article_writer

51 1

เนื้องอกมดลูก โรคที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์

เนื่องในวันแม่ที่จะมาถึงนี้ ทางศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ขอนำเสนอโรคที่พบบ่อยทางนรีเวช และมีคนไข้ในกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก บางท่านอาจมีความกังวลเกี่ยวกับเนื้องอกมดลูก หรืออาจมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเนื้องอกมดลูก วันนี้เราจะมาดูกันว่า เนื้องอกมดลูกนั้น มีลักษณะอย่างไร และอาการใดบ้างที่ทำให้สงสัยว่าสาวๆ อาจจะเป็นเนื้องอกมดลูก มาติดตามกันครับ เนื้องอกมดลูกเป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการเจริญเติบโตที่มากเกินไปของกล้ามเนื้อมดลูก เนื้องอกมดลูกสามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งของมดลูก เช่นที่ผิวภายนอกมดลูก, ภายในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก หรือ ภายในโพรงมดลูก ก้อนเนื้องอกสามารถเติบโตอย่างช้าๆ หรือรวดเร็วก็ได้ไม่แน่นอน สามารถพบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ บ่อยในช่วงอายุ 30-40 ปี พบได้ร้อยละ 40-70% โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติในครอบครัว, อ้วน, เคยมีบุตรมาก่อน อาการที่ทำให้สงสัยว่าเป็นเนื้องอกมดลูก 1. มีการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน– ประจำเดือนมานาน, มามาก– ปวดท้องประจำเดือน ปวดเกร็งหน้าท้อง– มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก– มีภาวะซีด(จากการเสียเลือด) 2. ปวดท้องน้อย– ปวดท้องน้อย (ปวดหน่วงๆ, อาจปวดร้าวไปหลัง)– ปวดท้องน้อยขณะที่มีเพศสัมพันธ์ 3. มีภาวะที่เกิดจากก้อนกดเบียด– ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะบ่อย– ท้องผูก, ปวดหน่วงลงทวารหนัก หรือท้องอืด 4. รู้สึกว่าท้องโตขึ้น หรือคลำได้ก้อนในท้อง …

เนื้องอกมดลูก โรคที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ Read More »

50

เนื้องอกที่ตับ

เนื้องอกที่ตับ (liver tumor) มี หลายชนิด ทั้งที่ทำให้เป็นมะเร็งตับ (liver cancer) ซึ่งมีการเสียชีวิตสูงและชนิดเนื้องอกธรรมดาที่ไม่มีอันตรายถึงขั้นมะเร็ง อาจจะเป็นแค่ซีสต์ธรรมดา (cyst) ที่ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หรือเป็นเนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมา เนื้องอก หมาย ถึง ก้อนผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการที่เซลล์แบ่งตัวรวดเร็วผิดปกติ และร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ เนื้องอกในตับมีหลายชนิด อาจเป็นได้ทั้งชนิดไม่ใช่มะเร็ง หรืออาจเป็นมะเร็ง ชนิดที่เป็นมะเร็ง ที่สำคัญมีสองชนิด คือ ชนิดมะเร็งเซลล์ตับ และมะเร็งของท่อน้ำดี ซึ่งทั้งสองชนิด เป็นมะเร็งที่มีอันตรายสูง กระจายได้รวดเร็วมาก นอกจากนี้บางครั้งยังพบเนื้องอกที่ตับที่เกิดจากการแพร่กระจายของโรคมะเร็งอวัยวะอื่นๆ ที่ พบได้บ่อยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่กระจายมาที่ตับ ส่วนที่เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายนั้น อาจจะเป็นซีสต์ หรืออาจจะเป็นอื่นๆที่พบได้บ่อย เช่น เนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมา (hemangioma) สาเหตุของโรคเนื้องอกชนิดธรรมดาที่พบในตับ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. เนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมา (hemangioma) หรืออาจเรียกว่า “ปานแดงที่ตับ” เนื้อ งอกชนิดฮีแมงจิโอมา เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง ที่พบบ่อยที่สุดในตับ สาเหตุการเกิดไม่ทราบแน่ชัด ลักษณะเป็นกลุ่มของเส้นเลือดที่เจริญเติบโตผิดปกติ ทั้งขนาดของเส้นเลือดและการจัดเรียงตัว มักพบเป็นก้อนเดี่ยวในตับ เซลล์หลักเป็นชนิดมีเซ็นไคมัล พบว่าในผู้ใหญ่จะมีเนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมาได้มากถึงร้อยละ 5 …

เนื้องอกที่ตับ Read More »

