article_writer

65

อัลตราซาวด์

อัลตราซาวด์ (ultrasound)เป็น การตรวจวิเคราะห์โดยการใช้เคลื่อนเสียงความถี่สูง โดยมีหลักการคือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกจากเครื่องอัลตราซาวด์ ผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปภายในช่องท้อง เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบอวัยวะที่ทึบหรือมีความหนาแน่นแตกต่างกัน ก็จะสะท้อนกลับมาที่เครื่องอัลตราซาวด์ และแปลงเป็นสัญญาณภาพปรากฎบนจอมอนิเตอร์ ซึ่งสามารถถ่ายเป็นภาพบนแผ่นเอ็กซเรย์เก็บไว้ได้ ปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่องมือที่เรียกว่าอัลตราซาวด์ ถือเป็นการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่สำคัญทางรังสีวิทยาวิธีหนึ่ง การตรวจด้วยวิธีนี้จัดเป็นการตรวจที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเตรียมผู้ป่วยมากนัก เครื่องมือหาได้ง่าย มีในโรงพยาบาลเกือบทุกจังหวัด และอำเภอของประเทศไทย จนบางครั้งมีผู้กล่าวว่า ในอนาคตจะสามารถใช้แทนหูฟัง stethoscope ของแพทย์ได้ นอกจากนี้อัลตราซาวด์ยังทำการตรวจได้ที่ข้างเตียงผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่ยนที่ มีอาการหนัก ข้อมูลที่ได้จากการตรวจด้วยวิธีนี้แม้จะไม่มากเท่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ก็ทำให้แพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่เบื้องต้นได้ โดยเฉพาะโรคในช่องท้อง ปัจจุบันเครื่องอัลตราซาวด์มีราคาไม่แพงมากนัก ในโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งสามารถจัดหาเครื่องได้ ข้อสำคัญการตรวจอัลตราซาวด์ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ตรวจเป็นอย่างมาก หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง อัลตราซาวด์เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดยให้ทรานส์ดิว เซอร์ ส่งคลื่นอัลตราซาวด์กระทบกับผิว ต่อมหรือเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติต่างกัน จะเกิดการสะท้อนกระเจิงของคลื่น และคลื่นที่สะท้อน กระเจิงกลับเข้าสู่ทรานส์ดิวเซอร์ จะถูกบันทึก ขยายและปรับแต่งก่อนส่งไปแสดงผลทางจอภาพการนำมาใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถใช้ตรวจส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่1. ส่วนหัว ใช้ตรวจเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เพื่อตรวจดูความผิดปกติในกระโหลกศีรษะ โดยตรวจผ่านกระหม่อมที่ยังไม่ปิด2. ส่วนคอ ใช้ตรวจหาความผิดปกติและหารอยโรคของต่อมไทรอยด์, ต่อมน้ำลาย, ก้อนในบริเวณคอ และใช้ตรวจเส้นเลือดแดงคาโรติด3. ส่วนอก ใช้ตรวจทรวงอก เพื่อดูน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือตรวจดูรอยโรคว่า เป็นเนื้อหรือน้ำติดกับผนังทรวงอก …

อัลตราซาวด์ Read More »

64

อัลตราซาวด์ ระบบทางเดินปัสสาวะ

เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจดูลักษณะของทางเดินปัสสาวะ สามารถให้ข้อมูลได้ใกล้เคียงกับภาพเอ็กซเรย์ที่ฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือด แต่การตรวจด้วยอัลตราซาวน์ไม่ต้องฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือด และไม่มีอันตรายใด ๆ อัลตราซาวน์ใช้คลื่นเสียงเข้าไปเพื่อที่จะให้คลื่นเสียงนั้นสะท้อนออกมา และแปรผลจากคลื่นเสียงเป็นภาพ ดังนั้นการตรวจด้วยอัลตราซาวน์จะช่วยลดความเสี่ยงจากการแพ้สารทึบแสง จะเลือกใช้การอัลตราซาวน์กับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้สารไอโอดีน และสารอื่น ๆ ที่จะทำให้ไตวายได้ ผู้ป่วยที่จะตรวจควรจะงดน้ำ และอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน อัลตราซาวน์จะช่วยในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิ่ว มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ โรคมะเร็ง และโรคไตบางชนิดหรือไม่ การตรวจด้วยอัลตราซาวน์นั้น ถ้าหากต้องการจะดูลักษณะของกระเพาะปัสสาวะจะต้องกลั้นปัสสาวะนานหลายชั่วโมง เพื่อให้ปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะเพื่อจะเห็นภาพของกระเพาะปัสสาวะได้ ชัดเจน ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์ นพ. วรวุฒิ เจริญศิริศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพที่ปรึกษา

