article_writer

14

การผ่อนคลายความเครียด

ความเครียดถือเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเกิดโรค มิใช่เฉพาะโรคหัวใจอย่างเดียว อาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร กลุ่มอาการที่ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อหลังบริเวณสะบัก และยังเชื่อกันว่าอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งอีกด้วย ความเครียดหรือความวิตกกังวล อาจเกิดขึ้นตามหลังการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าหากใครต้องเดินทางไปรับการรักษาจากแพทย์บ่อย ๆ เพราะโรคต่าง ๆ แล้ว ย่อมต้องเกิดความเครียดวิตกกังวลไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่สิ่งแวดล้อมแย่ลงเรื่อย ๆ ผู้ที่อยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ยิ่งมีปัญหามากมายเกี่ยวกับการเดินทางเพราะการจราจร ที่ยากที่จะแก้ไขให้ดีได้ ดังนั้นในกรณีที่ความเครียดเกิดตามหลังโรคต่าง ๆ ท่านก็สามารถที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดได้ โดยดูแลตนเองให้มีสุขภาพกายที่ดี รับประทานอาหารที่เหมาะสม ควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ตรวจเช็คร่างกายตามระยะเวลาที่เหมาะสม และหลีกหนีจากการรับสารที่มีพิษเข้าร่างกาย เช่น บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด เป็นต้น สำหรับความเครียดที่เกิดขึ้นในคนเรา มีความเชื่อกันว่าส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในคนที่มีบุคลิกภาพชนิด A (Type A Personality ) มีลักษณะของ 4 ร เรือ ดังนี้คือ เร่ง เพราะมีจุดมุ่งหมายสูง มีความหวังสูง รีบ เพราะขีดเส้นตายให้แก่ตนทุกโครงการ เร็ว เพราะต้องแข่งขันกับคนรอบข้าง ไร้ เพราะไม่มีความอดทน …

การผ่อนคลายความเครียด Read More »

13

การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือคำว่า “COOL DOWN” ในภาษาอังกฤษ มีความสำคัญต่อคนที่ออกกำลังกาย เป็นประจำเช่นเดียวกับการอบอุ่นร่างกาย ส่วนใหญ่คนทั่วไปมักจะไม่ค่อยคำนึงถึง เมื่อออกกำลังกายเสร็จแล้วก็เลิกทันที การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หมายถึง การที่ท่านค่อยๆ ลด หรือผ่อนการออกกำลังกาย ให้เบาลงทีละน้อยจนกระทั่งหายเหนื่อย เพื่อให้กล้ามเนื้อและหัวใจที่ทำงานมากขณะออกกำลังกาย ได้ค่อยๆ ทำงานน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ เช่น ถ้าท่านออกกำลังกายโดยการวิ่ง การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ก็หมายถึง การลดความเร็วลงเรื่อยๆ จนเป็นเดินเร็ว และเดินช้าจนกระทั่งหยุด หลังจากนั้นอาจทำกายบริหารยืดกล้ามเนื้อต่ออีก 3-5 นาที เช่นเดียวกับการอบอุ่นร่างกาย ถ้าหากท่านทำให้ครบวงรอบของการออกกำลังกาย ได้แก่ เริ่มต้นอบอุ่นร่างกาย 5-10 นาที ออกกำลังกาย 15-30 นาที และผ่อนคลายกล้ามเนื้ออีก 5 นาที หากสามารถทำได้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ท่านจะมีสุขภาพกายที่แข็งแรง อันจะเป็นหัวใจของความสำเร็จทั้งหลายทั้งปวงนะคะ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