49

เนื้องอกของต่อมน้ำลาย

นอกจากปัญหานิ่วในท่อน้ำลายแล้วเนื้องอก ก็เป็นโรคที่เป็นปัญหากับต่อมน้ำลายเช่นเดียวกัน เนื้องอกของต่อมน้ำลายมีทั้งแบบไม่ร้าย และเนื้องอกแบบร้าย หรือที่เรียกกันว่า เป็นมะเร็งนั่นเอง จากอุบัติการณ์พบว่า ต่อมน้ำลายที่มีขนาดเล็ก จะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากกว่ามีหลักในการจำง่ายๆ คือ ต่อมน้ำลายหน้าหู ซึ่งเป็นต่อมน้ำลายที่ใหญ่ที่สุดมีโอกาสเป็นมะเร็ง 1 สลึง หรือ 25% ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรมีโอกาสเป็นมะเร็ง 50 สตางค์ หรือ 50% และต่อมน้ำลายใต้ลิ้นมีโอกาสเป็นมะเร็งประมาณ 3 สลึง คือประมาณ 75% อาการที่สำคัญของเนื้องอก ก็คือการมีก้อนบริเวณต่อมน้ำลาย ซึ่งมักค่อยๆ โตขึ้น และมักไม่ค่อยมีอาการอะไรผู้ป่วยอาจคลำพบก้อนโดยบังเอิญ หรือมีคนทักหรือไปรับการตรวจร่างกายประจำปีแล้วพบ ในบางราย อาจมาด้วยอาการต่อมน้ำลายอักเสบ จากการที่ก้อนอุดกั้นทางเดินน้ำลาย เมื่อต่อมน้ำลายยุบบวม จึงตรวจพบก้อน เมื่อพบก้อนที่ต่อมน้ำลาย แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจการทำงานของเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องบางกรณี อาจทำการเจาะดูดเพื่อเอาเซลล์ไปตรวจ (การเจาะดูดเซลล์ไปตรวจในบริเวณต่อมน้ำลาย มีข้อจำกัด) หรือบางครั้งอาจต้องทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจหาขอบเขตของก้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตรวจและความเห็นของแพทย์ที่ดูแลอยู่ ปกติถ้าพบก้อนที่ต่อมน้ำลาย แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัด เป็นทั้งการรักษาและเป็นวิธีที่สามารถให้การวินิจฉัยได้แม่นยำทีสุดจากการได้เนื้อเยื่อมาตรวจ การผ่าตัดเนื้องอกบริเวณต่อมน้ำลายหน้าหู จำเป็นต้องลงแผลค่อนข้างยาวเนื่องจากมีความจำเป็นต้องเข้าไปหาเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้าและเก็บไว้ให้กับผู้ป่วย หากเกิดอันตรายกับเส้นประสาทเส้นนี้จะทำให้กล้ามเนื้อที่แสดงอารมณ์ของใบหน้าทำงานผิดปกติ เช่น ปิดตาไม่สนิทปากเบี้ยวเวลายิ้มหรือทำปากจู๋ ซึ่งอาจเป็นชั่วคราว (ประมาณ 1-2 …

เนื้องอกของต่อมน้ำลาย Read More »

48 1

เท้าบวม

อาการบวมที่เท้าเกิดจากสาเหตุหลายประการ แพทย์จำเป็นต้องให้การวินิจฉัยสาเหตุของอาการบวมที่เท้าให้ถูกต้องเสียก่อน จากนั้นจึงดำเนินการรักษาต่อไปตามแต่สาเหตุ หลักการวินิจฉัยขึ้นกับประวัติอาการเจ็บป่วยโดยละเอียด โรคประจำตัวของผู้ป่วย การตรวจร่างกายรวมทั้งอวัยวะที่เกี่ยวข้อง บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคเมื่อมีข้อ บ่งชี้บางประการ สาเหตุ โรคไต อาการบวมรอบตา บวมหน้า บวมเท้า สังเกต ได้เวลาตื่นนอนหรือช่วงบ่ายๆ หรือมีกิจกรรมในท่ายืนนานๆ สังเกตได้ว่าแหวนหรือรองเท้าที่เคยใส่จะคับขึ้น เมื่อใช้นิ้วกดที่มือ และเท้าจะมีรอยกดบุ๋ม โรคหัวใจ อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือโซเดียม และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย อาจ เกิดจากโรคหัวใจบางชนิด อาการบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุ แล้วจึงให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป โรคตับ อาการบวมที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคตับ มักเกิดขึ้นในระยะท้ายของโรค ร่วม กับอาการบวมน้ำที่ท้อง หรือที่เรียกว่าท้องมาน สาเหตุสำคัญเกิดจากภาวะโปรตีนต่ำในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนชนิดอัลบูมิน ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการดึงน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือด โรคตับในระยะท้ายทุกชนิดทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ และพบได้บ่อยที่สุดในโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน มักเกิดกับผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องพึ่งขาทั้งสองข้างเป็นหลัก เช่น ครู พยาบาล จราจร แม่ครัว ช่างเสริมสวย พนักงานขาย เป็นต้น อาชีพ เหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้ขาทั้งสองข้าง …