62

การสูญเสียเหงื่อและการชดเชยในการออกกำลังกาย

การสูญเสียเหงื่อและการชดเชยในการออกกำลังกาย ในปัจจุบันมีการสนับสนุนให้คนไทยออกกำลังกายกันมากยิ่งขึ้น โดยหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สสส. หรือ สำนักงานส่งเสริมการสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาพซึ่งเป็นองค์กรที่คล่องตัว มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมเรื่องเหล่านี้ และที่สำคัญคือ มีงบประมาณสนับสนุนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ในปัจจุบันเราไปที่ไหนๆในประเทศไทย จะเห็นมีคนออกกำลังกายกันมากขึ้นอย่างชัดเจน แต่จะมีจำนวนเท่าใด และคิดเป็นกี่เปอร์เซนต์ของคนไทยทั้งประเทศ ผมยังไม่มีตัวเลข และเป้าหมายควรจะเป็นเท่าใด จึงจะเห็นผลว่าคนไทยมีสุขภาพดีจึงมีอัตราการเจ็บป่วยน้อยลงอย่างเป็นรูปธรรม น้ำในร่างกาย ก่อนอื่นผมอยากเรียนให้ทางผู้อ่านได้ทราบว่า ร่างกายคนเรานั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 40-60% ทีเดียว สมมุติว่าท่านมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ท่านจะมีน้ำอยู่ในร่างกายประมาณ 24-36 กิโลกรัมเลยทีเดียว กระจายอยู่ในส่วนต่างๆในตัวท่าน ที่มากที่สุดก็จะอยู่ในเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย (ร่างกายของคนเราจะประกอบไปด้วยเซลล์มากมายที่มีชีวิต เช่น เซลล์ที่ผิวหนัง ไขมันใต้ผิวหนังในกล้ามเนื้ออวัยวะต่างๆ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ไต หัวใจ ปอด สมอง ไขสันหลัง เป็นต้น) การที่เซลล์ของอวัยวะต่างๆทำงานได้นั้นจะต้องอาศัยน้ำภายในเซลล์ (Intra cellular water) ซึ่งคิดรวมแล้วมีประมาณ 62% ของน้ำทั้งหมดภายในร่างกาย (24-36 กก.) ส่วนที่เหลืออีก 38% …

การสูญเสียเหงื่อและการชดเชยในการออกกำลังกาย Read More »

60

การวินิจฉัยโรคเอ็มเอ็ม

การวินิจฉัยโรคเอ็มเอ็มโรคเอ็มเอ็ม (MM) หรือชื่อเต็มๆ ว่า มัลติเพิล มัยอิโลมา (Multiple Myeloma) เป็น โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยารูปแบบหนึ่ง ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งตัวของพลาสมาเซลล์ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากไขกระดูก มีการสร้างโปรตีนที่ผิดปกติในเลือด โดยปกติพลาสมาเซลล์ทำ หน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย แต่เมื่อผู้ป่วยได้ป่วยเป็นโรคเอ็มเอ็มแล้ว พลาสม่าเซลล์จะถูกเปลี่ยนให้เป็นเซลล์มะเร็งและไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ตามปกติ แต่จะสร้างเอ็มโปรตีนขึ้นมา พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ผิดปกติออกมาสู่ร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติต่อไขกระดูก ตลอดจนอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย โรคเอ็มเอ็มเป็นมะเร็งของพลาสมาเซลล์ เกิดจากการกระตุ้นยีนมะเร็ง หรือมีความผิดปกติในการควบคุมสารซัยโตไคน์ และยีนตัวรับซัยโตไคน์ หรือการขาดหายของยีนกดมะเร็ง เซลล์เอ็มเอ็มเป็นเซลล์ซึ่งแบ่งตัวช้า มี interleukin-6 (IL-6) เป็นสารกระตุ้นให้เซลล์ แบ่งตัว ทำให้มีการทำลายกระดูก และกดการทำงานของเซลล์ปกติในไขกระดูก มีการสร้างโปรตีนผิดปกติ (M-protein) ซึ่งตรวจพบในซีรั่ม และ light-chain ซึ่งถูกขับออกมาในปัสสาวะ เรียก Bence–Jones protein โรคเอ็มเอ็มมักจะทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายได้หลายระบบ เช่น ไต กระดูก ผิวหนัง หัวใจ ระบบประสาท และเมตาบอลิสมอื่น ๆ โรคเอ็มเอ็มพบมากในวัยผู้ใหญ่ …