11

การป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก

น้ำร้อนลวกไฟไหม้ไฟฟ้าดูด อย่าทิ้งเด็กเล็กไว้ตามลำพัง อย่าให้เด็กเล่นไม้ขีดไฟ อย่าวางของเล่นใกล้บริเวณเตาไฟ อย่าวางกระติกน้ำร้อนในที่เด็กคว้าง่าย ควรปิดจุกให้แน่นเสมอ ไม่ควรใช้ผ้าปูโต๊ะปล่อยชายที่เด็กคว้าถึง ติดปลั๊กไฟให้สูงหรือป้องกันไม่ให้เด็กเอากิ๊บหรือโลหะแหย่เล่น อย่าให้เด็กเข้าใกล้เมื่อต้มน้ำหรือรีดผ้า ดึงปลั๊กไฟฟ้าออกทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จ อุบัติเหตุบนถนน อุ้มหรือจูงมือเด็กเล็กให้แน่นขณะพาข้ามถนน สอนให้เด็กโตข้ามถนนในทางม้าลายหรือใช้สะพาน ถ้านั่งรถยนต์ควรล็อคประตู ขณะนั่งรถเด็กโตรัดเข็มขัดนิรภัย เด็กเล็กควรใช้เก้าอี้นิรภัย พยายามหลีกเลี่ยง อย่าให้เด็กซ้อนท้ายมอเตอร์ไซต์ จมน้ำ ควรทำฝาปิดบ่อน้ำหรือภาชนะกักน้ำบริเวณบ้าน อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำตามลำพัง หัดให้เด็กว่ายน้ำเป็นโดยเร็ว กินสารพิษ ขวดยา ผงซักฟอก น้ำยาเคมี น้ำมันก๊าด สารพิษอื่นๆ ควรปิดฉลากและจุกให้แน่นเก็บในที่ปลอดภัยให้พ้นมือเด็ก เมื่อให้ยาเด็ก อย่าลืมอ่านฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง ทิ้งยาที่ไม่ต้องการในที่ที่พ้นมือเด็ก อย่านำขวดเครื่องดื่มหรือภาชนะใส่อาหารมาใส่สารพิษหรือยาจะทำให้เด็กเข้าใจผิดดื่มกิน ข้อควรระวังอื่นๆ อย่าให้เล่นใกล้ถนน อย่าให้เล่นของมีคม รวมทั้งเก็บอาวุธอันตรายให้พ้นมือเด็ก ไม่ชวนให้เด็กพูด วิ่ง หัวเราะ ขณะทีอาหารอยู่ในปาก อาจสำลักได้ อย่าให้เด็กเล่นใกล้ประตูและบันได ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

10

การป้องกันโรคบาดทะยัก

แม้โรคบาดทะยัก (tetanus) จะมีวัคซีนป้องกัน แต่ปัจจุบันประเทศไทยก็ยังพบผู้ป่วยอยู่เรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่าจะพบในผู้สูงอายุมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายเพียงแค่โดนเข่งบาดมือ ก็เป็นโรคบาดทะยักได้ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าโดนตะปูที่เป็นสนิมตำมีความเสี่ยงจะเป็นโรคบาดทะยัก ความจริงแล้วตัวการสำคัญมิใช่สนิม เพียงแต่ว่าตะปูที่เป็นสนิมมักจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเศษดิน หรืออยู่ในคอกสัตว์ ซึ่งมีเชื้อบาดทะยักอยู่ ตะปูที่ไม่มีสนิม แต่ถ้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนั้น ถ้าโดนตำเข้า ก็มีโอกาสเป็นโรคบาดทะยักได้เช่นกัน ลักษณะของโรคบาดทะยัก โรคบาดทะยักเกิดจากสารพิษของเชื้อบาดทะยักที่มีฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผล หลังจากนั้น 1-7 วัน การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อจะกระจายทั่วร่างกาย ทําให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อกราม ผู้ป่วยอ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลําบาก คอ หลังเกร็ง และปวด หลังจากนั้นกล้ามเนื้อทั่วร่างกายก็จะเกร็งทั้งหมดโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจ ทําให้หายใจลําบาก และอาจเสียชีวิตได้จากภาวะหายใจวายบาดแผลที่เสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยัก ได้แก่ บาดแผลที่มีเนื้อตายจํานวนมาก มีการติดเชื้อเป็นหนอง มีสิ่งแปลกปลอมตกค้าง แผลไฟไหม้ การติดเชื้อของสายสะดือ กระดูกหักชนิดแทงทะลุผิวหนัง การติดเชื้อจากทําแท้ง โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดิน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Clostridium tetani เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสร้างสารพิษ ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะจับกับเส้นประสาท ส่งผลให้การทํางานของกล้ามเนื้อผิดปกติ เชื้อบาดทะยักมักจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล บางครั้งแผลอาจจะเล็กมากจนไม่เป็นที่สังเกต แผลที่ลึก หรือแผลที่มีเนื้อตายมากจะเกิดติดเชื้อได้ง่าย การป้องกัน โดยทั่วไป วัคซีนโรคบาดทะยัก มักจะได้รับกันตั้งแต่เป็นเด็กกันอยู่แล้ว …

