ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่

ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยคงเริ่มสัมผัสกับกลิ่นอายของ “ลมหนาว” ที่พัดโชยเข้ามาทำให้รู้สึกถึงอากาศที่เริ่มหนาวเย็น สำหรับผู้ที่ยังคงประสบภัยน้ำท่วมอยู่นั้นควรเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลสุขภาพเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความเปียกชื้นสูงกว่าที่อื่น ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น วัด โรงเรียน หรือ ศูนย์อพยพ หากไม่ป้องกันให้ดีแล้วอาจทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย           อากาศที่แปรปรวนและฤดูฝนที่ยาวนาน ส่งผลให้เราอาจมีช่วงเวลา ที่อุณหภูมิที่ลดต่ำลงหรือมีหน้าหนาวยาวนานกว่าปกติ โรคที่พบได้บ่อยในฤดูหนาวส่วนใหญ่จะเป็นโรค ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปวดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน และโรคสุกใส ดังนั้นเรามาเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันโรคที่มากับฤดูหนาวกันนะคะ 1. ไข้หวัด (Common Cold) โรคไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดได้ตลอดทั้งปี พบบ่อยในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดแต่ละครั้งมักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดเพียงชนิดเดียว และเมื่อหายแล้วร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนั้น และเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดครั้งใหม่ก็มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ การติดต่อ           เชื้อไวรัสไข้หวัดที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ ติดต่อโดยการไอ หรือหายใจรดกัน หรือจากการสัมผัส เมื่อมีเชื้อหวัดติดที่มือแล้วไปสัมผัสผู้อื่น เชื้อหวัดก็จะติดคนๆนั้น และเมื่อนำไปขยี้ตาหรือแคะจมูกก็จะเข้าสู่ร่างกายจนกลายเป็นไข้หวัดได้อาการของโรคหลังจากเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายประมาณ 1 ถึง 3 วัน …

โรคที่มากับฤดูหนาว ตอนที่ 1: ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ Read More »

46 2

โรคที่ไม่ควรรักษาด้วยตนเอง

โรคภัยไข้เจ็บส่วนมากหายเองได้ และคนไข้สามารถรักษาตนเองได้ แต่ก็มีการเจ็บป่วยอีกพอสมควร ที่การรักษามีความสำคัญต่อการหายของโรค การรักษาโรคภัยไข้เจ็บกลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์ ดังนั้นคนไข้จึงต้องมีความรู้ตามสมควร ที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจว่า เมื่อไรอาจรักษาตนเองได้ โดยไม่มีโทษ และเมื่อไรจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ และถ้าต้องหาหมอ เมื่อไรต้องรีบ และเมื่อไรไม่ต้องรีบ กรณีต่อไปนี้ ท่านไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง 1. โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน diabetes ความดันเลือดสูง hypertension ตับแข็ง cirrhosis หอบหืด asthma แม้จะรู้จักชื่อยาที่ใช้รักษา แต่ความสำคัญของการรักษาอยู่ที่การพยายามรักษาให้ร่างกายอยู่ในภาวะที่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด และการระวังป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่ลึกซึ้งพอสมควรจึงจำเป็นต้องให้หมอรักษาซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่า 2. โรคเฉียบพลันรุนแรง เช่น ไส้ติ่งอักเสบ บาดแผลที่เลือดออกไม่หยุด เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด เป็นต้น จำเป็นต้องให้หมอรักษา บางกรณีถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน 3. โรคหรือการเจ็บป่วยใดๆ ที่คิดว่ารักษาด้วยตนเองได้ แต่เมื่อรักษาแล้วไม่ดีขึ้นดังคาดไม่ควรลังเลใจที่จะปรึกษาแพทย์ 4. อาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร 5. อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หายแล้วเป็นอีกโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรเข้ารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ ยกตัวอย่างอาการเจ็บหน้าอก chest pain มีทั้งกรณีที่อาจเป็นอันตรายและกรณีที่เป็นเพียงอาการที่น่ารำคาญ ความแตกต่างนี้ พิจารณาได้จากลักษณะของอาการเจ็บ อาการอื่นที่เกิดร่วมด้วย และวัยของคนไข้ 1. เจ็บหน้าอก บริเวณแคบๆ ตื้นๆ เอานิ้วกดเบาๆ ก็เจ็บ แต่กดบริเวณห่างออกไปไม่เจ็บ …