เท้าบวม Read More »

43

เทคนิคการผ่าตัดแผลเป็นน้อย ในโรคพังผืดรัดเส้นประสาทฝ่ามือ (Minimal Scar Surgery Technique In Carpal Tunnel Syndrome (CTS))

โรคพังผืดรัดเส้นประสาทฝ่ามือ (Carpal Tunnel Syndrome) เป็นโรคที่พบได้บ่อยครับ มักเกิดขึ้นกับ ผู้หญิง วัยกลางคน โดยจะมีอาการเริ่มต้น คืออาการชาปลายนิ้วเวลาใช้งานฝ่ามือติดต่อกันเป็นเป็นระยะเวลานานๆ เช่น ขับรถ จับเตาหลิวปรุงอาหาร หรือแม้แต่การใช้มือจับโทรศัพท์ นิ้วที่พบว่ามีอาการอยู่บ่อยๆ คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ครับ หลัง จากที่มีอาการเพียงครั้งคราว ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการรักษาอย่างถูกต้อง อาการชาที่เกิดจะเป็นหนักมากขึ้น นานขึ้น และมีอาการปวดตามมา อาการปวดจะร้าวขึ้นมาจากข้อมือ และ ลามไปต้นแขนข้างนั้นได้ ถ้ายังคงเพิกเฉย ฝืนทนอาการปวด และชาได้ กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือก็จะเริ่มเหี่ยว ลีบเล็กลง จนเห็นได้ชัด และแรงของข้อมือ และนิ้วมือจะลดลง ไม่มีกำลังที่จะจับสิ่งของเล็กๆให้อยู่ที่มือได้เนื่องจากที่ฝ่ามือคนเรา จะมีเส้นประสาทที่สำคัญเส้นหนึ่งที่เราเรียกว่า เส้นประสาทมีเดี้ยน (Median Nerve) เส้นประสาทเส้นนี้ นอกจากจะมีหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนางแล้ว ยังมีหน้าที่กระตุ้นทำให้ กล้ามเนื้อฝ่ามือมีกำลัง และเคลื่อนไหวตามปกติ เมื่อมีพังผืดที่หนาตัวไปรัดเส้นประสาท อาหารหล่อเลี้ยงที่มากับ เส้นเลือดแดง ก็จะขาดหายไป เพราะ เลือดไม่สามารถวิ่งผ่านในจุดที่ถูกกดทับได้ เซลล์ประสาทก็จะค่อยๆเสื่อมถอยลง …

เทคนิคการผ่าตัดแผลเป็นน้อย ในโรคพังผืดรัดเส้นประสาทฝ่ามือ (Minimal Scar Surgery Technique In Carpal Tunnel Syndrome (CTS)) Read More »

