article_writer

29

อหิวาตกโรค (cholera)

อหิวาตกโรค (cholera)เป็น โรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Vibrio cholerae) เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน เชื้อจะเข้าไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษออกมา ทำปฏิกิริยากับเยื่อบุ ผนังลำไส้เล็กทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำสีซาวข้าว ร่างกายเสียน้ำ และเกลือแร่อย่างรวดเร็ว และรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรค นี้พบเป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดระบาดขึ้นเป็นครั้งคราวในอัฟริกา เอเชีย ยุโรปตะวันออก และอินเดีย เป็นโรคนำเข้าของประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรปตะวันตก การระบาดไม่ค่อยเกี่ยวพันกับการเดินทางทางอากาศสถานการณ์ของอหิวาตกโรคตลอดปี 2550 กระทรวง สาธารณสุขพบผู้ป่วยที่ยืนยันติดเชื้ออหิวาตกโรค จำนวน 988 ราย เสียชีวิต 7 ราย อัตราตายร้อยละ 0.7 ซึ่งถือว่าต่ำมาก ทางกระทรวงได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งที่มี และไม่มีรายงานผู้ป่วย เร่งควบคุมป้องกันโรคอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่พบผู้ป่วย ให้แยกผู้ป่วยดูแล และค้นหาเฝ้าระวังผู้ป่วยรายใหม่ และผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการในชุมชนละแวกเดียวกัน เป็นเวลา 10 วัน ขณะนี้มี 2 จังหวัดที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง ได้แก่ ยะลา พบผู้ป่วยรายล่าสุดเมื่อ 26 ธันวาคม 2550 …

อหิวาตกโรค (cholera) Read More »

28

หูตึงกับผู้สูงอายุ

หูตึง…กับผู้สูงอายุ ปัญหาเรื่องการได้ยินแย่ลงกับผู้สูงอายุมักเป็นปัญหาของคู่กัน มีคำกล่าวเล่นๆ ว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น ทุกอย่างในร่างกายจะหย่อนยานลง ยกเว้นหูเท่านั้นที่ตึงขึ้น ปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุมักจะค่อยๆ เกิดขึ้น โดยตัวผู้สูงอายุเองมักจะไม่ทราบว่าตัวเองหูตึง แต่คนรอบข้างมักจะรู้ เพราะในการสนทนาต้องใช้เสียงดังขึ้น เปิดทีวีดังขึ้น ในบางคนอาจจะมีปัญหาเสียงรบกวนในหู (Tinnitus) ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญจนนำมาพบแพทย์ สาเหตุของปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุมีอยู่มากมาย โดยสาเหตุเล็กๆ มักเกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทการได้ยิน (Cochlear) โดย มักจะเริ่มเสื่อมจากความถี่สูง (high frequency) ก่อนแล้วค่อยๆ เป็นมากขึ้น ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดหูตึงในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคทางไตที่ต้องใช้ยาเรื้อรัง เหล่านี้เป็นปัญหาที่ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาหูตึง ได้ทั้งสิ้น ปัญหาของหูตึงในผู้สูงอายุก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแย่ลง มีปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นๆ รอบๆ ตัว อาจจะเกิดความรำคาญกับบุคคลรอบตัวได้ อาจเกิดอันตรายจากการที่ไม่ได้ยินเสียงเตือนต่างๆ เช่น ของตกใส่ อุบัติเหตุจราจร อาจจะเกิดปัญหาซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ การดูแลรักษา ควรตรวจสมรรถภาพการได้ยินเป็นประจำทุกปี เมื่ออายุเกิน 60 ปี ควบคุมดูแลโรคประจำตัวต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจทำให้หูตึงได้ ถ้าพบว่าประสาทหูเสื่อมถึงระดับปานกลาง …

หูตึงกับผู้สูงอายุ Read More »

27

หูด

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง โดยเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในชั้นหนังกำพร้า เกิดเป็นเนื้องอกบนผิวหนัง ผู้ที่เป็นหูดส่วนใหญ่มักจะได้รับเชื้อไวรัสมาจากการสัมผัสโดยตรง ผิวหนังที่ถลอกหรือถูกกดทับจะติดเชื้อหูดได้ง่าย การแกะเกาจะทำให้กระจายไปส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ หูดด้านข้างนิ้วเท้าทำให้นิ้วที่อยู่ติดกันเป็นหูดที่บริเวณผิวหนังที่ชิดกับหูดได้ เราสามารถพบหูดได้ในทุกวัยไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ลักษณะของหูดนั้นจะมีลักษณะเป็นเม็ดนูนแข็ง ผิวขรุขระ มีเม็ดเดียวหรือเป็นหลายเม็ดก็ได้ คนที่ภูมิคุ้มกันต่ำจะมีจำนวนเม็ดมาก ส่วนใหญ่เกิดที่มือหรือเท้า ถ้าเป็นที่ฝ่าเท้าจะคล้ายตาปลา เวลาเดินจะเกิดการกดทับตลอดเวลาจะทำให้มีอาการเจ็บมาก หูดอาจหายได้เองถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี แต่ถ้าภูมิคุ้มกันต่ำจะหายยาก ลุกลามได้ง่าย ควรรีบรักษา สำหรับการรักษามีหลายวิธี อาจใช้วิธีทายากัดหูด ที่มีส่วนผสมกรดซาลิไซลิกและกรดแลกติก แต้มหูดวันละ 2 ครั้ง ประมาณ 4-6 สัปดาห์ ซึ่งต้องใช้เวลาและความตั้งใจในการแต้มยา แต่จะไม่เจ็บไม่ปวดไม่เสียเลือด หายแล้วไม่เป็นแผลเป็น หรืออาจใช้วิธีผ่าตัดเอาออก จี้ออกด้วยไฟฟ้า หรือจี้ด้วยความเย็นก็ได้ สิ่งทีมีคนเข้าใจผิดเพราะหลงเชื่อกันมาเรื่อยๆ คือการใช้ธูปจี้หรือการใช้ยากัดหูดแรงๆ ดังนั้นท่านจึงไม่ควรใช้ธูปจี้หรือยากัดหูดแรงๆ เพราะจะทำให้เป็นแผลเป็น ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

