โรคไตวาย

โรคไตวาย คือ ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ ปกติไตจะทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกทางปัสสาวะ ดังนั้น ภาวะไตวายก็คือ ภาวะที่ไตจะไม่สามารถขับของเสียรวมทั้งเกลือแร่ต่างๆ ออกมาทางปัสสาวะได้ ของเสียเหล่านั้นก็จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือด ไตเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย มีสองข้าง ลักษณะเป็นรูปถั่ว ขนาด ในผู้ใหญ่ประมาณ 10-13 ซ.ม. ตำแหน่งอยู่ทางด้านหลังตรงบริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง ไตจะทำหน้าที่กรองเลือดที่มาเลี้ยงไตและนำของเสียและน้ำส่วนเกิน กรองและขับออกมาเป็นปัสสาวะ ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมากและไม่มีเวลาพักผ่อน โดยจะรับเลือดจากหัวใจในปริมาณถึงร้อยละ 20 หรือเท่ากับหนึ่งในห้าของเลือดที่บีบตัวออกจากหัวใจแต่ละครั้ง รวมปริมาณเลือดถึงประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 1,400 ลิตร และนำมากรองขับออกมาเป็นปัสสาวะประมาณวันละ 1-2 ลิตรเท่านั้น

          ภาวะไตวายโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง เช่น คนไข้มีอาการความดันโลหิตต่ำอยู่ในภาวะช็อกนานๆ หรือคนไข้ที่เสียเลือดมากๆ แต่ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถรักษาให้ไตกลับมาทำงานปกติได้ ส่วนภาวะไตวายเรื้อรังนั้นเป็นโรคที่มีการทำลายของเนื้อไตอย่างช้าๆ อย่างต่อเนื่อง จนไตไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ

สาเหตุ

          สาเหตุที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโรค ดังกล่าวถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งสองโรคนี้ในระยะยาวจะส่งผลทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้ ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากและเกิดเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เกิดอาการเร็วขึ้นและรุนแรงมากขึ้น ส่วนภาวะที่พบรองลงมา ได้แก่ โรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคนิ่วในไต หรือการใช้ยาบางชนิดที่มีพิษต่อไต โดยเฉพาะยาแก้ปวดหากซื้อยากินเองเป็นระยะเวลานาน

อาการ

          อาการของโรคไตวายเรื้อรังในระยะแรกนั้น ของ เสียในเลือดอาจจะไม่อยู่ในระดับที่สูง เพราะฉะนั้นโดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด อาจจะตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือเจาะเลือดพบว่าของเสียในเลือดขึ้นสูง บางรายอาจจะมีอาการผิดปกติ เช่น บวมบริเวณใบหน้า บริเวณหน้าตาหรือบริเวณขา ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ลุกมาปัสสาวะบ่อยๆ ตอนกลางคืน เมื่ออาการไตวายเรื้อรังเป็นมากขึ้นจะทำให้มีอาการที่เด่นชัดเจนขึ้น

          เมื่อเกิดภาวะไตวาย การ ทำงานของไตจะลดน้อยลง จนเกิดมีการคั่งของของเสียประเภทยูเรียไนโตรเจน และของเสียอื่นๆ เกิดขึ้น เราจะรู้ได้ด้วยการวัดค่าของเสียเหล่านี้คือค่า บียูเอ็นและค่าครีอะตีนีน ค่า BUN ปกติ มีค่าประมาณ 12-20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนค่า Cr มีค่าประมาณ 0.6-1.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถ้าทั้งสองตัวมีค่าสูงกว่านี้โดยไม่ใช่เกิดจากยาหรือภาวะบางอย่าง โดยทั่วไปจะถือว่า มีภาวะไตวายเกิดขึ้นไตวายอาจจะเป็นแบบที่มีปัสสาวะมาก คือมากกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวัน หรือแบบมีปัสสาวะน้อย คือน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวันก็ได้

ถ้ามีปัสสาวะน้อย ผู้ ป่วยมักจะบวมเหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้ จากการมีสารน้ำคั่งจนหัวใจวาย แต่ถ้าเป็นไตวายแบบมีปัสสาวะมากผู้ป่วยจะไม่เหนื่อยหอบเร็วนัก อาจจะไม่มีอาการจนกระทั่งค่า BUN ในเลือดถึงประมาณ 80-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเกิดภาวะของเสียคั่งที่เรียกว่า ยูรีเมีย ซึ่งมักจะมีอาการ สะอึก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผิวแห้ง อาจมีหัวใจวายหรือเจ็บหน้าอก จากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และถ้าไม่รักษาจะซึม ชักหมดสติและเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