47 1

เทคนิคการเย็บปิดแผลผ่าตัด

เทคนิคการเย็บปิดแผลผ่าตัดสามารถกระทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเย็บด้วยไหมละลาย ไหมดำการใช้ลวดเย็บ staples หรือการใช้กาวผิวหนัง skin glue การดูแลแผลผ่าตัดถือเป็นส่วนสำคัญในการรักษาทางศัลยกรรม จากการศึกษาวิจัยพบว่าโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดพบได้ประมาณร้อยละ0.5-2 ของการผ่าตัดทั้งหมด ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ และอาจก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้มาก บางครั้งอาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การติดเชื้อของแผลผ่าตัดเรียกว่า surgical wound infection ปัจจุบันการป้องกันแผลผ่าตัดจากการติดเชื้อกระทำได้ดียิ่งขึ้นสามารถลดอุบัติการณ์ลงได้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การผ่าตัดรักษาประสบความสำเร็จมากขึ้นกว่าเดิมการเย็บปิดแผลผ่าตัดด้วยการใช้ไหมละลาย absorbable-suture มักเย็บที่ชั้นใต้ผิวหนัง เมื่อแผลสมานเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้วก็ไม่ต้องตัดไหม ปรากฏร่องรอยบนผิวหนังเพียงเล็กน้อยหรือเห็นเป็นเส้นจางๆ หลังเย็บแผลผ่าตัดนิยมปิดด้วย steri-strips ซึ่งเป็นวัสดุปิดแผลชนิดพิเศษ ช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น ส่วนการเย็บแผลผ่าตัดที่ผิวหนังด้วยไหมดำมีข้อดีคือทำให้ปากแผลกระชับแน่นได้ดีกว่าการเย็บด้วยไหมละลาย โดยทั่วไปสามารถตัดไหมได้ภายใน 7-10 วัน หากแผลปิดสนิทและไม่มีลักษณะของการติดเชื้อเกิดขึ้นการหายของแผลผ่าตัด เรียกว่า wound healing ถือเป็นหลักสำคัญทางศัลยกรรมประการหนึ่งปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องกับการหายของแผลเป็นสิ่งที่แพทย์นำมาพิจารณาในการดูแลรักษาผู้ป่วยหลังผ่าตัดเสมอรวมทั้งตรวจประเมินลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแผลผ่าตัดทุกวัน บางครั้งอาจพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัดตามความเหมาะสมและข้อบ่งชี้ทางศัลยกรรมแผลผ่าตัดวันแรกๆจะมีสีแดงเรื่อๆและบวมได้บ้างเล็กน้อยเมื่อคลำแผลจะพบว่าแข็งและหนากว่าผิวหนังปกติ ในการตรวจแผลผ่าตัดด้วยการคลำต้องใส่ถุงมือที่ปราศจากเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลโดยตรงเนื่องจากเป็นการนำเชื้อโรคเข้าไปสู่บริเวณปากแผล บางครั้งการบีบบริเวณโดยรอบของปากแผลช่วยให้สามารถประเมินลักษณะของแผลผ่าตัดได้เป็นอย่างดีการดูแลแผลผ่าตัดต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดเป็นหลัก ไม่สัมผัสโดยตรง ห้ามแคะ แกะ เกาแผลผ่าตัดเป็นอันขาด และหมั่นทำแผลอยู่เสมอ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล dressings ประกอบด้วยผ้า gauze และ tape ปิดบนผิวหนัง รวมทั้งการใช้ยาฆ่าเชื้อบางชนิดเรียกว่า antiseptics ตามความเหมาะสม …

เทคนิคการเย็บปิดแผลผ่าตัด Read More »

46 1

เทคโนโลยีการลดปวดประเภทต่างๆ

สำหรับผู้ป่วยที่มาคลินิกระงับปวด (Pain Clinic)มักจะมาด้วยเรื่อง หลักๆ ก็คือปวด ชา หรืออ่อนแรง ของแขน และขาซึ่งเกี่ยวโยงกับต้นเหตุมาจากไขสันหลัง กระดูกสันหลัง ผู้ป่วยประมาณ 90% จะได้รับการรักษาแบบ Non-Surgical หมายความว่าไม่ต้องผ่าตัด มีผู้ป่วยเพียง 10% ที่จะต้องได้รับการแก้ไข คนไข้ที่ไม่ต้องผ่าตัดจะมีการรักษาตั้งแต่การให้ยา การทำกายภาพ การทำ procedure หมายถึงการฉีดยาเข้าไปแก้ไขตรงตำแหน่งที่มีปัญหาอยู่ การทำ Pain procedure ที่หมายถึงนี้ ในโรงพยาบาลกรุงเทพมีทำได้หลายแบบ ที่ทำกันอยู่เป็นประจำ คือ 1. Caudal Steroid หมายถึง การฉีด steroid เข้าไปในช่องไขสันหลังด้านหลัง เพื่อแก้อาการปวดที่ไปที่ขาหรือสะโพก 2. Celiac Plexus Block จะใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง แล้วปวดหลังอย่างมาก เนื่องจากตัวมะเร็งกดทับเส้นประสาท การฉีดยาเข้าไปเพื่อทำลายเส้นประสาทชนิดนี้ทำให้ผู้ป่วยหายได้อย่างถาวร หรือมากกว่า 1 ปีได้ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 3. Lumbar Sympathetic Block ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาจากการผ่าตัดหรือการได้รับการกระทบกระเทือนของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขาหรือแม้แต่ผู้ป่วยที่ถูกตัดแขน ตัดขา …

เทคโนโลยีการลดปวดประเภทต่างๆ Read More »