26

หูชั้นนอกอักเสบ

หูของคนเราแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ หูชั้นนอก , หูชั้นกลางและหูชั้นใน โดยหูชั้นนอกหมายถึงใบหู รูหู รวมไปถึงแก้วหูการอักเสบของหูชั้นนอกที่พบบ่อย คือการอักเสบของรูหูซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา , เชื้อแบคทีเรียหรือผื่นแพ้ก็ได้โดยมากมักเริ่มจากมีความชื้น เช่นน้ำเข้าหูและค้างอยู่ในหูทำให้มีโอกาสที่เชื้อราหรือแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีก่อให้เกิดอาการอักเสบในรูหู การแคะหูทำให้มีแผลถลอกของรูหูและการติดเชื้อตามมาได้โรคผิวหนังบางชนิดก็เกิดกับผิวหนังของรูหูได้เช่นกัน เช่นโรคผิวหนังตกสะเก็ดและโรคผื่นแพ้จะทำให้มีอาการบวมแดงของรูหูร่วมกับมีสะเก็ดลอกของผิวหนังของรูหูร่วมด้วย อาการของหูชั้นนอกอักเสบมักเกิดภายหลังว่ายน้ำหรือแคะหูโดยผู้ป่วยจะมักมีอาการปวดหู , หูเป็นน้ำเยิ้ม คล้ายหูแฉะ เป็นอาการหลักบางรายมีอาการบวมแดงของรูหูและใบหู ซึ่งจะมีอาการหูอื้อตามมาโดยเฉพาะในรายที่มีเชื้อราหรือขี้หูมาก อาจทำให้รูหูอุดตัน ได้ยินไม่ชัดทำให้ผู้ป่วยรำคาญและมาหาแพทย์ สำหรับการรักษา ส่วนใหญ่จะให้การรักษาตามสาเหตุ การทำความสะอาดหูดูดหนอง หรือขี้หูออก แล้วเช็ดด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาเพิ่มความเป็นกรดในรูหูจะช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น แต่ต้องกระทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการล้างหู หรือแคะหูด้วยตนเองในกรณีที่น้ำเข้าหูแล้วต้องการซับออกให้แห้งโดยใช้คัตตอนบัท หรือสำลีเช็ดหู ก็ควรจะทำด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

25

หากท่านมีอาการเหนื่อยง่าย

ออกซิเจนเป็นสารที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่ถ้าขาดออกซิเจนคนเราจะถึงแก่กรรมในระยะเวลาอันสั้น การหายใจเป็นการนำออกซิเจนเข้าไปสู่ในปอด และแลกเปลี่ยนกับเลือดที่ไหลมายังปอด ออกซิเจนจะซึมเข้าไปในกระแสเลือด และไหลออกไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในภาวะปกติการหายใจจะเป็นสัดส่วนกับความต้องการออกซิเจนของร่างกาย ปกติแล้วการหายใจควบคุมโดยสมองส่วนกลาง โดยที่เราไม่ต้องคิดที่จะหายใจเอง ในภาวะปกติเราจะไม่รู้สึกเหนื่อย อาการเหนื่อยเป็นความรู้สึกที่บอกตัวเราว่าเราต้องออกแรงหายใจมากกว่าปกติ จะเป็นเพราะเราต้องหายใจเอาอากาศเข้า-ออกเป็นปริมาณมากๆ หรือมีหลอดลมตีบทำให้หายใจลำบากขึ้นก็ได้ คนปกติจะไม่รู้สึกเหนื่อยในขณะที่ใช้ชีวิตและทำงานอย่างธรรมดาประจำวัน แต่จะรู้สึกเหนื่อยเมื่อต้องออกกำลังมาก เช่น ในขณะที่เล่นกีฬา หรือต้องทำงานหนัก เช่น แบกของเป็นต้น การเหนื่อยง่ายถือว่าผิดปกติ ถ้าหากเมื่อออกกำลังหรือทำงานแล้วรู้สึกเหนื่อยในขณะที่คนอื่นๆ ไม่รู้สึกมีอาการเหนื่อยในขณะที่ทำงาน หรือออกกำลังซึ่งแต่เดิมสามารถทำได้โดยไม่มีอาการเหนื่อย ตัวอย่างเช่น แต่ก่อนเดิน 100 เมตรได้ไม่เหนื่อย แต่ในปัจจุบันเดินแล้วเหนื่อยอาการเหนื่อยอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากโรค และไม่ใช่โรค และอาจเกิดจากโรคที่มีอันตรายถึงตายได้ หากรักษาหรือแก้ไขไม่ทัน สาเหตุของการเหนื่อยง่ายจากโรคอาจแบ่งเป็น โรคหัวใจ โรคปอด โรคโลหิตจาง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคของประสาท และกล้ามเนื้อ สาเหตุของการเหนื่อยง่ายที่ไม่ได้เกิดจากโรคอาจแบ่งเป็น ร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากการขาดการอกกำลังกาย (Physical unfit) ร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากเพิ่งฟื้นไข้ และขาดอาหาร ร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากพักผ่อนไม่พอ มีความเครียดกังวลมาก ท้อแท้ หรือที่เรียกว่าเหนื่อยใจ ผู้ที่มีอาการเหนื่อยง่าย ควรจะไปพบแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการเหนื่อยง่ายเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานในการวินิจฉัยหาสาเหตุอาการเหนื่อยนั้นแพทย์จำเป็นต้องซักถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะระบบทางด้านปอด และหัวใจ …

หากท่านมีอาการเหนื่อยง่าย Read More »