การป้องกันโรคบาดทะยัก Read More »

9

การปลูกถ่ายอวัยวะ

การปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplantation)อาจจะเป็นคำใหม่ที่ท่านจะเคยได้ยินครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ในอนาคตคนไทยทุกคน หรือทั่วโลกจะต้องรู้จักกันมากยิ่งขึ้น เพราะวิวัฒนาการทางการแพทย์เพื่อเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายคนเรา มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง อวัยวะที่เป็นโรค และสูญเสียหน้าที่การทำงานไปจนเกือบหมด ย่อมทำให้ร่างกายของคนนั้นๆ มีชีวิตต่อไปไม่ได้ ถ้าหากเป็นอวัยวะสำคัญๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น โรคบางโรคไม่สามารถทำให้หาย หรือแม้แต่ดีขึ้นได้ด้วยยา หรือผ่าตัด ดังนั้นทางออกสุดท้ายคือ การเอาอวัยวะนั้นๆ ที่ยังดีอยู่จากผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมาเปลี่ยนให้ ที่เรียกว่า การปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งเปรียบเสมือนการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์นั่นเอง แต่การปลูกถ่ายอวัยวะนั้น ไม่ได้ง่ายเหมือนการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์ เพราะร่างกายคนเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่ยอมรับอวัยวะใหม่เสมอ คนไข้ทุกรายที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะต้องใช้ยาลดปฏิกิริยาสลัดทิ้งของร่างกาย ที่มีต่ออวัยวะใหม่ซึ่งในปัจจุบันนี้ ยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนในปัจจุบันการขออวัยวะกับญาติผู้เสียชีวิตมีการยอมรับกันมากขึ้น การใช้น้ำยาถนอมอวัยวะในระหว่างการขนส่งที่รวดเร็วขึ้น จากการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จนบางคนสามารถเล่นกีฬาได้เหมือนคนปกติ บางคนวิ่งแข่ง 100 เมตร ได้ด้วยความเร็ว 11.6 วินาทีก็เคยมีมาแล้ว ความสามารถของแพทย์ไทยเกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันเทียบได้กับมาตรฐานสากลทั่วโลก ในปัจจุบันแทบทุกสถาบันที่เป็นโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลทั้งของรัฐบาล และเอกชนบางแห่ง ต่างประสบความสำเร็จในการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะแทบทั้งสิ้น การปลูกถ่ายอวัยวะในอดีต การปลูกถ่ายอวัยวะในอดีต …

การปลูกถ่ายอวัยวะ Read More »

8

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บกระดูกหัก ข้อเคลื่อน

1. กระดูกหัก (Fracture) • กระดูกหักแบบปิด (Closed Fracture) การหักของกระดูกประเภทที่ไม่มีบาดแผลติดต่อกับภายนอกร่างกาย การรักษาทำได้ง่ายโดยการดึงกระดูกที่หักให้เข้าที่แล้วเข้าเฝือก หรือยึดตรึงกระดูกให้อยู่นิ่งด้วยวิธีอื่น ๆ • กระดูกหักแบบเปิด (Open Fractrue) การหักของกระดูกประเภทที่มีบาดแผลติดต่อกับภายนอกร่างกาย อาจมีบาดแผลติดต่อเข้าไปถึงส่วนกระดูกหัก หรือปลายกระดูกที่หักทิ่มทะลุออกมาภายนอกจึงมีปัญหาในเรื่องการติดเชื้อค่อน ข้างมาก จำเป็นต้องให้การรักษาอย่างเร่งด่วนและถูกต้อง 2. สัญญาณกระดูกหัก• บวม, ปวด, กดเจ็บ• คดหรืองอตรงตำแหน่งที่หัก• ขยับไปมาได้, มีเสียงกระดูกขบกัน• อวัยวะส่วนนั้นหดสั้นลง, กระดูกเกยกัน• มีจ้ำเลือดออกใต้ผิวหนังการมีกระดูกหักอาจมีอันตรายต่อหลอดเลือด และเส้นประสาทใกล้เคียง โดยเฉพาะถ้ามีการเคลื่อนที่ของส่วนที่หักอาจมีเลือดออกมาภายใน จนทำให้คนไข้ช็อคได้ 3. การปฐมพยาบาลคนไข้กระดูกหัก ใช้วัสดุที่หาได้ดามส่วนที่หักไว้ชั่วคราว วัสดุที่หาได้ใกล้ตัว เช่น แผ่นไม้ยาว กระดาษหนังสือพิมพ์พับตามยาวหลาย ๆ ชั้น กาบใบมะพร้าว มู่ลี่ ไม่ไผ่ เป็นต้น ถ้ามีกระดูกทะลุออกนอกเนื้ออย่าดึงกลับเข้าที่ ให้ใช้ผ้าสะอาดปิดไว้แล้วรีบส่งแพทย์ 4. จุดประสงค์ในการดามกระดูกหัก• เพื่อให้ส่วนที่บาดเจ็บนั้นอยู่นิ่ง• ป้องกันการมีเลือดออกเพิ่มมากขึ้น• ไม่ให้กระดูกที่หักไปทิ่มแทงกล้ามเนื้อ• ลดอาการเจ็บปวด• …