45 1

เต้านมปกติ

เต้านมในสตรีเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญในการสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงทารก น้ำนมจากเต้านมของมารดาที่ให้แก่ทารกของตัวเองจะมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าน้ำ นมจากแหล่งอื่นๆ ในด้านของสารที่ให้ภูมิคุ้มกันต่อโรค ความสะอาด และความประหยัด เต้านมแต่ละข้างจะประกอบไปด้วยหน่วย ย่อยๆ 15-20 หน่วย เป็นเหมือนพูเล็กๆ เรียงตัวกันเป็นวง กระจายออกจากศูนย์กลาง แต่ละพูจะมีหน่วยขนาดเล็กๆ ย่อยลงไปอีกเป็นกระเปาะสำหรับสร้างน้ำนม โดยแต่ละหน่วยดังกล่าวมีท่อเชื่อมโยงถึงกัน และท่อจะเปิดรวมที่บริเวณหัวนม ในระหว่างหน่วยต่างๆ และท่อน้ำนมดังกล่าวจะมีไขมันแทรกอยู่โดยทั่วไปทั้งหมด ด้านหลังของเต้านมจะเป็นกล้ามเนื้อซึ่งคลุมกระดูกซี่โครงเอาไว้ และกล้ามเนื้อเหล่านี้ถือว่าไม่ใช่ส่วนของเต้านม ลักษณะของเต้านมปกติ เนื่องจากเต้านมเป็นอวัยวะที่เต็มไปด้วยต่อมและเนื้อเยื่อไขมันมากมายระหว่างชั้น ของผิวหนัง และผนังช่องอก ซึ่งเนื้อเยื่อไขมันนี่เองที่เป็นตัวกำหนดขนาด และรูปร่างของทรวงอก ขณะที่มีบุตร ต่อมดังกล่าวจะผลิตน้ำนมส่งผ่านท่อน้ำนมไปยังหัวนม ดังนั้นช่วงที่ให้นมลูก ต่อมน้ำนม และท่อต่างๆ จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เต้านมยังประกอบด้วยเส้นเลือด และน้ำเหลือง โดยน้ำเหลืองจะนำของเสียที่เต้านมขับออกไปยังเนื้อเยื่อขนาดเล็กเท่าเม็ด ถั่วที่เรียกว่า ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ซึ่งต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่กรอง และทำความสะอาดน้ำเหลือง อิทธิพลของฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของเต้านมในระหว่างเดือนอาจเกิดขึ้นได้ เพราะมีระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับการมีประจำเดือน ซึ่งในช่วงมีประจำเดือนเต้านมอาจตึงหรือเจ็บ ดัง นั้นในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง แพทย์จึงแนะนำให้ตรวจหลังจากประจำเดือนหมดประมาณ 1 สัปดาห์ และเนื่องจากการคลำหรือตรวจด้วยตนเองจะต้องอาศัยความรู้สึก หรือประสบการณ์ ท่านที่เริ่มเข้าสู่วัยสาว จึงต้องฝึกตรวจเต้านมที่ปกติด้วยตนเองให้ชำนาญ เวลามีก้อนผิดปกติจะได้คลำพบได้โดยง่าย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมที่สามารถแก้ไขได้ …

เต้านมปกติ Read More »

44 1

เตรียมลูกเข้าโรงเรียนอนุบาลอย่างไร

เดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็น ช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนที่มีลูกอายุประมาณ 3 ขวบ จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ตื่นเต้นบางครั้งก็เครียดด้วย นั่นคือการเข้าโรงเรียนอนุบาลวันแรกของลูก การ ไปโรงเรียนของลูกนั้นเป็นพัฒนาการส่วนหนึ่งของเด็กครับ เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่ที่่แปลกใหม่สำหรับเด็ก ที่โรงเรียนเด็กจะได้เรียนรู้วิชาการ ฝึกการเขียนอ่านได้เล่น และจะได้ฝึกการใช้์ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมด้วย และที่สำคัญคือเด็กจะต้องแยกจากพ่อแม่และเรียนรู้การเข้ากลุ่มเพื่อนที่ โรงเรียน ดังนั้นถ้าไม่เตรียมตัวให้ดีการเข้าโรงเรียนอนุบาลของลูกก็อาจเป็นความ เครียดของทั้งพ่อแม่ และเด็กได้ ความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่ (separation anxiety) เป็นพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็ก ความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่นี้จะเริ่มเกิดมีเมื่อเด็กอายุ 6-8 เดือน และ จะมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างที่เราเห็นบ่อยๆ เช่น พอลูกอายุประมาณ 1 ขวบครึ่ง ถึง 2 ขวบ เวลาคุณพ่อคุณแม่เข้าห้องน้ำ เขาก็จะร้องไห้มาเคาะ ประตูเรียก พ่อแม่จะไปทำงานก็ร้องตาม ตรงนี้ก็คือความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่ของเด็กซึ่งถือว่าปกติ โดยพัฒนาการนี้จะลดลงมากๆ เมื่อเด็กอายุ 3 ปี ซึ่งตรงกับช่วงเวลาเข้าโรงเรียนอนุบาลของเด็กพอดี ดังนั้นวัยนี้จึงเหมาะที่จะเริ่มเข้าโรงเรียน พบว่าถ้าพ่อแม่เองก็่รู้สึกวิตกกังวลในการต้องแยกจากลูก รู้สึกกลัว ไม่มั่นใจ หรือรู้สึกผิดที่ส่งลูกไปโรงเรียนก็อาจทำให้ลูกเกิดความความวิตกกังวลในการ แยกจากพ่อแม่มากขึ้นได้่เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่บางคนที่ส่งลูกไปโรงเรียนตอนเช้าแล้ว พอเห็นลูกร้องไห้ แม่ก็น้ำตาซึม พอลูกกำลังจะเข้าชั้นเรียน …