โรคที่ไม่ควรรักษาด้วยตนเอง Read More »

45 2

โรคที่เกิดจากผ้ารัดเข่าและรัดหลัง (knee support and back support)

ในเมืองไทยมีสินค้าทางด้านสุขภาพ วางขายให้เลือกซื้อกันอย่างเสรีมากมายครับ ในบางครั้งก็อาจจะเป็นการดีในเเง่ของความสะดวกรวดเร็วในการดูเเลรักษา ตัวเองเป็นเบื้องต้นครับเเต่ในทางตรงกันข้ามบางครั้งความถูกต้องในความเข้าใจของวิธีการใช้สินค้าสุขภาพเหล่านั้นก็ผิดเพี้ยนไป จนส่งผลย้อนกลับ ทางให้สุขภาพของคนที่ใช้สินค้านั้นๆ เเย่ลงอย่างไม่รู้ตัว           ผ้ารัดหัวเข่า หรือเสื้อรัดประคองหลัง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งครับ ที่เราอาจจะเคยเห็น คนรอบตัวเราใช้กันอยู่สม่ำเสมอ เเต่เพราะการใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี จึงทำให้มีคนจำนวนมากมายเกิดเป็นโรคเเทรกซ้อนบางอย่าง เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกระดูกสันหลังเสื่อม เข่าเสื่อม ง่ายกว่าคนปกติที่ไม่ได้ใส่ผ้ารัดเหล่านี้ครับ           นักกีฬามืออาชีพทั้งหลาย เวลาจะลงเล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะกันนั้น เขาจะต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกายไม่ว่าจะเป็น เสื้อเกราะสำหรับนักกีฬาอมริกันฟุตบอลใส่กันเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่กระดูกหน้าอก หรือนักฟุตบอลที่ต้องใส่ผ้ารัดหัวเข่าที่พันไว้รอบรอบหัวเข่า ป้องกันเข่าบิดงอลดโอกาสที่จะเกิดการบาดเข็บของกระดูกเเละการฉีกขาดของเอ็นทั้งหลายที่อยู่รอบเข่า           เเต่คนทั่วไปที่ไม่ค่อยชอบเล่นกีฬานั้น กล้ามเนื้อหลังจะมีความอ่อนเเอ เป็นทุนเดิมอยู่เเล้ว เวลาที่มีปัญหา ปวดหลังเเละแก้ปัญหา อย่างง่ายๆ เเต่ผิดวิธีครับ โดยการไปหา เสื้อเการะรัดหลังมาสวมใส่ ด้วยหวังว่า ผ้ารัดหลังนั้น จะไปช่วยทำให้ กล้ามเนื้อหลังทำงานน้อยลง เเละหายปวดหลังได้ หรือคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อม ในระยะเเรก นั้นจะมีภาวะที่กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนเเอลง เวลาเดินมาทั้งวันก็จะมีอาการเมื่อยล้าปวดเข่าเวลากลางคืน หลายคนที่ไม่ทราบความจริงจึงไปซื้อผ้ารัดหัวเข่ามาสวมใส่กันเอง เพราะคิดว่า จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวเข่าทำงานน้อยลง เเล้ว อาการปวดเข่าจะลดลง ตามไปด้วย           เมื่อใส่ใหม่ๆอาการปวดหลัง หรือปวดเข่าอาจจะลดลงครับ ในบางคนจึงเกิดอาการติดใจ ใส่บ่อยขึ้น เเละนานขึ้นตรงนี้เเหละครับที่จะเกิดปัญหาใหญ่หลวงตามมา เเละเเก้ไขยากมาก นั้นก็คือจะทำให้กล้ามเนื้อในส่วนที่สวมใส่เกิดภาวะอ่อนเเออย่างมาก …