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บกระดูกหัก ข้อเคลื่อน Read More »

7

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร จากสาเหตุต่างๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหารที่มีเลือดออกรุนแรง การผ่าตัดลดความอ้วน (Bariatric Surgery) เนี้องอกชนิดต่างๆ หรือมะเร็งกระเพาะอาหารฯลฯ กระเพาะที่ถูกตัดออกไปจะทำให้ส่วนที่เหลืออยู่ ทำงานไม่เป็นปกติ ทำให้ระบบการย่อยอาหารแปรปรวน มีผลข้างเคียงมากมายตั้งแต่ คลื่นไส้ อาเจียน จุก แน่นหน้าอก ปวดท้อง ท้องเสีย หน้ามืด เป็นลม อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงอย่างมาก คุณภาพชีวิตเลวร้าย แทบไม่อยากมีชีวิตอยู่ การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารภาวะที่อาหารผ่านกระเพาะอย่างรวดเร็วเข้าสู่ลำไส้ (Dumping Syndrome) เนื่องจากกระเพาะส่วนปลาย (Pylorus) ที่ทำหน้าที่ชะลออาหารไว้ในกระเพาะไม่ให้ไหลผ่านสู่ลำไส้เร็วเกินไป ถูกตัดออกไปน้ำดีจากลำไส้ไหลย้อนเข้าสู่กระเพาะ ทำให้กระเพาะอักเสบ (Bile Gastritis)ภาวะโลหิตจางจากขาดวิตามิน B12 เนื่องจากส่วนของกระเพาะที่ช่วยในการดูดซึม วิตามินถูกตัดออกไปจากประสพการณ์ ที่เจอกับพี่สาวตัวเอง ที่ถูกผ่าตัดกระเพาะส่วนล่างออกไป เพราะมีก้อนเนื้องอก(ไม่ใช่เนื้อร้าย) หลังจากนั้น 1-2 อาทิตย์ มีอาการกินอาหารแล้วจุกแน่น เรอ อาเจียนอย่างมาก กินอะไรไม่ได้เลยแม้กระทั่งน้ำเกลือแร่ หรือน้ำหวาน ยิ่งดื่มยิ่งแย่ลง มีอาการเป็นลมหน้ามืด เวียนหัว ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงอย่างมาก …

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร Read More »

6

การบาดเจ็บของกระดูกเท้า Metatarsal

การบาดเจ็บของกระดูกเท้า Metatarsal หมายถึงอะไร ปัญหาของการบาดเจ็บที่กระดูกเท้า Metatarsal ที่เปรียบเสมือนคำสาบอันโชคร้ายที่เกิดขึ้นในนักฟุตบอลพรีเมียร์ลีกระดับ top มาแล้วหลายคน และเวย์น รูนีย์ แห่งทีม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ถือเป็นผู้เคราะหร้ายรายล่าสุด กระดูก Metatarsal คือกระดูกส่วนใด ? กระดูก Metatarsal คือกระดูกของเท้ามีจำนวน 5 อัน อยู่ติดกัน ทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อช่วยรับน้ำหนักของร่างกายที่ลงไปที่เท้า และอาจมีการขยับตัวได้บ้างขณะที่เท้าเหยียบไปบนพื้นที่ไม่เรียบ หรือขรุขระการบาดเจ็บมักเกิดขึ้นจากแรงกระแทกโดยตรง ไปที่ตัวกระดูกเท้า Metatarsal หรือบางกรณีอาจเกิดจากการบิดของเท้าและการใช้งานมากเกินไป ใครที่เคยได้รับการบาดเจ็บของกระดูกเท้า Metatarsal บ้าง ? รอยคีน (Roy Keane), สตีเวน เจอร์ราจ (Steven Gerrard), เวย์น รูนี่ย์ (Rooney) (2 ครั้ง), เดวิด เบคแฮม (David Beckham), แกรรี เนวิว (Gary Neville) และ ไมเคิล …