          สามารถวินิจฉัยได้จากลักษณะประวัติอาการการ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำหน้าที่ของไต การวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ไตวายจะช่วยในการวางแผนการรักษาระยะยาวได้เป็น อย่างดี

การรักษา

          ถ้าผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้วการตรวจพบในระยะแรกและให้การรักษาอย่างถูกต้องนั้น จะทำให้สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ ข้อควรปฏิบัติคือ ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดที่ พบบ่อยๆ คือ คนไข้มักจะซื้อยารับประทานเอง หรือไปรักษาด้วยยาจีน ยาสมุนไพร ซึ่งปัจจัยอย่างนี้ ยาบางชนิดพบว่าส่วนผสมบางอย่างทำให้ไตนั้นเสื่อมสมรรถภาพอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นการพบแพทย์ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลโรคไตวายเรื้อรังโรคไตวายเรื้อรังจะทำให้เนื้อไตนั้นเสื่อมไปแล้วแต่ก็ไม่ได้เป็นทั้งหมดจะ ยังมีบางส่วนที่ทำหน้าที่อยู่ได้ การรักษาโรคไตวายเรื้อรังซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ไตที่เสื่อมสภาพไปอย่างเรื้อรังและถาวรแล้วก็จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้อีก การรักษาต่างๆล้วนแต่เป็นการนำเอาของเสียในเลือดออกนอกร่างกายเพื่อให้อาการ ของผู้ป่วยดีขึ้น

การรักษาในระยะแรก

          ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยยา จุด ประสงค์ด้วยการรักษาด้วยยา ไม่ใช่การรักษาให้เนื้อไตที่เสียไปแล้วกลับสภาพทำงานได้ แต่เพื่อรักษาปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้ไตนั้นเสื่อมสภาพลง เช่น ควบคุมความดันโลหิต ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ถ้าคนไข้มีความดันโลหิตสูง การควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ จะสามารถชะลอไม่ให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว การให้ยาอื่นๆ นั้นต้องดูความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เพราะฉะนั้นควรจะติดตามการรักษากับแพทย์และไม่ซื้อยารับประทานเองหรือเอายา ของคนอื่นมารับประทาน อาหารที่ควรจะหลีกเลี่ยงก็คือ อาหารเค็ม อาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง ซึ่งจะทำให้ของเสียในเลือดเพิ่มขึ้นเร็ว

การล้างไต

          เป็นการขจัดของเสียในเลือดออก โดย ใช้น้ำยาใส่ลงไปในช่องท้อง หลักการก็คือ จะใส่น้ำยาล้างไตลงไปในช่องท้องของผู้ป่วย และของเสียที่อยู่ในกระแสเลือดก็จะซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอย บริเวณเยื่อบุช่องท้องออกมาในน้ำยา แล้วจะเปลี่ยนน้ำยาที่มีของเสียนั้นออกและใส่ถุงใหม่กลับเข้าไป วันหนึ่งก็จะทำ 3- 4 ครั้ง ของเสียก็จะสามารถขจัดออกไปได้ การรักษาด้วยวิธีนี้ คนไข้อาจไม่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล ในช่วงแรกที่ทำใหม่ๆ อาจจะต้องได้รับการดูแลโดยพยาบาลหรือแพทย์ว่าจะสามารถปฏิบัติเองได้ หรือผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ก็จะเป็นญาติที่คอยเปลี่ยนน้ำยาให้ ที่สำคัญวิธีนี้จะต้องใช้ความสะอาดมาก เพราะถ้ามีเชื้อโรค หรือล้างมือไม่สะอาดก็จะมีการติดเชื้อในช่องท้องได้ อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตการล้างไตโดยวิธีฟอกล้างของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเป็น วิธีที่แพทย์สามารถฝึกให้ผู้ป่วยทำเองที่บ้านได้ นับว่าสะดวก แต่ต้องทำการเปลี่ยนถุงน้ำยาวันละ 3-4 ครั้งทุกๆวันตลอดไป และแพทย์จะนัดมาเปลี่ยนสายน้ำยาที่ใช้ฟอกล้างของเสียทุกหนึ่งเดือน ผู้ป่วยสามารถทำงานและปฏิบัติภารกิจได้เหมือนคนปกติ

การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม

          การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม เป็น การนำเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผ่านเข้าเครื่องไตเทียม แล้วให้เครื่องทำการฟอกเลือดเหมือนกับไตที่ทำหน้าที่ตามปกติ เมื่อเครื่องไตเทียมทำหน้าที่ฟอกเลือดแล้ว จึงนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยในระบบที่ปราศจากการปนเปื้อน เครื่องไตเทียมจะใช้ตัวกรองช่วยทำให้เลือดสะอาด อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนของเสีย เกลือแร่ ระหว่างเลือดกับน้ำยาฟอกเลือด ในขณะที่เลือดไหลผ่านตัวกรอง ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ เหมือนหลอดเลือดฝอยที่มีรูขนาดเล็กมากๆ อยู่ที่ผนังของหลอด และมีน้ำยาฟอกเลือดไหลผ่านอยู่ด้านนอกเลือด ของเสียที่มีระดับสูงในเลือดจะเคลื่อนผ่านผนังของตัวกรองเข้าไปอยู่ในน้ำยา ฟอกเลือด ทำให้ระดับของเสียในเลือดลดลงส่วนน้ำและเกลือแร่จะมีการเคลื่อนผ่านผนังของ ตัวกรอง ทำให้ระดับของเกลือแร่และดุลของสารน้ำในร่างกายเป็นปกติ การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม ต้อง มาฟอกที่โรงพยาบาล การฟอกเลือดจะต้องมาฟอกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 4-5 ชั่วโมง อาการอันเกิดจากการคั่งของเกลือ และของน้ำ ได้แก่ อาการบวม หอบ เหนื่อย นอนราบไม่ได้ จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ภายใน 1 – 2 วัน ความดันโลหิตที่สูงอยู่ก่อนจะลดลงและควบคุมได้ดีขึ้น หากมีภาวะหัวใจล้มเหลว อาการจะดีขึ้นอย่างชัดเจนภายใน 1 – 3 วัน อาการหอบเหนื่อย อันเกิดจากเลือดเป็นกรด จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1 – 3 วัน ส่วนอาการอันเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ มึนงง สับสน ไม่รู้สติ กระตุก หรือชัก รวมทั้งอาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหารจะดีขึ้นภายใน 2 – 4 วันการผ่าตัดเปลี่ยนไต ปัจจุบันการรักษาโดยการเปลี่ยนไต ทาง การแพทย์เรียกว่า การผ่าตัดปลูกถ่ายไตก็เป็นการรักษาโดยการนำไตของผู้ป่วยอื่นมาใช้ ลักษณะของไตที่บริจาคโดยผู้ป่วยเสียชีวิตจากสมองตาย หรือจะเป็นไตจากผู้มีชีวิตอยู่ เช่น ญาติ พี่น้อง พ่อแม่ แพทย์จะนำไตหนึ่งข้างของผู้บริจาคมาใส่ในผู้ป่วยที่เป็นไตวายเรื้อรัง เพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสีย การผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีข้อจำกัดหลายประการ แต่ปัจจุบันการผ่าตัดปลูกถ่ายไตสามารถกระทำได้ง่ายขึ้น ผู้ที่ต้องการรักษาด้วยวิธีนี้ต้องมาขอคำปรึกษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางโรค ไตก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ที่จะผ่าตัดหลักการสำคัญที่สุดคือ ไตของแต่ละบุคคลจะมีเนื้อเยื่อที่ต่างกันเสมอ ไตที่ได้รับจากการปลูกถ่ายร่างกายผู้รับจะถือว่าเป็นเนื้อเยื่อที่แปลกปลอม เข้ามา ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานหลายชนิดไปกำจัดทำให้เนื้อเยื่อใหม่นั้นถูกทำลาย ด้วยภูมิต้านทาน เรียกว่าเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ปัจจุบันมีการค้นพบวิธีการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อที่จะให้เข้ากันได้มากที่สุด ภูมิต้านทานในการทำลายไตก็จะเกิดได้น้อยลงและผู้รับไตยังต้องทานยากดภูมิ ต้านทาน ไม่ให้มีภูมิต้านทานไปกำจัดไตและเมื่อเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ซึ่งอาจจะเกิดได้เป็นครั้งคราว ก็ต้องมียาที่ดีพอที่จะรักษา การรักษาด้วยการปลูกถ่ายไตจะทำหน้าที่ทดแทนไตวายได้ดีที่สุด ผู้ป่วยจะรู้สึกแข็งแรงสดชื่นเหมือนคนปกติซึ่งจะดีกว่าการล้างไต แต่ก็ต้องมีการทานยากดภูมิต้านทาน ตลอดชีวิตทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆได้มากกว่าและต้องมีการตรวจวัด ระดับยาเป็นระยะๆนอกจากนี้ยัง ต้องมีไตที่จะรับบริจาคจากญาติพี่น้องหรือต้องรอจากผู้ป่วยสมองตาย ไปไตที่จะนำมาจาก ผู้ป่วยสมองตายผู้ป่วยนั้นต้องไม่มีเชื้อโรคที่ร้ายแรงเช่น เอดส์ ตับอักเสบไวรัสบี เป็นมะเร็งแพร่กระจาย ไม่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและสมรรถภาพของไตต้องยังดีพอสมควร ในกรณีที่จะรับบริจาคจากญาติญาติต้องได้รับการตรวจว่าแข็งแรงและจะปลอดภัย แน่นอน แม้จะมีไตเหลือเพียงข้างเดียวและต้องได้รับการประเมินทางจิตใจด้วยว่าเต็มใจ จริง และจะไม่มีอาการทางจิตใจแม้จะให้ไตไปแล้ว