เตรียมลูกเข้าโรงเรียนอนุบาลอย่างไร Read More »

43 1

เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ (Learning disorder)

คำว่า LD. ย่อมาจาก Learning disorder (ศัพท์ ทางการแพทย์) หรือ Learning disability (ศัพท์ทางการศึกษา) อาจแปลภาษาไทยได้เป็นเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ LD. เป็นภาวะที่เด็กมีความบกพร่องในการอ่าน เขียน โดยจะ สังเกตได้ว่าเด็กมี ความยากลำบากในการอ่าน อ่านช้า ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่าลูกไมค่อยยอมอ่านป้ายเวลานั่งรถไป ตาม ถนน (ผิด กับเด็กทั่วไปที่มัก สนใจว่าป้าย โฆษณา ร้านค้า ป้ายถนน ทางด่วน เขียนว่าอะไร พยายามอ่าน และสอบถามพ่อแม่) เขียนสะกดคำ ง่ายๆ ผิดบ่อยๆ บางทีอาจสับสน ตัวเลขหรือตัวอักษรที่คล้ายกัน เขียนเป็นลักษณะกระจกเงา สะท้อน เช่น b – d , 6-9 จดหรือลอกงานการบ้านจากกระดานช้า กว่าเพื่อนๆ บางคนมี ประวัติพูดช้า ในวัยเด็ก (พูดคำแรกที่สื่อความหมายได้หลังอายุ 2 ปี) L.D. …

เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ (Learning disorder) Read More »

42 1

เด็กถูกล่วงเกินทางเพศ

ปัญหาเด็กถูกล่วงเกินทางเพศ เป็นปัญหาทางสังคมที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งผู้กระทำผิดส่วนมากเป็นคนที่เด็กคุ้นเคย หรือเป็นคนในครอบครัว และเมื่อทำความผิดแล้ว บุคคลเหล่านี้ก็จะพยายามปกปิดเรื่องโดยการกดดันเด็กต่างๆ นานา บางครั้งตัวเด็กเองเกิดความอับอาย หรือรู้สึกว่าตนเองผิดจึงไม่เล่าเรื่องให้ใครทราบ คนทำผิดก็เลยย่ามใจปัญหา นี้เป็นเรื่องที่ผิดทั้งกฎหมาย และผิดศีลธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านร่างกาย และจิตใจของเด็กอย่างรุนแรง ต่อเนื่องไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเด็กเหล่านี้บางส่วนมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งก่อปัญหาลักษณะเดียวกันนี้นี้กับเด็กคนอื่นต่อไปเป็นลูกโซ่ไม่จบสิ้น ดังนั้นในฐานะพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็กทุกท่าน จึงควรจะตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ และร่วมกันคิดหาวิธีในการป้องกันดีกว่าคอยแก้ปัญหาปลายเหตุ นั่นคือสอนเด็กให้รู้จักการป้องกันตัวเอง ไม่ไปไหนในที่ลับตาคนโดยลำพัง ผู้ใหญ่ควรสอนให้เด็กรู้จักความสำคัญของสรีระร่างกายตนเองและไม่ให้ใครมาแตะต้องตัวได้ง่ายๆ ที่สำคัญที่สุด พ่อแม่ควรให้เวลากับลูกในการรับฟังปัญหาต่างๆ ของเขาอย่างเต็มอกเต็มใจ ด้วยท่าทีดังกล่าว จะทำให้ลูกไว้วางใจที่จะเล่าเรื่องทุกเรื่องให้ท่านฟัง โดยไม่ปิดบัง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันปัญหาเด็กถูกล่วงเกินทางเพศ หรือถูกทำทารุณกรรมได้มากทีเดียว รูปแบบการล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก เป็นเรื่องที่ผิดทั้งกฎหมาย และศีลธรรม ซึ่งมีมากขึ้นทุกวันทั้งปริมาณ และรูปแบบที่ซับซ้อน การล่วงเกินทางเพศต่อเด็กมักเกิดจากการกระทำของบุคคลใกล้ชิด ซึ่งคุ้นเคยกับเด็ก เมื่อพบว่าเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นมักจะปกปิดด้วยความอับอาย ปกป้องชื่อเสียงทั้งของเด็ก และผู้กระทำผิด ซึ่งมักเป็นคนใกล้ชิดนั้นเอง รูปแบบการล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก มี 2 ชนิด คือ กรณีไม่รุนแรงเป็นการล่วงเกินทางเพศที่ไม่มีการสัมผัสร่างกาย เช่น การเปลือยกายหรือให้เด็กดูอวัยวะเพศ แอบดูเด็กอาบน้ำ พูดลวนลาม พูดสองแง่สองง่าม …