การวินิจฉัยโรคเอ็มเอ็ม Read More »

59

การวัดอุณหภูมิในเด็ก

ปรอทวัดไข้มีหลายประเภท ได้แก่ ปรอทวัดไข้แบบแท่งแก้ว ปรอทวัดไข้ชนิดนี้มีข้อดีคือราคาประหยัด แต่อาจจะอ่านยาก ปรอทชนิดนี้มี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้วัดทางปากและแบบที่ใช้วัดทางก้น แบบที่ใช้วัดทางก้นจะมีปลายมนกว่า หากจะนำแบบที่ใช้วัดทางปากไปใช้วัดทางก้น จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังไม่ให้ปลายปรอทไปทำอันตรายต่อก้นและลำไส้ตรง ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล ข้อดีคือวัดได้รวดเร็ว แสดงผลเป็นตัวเลขทำให้ง่ายต่อการอ่าน ใช้ได้ทั้งวัดทางปากและทวารหนัก ปรอทที่ใช้วัดไข้ทางหู ข้อดีคือรวดเร็วมากในการวัดไข้และความแม่นยำสูง แต่ผู้ใช้จะต้องมีความชำนาญ ข้อเสียคือราคาแพง วิธีการวัดไข้ ปรอทวัดไข้แบบแท่งแก้ว สลัดปรอทจนลงต่ำกว่า 37 ํC การวัดไข้ทางทวารหนักนั้นแม่นยำที่สุด การวัดทางปากหรือหูก็ใช้ได้ผลดี การวัดทางรักแร้ไม่ค่อยแม่นยำแต่ก็ดีกว่าไม่ได้วัดเลย สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ควรจะวัดทางทวารหนัก เด็กที่อายุมากกว่า 5 ปี ใช้ปรอทวัดไข้ทางปาก การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก จับให้นอนคว่ำบนตัก ใช้ Jelly ทาปลายปรอทวัดไข้ และที่ทวารหนัก ค่อย ๆ ใส่ปรอทวัดไข้ ในเด็กอายุ < 6 เดือน ใส่เข้าประมาณ ¼ – ½ นิ้ว ไม่ควรออกแรง ถ้ามีปัญหาใส่ไม่เข้า จับเด็กให้อยู่กับที่ …

การวัดอุณหภูมิในเด็ก Read More »

57

การวัดไข้ในเด็ก

ไข้เป็นสิ่งบ่งบอกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย มักทำให้เด็กงอแง และที่สำคัญอาจมีอาการชักตามมาได้ อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 – 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะถือว่าเด็กเป็นไข้ การดูแลไม่ให้ไข้สูงเกินขีดอันตรายสามารถทำได้โดยการให้เด็กรับประทานยาลดไข้ร่วมกับการเช็ดตัวเด็ก การใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของการเช็ดตัว ยาลดไข้สามารถใช้เองที่บ้านได้ นอกจากนี้ยังมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้มือสัมผัสเด็ก และสามารถประเมินได้อย่างละเอียดกว่าอีกด้วย การวัดอุณหภูมิกระทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเทอร์โมมิเตอร์ หรือคนทั่วไปเรียกว่าปรอทมีหลายชนิด ได้แก่ ปรอทที่ใช้วัดทางปาก ทางทวารหนัก ทางรักแร้ ทางผิวหนัง การใช้ปรอทวัดอุณหภูมิทางปาก และทางทวารหนักเป็นที่ยอมรับ น่าเชื่อถือ และแม่นยำที่สุด แต่วิธีใช้ค่อนข้างลำบาก อาจเป็นอันตรายแก่เด็กได้หากผู้ใช้ไม่ชำนาญ จึงเป็นที่นิยมใช้ในสถานพยาบาล ส่วนการวัดอุณหภูมิทางรักแร้ และผิวหนังอาจมีความแม่นยำน้อยกว่า แต่สะดวกต่อการใช้วัดอุณหภูมิในเด็กที่อยู่ที่บ้าน และไม่มีอันตราย แม้ผู้ใช้จะไม่มีความชำนาญก็ตาม ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