โรคที่เกิดจากผ้ารัดเข่าและรัดหลัง (knee support and back support) Read More »

44 2

โรคท้าวแสนปม

โรคท้าวแสนปม เรียกว่า neurofibromatosis (NF) เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติที่กระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และผิวหนัง ความผิดปกติต่างๆ จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในรายที่รุนแรงจะมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และอาจเกิดเป็นมะเร็งได้โรคท้าวแสนปมแบ่งเป็นสองชนิดใหญ่ๆ ชนิดแรกเรียกว่า neurofibromatosis 1 (NF-1) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด บางครั้งอาจเรียกว่า peripheral NF ส่วนชนิดที่สอง เรียกว่า neurofibromatosis 2 (NF-2)หรือ central NF โรคท้าวแสนปมชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบบ่อย พบประมาณ 1 ใน 2,500 ถึง 3,500 คน สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยพบอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ใน 7 อาการ 1.ปานสีกาแฟใส่นมอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง2.พบก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง 2 ตุ่มขึ้นไป3.พบกระที่บริเวณรักแร้ หรือขาหนีบ4.พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา5.พบเนื้องอกของม่านตา 2 แห่งขึ้นไป6.พบความผิดปกติของกระดูก7.มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ 1. ปานสีกาแฟใส่นม           …

โรคท้าวแสนปม Read More »

43 2

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture

เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดในท่อปัสสาวะหรืออยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอุดกั้นของน้ำปัสสาวะ ซึ่งต่อมาจะเกิดการอักเสบ และการติดเชื้อตามมาในภายหลังโรคท่อปัสสาวะตีบเป็นปัญหาสำหรับผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้ชายมีความยาวมากกว่าของผู้หญิงมาก จึงเกิดพยาธิสภาพหรือเกิดภยันตรายได้ง่าย ท่อปัสสาวะแบ่งออกเป็นสามส่วน           ส่วนแรกเป็นท่อปัสสาวะที่ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะผ่านต่อมลูกหมาก เรียกว่า prostatic urethra          ส่วนที่สองเป็นกล้ามเนื้อเรียบทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหูรูดควบคุมการถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า membranous urethra ทั้งสองส่วนรวมกันมีความยาว 1-2 นิ้ว          ส่วนที่สามเรียกว่า bulbar urethra และ penile urethra เป็นส่วนของท่อปัสสาวะที่อยู่ภายในองคชาติ ส่วนที่สามนี้มีความยาว 9-10 นิ้ว สาเหตุ 1.เกิดจากอุบัติเหตุและภยันตรายต่อท่อปัสสาวะ2.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหนองใน (gonorrhea)3.กรณีท่อปัสสาวะส่วนด้านหลังตีบ อาจเกิดจากกระดูกเชิงกรานแตกหักจากอุบัติเหตุรถยนต์หรืออุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม4.เกิดจากการใส่สายสวนท่อปัสสาวะ5.ในบางรายเกิดภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก การผ่าตัดนิ่วในไต อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปริมาณน้ำปัสสาวะน้อย ไม่พุ่ง อาจพบเลือดในปัสสาวะ หรือปวดท้องได้ การวินิจฉัยโรค           แพทย์วินิจฉัยโรคจากลักษณะประวัติอาการและการตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบทางเดิน ปัสสาวะ การถ่ายภาพรังสี การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ และการตรวจโดยการส่องกล้อง การตรวจพิเศษทางรังสีที่เรียกว่า retrograde urethrogram ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างดีทำให้ทราบถึงจำนวน ตำแหน่ง ความยาว และความรุนแรงของการตีบ …