24

หากท่าน (นักฟุตบอล) ไม่รู้…คงสู้เขาไม่ได้

ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงความสำคัญของอาหารการกินหรือโภชนาการที่นักฟุตบอล (หรือนักกีฬาอื่นๆ ก็ได้) พึงทราบ โดยได้กล่าวถึงชนิดของอาหาร 5 หมู่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่และวิตามินไปแล้ว ในสัปดาห์นี้ผมจะขอนำเสนอสิ่งที่สำคัญมากๆ ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหมู่อาหารดังกล่าวข้างต้น ซึ่งได้แก่ “น้ำ” นั่นเอง ความรู้พื้นฐานที่ควรทราบ (หลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬา) ร่างกายของเรามีอุณหภูมิอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส หรือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ ระหว่างที่เล่นกีฬา ออกกำลังกายฝึกซ้อมฟุตบอลหรือแข่งขันฟุตบอล จะเกิดความร้อนจากการใช้พลังงานในร่างกายอย่างมาก ร่างกายจะต้องหาทางระบายความร้อนออกจากร่างกายเพื่อปรับอุณหภูมิภายในร่าง กายของเราให้อยู่ในระหว่าง 38-40 องศาเซลเซียส โดยการกำจัดความร้อนเหล่านั้นออกไป อาศัยการระบายด้วยการระเหยไปกับเหงื่อที่ออกมาตามผิวหนังส่วนต่างๆทั่วร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆจนอาจมีผลทำให้ สมรรถภาพทางกายลดลง (วิ่งได้ช้าลง เหนื่อยง่ายขึ้น การใช้งานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆมีสมรรถภาพน้อยลง) และหากอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้เกิดเป็นลมแดด (Heat Stroke) และถ้าร่างกายขาดน้ำอย่างมากร่วมด้วย มีรายงานว่าอาจทำให้มีอันตรายถึงแก่ความตายได้ มีการศึกษาการสูญเสียน้ำจากเหงื่อในขณะเล่นฟุตบอล โดยอาศัยการชั่งน้ำหนักก่อนและหลังเกมส์ พบว่าน้ำหนักตัวอาจหายไป 1- 2.5 กิโลกรัม ยิ่งเล่นในอากาศร้อนจัดมากๆ อาจสูญเสียขึ้นไปสูงถึง 3- 4 กิโลกรัม หากเฉลี่ยการสูญเสียน้ำที่เป็นเหงื่อออกไป …

หากท่าน (นักฟุตบอล) ไม่รู้…คงสู้เขาไม่ได้ Read More »

23

การวิ่งเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันการวิ่งเพื่อสุขภาพมีคนนิยมกันมากขึ้น เนื่องจากไม่มีความยุ่งยากเรื่องของสถานที่ และความพร้อมของหมู่คณะ เพราะท่านสามารถวิ่งเพื่อสุขภาพเพียงคนเดียวได้ แต่ถ้าหากท่านมีน้ำหนักมากและยังไม่เคยวิ่งมาก่อนเลย ขอแนะนำให้ท่านเริ่มต้นด้วยการเดินก่อนนะคะ และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นเดินเร็วๆ แล้วจึงจะเป็นวิ่ง การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ค่อยๆ เพิ่มความคงทนต่อร่างกาย เป้าหมายของการวิ่งไม่ได้อยู่ที่ความเร็วแต่อยู่ที่ระยะทาง และความสม่ำเสมอในการวิ่ง จึงจะได้ประโยชน์ต่อการทำงานของหัวใจและปอด ท่านที่เริ่มต้นวิ่งใหม่ๆ ควรจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที วันเว้นวัน จนกระทั่งรู้สึกสบายขึ้นไม่เหนื่อย จึงเพิ่มเป็น 30 นาที และ 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ วันหนึ่งๆ อาจวิ่งได้ประมาณ 5 กิโลเมตรขึ้นไป นักวิ่งทุกคนมีโอกาสจะได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังทุกครั้งก่อนการวิ่ง ต้องมีการวอร์มอัพให้ความอบอุ่นแต่ร่างกายก่อน การยืดเส้นยืดสายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อ และรับประทานน้ำดื่มให้เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอากาศร้อนๆ การดื่มน้ำเปล่ามากๆ ทั้งก่อนและหลังจากการวิ่ง จะช่วยลดภาวะการขาดน้ำลงได้ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

22

การฝึกกำลังกล้ามเนื้อโดยฟรีเวทหรือเครื่องยกน้ำหนัก

การฝึกกำลังกล้ามเนื้อจะใช้หลักการฝึกเกินเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น โดยใช้น้ำหนักหรือแรงต้านเกินความสามารถของกล้ามเนื้อ การพัฒนากล้ามเนื้อโดยใช้หลักการนี้ จะเพิ่มขนาดของใยกล้ามเนื้อ โดยมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยต้องทำติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ให้เกินความสามารถที่จะออกแรงยกตามปกติ และเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน การใช้ฟรีเวท หมายถึง การใช้ดัมเบล หรือ บาร์เบล ส่วนการใช้เครื่องยกน้ำหนักหมายถึงการใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักติดมากับเครื่อง มีคุณสมบัติในการช่วยให้กล้ามเนื้อพัฒนาจนเกิดความแข็งแรง โดยเครื่องยกน้ำหนักจะเน้นพัฒนาที่กลุ่มกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส่วนฟรีเวทช่วยทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ได้ออกแรงโดยตรง ทั้งฟรีเวทและเครื่องยกน้ำหนัก จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยหลัก 3 ประการคือ – กล้ามเนื้อต้องออกแรงยกน้ำหนักที่หนักเกินกว่าภาวะปกติอย่างต่อเนื่อง– กล้ามเนื้อต้องทำงานให้ตลอดช่วงการเคลื่อนที่ของข้อต่อ– การฝึกกล้ามเนื้อต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ การฝึกยกน้ำหนักต้องมีการจัดโปรแกรม ให้มีการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นช่วงๆ ไป โดยทั่วไปจะเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก จำนวนครั้งและจำนวนรอบ ทุก ๆ 2 สัปดาห์รวม 3 ครั้งเป็น 6 สัปดาห์ สัปดาห์ที่ 7 จึงทำด้วยความสม่ำเสมอติดต่อกันคงที่ต่อไป จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