การบาดเจ็บของกระดูกเท้า Metatarsal Read More »

5

การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์

เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะมีความตื่นเต้น ยินดี แต่บางครั้งก็รู้สึกกังวลใจ เมื่อร่างกายเปลี่ยนแปลง การได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพจะช่วยให้คุณแม่เข้าใจตนเอง และสร้างความมั่นใจในการตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น การฝากครรภ์ การฝากครรภ์มีประโยชน์สำหรับคุณแม่มาก คุณแม่จะได้รับการฉีดยาป้องกันบาดทะยัก ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะเพื่อค้นหาความผิดปกติ ซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อให้ทราบว่าการตั้งครรภ์เป็นปกติหรือไม่ ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว และได้รับยาบำรุงร่างกาย หรือยาตามอาการที่แพทย์ตรวจพบ ควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง หรือมาก่อนนัดได้เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น อาการที่พบขณะตั้งครรภ์ คลื่นไส้ อาเจียน ที่เรียกกันว่าแพ้ท้อง พบได้ตั้งแต่ประจำเดือนเริ่มขาด ควรรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง ไม่เคร่งเครียด และกังวลใจจนเกินไป ถ้ามีอาการมากควรปรึกษาแพทย์ ท้องอืด เนื่องจากกระเพาะอาหาร และลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก ของหมักดอง อาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดลม หรือแก๊สมาก ท้องผูก พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ เพราะการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง ควรรับประทานอาหารที่มีกากใน เช่น ผัก ผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ออกกำลังกายบ้าง และขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน ถ้าท้องผูกมากควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยาระบายท้องรับประทานเอง ปัสสาวะบ่อย เป็นเพราะมดลูกที่โตขึ้นไปกด และเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะออกบ่อย ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนาน …

การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ Read More »

4

การบาดเจ็บที่ข้อเข่าจากกีฬา

ลักษณะการบาดเจ็บที่ข้อเข่าชนิดต่าง ๆ การฟกช้ำ (Contusion) ที่เกิดจากแรงโดยตรงกระแทกเป็นส่วนใหญ่ และบางครั้งกระแทกไปที่กล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ (Strain) ซึ่งอาจรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันออกไปข้อแพลง (Sprain) มีเอ็นยึดข้อเข่าทางด้านข้างฉีกขาด โดยที่ยังไม่มีการสูญเสียความแข็งแรง ซึ่งหมายถึงข้อเข่ายังมีความแข็งแรง (Stability) ทั้งนี้แรงที่มาทำให้ข้อแพลงไม่มากพอจนกระทั่งไปทำให้เอ็นไขว้ (Cruciate ligament) ฉีกขาด ซึ่งนำสู่ข้อเข่าที่ขาดความแข็งแรง หรือการเรียกว่า Instability สัปดาห์นี้ผมขอกล่าวถึงชนิดที่ 3 ของลักษณะการบาดเจ็บของข้อเข่าต่อไปดังนี้ เอ็นไขว้ขาด (Torn Cruciate ligament) จากที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ๆ ว่า ผู้ที่มีการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา แล้วเกิดการบวมของข้อเข่าอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 ชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการมีเลือดอยู่ในข้อเข่า แต่ไม่มีทางระบายออกมาภายนอก ภาวะเลือดคั่งในข้อ เราเรียกว่า “Hemarthrosis” สำหรับการมีเลือดคั่งอย่างรวดเร็วนั้น เราพบว่า 60-70% ของคนกลุ่มนี้ จะมีการฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้า (Anterior Cruciate ligament) ซึ่งหากเกิดจากสิ่งนี้จริง หากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจในระยะแรก ๆ อาจบอกยากว่ามีเอ็นไขว้หน้าขาด เพราะข้อเข่าที่บวมใหม่ ๆ จะส่งผลให้มีความเจ็บปวดค่อนข้างมาก ร่างกายจะส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อรอบ …

การบาดเจ็บที่ข้อเข่าจากกีฬา Read More »