56

การล้างจมูก

ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการของโรคภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบ แพทย์อาจแนะนำให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ… 1. ลดอนุภาคต่อภูมิแพ้ที่ตกค้างในจมูก 2. ลดความข้นเหนียวของสารคัดหลั่งจากจมูก และโพรงไซนัส 3. ลดการเกาะติดของคราบเลือดเก่าในโพรงจมูกหลังการผ่าตัดจมูกและไซนัส 4. เพื่อช่วยให้เสมหะ-น้ำมูกเคลือบตัวได้ดีขึ้น (Improving Cilialy Function) ในการล้างจมูกนิยมใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% เนื่องจากไม่มีความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อบุจมูก วิธีล้างจมูกให้รินน้ำเกลือใส่แก้วน้ำที่สะอาดครั้งละ 40 – 50 CC. จากนั้นใช้ไซริงค์ (Syring) ฉีดยาขนาด 10CC. หรือ 20CC. ดูดน้ำเกลือจากแก้วมาฉีดล้างในจมูกโดยอยู่ในท่าก้มศีรษะแและอ้าปากเพื่อให้น้ำเกลือไหลออกทางปากและจมูกได้ความบ่อยในการล้างจมูกแตกต่างกันในแต่ละคน แต่โดยส่วนใหญ่จะล้างจมูกวันละ 1 -2 ครั้ง ข้อควรระวัง  อุปกรณ์ที่ใช้ต้องทำความสะอาดให้ดีหลังใช้ ไซริงค์ (Syring) ต้องถอดล้างและผึ่งให้แห้ง ห้ามดูดน้ำเกลือจากขวดโดยตรงมาล้างที่จมูก เพราะจะทำให้มีการปนเปื้อนได้

55

การล้างไต

การล้างไต เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาภาวะไตวาย ซึ่งในปัจจุบันมีการรักษาอยู่ 3วิธี วิธีแรกเป็นการรักษาทั่วไป เช่น การควบคุมอาหารและการรักษาด้วยยา ส่วนวิธีที่สองคือ การล้างไต ซึ่งแบ่งเป็นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง สำหรับวิธีการรักษาวิธีที่สามเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนไต โรคไตวาย เกิดจากการที่ไตสูญเสียหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถขับน้ำและของเสียออกจากร่างกายได้ผล ที่ตามมาที่สำคัญทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะเสียสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการคั่งของสารยูเรีย เกิดเป็นภาวะเลือดเป็นพิษ โรคไตวายอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ไต วายเฉียบพลันเกิดขึ้นแบบชั่วคราว สามารถฟื้นกลับมา ทำหน้าที่ได้อีก ผู้ป่วยหายเป็นปกติได้ ส่วนไตวายแบบเรื้อรัง พบว่าการทำงานของไตเสียอย่างถาวรไม่สามารถทำหน้าที่เป็นปกติได้อีกแล้ว โดยปกติไตทำหน้าที่กรองของเสียและขับปัสสาวะ เพื่อกำจัดน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการผ่านทางท่อไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ นอกเหนือจากหน้าที่กำจัดของเสียแล้ว ไตยังมีหน้าที่ปรับสมดุลของน้ำและสารเคมีสร้างฮอร์โมนที่ช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดง และควบคุมความดันโลหิต การล้างไต การล้างไตเป็นการทำหน้าที่แทนไต ซึ่งไม่สามารถที่จะทดแทนหน้าที่ของไตปกติได้ทั้งหมด การล้างไตสามารถทดแทนการทำงานของไตได้ 2 ประการเท่านั้น คือ การขับถ่ายของเสีย และ การรักษาสมดุลของกรดด่าง เกลือแร่ และน้ำส่วนหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมนนั้นไม่สามารถกระทำไม่ได้ การล้างไตทางช่องท้อง วิธีนี้ใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องอย่างถาวร และใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง เพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4-5ครั้ง ทุกวัน วิธี นี้มีข้อดีที่ทำเองที่บ้านได้ …

การล้างไต Read More »