เด็กถูกล่วงเกินทางเพศ Read More »

41 1

เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ความหวังใหม่ของวงการแพทย์

“วิทยาศาสตร์มอบความหวังให้กับเราคือ การวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งอาจทำให้ นักวิทยาศาสตร์ได้คำตอบต่อปัญหาที่เอื้อมไม่ถึง ฉันไม่คิดว่า เราสามารถนิ่งดูดายได้ เนื่องจากยังมีอีกหลายโรคที่รอการรักษา เราได้เสียเวลามามากพอแล้ว และเราต้องไม่เสียมันไปอีก” คำกล่าวของ Nancy Reagan อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา ภริยาของประธานาธิบดี Ronald Reagan ผู้ชีวิตด้วยโรคอัลไซเมอร์ หนึ่งในโรคที่รอความหวังรักษาให้หายขาดด้วย เซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ (stem cell) การแพทย์ปัจจุบันรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อรักษาโรคต่างๆ เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง เพื่อให้ได้ข้อสรุปยืนยันถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัยที่ชัดเจน มีเพียงบางโรคเท่านั้นที่มีผลวิจัยทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่า สามารถใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาได้ผลจริง บทความนี้จะทำให้ท่านได้รู้จักเซลล์ต้นกำเนิด กันมากขึ้น รวมถึงมีโรคใดบ้างที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาได้ในปัจจุบัน เซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ (Stem cell) คืออะไร? เซลล์ต้นกำเนิด หรืออีกชื่อทางการแพทย์คือ สเต็มเซลล์ คือ เซลล์ที่มีคุณสมบัติในการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนตัวเองได้ (self-renew) และสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง (differentiate) ให้กลายเป็นเซลล์อื่นที่ทำหน้าที่หลากหลายได้ (multiple functional cell types) เซลล์ต้นกำเนิด ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1981 …

เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ความหวังใหม่ของวงการแพทย์ Read More »

image 30

เชื้อสเตร็ปโตคอคคัส ซูอิส

เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในหลายภูมิภาคของโลกที่มีการเลี้ยงสุกร เคย มีรายงานการพบเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสซูอิส ในสัตว์ป่าบ้างเหมือนกัน แต่พบได้น้อย ส่วนใหญ่พบในสุกรเลี้ยง สำหรับโรคติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส ในมนุษย์ พบครั้งแรกในปี 1967 เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ระยะหลังก็มีรายงานผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื้อก่อโรค เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส เป็น เชื้อแบคทีเรียชนิดกรัมบวก อยู่เป็นคู่ หรือเป็นสายยาว ขนาดต่างๆกัน เชื้อนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในลูกสุกร พบในลูกสุกรตั้งแต่แรกเกิดจนถึงหย่านม มักตรวจพบเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น ในโพรงจมูก และต่อมทอนซิล บางครั้งจะพบเชื้อในช่องคลอดของแม่สุกร สุกรเหล่านี้จะเป็นแหล่งรังโรค ทำให้เชื้อแพร่ไปยังลูกสุกร หรือสุกรในฝูงได้เชื้อที่เป็นสาเหตุมีหลายสายพันธุ์ ในลูกหมูอายุ 7-14 วัน จะติดเชื้อชนิด serotype 1 มากที่สุด ซึ่ง ก่อให้เกิดอาการข้ออักเสบ ในลูกหมูอายุ 3-12 สัปดาห์ จะติดเชื้อชนิด serotype 2 ซึ่งก่อให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และในระยะหลังพบการติดเชื้อชนิด serotype 14 มากขึ้น …