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture Read More »

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture

เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดในท่อปัสสาวะหรืออยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอุดกั้นของน้ำปัสสาวะ ซึ่งต่อมาจะเกิดการอักเสบ และการติดเชื้อตามมาในภายหลังโรคท่อปัสสาวะตีบเป็นปัญหาสำหรับผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้ชายมีความยาวมากกว่าของผู้หญิงมาก จึงเกิดพยาธิสภาพหรือเกิดภยันตรายได้ง่าย ท่อปัสสาวะแบ่งออกเป็นสามส่วน           ส่วนแรกเป็นท่อปัสสาวะที่ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะผ่านต่อมลูกหมาก เรียกว่า prostatic urethra          ส่วนที่สองเป็นกล้ามเนื้อเรียบทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหูรูดควบคุมการถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า membranous urethra ทั้งสองส่วนรวมกันมีความยาว 1-2 นิ้ว          ส่วนที่สามเรียกว่า bulbar urethra และ penile urethra เป็นส่วนของท่อปัสสาวะที่อยู่ภายในองคชาติ ส่วนที่สามนี้มีความยาว 9-10 นิ้ว สาเหตุ 1.เกิดจากอุบัติเหตุและภยันตรายต่อท่อปัสสาวะ2.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหนองใน (gonorrhea)3.กรณีท่อปัสสาวะส่วนด้านหลังตีบ อาจเกิดจากกระดูกเชิงกรานแตกหักจากอุบัติเหตุรถยนต์หรืออุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม4.เกิดจากการใส่สายสวนท่อปัสสาวะ5.ในบางรายเกิดภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก การผ่าตัดนิ่วในไต อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปริมาณน้ำปัสสาวะน้อย ไม่พุ่ง อาจพบเลือดในปัสสาวะ หรือปวดท้องได้ การวินิจฉัยโรค           แพทย์วินิจฉัยโรคจากลักษณะประวัติอาการและการตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบทางเดิน ปัสสาวะ การถ่ายภาพรังสี การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ และการตรวจโดยการส่องกล้อง การตรวจพิเศษทางรังสีที่เรียกว่า retrograde urethrogram ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างดีทำให้ทราบถึงจำนวน ตำแหน่ง ความยาว และความรุนแรงของการตีบ …

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture Read More »

42 2

โรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ

หรือที่เรียกว่า antibiotic-associated diarrhea เป็นโรคที่พบได้ประปรายในเวชปฏิบัติ และเป็นโรคที่มีความรุนแรงแตกต่างกันได้มาก ใน ร่างกายของคนปกติ จะพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดอาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งถือว่าเป็นจุลชีพเฉพาะถิ่น เชื้อพวกนี้อาศัยอยู่ในลำไส้โดยไม่ได้ก่อให้เกิดโรคแต่อย่างใด บางชนิดยังช่วยทำให้หน้าที่บางอย่างให้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็อาจพบการลุกลามของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งความรุนแรงของโรคอาจมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่แล้วการลุกลามของเชื้อโรคไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เนื่องจากในภาวะปกติร่างกายจะมีกลไกที่สามารถควบคุมเชื้อจุลชีพเฉพาะถิ่นไม่ ให้เจริญเติบโตมากเกินไป           แต่เมื่อกินยาปฏิชีวนะ สมดุลของร่างกายจะเปลี่ยนไป เนื่องจากยาปฏิชีวนะ จะทำลายแบคทีเรียที่เป็นจุลชีพเฉพาะถิ่นในลำไส้ ยาปฏิชีวนะจะทำลายเชื้อแบคทีเรียไปเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดภาวะเสียสมดุลของจุลชีพในลำไส้ ส่วนใหญ่ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นแค่อาการเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลว ซึ่งอาการถ่ายเหลวจะหายไปหลังจากหยุดยาปฏิชีวนะไม่นาน แต่ก็มีบางครั้งที่ยาปฏิชีวนะทำลายเชื้อแบคทีเรียไปมาก จนกระทั่งทำให้แบคทีเรียสายพันธุ์ที่ก่อโรคบางชนิดแบ่งตัวแพร่กระจายโดยร่างกายไม่สามารถควบคุมได้           เชื้อแบคทีเรียที่สำคัญชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า Clostridium difficile (C. difficile) สามารถเจริญเติบโตได้ดีมากในลำไส้แบคทีเรียชนิดนี้ สร้างสารทำลายผนังลำไส้ และทำให้ลำไส้อักเสบ ภาวะลำไส้อักเสบนี้เรียกว่า colitis อาการท้องเสียเป็นน้ำจะเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง และมีไข้ต่ำ ๆ อาจถ่ายเหลวจนกระทั่งผู้ป่วยตกอยู่ในภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย ในบางรายเชื้อแบคทีเรียทำ ให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญสองชนิด ชนิดเแรกเรียกว่า pseudomembranous colitis โดยเกิดเป็นพังผืดที่ผนังลำไส้ที่อักเสบ ชนิดที่สอง อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้ทะลุได้ซึ่งเป็นอันตรายมาก           …

โรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ Read More »

41 2

โรคติดเชื้อไวรัสฮันทาก่อให้เกิดลักษณะกลุ่มอาการทางเดินหายใจอย่างไร

โรคติดเชื้อไวรัสฮันทาก่อให้เกิดลักษณะกลุ่มอาการทางเดินหายใจอย่างไรผู้ป่วยจะเริ่มปรากฎอาการภายหลังได้รับเชื้อไวรัสฮันทา 1-3 สัปดาห์ โดยมีอาการไข้สูงหนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อต้นขา สะโพก กล้ามเนื้อหลัง และบริเวณหัวไหล่ อาการไข้หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมักจะรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรืออุจจาระร่วง ที่น่าสังเกตคือ มักจะไม่พบผื่นผิวหนัง ไม่พบจุดเลือดออกตามตัว และไม่มีอาการบวมรอบตาหรือแขนขา หลังจากนั้นภายใน 4-5 วันต่อมา ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ หอบเหนื่อย ต่อมาจะตามด้วยอาการปอดบวมน้ำ และภาวะช็อก ที่สำคัญความผิดปกติของปอดจะมีการลุกลามอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเป็นชั่วโมง           ในระยะที่เริ่มมีอาการของระบบทางเดินหายใจ การตรวจทางห้องปฎิบัติการจะแสดงถึงการรั่วของสารน้ำออกจากหลอดเลือด ตรวจพบความเข้มข้นของเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น ปริมาณของอัลบูมินในเลือดลดลง การตรวจเม็ดเลือดขาวพบว่า มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น การจำแนกประเภทของเม็ดเลือดขาว จะพบมีปริมาณของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลตัวอ่อนสูงขึ้น ร่วมกับพบมีตัวอ่อนของลิมโฟซัยท์ และมีการลดลงของเกร็ดเลือด การลดลงอย่างรวดเร็วของเกร็ดเลือดจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนจากระยะนำเข้าสู่ระยะปอดบวมน้ำ ในทางปฎิติแพทย์จะนึกถึงโรคนี้ในผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมน้ำ ซึ่งตรวจพบตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล ลิมโฟซัยท์ และมีการลดต่ำลงของเกร็ดเลือด           เชื้อไวรัสฮันทาสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 2-3 วันที่อุณหภูมิห้อง ไวรัสถูกทำลายโดยแสงแดด หรือรังสีอัลตราไวโอเล็ต การทำความสะอาดล้างถูหรือซักล้าง โดยใช้ผงซักฟอกตามปกติ …

โรคติดเชื้อไวรัสฮันทาก่อให้เกิดลักษณะกลุ่มอาการทางเดินหายใจอย่างไร Read More »

Scroll to Top