54

การรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยการกลืนแร่

ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ ด้วยการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด แพทย์อาจให้อยู่โรงพยาบาล จนแน่ใจว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ภาวะเลือดออกภาวะการติดเชื้อภาวะการอุดกั้นทางเดินหายใจ รวมทั้งภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำเป็นต้น หลังจากนั้น แพทย์มักจะนัดผู้ป่วยมาตรวจแผลอีกครั้งประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัดแพทย์จะตรวจสอบรายงานผลการตรวจทางพยาธิวิทยาของต่อมไทรอยด์ที่ตัดออก และจะพิจารณาให้การรักษาเพิ่มเติมด้วยการกลืนแร่ (Radioiodine Therapy) ในผู้ป่วยต่อไปนี้ · ก้อนมะเร็งมีขนาดมากกว่า 4 เซ็นติเมตร · พบมีมะเร็งอยู่หลายจุดในต่อมไทรอยด์ · พบมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองรอบๆ ต่อมไทรอยด์ · ลักษณะเซลมีการทำลายชั้นห่อหุ้มไทรอยด์ (capsule invasion) หรือมีการทำลายหลอดเลือดหรือทางเดินน้ำเหลือง (vascular or lymphatic invasion) · มะเร็งชนิด Follicular cell CA ทุกราย แร่ ก็คือเกลือไอโอดินที่นำมาเคลือบสารกัมมันตภาพรังสี เพื่อเข้าไปทำลายเนื้อไทรอยด์ที่อาจหลงเหลืออยู่ รวมทั้งเซลมะเร็ง ให้หมดไปจากร่างกาย โดยใช้สมบัติของไอโฮดินที่มักถูกจับโดยเนื้อเยื่อของไทรอยด์เป็นส่วนใหญ่ทำให้สารกัมมันตภาพรังสีที่เคลือบอยู่บนไอโอดินทำลายเฉพาะเนื้อไทรอยด์และเนื้อร้ายอย่างตรงจุดเกิดผลข้างเคียงต่ออวัยวะอื่นๆ น้อย เราสามารถใช้ประโยชน์จากไอโอดีนที่เคลือบสารกัมมันตภาพรังสีได้ 2 แบบคือ · ใช้เพื่อตรวจหาเนื้อไทรอยด์ที่หลงเหลือหลังการผ่าตัด หรือหาเซลมะเร็งที่อาจกระจายไปยังอวัยวะอื่นด้วยการใช้ไอโอดีนเคลือบสารกัมมันตภาพรังสีในขนาดต่ำ โดยปกติจะทำหลังการรักษาด้วยการผ่าตัดประมาณ 4-6 สัปดาห์เพื่อให้เซลไทรอยด์ที่อาจหลงเหลืออยู่ หิวไอโฮดีนเต็มที่ทำให้สามารถจับไอโอดีนได้เต็มที่ ทำให้การตรวจมีความแม่นยำสูง · …

การรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยการกลืนแร่ Read More »

52

การรักษาภาวะหลังหมดประจำเดือน

การรักษาภาวะหลังหมดประจำเดือน ช่วงการหมดระดูในหญิงไทยอยู่ระหว่าง 49-52 ปี เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชีวิตช่วงหนึ่ง เนื่องจากรังไข่ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศ เริ่มเสื่อมถอยในการทำหน้าที่ ทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนเพศ ทั้งเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน จะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายทั้งทางสรีระทยา และทางจิตใจ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา หมายถึงมีการร่วงโรยของร่างกายให้เห็น และอาจจะมีอาการแทรกซ้อน เช่น อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ใจสั่น ปวดศรีษะมาก ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจที่พบได้บ่อยๆ คือ อาการซึมเศร้า อาการเหล่านี้ในแต่ละบุคคลจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางคนก็มีอาการมากมาย บางคนอาจจะไม่มีอาการเลยก็ได้ ในรายที่มีอาการจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ และร่างกาย ควรจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคน คือการเปราะบางของกระดูกทั่วร่างกาย ในปัจจุบันมีวิทยาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า และช่วงชีวิตสตรีโดยเฉพาะหลังหมดระดูยาวนานออกมามาก การเข้ารับการแก้ไขดูแลเพื่อชะลอผลแทรกซ้อนดังกล่าว เป็นสิ่งที่สตรีวัยหมดระดูทุกคนควรเข้ารับบริการ เพราะสามารถที่จะป้องกันหรือผ่อนหนักเป็นเบาได้ การดูแลสุขภาพทั่วไปหลังหมดประจำเดือน 1.สตรีวัยหมดระดูควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารอย่างถูกส่วนและได้แคลเซียมเสริม เพื่อลดการกร่อนของกระดูก ควรทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี มีงานอดิเรกทำ ควรตรวจสุขภาพร่างกายทุกระยะอย่างสม่ำเสมอ เหล่านี้จะช่วยให้ชีวิตวัยหมดระดูเป็นวัยที่มีความสุขไม่แพ้วัยอื่นๆ 2.มีคำกล่าวกันว่าวัยหมดประจำเดือนน่าจะเป็นวัยทองของชีวิตคือ น่าจะเป็นช่วงที่มีความสุขอย่างมากของสตรี เนื่องจากเป็นวัยที่ผ่านการทำงานมานาน มีประสบการณ์มาก มีฐานะมั่นคง พ้นภาระเลี้ยงดูลูกๆ ภาระการงานน้อยลง แต่สตรีส่วนใหญ่มักมีอาการไม่ปกติ เนื่องจากผลของการขาดฮอร์โมนดังกล่าว ซึ่งในสมัยก่อนถือว่าเป็นธรรมชาติที่แก้ไขไม่ได้ …

การรักษาภาวะหลังหมดประจำเดือน Read More »

