ไอออนโต-โฟโน

ปัจจุบันเทคนิคการเสริมความงามที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนี้ก็คือเครื่องไอออนโตโฟเรซิส(iontophoresis) และโฟโนโฟเรซิส (phonophoresis) นิยมนำมาใช้ในการรักษาแผลเป็นจากสิวและฝ้า โดยจะใช้เครื่องมือนี้ควบคู่กับวิตามินเอ นำมาแก้ไขปัญหาสิวอุดตัน ลบรอยแผลเป็นหรือรอยหลุม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับวิตามินซีนำมาแก้ไขปัญหาหน้าหมองคล้ำ ฝ้า กระ ฟอกสีผิวให้ขาวขึ้น บางแห่งใช้สารอัลบูตินแก้ไขปัญหาหน้าหมองคล้ำ ฝ้า กระ ฟอกสีผิวให้ขาวขึ้น aloeveraหรือ hyaluronic acid นำมาช่วยรักษาปัญหารูขุมขนกว้าง ช่วยทำให้ผิวหน้ากระชับ และใช้สารazeleic Acid นำมารักษาปัญหาฝ้าและรอยดำหลักการทำไอออนโตฟอเรซิส (ionotophoresis) เดิมเป็นวิธีการชุบโลหะ โดยแช่โลหะ 2 ขั้วในสารละลาย เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าตรงผ่านขั้วทั้งสองจะมีการแตกตัวของสารละลายเป็นอิออนสารซึ่งแตกตัวจะถูกผลักไปเกาะกับโลหะที่ต้องการชุบ จึงใช้หลักการนี้กับยาทาผิวหนัง โดยหวังว่ากระแสที่ผ่านวงจรจะทำให้สารละลายซึ่งเป็นยาถูกผลักเข้าไปในชั้นผิวหนังเพิ่มขึ้น ด้วยหลักการดังกล่าวเชื่อว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพของตัวยาให้ดูดซึมและออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นจึงได้มีการนำไอออนโตฟอเรซิสมารักษาผิวหน้ากันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการทำไอออนโตด้วยวิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอ เพื่อช่วยรักษาฝ้าหรือลดริ้วรอย ซึ่งโดยทั่วไปวิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอ สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการผลักยาด้วยไอออนโต และเมื่อใช้ไอออนโตวิตามินดังกล่าวก็ไม่สามารถถูกผลักเข้าไปได้จริงอีกทั้งไม่มีผลงานการศึกษาวิจัยยืนยันแต่อย่างใด นอกจากนี้การทำไอออนโตด้วยวิตามินซีกระแสไฟฟ้าจะต้องผ่านเข้าไปในสารละลายวิตามินซีซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของวิตามินซีเสื่อมลงเช่นกันทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ฃอย่างกว้างขวางว่าการทำไอออนโตและโฟโนเพื่อผลักวิตามินต่างๆสู่ผิวหน้านั้นเข้าข่ายการหลอกลวงประชาชนซึ่งเป็น

          ข้อสรุปจากการประชุมเรื่องมาตรฐานการใช้เครื่องมือไอออนโต-โฟโนที่ฃกระทรวงสาธารณสุข จัดโดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยสำหรับโฟโนโฟเรซิส (phonophoresis) เป็นวิธีการเพิ่มการดูดซึมของยาโดยใช้อัลตราซาวด์ช่วย แต่จากการศึกษาการใช้ โฟโนกับยา xylocaine, fluocinolone acetonide และ amphoterin B พบว่าไม่ได้เพิ่มการดูดซึม ดังนั้นโฟโนจึงยังไม่สามารถทำได้จริงอย่างคำโฆษณา การทำโฟโนในปัจจุบันก็คือการรักษาด้วยอัลตราซาวด์ธรรมดาอัลตราซาวด์เป็นคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งหูมนุษย์ไม่ได้ยิน และที่นำมาใช้รักษาในเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะใช้คลื่นเสียงความถี่ 0.8-1 เมกกะเฮิร์ตเครื่องอัลตราซาวด์จะให้ความร้อนกับเนื้อเยื่อซึ่งอยู่ในชั้นลึก เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก และเส้นเอ็นมากกว่าเนื้อเยื่อผิวหนังซึ่งอยู่ตื้นจึงใช้อัลตราซาวด์รักษาโรคกระดูก โรคกล้ามเนื้ออักเสบ หรือเส้นเอ็นอักเสบได้ผลดีและไม่นิยมใช้รักษาการอักเสบในชั้นผิวหนังกฏหมายของไทยบังคับให้ผู้ใช้เครื่องอัลตราซาวน์จะต้องผ่านการอบรม คือเป็นแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเท่านั้น เพราะถ้าใช้ผิดวัตถุประสงค์จะเกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้ เช่นการใช้ความเข้มของคลื่นสูงไปหรือการแช่หัวอัลตราซาวด์บริเวณจุดเดียวจะทำให้เกิดโพรงอากาศในเซลล์ทำลายเนื้อเยื่อได้ และยังมีข้อห้ามใช้ในผู้ตั้งครรภ์และเด็กเล็ก หรือใช้ในบริเวณใกล้กระดูกไขสันหลังเป็นต้นการนำอัลตราซาวด์มาใช้รักษาผิวพรรณโดยอ้างว่าช่วยเพิ่มการดูดซึมของยาและช่วยลดริ้วรอยจากการเสื่อมของผิวหนัง ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือผิดหลัก เพราะอัลตราซาวด์จะมีผลต่อเนื้อเยื่อลึกกว่าผิวหนังจึงไม่ช่วยเพิ่มการดูดซึมของยาแต่อย่างใด เนื่องจากการสั่นของอัลตราซาวด์จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของส่วนประกอบภายในเซลล์ได้จึงมีผู้นำคลื่นอัลตราซาวด์มากระตุ้นเซลล์ผิวหนังซึ่งเสื่อมตามธรรมชาติ โดยหวังว่าคลื่นอาจช่วยปลุกเซลล์ให้ฟื้นตัวกลับมาทำงานเหมือนเดิม แต่การเสื่อมของเซลล์ผิวหนังตามวัย ยังไม่มีผู้ใดทราบว่าเป็นจากเหตุใด