เชื้อสเตร็ปโตคอคคัส ซูอิส Read More »

image 30

เชื้อสเตร็ปโตคอคคัส Group B คืออะไร

กรณีดารานักแสดงชื่อดัง ที่ติดเชื้อแบคทีเรียทำให้แขนขาไม่มีเรี่ยวแรงเป็นเวลากว่า 10 วัน ผู้ป่วยได้มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หลังจากที่เล่นสควอชเป็นเวลานาน จากนั้นอาการรุนแรงมากขึ้น มีอาการปวดตามข้อ สะโพก ข้อเท้า ข้อมือ และมีอาการแขน ขา ซีกขวาชาอ่อนแรง เมื่อส่งเลือดตรวจพบว่ามีเม็ดเลือดขาวมาก จึงทำการเพาะเชื้อ และตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งผลการเพาะเชื้อพบว่าติดเชื้อแบคทีเรีย สเตร็ปโตคอคคัส (Streptococcus) กลุ่ม บี จึงให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษา เชื้อแบคทีเรียที่ตรวจพบนั้นเป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไป และพบมากในหญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ร่างกายไม่แข็งแรง แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีรายงานว่าพบการติดเชื้อโรคนี้ในคนปกติมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หัวใจ และสมอง พบว่าร้อยละ 20-30ของผู้ป่วย จะหาต้นตอที่มาของเชื้อไม่ได้ เชื้อสเตร็ปโตคอคคัส Group B การติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส Group B พบได้ทั่วไป ผู้ที่ได้รับเชื้อบางรายไม่เกิดอาการผิดปกติแต่อย่างใด ตัวเชื้อเองพบได้ในลำไส้ ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะ และลำคอ ร้อยละ 25 ของหญิงตั้งครรภ์ จะพบเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส Group B …

เชื้อสเตร็ปโตคอคคัส Group B คืออะไร Read More »

40 1

จัดการอาหารให้ปลอดภัยจากเชื้อรา

เชื้อราในอาหาร เชื้อรามีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิดมักจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่อบอุ่น และชื้น เชื้อราสามารถปนเปื้อนไปสู่อาหารได้ ทั้งในระหว่างกระบวนการผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษา ยังมีคนอีกมากพอพบว่าอาหารขึ้นราก็เขี่ยหรือปาดเอาส่วนที่ขึ้นราออก และเก็บส่วนที่เหลือไว้บริโภคด้วยความเสียดาย อย่าทำอย่างนั้น เพราะเชื้อราบางอย่างสามารถผลิตสารพิษได้ เชื้อราใดไม่สร้างสารพิษ การปาดเอาส่วนที่เป็นเชื้อราออก และกินอาหารส่วนที่เหลืออาจเป็นอันตรายจากสารพิษของเชื้อราได้ หากเป็นเชื้อราบางชนิดมีพิษสูงมาก การได้รับในปริมาณน้อย ๆ มีผลทำให้สารพิษสะสมในร่างกายเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นมะเร็งได้ และสารพิษจากเชื้อราบางชนิดสามารถอยู่ในอาหารได้นานโดยไม่สลายตัว บางชนิดก็ทนความร้อนได้สูง ข้อแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยให้ท่านสามารถซื้อ เตรียม หรือจัดเก็บอาหารให้ปลอดภัยจากเชื้อราได้ 1. ซื้อผักผลไม้ในปริมาณน้อย เลือกให้มีความสุกดิบคละกัน เพื่อจะได้รับประทานผลไม้ที่สดทุกวัน หากเลือกซื้อที่สุกทั้งหมด อาจรับประทานไม่ทัน ผลไม้ที่เหลือจะขึ้นราได้2. ไม่ควรซื้อผลไม้ที่มีรอยถลอกบนผิว หรือเน่าตรงขั้ว3. อย่าซื้ออาหารที่มีกลิ่นอับหรือกลิ่นหืน4. หากสงสัยว่าอาหารนั้นจะมีราขึ้น ให้ทิ้งอาหารนั้นเสียทั้งหมด อย่าทิ้งเฉพาะส่วน5. กระดาษหรือกล่องที่สัมผัสกับอาหารที่ขึ้นราให้โดยทิ้งไป เพื่อป้องกันการนำเชื้อราไปปนเปื้อนอาหารอื่น6. การกำจัดอาหารที่มีเชื้อรา ควรแน่ใจว่าเด็กหรือสัตว์เลี้ยงไม่สามารถเอาไปกินได้7. อาหารพวกถั่วควรเลือกที่มีสีสม่ำเสมอไม่มีเชื้อรา เมื่อซื้อมาแล้วควรเก็บในที่แห้งและเย็น8. อุปกรณ์เครื่องครัว รวมทั้งเขียงที่ใช้ควรล้างให้สะอาด ในระหว่างเตรียมอาหารควรซับให้แห้งอยู่เสมอ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

Scroll to Top