51

การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ภายหลังได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรก โดยอาศัยหลัก หยุด เย็น ยืด และยก ดังที่ได้อธิบายไว้ในหัวข้อเรื่อง หลักการรักษา แล้วนั้น ในบางกรณีที่ยังไม่ดีขึ้นมาก หรือกรณีที่เป็นรุนแรง ซึ่งสังเกตได้จากอาการปวด บวมที่รุนแรง หรือมีแผลฉีกขาดร่วมด้วย ควรที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ทันที เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป สำหรับในหัวข้อเรื่องนี้ จะกล่าวถึงการรักษาทั่ว ๆไปตามอาการที่บาดเจ็บ ในกรณีที่แพทย์ตรวจแล้วว่าไม่มีสิ่งผิดปกติร้ายแรง แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้หลักการเดิมต่อไป คือ 1. การให้หยุดพักการออกกำลังกาย หรืออาจหยุดพักงาน พักเรียน ถ้าหากการบาดเจ็บเกิดขึ้นบริเวณ แขน หรือขา ที่ต้องการให้ส่วนนั้นๆ ได้พัก นอกจากนี้ แพทย์อาจจะต้องจำกัดการเคลื่อนไหว ของส่วนนั้นๆ โดยการเข้าเฝือกให้ส่วนนั้น อยู่นิ่งๆ เพื่อหวังผลให้ลดอาการบวมอย่างรวดเร็วในเบื้องต้น 2. การใช้ความเย็น ใน 24-72 ชั่วโมงแรก อาจใช้การประคบด้วยน้ำแข็งโดยตรง หรือใช้ผ้าพันก้อนน้ำแข็ง หรืออุปกรณ์สำเร็จรูปที่แช่เย็นไว้แล้ว ประคบบริเวณที่บวม หรือปวด แต่ถ้าหากเลย 72 ชั่วโมง มาแล้ว แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใช้ความร้อนแทน อาจโดยการประคบ …

การรักษาพยาบาลเบื้องต้น Read More »

50

การรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์ด้วยการผ่าตัด

ในกรณีที่พบเซลที่เป็นเนื้อร้าย แพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดโดยจะพิจารณาตัดต่อมไทรอยด์ในข้างที่มีก้อนอยู่ออกทั้งข้างและอาจส่งชิ้นเนื้อไปตรวจแบบเร่งด่วน หรือที่เรียกว่า Frozen section ซึ่งจะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-30 นาทีเมื่อได้รับการยืนยันว่าเป็นเนื้อร้ายอาจพิจารณาตัดต่อมไทรอยด์ข้างที่เหลือออก เหตุผลหลักที่แพทย์ไม่ตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมดตั้งแต่แรกเนื่องจากอาจมีความผิดพลาดจากการตรวจด้วยการเจาะดูดเซลมาตรวจ(FNA) จึงต้องมีการยืนยันผลการตรวจในห้องผ่าตัดอีกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด อย่างไรก็ตาม การทำ Frozen section หรือการตรวจเนื้อทันทีหลังผ่าตัดก็สามารถวินิจฉัยมะเร็งในบางชนิดได้เท่านั้นพยาธิแพทย์จะพิจารณาอย่างรอบคอบหากไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นมะเร็งก็จะรายงานให้แพทย์ที่ทำการผ่าตัดทราบ ซึ่งแพทย์ที่ทำการผ่าตัดก็มักจะหยุดการผ่าตัดไว้เท่านั้น ทำการปิดเย็บแผล แล้วรอผลที่แน่นอนซึ่งจะกินเวลาอีกประมาณ 2-3 วัน หากผลกาตรวจเนื้อด้วยวิธีปกติซึ่งมีความแม่นยำสูงสุด รายงานว่า เป็นเนื้อร้ายผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเป็นครั้งที่สองเพื่อนำต่อมไทรอยด์ออกให้หมด หรืออาจใช้วิธีติดตามการรักษา ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของมะเร็งที่พบ รวมทั้งลักษณะที่บ่งบอกว่าอาจมีการกระจายตัวไปตามอวัยวะต่างๆ หรือไม่ การรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1. การผ่าตัดด้วยวิธีปกติ วิธีนี้ แพทย์จะลงแผลตามแนวนอนบริเวณกลางลำคอและเข้าไปตัดต่อมไทรอยด์ในข้างที่มีก้อนออก หรืออาจตัดออกทั้ง 2 ข้างในกรณีพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นมะเร็ง 2. การผ่าตัดด้วยกล้อง โดยการลงแผลขนาดเล็กบริเวณรักแร้ หรือบริเวณแผ่นอก แล้วสอดกล้องและเครื่องมือเพื่อเข้าไปผ่าตัดต่อมไทรอยด์ข้างที่มีก้อนออก วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถซ่อนบาดแผลไว้ในบริเวณใต้ร่มผ้าแต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำในผู้ที่มีก้อนใหญ่กว่า 4-5 ซม. ได้รวมทั้งทำได้เพียงข้างเดียวในการเข้าผ่าตัดแต่ละครั้ง ในบางรายอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดปกติ เช่นกรณีที่มีเลือดออกมากขณะผ่าตัด การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยดมยาสลบ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์เพียงข้างเดียวจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลประมาณ 2-4 วัน โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ได้แก่ การเกิดอันตรายกับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงสายเสียง …

การรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์ด้วยการผ่าตัด Read More »

48

การรักษากระดูกหักโดยไม่ผ่าตัด

การรักษากระดูกหักมีหลายวิธี การเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับ– อายุของผู้ป่วย– ตำแหน่งของกระดูกที่หัก– ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้กระดูกแตกมากน้อยต่างกัน– กล้ามเนื้อที่ปกคลุมชอกช้ำมากเพียงใด– เส้นประสาทหรือเส้นเลือดถูกทำลายหรือไม่– อาชีพที่แตกต่างกันของผู้ป่วยแต่ละรายดังนั้นแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและคิดตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมแก่คนไข้เป็นรายๆ ไปวิธีการรักษามีดังนี้ การรักษาโดยการเข้าเฝือก การเข้าเฝือกเป็นการทำให้กระดูกอยู่นิ่ง กระดูกจะต่อเชื่อมกันได้เอง แพทย์อาจจะต้องดึงกระดูกให้เข้าที่ ถ้าหากกระดูกหักแล้วเคลื่อนที่ออกไปมาก บางครั้งต้องฉีดยาชาเฉพาะที่หรือดมยาสลบเพื่อไม่ให้เจ็บปวด  เฝือกที่ใส่จะต้องกระชับพอดี ดังนั้นเมื่อส่วนที่หักเริ่มยุบบวม เฝือกจะหลวมใน 1-2 สัปดาห์ จำเป็นต้องเปลี่ยนเฝือกเป็นระยะ ๆ ถ้าหากเฝือกหลวม จนกว่ากระดูกจะติดดี ซึ่งในแขนจะใช้เวลาใส่เฝือกประมาณ 3-6 สัปดาห์ และขาประมาณ 6-12 สัปดาห์ การรักษาโดยการผ่าตัด การผ่าตัดมีความจำเป็นต้องทำในรายที่กระดูกหักแล้วมีบาดแผลทะลุถึงภายนอก ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ถ้าไม่ล้างทำความสะอาดแผลให้ดี สำหรับกรณีที่ไม่มีบาดแผลแล้วจำเป็นต้องทำผ่าตัดมีได้ 2 กรณีคือ กระดูกหักในตำแหน่งที่รักษาด้วยการเข้าเฝือกไม่ได้ เช่นข้อสะโพก กระดูกต้นขา เป็นต้น อีกกรณีหนึ่งคือ กระดูกหักและเคลื่อนที่ไปมาก เมื่อดึงกลับเข้าที่ได้แล้วไม่สามารถใช้เฝือกควบคุมการเคลื่อนที่ได้ หรือกรณีไม่สามารถดึงกลับเข้าที่เดิมได้ ก็จำเป็นต้องรักษาโดยการทำผ่าตัด แล้วดามด้วยโลหะ วิธีการดามโลหะมีหลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของกระดูกที่หักและวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา การักษาโดยวิธีอื่นๆ เช่น การดึงถ่วงด้วยน้ำหนักจนกระดูกติด หรือการผ่าตัดโดยการยึดตรึงกระดูกให้อยู่กับที่โดยต่อเป็นโครงยึดจากภายนอก แพทย์ผู้รักษาอาจเลือกใช้วิธีการเหล่านี้เฉพาะในรายที่จำเป็นเท่านั้น ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ …

การรักษากระดูกหักโดยไม่ผ่าตัด Read More »