          การรักษาด้วยอัลตราซาวด์ไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุจึงไม่ได้ผลเครื่องไอออนโตและโฟโนไม่ใช่เครื่องมือชนิดใหม่ แต่เป็นเครื่องมือมาตรฐานซึ่งเวชศาสตร์ฟื้นฟูใช้มานานหลายสิบปี การใช้ไอออนโตเพื่อเพิ่มการดูดซึมของยาก็เป็นเรื่องล้าสมัยเพราะเสียเวลาผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่แน่นอนและระคายผิวหนังส่วนเครื่องโฟโนจะมีประโยชน์ในการรักษาการอักเสบของเนื้อเยื่อซึ่งอยู่ชั้นลึกกว่าผิวหนัง การนำมาใช้ในผิวหนังปกติและสร้างกระแสว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่เป็นการหลอกลวงผู้บริโภคเอาเปรียบตักตวงผลประโยชน์โดยปล่อยผู้บริโภคให้หลงงมงายสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยได้เคยออกหนังสือเตือนทั้งในวารสารสมาคมและวารสารการแพทย์อื่นๆ ว่าการนำเครื่องไอออนโตและโฟโนเข้ามาใช้ในสถานความงามเป็นเรื่องที่ผิดทั้งกฎหมายและผิดทั้งจริยธรรมขณะที่สำนักมาตรฐานสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (กองโรคศิลปะ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงได้ออกหนังสือแจ้งให้คลินิคและสถานเสริมความงามที่ใช้เครื่องไอออนโตและโฟโน ซึ่งมีกว่าหมื่นแห่งทั่วประเทศว่าไอออนโตและโฟโนเป็นเครื่องมือแพทย์ส่วนใหญ่ใช้ในทางกายภาพบำบัด จึงควรทำโดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเท่านั้น หากมีผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการเข้าไปใช้บริการในสถานที่ให้บริการด้วยเครื่องดังกล่าวผู้ประกอบการอาจจะถูกถอนใบอนุญาตเช่นเดียวกับคณะกรรมการแพทยสภา ที่ได้ออกหนังสือเตือนคลินิคที่ใช้เครื่องมือดังกล่าวตามมติในการประชุมครั้งที่ 2/2545 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2545 ว่าด้วยการกระทำด้วยเทคนิคไอออนโต มีลักษณะเป็นการโอ้อวดสรรพคุณของเครื่องมือเครื่องใช้โดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่เป็นมาตรฐานของวิชาชีพเวชกรรม และอาจทำให้ประชาชนเกิดความคาดหวังในสรรพคุณเกินความเป็นจริงเข้าข่ายขัดต่อข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกร

          รมพ.ศ.2526 หมวด 7 ข้อ 2 เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ.2541 คือการใช้เทคนิคไอออนโตและโฟโน ต้องเป็นแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเท่านั้น ไม่ควรทำบริเวณผิวหนังที่อักเสบและติดเชื้อ บริเวณผิวหนังที่มีการไหลเวียนของโลหิต และมีความรู้สึกน้อยกว่าปกติ, ไม่ควรทำที่อวัยวะสืบพันธุ์ เหนือดวงตา ตำแหน่งหัวใจ กระโหลกศีรษะ ไขสันหลังหน้าท้องของหญิงมีครรภ์ ตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง ตำแหน่งที่หัวกระดูกในเด็กที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่และในผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ

เอกสารอ้างอิง

1. รศ.พญ.พรทิพย์ ภูวบัณฑิตสิน, สาขาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มาหาวิทยาลัย, ประโยชน์ของIontophoresis และ Phonophoresis.

2. Sens, D.A, Simmons, M.A., and Spicer, S.S., The analysis of human sweat proteins byisoelectric focusing. I. sweat collection utilizing theMacroduct system demonstrates thepresence of previously unrecognized sex-related proteins, Pediatr Res., 19, 8, 873-878,1985.

3. J. Micheal Maloney, MD, J.L. Bezzant, MD, R.L. Stephen, MD, T. Petelenz, MD,Iontophoretic Administration of Local Anesthesia in Office Practice, JDermatol Surg Oncol,18, 937-940, 1992.

4. L.P. Gangarosa, Defining a practical solution for iontophoretic local anesthesia of skin, Clinical Pharmacology, 3, (2), 83, 1981.

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top