2

การแพทย์ทางเลือก

เมื่อปี 2005 หน่วยงานของประเทศสหรัฐอเมริกา National Center of Complementary and Alternative Medicine (NCCAM) ได้จำแนกการแพทย์ทางเลือกออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้ 1. Alternative Medical Systems คือ การแพทย์ทางเลือกที่มีวิธีการตรวจรักษาวินิจฉัย และการบำบัดรักษาที่มีหลากหลายวิธีการ ทั้งด้านการให้ยา การใช้เครื่องมื่อมาช่วยในการบำบัดรักษา และหัตถการต่างๆ เช่น การแพทย์แผนโบราณของจีน (Traditional Chinese Medicine) การแพทย์แบบอายุรเวช ของอินเดีย เป็นต้น2. Mind-Body Interventions คือ วิธีการบำบัดรักษาแบบใช้กาย และใจ เช่น การใช้สมาธิบำบัด โยคะ ชี่กง เป็นต้น3. Biologically Based Therapies คือวิธีการบำบัดรักษาโดยการใช้ สารชีวภาพ สารเคมีต่างๆ เช่นสมุนไพร วิตามิน Chelation Therapy, Ozone Therapy หรือแม้กระทั้งอาหารสุขภาพเป็นต้น4. …

การแพทย์ทางเลือก Read More »

1

การเพิ่มขีดความสามารถและฝึกการปรับตัวให้ลูก

โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว แต่ละคนจึงต้องเตรียมพร้อม เรียนรู้ และปรับปรุง ตนเองเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะการเตรียมพร้อมลูกหลานเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและมีศักยภาพในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ อันจะช่วยให้เขาเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุขไม่ตื่นตระหนกกับความเปลี่ยนแปลงจนอาจนำไปสู่ความสูญเสียสมดุลในการมีชีวิต และหากเกิดปัญหาหรืออุปสรรค ที่ไม่คาดคิด เขาเหล่านั้นก็จะสามารถรับมือและหาทางออกได้อย่างสร้างสรรค์ ในทางการแพทย์จึงให้ความสำคัญกับการสร้างเสริม ความสามารถด้านการปรับตัว (Resilience) ซึ่งเป็นพัฒนาการที่สำคัญด้านหนึ่งที่ผู้ปกครองควรปลูกฝังให้ลูกหลานตั้งแต่ยังเยาว์วัย (1) Resilience สำหรับเด็ก คือ การที่เด็กสามารถปรับตัวหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรค การที่เด็กแต่ละคนมีความสามารถในการปรับตัวที่แตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างปัจจัยเสริมด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ หากเด็กมีปัจจัยเสริมด้านบวกมากกว่า ก็จะทำให้สามารถแก้ปัญหาในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าการหาทางออกด้วยวิธีที่ผิดพลาดจนก่อให้เกิดผลเสียตามมา (2) เปรียบเสมือนตาชั่งที่มีแขนข้างหนึ่งรับปัจจัยด้านบวก อีกข้างรับปัจจัยด้านลบ หากมีปัจจัยบวกมากกว่า ก็จะสามารถถ่วงให้เกิดความสมดุลได้แม้เวลาที่มีปัญหาอุปสรรคหรือปัจจัยด้านลบถาโถมเข้าใส่ นอกจากนี้ การที่เด็กมีปัจจัยด้านบวกมาก ยังจะสามารถเปลี่ยนความเครียดที่เป็นพิษ (Toxic stress) ให้กลายเป็นความเครียดที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ (Positive stress) อันนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อีกด้วยผู้ปกครองสามารถสร้างเสริมประสบการณ์ที่เป็นปัจจัยด้านบวกให้กับลูกหลานได้ ดังนี้ (3, 4) สานสัมพันธภาพเชิงบวกผ่านการเข้าใจและตอบสนองได้ตรงกับตัวตนของเด็ก (Stable and committed relationship with a supportive parent) โดยเริ่มจากการที่ผู้ปกครองเข้าใจในความแตกต่างของเด็กแต่ละคน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และความสามารถในการเรียนรู้ แล้วจึงกระตุ้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่เหมาะสมกับความแตกต่างนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น หากเด็กมีพื้นอารมณ์แบบต้องการเวลาในการปรับตัวนาน …

การเพิ่มขีดความสามารถและฝึกการปรับตัวให้ลูก Read More »

Scroll to Top