47

การรักษาโรคล่มปากอ่าว

การรักษาโรคล่มปากอ่าว (Premature Ejaculation)หมายถึงการที่ผู้ชายบรรลุจุดสุดยอดโดยการหลั่งน้ำอสุจิออกมาในขณะที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ หรือในขณะที่ฝ่ายหญิงยังไม่ถึงจุดสุดยอด ปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิเร็ว พบได้มากถึงร้อยละ 30-40 จัดเป็นปัญหาทางเพศที่พบได้บ่อยที่สุดในเพศชาย มักพบในวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ตอนต้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเกิดความรู้สึกตื่นเต้นอย่างมาก จะทำให้เมื่อได้สอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงแล้วก็จะถึงจุดสุดยอดในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ชาวบ้านอาจเรียกว่า “นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ” หรือ “ล่มปากอ่าว” เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นเช่นนี้คนที่เป็นจะเกิดความวิตกกังวลตามมา เช่น รู้สึกกลัวว่าฝ่ายหญิงจะไม่พึงพอใจ ฝ่ายหญิงจะดูถูก จะทำให้ฝ่ายหญิงไม่มีความสุข ถ้าแต่งงานจะมีปัญหา บางคนพยายามทดลองดูในครั้งต่อไป ก็พบว่าเป็นเหมือนเดิมอีก ทดลองหลายๆ ครั้งเลยหมดความเชื่อมั่นในตนเอง กลายเป็นความวิตกกังวลเก็บสะสมฝังลึก ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดอาการล่มปากอ่าวง่ายขึ้น โดยปกติทั่วไปคนเราจะใช้เวลาร่วมเพศนับจากการสอดใส่ เฉลี่ยอยู่ที่ 8-15 นาที ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในชาวตะวันตกอาจนานถึง 30 นาที ในกรณีที่เกิดปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิเร็วอาจทำให้สามีภรรยาไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตคู่ เนื่องจากไม่มีความสุขเพียงพอจากการมีเพศสัมพันธ์ กลไกการหลั่งน้ำอสุจิขณะมีเพศสัมพันธ์ต้องอาศัยพัฒนาการของระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของโรคพบว่ามีการหลั่งน้ำอสุจิ เมื่อมีการร่วมเพศไปเพียงเล็กน้อย หรือก่อนการสอดใส่อวัยวะเพศ หรือบางรายหลั่งน้ำอสุจิแม้กระทั่งยังไม่ทันได้สอดใส่อวัยวะเพศ คู่นอนถึงจุดสุดยอดไม่ถึงร้อยละ 50 เช่น มีการร่วมเพศกัน 10 ครั้ง คู่นอนบรรลุจุดสุดยอดไม่เกิน 5 ครั้ง อาการดังกล่าวไม่ได้มีผลมาจากการใช้ยา หรือสารเสพติด สาเหตุ …

การรักษาโรคล่มปากอ่าว Read More »

46

การรักษาโรคกระดูกพรุน

ปัจจุบันมีการใช้ยาหลายชนิดในการรักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาในกลุ่มไบฟอสโฟเนต ยาออกฤทธิ์ที่ตัวรับเอสโตรเจน แคลซิโทนิน และพาราไทรอยด์ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตของคนเราจะ มีการสะสมเพิ่มปริมาณของมวลกระดูก หรือเนื้อกระดูกอยู่ตลอดเวลา มวลกระดูกจะคงที่อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จนถึงช่วงอายุประมาณ 35 – 40 ปี ระดับมวลกระดูกจะเริ่มลดลงอย่างช้าๆ ประมาณร้อยละ 0.5 – 1 ต่อปีทั้งในเพศหญิง และเพศชาย แต่ในเพศหญิงภาวะหมดประจำเดือนจะเป็นตัวเร่งทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกเร็วขึ้นถึงร้อยละ 3 – 5 ต่อปีเมื่อการทำลายกระดูกเร็วกว่าการเสริมสร้างในระยะแรกๆการ เปลี่ยนแปลงจะเกิดที่กระดูกชั้นในก่อน รูพรุนคล้ายฟองน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น อันเป็นผลมาจากปริมาณแคลเซียมและโปรตีนในกระดูกลดลง จนกระทั่งกระดูกมีความหนาแน่นน้อยผิดปกติ เรียกว่าโรคกระดูกพรุน หญิงวัยหมดระดูซึ่งมีอายุเฉลี่ย 50 ปีที่มีภาวะกระดูกพรุน มักมีปัญหาเรื่องกระดูกแตกหักง่าย ทั้งจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงหรือหกล้มเพียงเล็กน้อยภายในบ้าน เอสโตรเจน 1. ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ใช้สำหรับสตรีที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่ผ่าตัดมดลูก และรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี ผู้ที่ตรวจพบว่าความหนาแน่นของกระดูกผิดปกติ2. กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นการลดอัตราการทำลายเนื้อกระดูก ช่วยให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้มากถึงร้อยละ 50-70 เมื่อใช้ยาไปนานสิบปี3. ขนาดที่ใช้วันละ 0.3-0.625 มิลลิกรัม4. ชนิดรับประทาน …

การรักษาโรคกระดูกพรุน Read More »

Scroll to Top