21

การผ่าตัดต่อมน้ำลายหน้าหู (Parotidectomy)

ต่อมน้ำลายหน้าหู เป็นต่อมน้ำลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัว ต่อมน้ำลาย จะมีเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงใบหน้า วิ่งผ่านกลางต่อม ทำให้แบ่งต่อมน้ำลายหน้าหูได้เป็น ส่วนตื้น และส่วนลึก โดยใช้เส้นประสาทนี้เป็นตัวแบ่ง การผ่าตัดต่อมน้ำลายหน้าหู มี 2 แบบ แบบแรก เป็นการผ่าตัดเอาต่อมน้ำลายที่อยู่ในชั้นตื้นกว่า เส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้าออก (Superficial Parotidectomy) โดยทั่วไปมักทำการผ่าตัดแบบนี้ แบบที่สอง เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาต่อมน้ำลายออกทั้งหมด คือออกทั้งชั้นตื้นและชั้นลึกต่อเส้นประสาท (Total Parotidectomy) ปกติจะทำในกรณีที่เป็นเนื้องออกในชั้นลึก หรือเป็นเนื้อร้าย ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมน้ำลายหน้าหูได้แก่ เป็นเนื้องอกของต่อมน้ำลาย ทั้งชนิดไม่ร้าย และชนิดร้ายแรง หรือเป็นมะเร็ง ทำผ่าตัดเพื่อตัดต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในต่อมน้ำลาย ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ในกรณีที่เป็นต่อมน้ำลายอักเสบเรื้อรัง การผ่าตัดต่อมน้ำลายหน้าหู มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญดังนี้ 1. การเกิดอันตรายกับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า เป็นได้ทั้งแบบชั่วคราว (มีโอกาสเกิดประมาณ 10%) และแบบถาวร(มี โอกาสเกิดประมาณ 5%) หากเป็นแบบชั่วคราว อาการจะดีขึ้นภายในระยะเวลา 2-6 เดือน โดยอาจมีอาการปิดตาไม่สนิท ปากเบี้ยวเวลายิ้ม ในระหว่างที่รอการฟื้นต้วของเส้นประสาท ควรทำกายภาพบำบัดของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อฝ่อ การเป็นแบบถาวร แพทย์อาจพิจารณาทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การผ่าตัดเพื่อดึงกล้ามเนื้อ …

การผ่าตัดต่อมน้ำลายหน้าหู (Parotidectomy) Read More »

20

การผ่าตัดขากรรไกร

การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกร เรียกว่า Orthognatic Surgery เป็นการผ่าตัดเพื่อปรับตำแหน่งของขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน เพื่อช่วยแก้ไขและปรับปรุงโครงหน้าที่ปกติ รวมถึงการแก้ปัญหาการสบฟันให้มีความถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากในบางกรณีความผิดปกติของขนาด รูปร่างหรือตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรเพียงเล็กน้อยนั้นสามารถส่งผลกระทบทำให้การสบฟันและการบดเคี้ยวผิดปกติ รวมไปถึงความผิดปกติของรูปหน้าอีกด้วย คางยื่นผิดปกติ สำหรับผู้ที่มีคางยื่นผิดปกติ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรจะช่วยปรับตำแหน่งให้มีการสบฟันที่ถูกต้อง ช่วยแก้ไขโครงหน้าให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น การผ่าตัดทำได้โดยเลื่อนขากรรไกรล่างให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งอาจทำร่วมกับการปลูกถ่ายกระดูกขากรรไกร หรือการปรับแต่งกระดูกคางในบางกรณี กระดูกขากรรไกรล่าง มีเส้นประสาททอดไปตามมุมของขากรรไกร ลักษณะการวางตัวอยู่ในชั้นพื้นผิวต่อชั้นกล้ามเนื้อเส้นประสาทเส้นนี้มีโอกาสได้รับภยันตรายได้ง่าย ทั้งจากขั้นตอนการตัดกล้ามเนื้อแมสเซ็ทเตอร์และจากการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ผ่าตัดหลายชนิด ส่วนเส้นเลือดแดงจะอยู่ทางด้านหน้าของขอบกล้ามเนื้อ ดังนั้นการเลาะเนื้อเยื่อหุ้มกระดูก อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นเลือดดังกล่าวได้ ข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยศัลยกรรมช่องปาก 1.แก้ไขปัญหารูปหน้าและการสบฟันที่ผิดปกติ2.ปรับปรุงการสบฟันและการเคี้ยวให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นทำให้ริมฝีปากหุบได้สนิท3.ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถออกเสียงได้ดีขึ้น4.ป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกรผิดปกติเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขั้นตอนการรักษา การตรวจวินิจฉัยและการวางแผนการรักษา ทางเลือกในการรักษามีทั้งกรณีจัดฟันก่อนผ่าตัด และผ่าตัดก่อนจัดฟันการวางแผนการรักษาล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญและเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จนอกเหนือจากขั้นตอนการรักษาและผ่าตัด โดยพิจารณาจากรูปภาพ แบบจำลองฟัน และภาพถ่ายรังสีกรณีจัดฟันก่อนผ่าตัด เพื่อให้ได้ฟันที่มีการเรียงตัวและการสบฟันที่เหมาะสม จะช่วยให้เกิดการสบฟันที่ถูกต้องหลังเข้ารับการผ่าตัด และการจัดฟันหลังการผ่าตัดยังคงมีความจำเป็นในทุกกรณีเพื่อแก้ไขการสบฟันที่อาจยังไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ หรือเพื่อคงสภาพฟันหลังการผ่าตัดการจัดฟันก่อนการผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ปี อาจต้องมีการถอนฟันร่วมด้วย หากฟันซ้อนเกมาก การจัดฟันก่อนผ่าตัดจะใช้เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นเคลื่อนฟันในแต่ละขากรรไกรไปในตำแหน่งที่สัมพันธ์กับขากรรไกรนั้นๆ เนื่องจากการสบฟันที่ผิดปกตินั้น ฟันจะล้มเอนตามธรรมชาติไปในแนวที่ปิดบังความผิดปกติของขากรรไกร ดังนั้นการแก้การล้มเอนตามธรรมชาติและจัดเรียงฟันให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องบนแต่ละขากรรไกรก่อนการผ่าตัด มักจะทำให้การสบฟันก่อนผ่าตัดรวมทั้งใบหน้าดูแย่ลงชั่วคราวเมื่อพร้อมที่จะทำการผ่าตัด จะพิมพ์ปากและเอ็กซ์เรย์อีกครั้งเพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบฟัน และเตรียมทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนและหลังการผ่าตัด การผ่าตัดจะกระทำในโรงพยาบาล และผู้ป่วยมักจะต้องพักฟื้น 1-3 วันในโรงพยาบาล และพักต่อที่บ้านอีกประมาณ2-4 สัปดาห์การจัดฟันหลังการผ่าตัด เป็นการจัดฟันในรายละเอียดเพื่อให้การสบฟันสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยมากจะใช้หนังยางดึงฟันร่วมด้วย และมักจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน …

การผ่าตัดขากรรไกร Read More »

19

การผ่าตัดไต

การผ่าตัดไต หรือที่เรียกว่า nephrectomyเป็นการผ่าตัดที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ อาจเป็นการผ่าตัดเพียงบางส่วนของเนื้อไตเรียกว่า partial nephrectomy หรืออาจเป็นการผ่าตัดไตข้างใดข้างหนึ่งออกทั้งหมดเรียกว่า total nephrectomy หรือเป็นการผ่าตัดไตหนึ่งข้าง รวมทั้งต่อมหมวกไตและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออกทั้งหมด เรียกว่า radical nephrectomy หรือเป็นการผ่าตัดไตทั้งสองข้างออก เรียกว่า bilateral nephrectomy เทคนิคทางศัลยกรรม เทคนิคทางศัลยกรรมที่ใช้ในการผ่าตัดไต แบ่งออกได้เป็นสองวิธีใน ปัจจุบัน วิธีแรก เรียกว่า conventional open surgery หมายถึงการผ่าตัดแบบดั้งเดิมโดยใช้หลักการผ่าตัดใหญ่ วิธีที่สอง เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้อง เรียกว่า laparoscopic surgery เหมาะสำหรับการผ่าตัดไตข้างเดียว การผ่าตัดด้วยวิธีแรก ศัลยแพทย์ จะกรีดแผลผ่าตัดที่ผิวหนังความยาว 8-12 นิ้ว ที่ตำแหน่งด้านข้างของลำตัว เพื่อให้การผ่าตัดรบกวนอวัยวะภายในช่องท้องน้อยที่สุด บางครั้งแผลผ่าตัดอาจเลยมาทางด้านหน้าหรือเลยไปทางด้านหลังแล้วแต่กรณีไป ส่วนการผ่าตัดโดยใช้กล้อง ศัลแพทย์กรีดแผลผ่าตัดเล็ก ๆ รวม 4 ตำแหน่งที่บริเวณผนังหน้าท้อง เพื่อสอดใส่เครื่องมือผ่าตัด ประกอบไปด้วยกล้อง และอุปกรณ์ช่วยผ่าตัดชนิดต่าง ๆ เมื่อผ่าตัดไตเสร็จแล้ว แพทย์จะพิจารณาเปิดแผลกว้างอีกหนึ่งตำแหน่งเพื่อนำไตออกนอกร่างกายการผ่าตัดทั้งสองวิธี conventional …

การผ่าตัดไต Read More »