การป้องกัน

          วิธีป้องกันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลตนเองให้ปลอดจากโรคไตโดย เฉพาะโรคไตวายเรื้อรัง ดังนั้น ควรจะสังเกตตนเองว่าจะเริ่มเป็นโรคไตหรือไม่ อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยที่เริ่มจะเป็นโรคไต เช่น ท่านมีอาการปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะบ่อย หรือมีเศษกรวดหรือทรายปนออกมา ก็อาจจะพบว่ามีนิ่วอยู่ในไต มีอาการบวมผิดปกติ ตื่นขึ้นมามีอาการบวมบริเวณหน้าตาหรือมีอาการปวดหลัง ถ้าหากไม่แน่ใจ ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้โรคไตที่เป็นในระยะแรกนั้นเรื้อรังจนเกิดโรคไตวาย เรื้อรังที่สำคัญอีกเรื่องคือหลีก เลี่ยงการใช้ยา ซึ่งอาจจะมีผลเสียต่อไต การใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวดติดต่อกันนานๆ อาจจะทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง สำหรับผู้ที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นว่า 2 โรคนี้ พบบ่อยว่าในระยะยาว ถ้าท่านรักษาโรคเบาหวานหรือโรความดันโลหิตสูงไม่ถูกต้อง ซื้อยารับประทานเอง หรือไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องจากแพทย์นั้น จะมีผลแทรกซ้อน ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังได้

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

          การดูแลตนเองที่ดีจะช่วยให้ไตเสื่อมสมรรถภาพได้ช้าลงการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เป็นหัวใจสำคัญ ส่วนเรื่องของอาหารเค็ม จะขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน เช่นคนไข้บางคนอาจจะรับประทานเค็มได้ คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูง มีอาการบวมก็จะต้องงดอาหารเค็ม ถ้าท่านพบว่าเป็นโรคบางชนิดที่มีโอกาสไตวายเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ควรควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ก็จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตลงได้ การรับประทานอาหารโปรตีนที่น้อยลง การไม่ซื้อยารับประทานเอง จะช่วยให้ไตเสื่อมสภาพได้ช้าที่สุด นอกจากนี้ ควร ตรวจเช็คดูว่า เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคเกาต์ หรือไม่ ถ้าเป็นต้องรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และเมื่อเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือมีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่ว ต่อมลูกหมากโต จะต้องทำการรักษาให้หายขาด เมื่อป่วยเป็นโรคติดเชื้อ งูกัด หรือท้องเดินต้องรีบรักษา อย่าปล่อยจนเกิดภาวะช็อก ซึ่งมีผลทำให้ไตวายตามมาได้

นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top