18

การผ่าตัดและการให้เคมีบำบัดมะเร็งลำไส้ใหญ่

การผ่าตัดยังถือเป็นการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยพิจารณาจากระยะของโรคว่าเป็นมากน้อยขนาดไหน มีการลุกลามไปไปที่ใดหรือไม่ รวมทั้งสภาพร่างกายของผู้ป่วย บางรายแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดและฉายแสงร่วมด้วยถือเป็นการรักษาร่วมที่สำคัญการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออกอย่างเพียงพอทำได้สองวิธี ซึ่งมักจะทำในผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80–90 ซึ่งอาจผ่าตัดเปิดหน้าท้องหรือทำการผ่าตัดผ่านกล้องก็ได้ แต่วิธีหลังได้รับความนิยมน้อยกว่า ในการผ่าตัดศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดโดยไม่แตะต้องกับเนื้อลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายเป็นการกระจายผ่านทางกระแสเลือด หลังจากตัดส่วนลำไส้ที่เป็นมะเร็งออกแล้วจึงนำลำไส้มาต่อกัน จากนั้นเลาะต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงออกให้หมด ในกรณีที่ไม่สามารถต่อลำไส้ได้ ก็จะเปิดไปที่หน้าท้องประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยจะมีลำไส้เปิดที่หน้าท้องการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองออกถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยได้รับวางยาสลบโดยทั่วไปก่อนผ่าตัดแพทย์ให้ยาปฏิชีวนะและควบคุมอาหารบางประเภท ถือเป็นการเตรียมลำไส้ก่อนผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างหนึ่ง การให้ยาปฎิชีวนะที่เหมาะสมช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่สำคัญในเรื่องของการติดเชื้อ ระยะเวลาที่ใช้ในการพักฟื้นขึ้นอยู่กับภาพร่างกายของผู้ป่วยเป็นหลัก และขึ้นกับการผ่าตัดว่ามากน้อยขนาดไหน หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการปวด อ่อนเพลีย และทานอาหารไม่ค่อยได้ การปรับภาวะโภชนาการในระยะนี้ช่วยให้สภาพร่างกายของผู้ป่วยดีขึ้นได้ จนกระทั่งร่างกายกลับเข้าสู่สภาพที่ปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เป็นเรื่องของการแพ้ยาสลบ ลำไส้อุดตัน ก้อนเลือดอุดตัน และการติดเชื้อ บางรายอาจมีปัญหาลำไส้ที่นำมาตัดต่อเอาไว้เกิดรั่ว ในรายที่ได้รับการผ่าตัดโดยใช้กล้อง ผู้ป่วยจะนอนโรงพยาบาลสั้นกว่าในรายที่ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ผลแทรกซ้อนที่อาจพบได้กับท่อไตซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน อาจเกิดแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด และอาจพบไส้เลื่อนที่บริเวณแผลผ่าตัด ในกรณีที่มะเร็งลำไส้ใหญ่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง การผ่าตัดอาจต้องขยายไปยังอวัยวะเหล่านั้นด้วย เช่นกระเพาะอาหาร ตับ ไต ลำไส้เล็ก รังไข่ หรือกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ในรายที่มะเร็งลุกลามไปที่ตับศัลยแพทย์จะพิจารณาตัดตับบางส่วนออกไปด้วยเช่นกัน การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยยาเคมีบำบัดถือว่าเป็นการรักษาทั่วร่างกาย โดยตัวยาเข้าไปในกระแสเลือดและออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง หลักสำคัญคือยาทำลายหรือหยุดยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งอาจเป็นยาเคมีบำบัดชนิดรับประทานหรือชนิดฉีดเข้าเส้น ยาเคมีบำบัดมักใช้ในรายที่มะเร็งแพร่กระจายอาจใช้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัด เพื่อหวังผลให้ก้อนมะเร็งยุบลงบางส่วน หรือใช้ยาเคมีบำบัดตามหลังการผ่าตัด และอาจใช้ร่วมกับการบำบัดทางอิมมูน หรือรังสีรักษาร่วมด้วยปัจจุบันนิยมใช้ยาเคมีบำบัดชนิดร่วม …

การผ่าตัดและการให้เคมีบำบัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ Read More »

16

การผ่าตัดแก้ไข ขาโก่ง หรือ ข้อเข่าโก่ง (เสื่อม) ตอนที่ 3

ตอนที่ 3 วิธีการผ่าตัดแก้ไขขาโก่งหรือเข่าโก่ง (หรือเสื่อม) ผู้ป่วยมีอาการขาโก่งและมีอาการเจ็บปวดในขณะเดินจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดซึ่งได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับปัจจุบันการแก้ไขข้อเข่าโก่งให้กลับมาตรงเหมือนปกติ (Varus Knee Correction) ที่ได้รับการยอมรับในทางการแพทย์ว่าได้ผลจริงมีเพียง 3 วิธีนี้ดังนี้ 1. การฝึกกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรงขึ้น (Active Training Muscle Exercises) โดยยังไม่ผ่าตัด ทุกหนึ่งก้าวที่ย่างเดินกล้ามเนื้อต้นขาจะต้องผ่อนและถ่ายเทแรงจากน้ำหนักตัวมาที่กระดูกสะบ้าลงมาที่ปลายเท้าเพื่อลดแรงกระเทือนมาที่ข้อเข่าหรือผิวกระดูกอ่อนถ้ากล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแอจะทำให้แรงกระเทือนมาที่กระดูกข้อเข่ามากขึ้น กล้ามเนื้อต้นขา (Quadricep muscles) ที่อ่อนแอมากจะไม่สามารถรับน้ำหนักตัวของเจ้าของได้เลยจึงเกิดความไม่มั่นคงในข้อเข่าเวลาเดินลงน้ำหนักจึงทำให้ข้อเข่าเบ้โก่งออกมากขึ้น ปกติคนเราเดินวันละ 5000 ถึง 8000 ก้าว แรงกระแทกที่ข้อเข่าก็จะค่อยๆทำลายกระดูกอ่อนไปทีละน้อยดังนั้นการรักษาและคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งครับแต่ปัญหาอยู่ที่เราจะทำให้กล้ามเนื้อต้นขากลับมาแข็งแรงให้เร็วที่สุดได้อย่างไร การออกกำลังกายแต่ละชนิดนั้นได้ประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันเช่นการวิ่งออกกำลังกายจะช่วยให้ปอดและหัวใจแข็งแรงแต่ข้อเข่าอาจจะพังก่อนวัยเพราะฉะนั้นการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับข้อเข่าคือจะต้องกระตุ้นให้เส้นใยกล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงให้เร็วที่สุดและกระแทกข้อเข่าให้น้อยที่สุดการออกกำลังกายลักษณะนี้เรียกว่าการฝึกกล้ามเนื้อด้วยตัวเอง (Active Training Muscle Exercises)ซึ่งมีรูปแบบที่เฉพาะและสามารถวัดผลความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ดีขึ้นได้การบริหารกล้ามเนื้อด้วยวิธีนี้มีความสำคัญต่อผู้ป่วยทุกช่วงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีปัญหาโรคกระดูกต่างๆ 2. การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ทั้งแบบเปลี่ยนเต็มข้อและครึ่งข้อ (Knee Arthroplasty) วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมขั้นสุดท้ายที่แม้จะรักษาด้วยวิธีต่างๆจนครบถ้วนแล้วก็ตามแต่อาการปวดเข่าเรื้อรังก็ไม่ทุเลาหรือมีแนวโน้มว่าจะเดินไม่ได้ผู้ป่วยที่มีความต้องการใช้งานเข่าแบบไม่หนักมากมายอะไรเช่นการเดินออกกำลังกายเบาๆ ยิ่งข้อเข่าผุพังมากหรือยิ่งอายุเกิน 70 ปีพบว่าการผ่าตัดวิธีนี้ยิ่งได้ผลดีและคุ้มค่าที่จะเปลี่ยนเป็นข้อเข่าเทียมครับข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนจะมีอายุการใช้งานเพราะฉะนั้นจึงต้องใช้อย่างทะนุถนอมไม่ควรใช้ในการเล่นกีฬามากๆ หรือ หนักๆ มิเช่นนั้นข้อเทียมก็จะพังเร็วขึ้น ต้องมีการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมใหม่อยู่เรื่อยๆ และเนื่องจากข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนมีโอกาสติดเชื้อและอักเสบได้ง่ายกว่าข้อเข่าจริง ดังนั้นถ้าสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น จะไปถอนฟันมีแผลยุงกัดเป็นหนองต้องมีการรับประทานยาป้องกันการติดเชื้อก่อนทุกครั้งครับเพื่อป้องหันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปยังข้อเข่าเทียม การผ่าตัดแก้ไขข้อเข่าโก่งวิธีนี้จึงไม่เหมาะกับคนอายุน้อยหรืออายุน้อยกว่า 70 ปีลงมาโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยังต้องใช้งานเข่ามากๆ อยู่เว้นแต่สภาพเข่าที่พังมากถึงที่สุดแล้วจึงจะเลือกการผ่าตัดนี้เป็นวิธีสุดท้ายครับ …

การผ่าตัดแก้ไข ขาโก่ง หรือ ข้อเข่าโก่ง (เสื่อม) ตอนที่ 3 Read More »

15

การผ่าตัดแก้ไข ขาโก่ง หรือ ข้อเข่าโก่ง (เสื่อม) ตอนที่ 2

ตอนที่ 2 ตอน เมื่อไหร่ต้องผ่าตัด แก้ไขขาโก่ง หรือ เข่าโก่ง คนที่ขาโก่ง หรือ เข่าโก่ง ที่ถือว่าเป็นโรคที่ควรได้รับแก้ไขโดยการผ่าตัดอย่างถูกต้องและทันท่วงที รอช้าไม่ได้ จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ครับ 1. มีความโก่งของเข่าทั้งสองข้างไม่เท่ากัน เข่าที่โก่งไม่เท่ากันทำให้ขายาวไม่เท่ากันครับ  เวลาเดินก็จะสังเกตุเห็นการเดินตัวโยกเยก รองเท้าที่ใส่จะสึกที่ส้นไม่เท่ากัน   เมื่อเดินโยกเยกมากๆเวลาที่ต้องเดินไกลๆ หรือยืนนานๆ  ก็มักจะมีอาการปวดหลังเรื้อรังตามมาโดยไม่คิดว่า มาจากเข่าที่โก่งไม่เท่ากัน  2. มีอาการปวดเข่าที่เรื้อรัง และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะจุดปวด จะอยู่บริเวณด้านในของเข่าทั้งสองข้าง    อาการปวดนั้น อาจจะเริ่มที่เข่าข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วเริ่มลุกลามเป็นอีกข้าง ทานยาแก้อักเสบ     เวลาไปหาหมอกระดูกทั่วไป ก็อาจจะดีขึ้นชั่วคราว พอไปใช้งานมากมาก เดินไกล ใส่ส้นสูง เล่นกีฬาที่ต้องเดินนานๆ หรือวิ่งกระแทกแรงๆ ก็จะมีอาการกลับมาปวดบวม ข้อเข่าเหมือนเก่าและอาจจะรุนแรงกว่าเดิม 3. มีอาการเข่าโก่งเพิ่มมากขึ้นทุกปี บางคนมาพบแพทย์ เพราะว่าในปีที่แล้วสังเกตุเข่าข้างซ้ายโก่งก่อน แต่ไม่ปวด   พอมาปีนี้ เข่าขวา เริ่มโก่งบ้างแต่อาการปวดเข่ารุนแรง ทนไม่ไหวต้องมาพบแพทย์ทันที   ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?   เหตุผลที่เข่าแรกเริ่มโก่ง แต่ไม่ปวด มักจะพบว่า ผู้ป่วยปรับตัว เดินลงน้ำหนักลงไปที่เข่าอีกข้าง …

การผ่าตัดแก้ไข ขาโก่ง หรือ ข้อเข่าโก่ง (เสื่อม) ตอนที่ 2 Read More »

15

การผ่าตัดแก้ไข ขาโก่ง หรือ ข้อเข่าโก่ง (เสื่อม) ตอนที่ 1

ตอนที่ 1 ข้อเสียของการ “ขาโก่ง” หรือ “เข่าโก่ง” เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาปวดเข่าและมาพบแพทย์ บางครั้งแพทย์อาจทักว่าเข่าของผู้ป่วยมีรูปร่างผิดปกติหรือเข่าโก่งอย่างเห็นได้ชัดซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยแปลกใจเพราะอาจเพิ่งผ่านวัยเบญจเพสมาได้ไม่กี่ปีแต่ทำไมเข่าจึงโก่งได้ บางคนเข่าโก่งมากจนเด็กตัวเล็กๆสามารถเดินลอดใต้หว่างขาได้เลยครับผู้ป่วยบางรายพยายามหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่าเข่าโก่งมาตั้งแต่เด็กแล้วเวลาใส่กางเกงขาสั้นเล่นฟุตบอลก็มักจะถูกเพื่อนๆ ล้ออยู่เรื่อยบางคนก็โทษว่าเป็นจากกรรมพันธุ์ ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลยเข่าโก่งอย่างนี้มาตั้งนานแล้วไม่น่าจะมีผลเสียอะไรแต่ความเป็นจริงทางการแพทย์พบว่าเข่าที่โก่งมากกว่าปกติทำให้เกิดผลเสียครับ ข้อเสียของข้อเข่าโก่ง มีดังต่อไปนี้ 1. กระดูกอ่อนที่ผิวข้อด้านในจะสึกเร็วกว่าปกติ (Medial Compartment knee Joint Destruction)น้ำหนักตัวที่กดลงมาที่ข้อเข่าที่โก่งจะไม่ถูกกระจายไปที่ผิวข้ออย่างที่ควรจะเป็นแต่จะกระจุกตัวอยู่ที่ด้านในของเข่าทั้งสองข้างเมื่อมีแรงกระเทือนที่ข้อเข่าซ้ำๆกันหลายหน (คนเราเดินเฉลี่ยวันละ 5000-8000 ก้าว)บวกกับปัจจัยเสี่ยงที่เจ้าของข้อเข่ามีอายุเพิ่มขึ้นทุกปีแต่กล้ามเนื้อต้นขากลับอ่อนแอลง ทำให้กระดูกอ่อน(cartilage cell) ที่ผิวสัมผัสของข้อเข่ารับแรงกระเทือนนี้ต่อไปไม่ไหวจนกระดูกอ่อนบริเวณดังกล่าวสึกกร่อนมากขึ้นเรื่อยๆข้อเข่าก็จะเอียงแถมยังทำให้มุมเข่าโก่งเพิ่มมากขึ้นอีกแรงกดที่กระดูกอ่อนฝั่งด้านในจึงเพิ่มขึ้นทุกปีเป็นเงาตามตัวเป็นวงจรแบบนี้ไม่รู้จบจนผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวด บวมเข่าสุดท้ายจึงปรากฏอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยควร 2. การเสียเปรียบเชิงกลของกล้ามเนื้อข้อเข่าเมื่อเปรียบเทียบการเดินแต่ละก้าวของคนเราพบว่าคนที่เข่าโก่งจะต้องออกแรงที่กล้ามเนื้อต้นขา(Quadriceps muscle) มากกว่าคนที่เข่าไม่โก่งซึ่งกล้ามเนื้อต้นขามัดนี้มีความสำคัญต่อการเดินและต่อโรคข้อเข่าเสื่อมมากถ้าแนวแรงในการดึงกระดูกบริเวณข้อเข่าของกล้ามเนื้ออยู่ในแนวตรงแรงต้านก็จะน้อยไม่ต้องใช้แรงมากการยกขาก้าวเดินออกไปจึงทำได้ง่ายเหมือนไม่ได้ออกแรง แต่ถ้าเข่าโก่งเมื่อก้าวเดินแต่ละก้าว กล้ามเนื้อต้นขาจะถูกใช้งานอย่างหนักแรงเสียดสีที่เกิดจากกระดูกสะบ้ากดลงบนข้อเข่าเวลามีการเหยียดหรืองอเข่าจะมีเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่คนเข่าโก่งเมื่อเดินไกลๆ นานๆจะเหนื่อยเร็วกว่า และมีอาการปวดรอบๆกระดูกสะบ้าในเวลากลางคืนครับ 3. คนที่ข้อเข่าโก่งจะมีโอกาสเกิดเอ็นเข่าด้านในอักเสบและปวดเรื้อรังง่ายกว่าแรงกระเทือนจากการเดินจะถูกเคลื่อนจากกึ่งกลางข้อเข่ามากระจุกรวมตัวกันที่ด้านในทำให้แรงกระเทือนจุดนี้มีมากกว่าปกติส่งผลให้อวัยวะที่อยู่บริเวณนี้ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงนอกจากจะทำให้กระดูกอ่อนเสียหายแล้ว ยังทำให้เอ็นรอบๆเข่าอักเสบได้ง่ายแต่หายยากครับบางคนจึงต้องรับประทานยาแก้ปวดแก้อักเสบติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆซึ่งก็อาจมีผลข้างเคียงจากยา เช่น เป็นโรคกระเพาะหรือภาวะไตวาย 4. ข้อต่อส่วนอื่นจะมีรูปร่างผิดปกติตามมา (Mal-alignment of other Joints)ที่เห็นได้ชัดเวลาผู้ป่วยเข่าโก่งยืนตรงหันหน้าเข้าหากระจกจะเห็นรูปร่างของข้อเท้าที่ต้องบิดตัวกลับเพื่อรับกับข้อเข่าที่โก่งมากขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเดินได้ถนัดครับแต่การปรับตัวของมุมข้อเท้าแบบนี้ถือว่าผิดธรรมชาติครับทำให้เวลาเดินจะเกิดแรงกระเทือนที่ข้อเท้ามากกว่าปกติและเกิดปัญหากระดูกข้อเท้าสึกและเสื่อมตามมา รูปร่างของคนแตกต่างกันตามเชื้อชาติช่วงขาของคนเอเชียอาจจะเสียเปรียบคนยุโรป บริเวณที่โก่งกว่าและสั้นกว่าอย่างเช่นในประเทศญี่ปุ่นหรือไทยหลายครั้งที่เราเห็นผู้คนมากมายที่หน้าตาและรูปร่างส่วนบนสมส่วนดีแต่เมื่อมองช่วล่างก็ต้องประหลาดใจที่เห็นรูปร่างของเข่าที่โก่งและคดอย่างชัดเจน รูปร่างของเข่าที่โก่งแต่ไม่ปวดก็ไม่จำเป็นต้องรักษาอะไร ยกเว้นว่าเจ้าของร่างกายมีความทุกข์ใจไม่พอใจรูปร่างของเข่าที่โก่งจนไม่กล้าใส่กางเกงหรือกระโปรงขาสั้นไม่กล้าใส่กางเกงยีนส์รัดรูปถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องหาวิธีแก้ไขซึ่งทำได้ด้วยการผ่าตัด โปรดติดตาม เมื่อไหร่ต้องผ่าตัดแก้ไข”ขาโก่ง”หรือ “เข่าโก่ง” และวิธีการผ่าตัดแก้ไข”ขาโก่ง” …

การผ่าตัดแก้ไข ขาโก่ง หรือ ข้อเข่าโก่ง (เสื่อม) ตอนที่ 1 Read More »

Scroll to Top