โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มโรคทางเมตะบอลิซึม ซึ่งก่อให้เกิดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเป็นเวลานาน เป็นผลมาจากความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินหรือความผิดปกติในการออกฤทธิ์ของอินซูลิน
สาเหตุ
- ความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในตัวของตับอ่อน
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม ของการออกฤทธิ์ของอินซูลิน
- โรคของตับอ่อน การทำลายตับอ่อน จากการอักเสบ การติดเชื้อ
- โรคต่อมไร้ท่อ
- ยาหรือสารเคมีบางอย่าง ที่มีผลทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง
- โรคติดเชื้อ
อาการ
- ดื่มน้ำมาก
- ปัสสาวะมาก
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสสาเหตุ
ในรายที่เป็นไม่มากที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 126-200 mg% อาจไม่มีอาการผิดปกติได้อย่างชัดเจน เพราะอาจตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือจากการตรวจเช็คสุขภาพ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
- ภาวะไตวายเรื้อรัง
- ตาบอด
- ความผิดปกติของเส้นประสาท การตัดเท้า
- ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
- แผลที่เท้า
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเป็นโรคเบาหวาน
- ความอ้วน (BMI > 27 kg/m)
- มีบิดา มารดา พี่หรือน้อง เป็นโรคเบาหวาน
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง (BP > 140 / 90 มม.ปรอท)
- มี HDL – cholesterol. 250 mg/dl
คำแนะนำ
หากตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูงควรปรึกษาแพทย์ และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน อาหารประเภทไขมัน น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ บางเรื่องในชีวิต ความวางใจสำคัญที่สุด
ผลการสำรวจสุขภาพคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศล่าสุดในปี 2547พบมีผู้ป่วยจากโรคเบาหวานมากกว่า 3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ชายประมาณ 1 ล้าน 6 แสนคน โดยอยู่ในกรุงเทพฯ มากที่สุดประมาณ 370,715 คน ร้อยละ 48 ของผู้ชายในกรุงเทพฯ ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน และมากกว่าครึ่งมักอ้วน ในภาพรวมทั่วประเทศ มีกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานอีก 7 ล้านกว่าคน พบในชายมากกว่าหญิงเล็กน้อย
องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ไว้ว่า จำนวนผู้ป่วยเบาหวานในปี 2004 ทั่วโลกจะมีรวมกันมากถึง 200 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยในทวีปเอเชียประมาณ 80 ล้านคน อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเอเชียคิดเป็นร้อยละ 1.3-1.8 ต่อปี อัตราการเพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานเกิดขึ้นพร้อมๆ ไปกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน การใช้ชีวิตอย่างคนเมืองมากขึ้น การกินอาหารที่มีปริมาณไขมันในสูง และที่สำคัญขาดการออกกำลังกายที่พอเหมาะอย่างสม่ำเสมอ
จากการศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานในเอเชีย พบว่าความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติมีผลต่อความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานอย่างเห็นได้ชัด รายงานการศึกษาโรคเบาหวานในคนเอเชียเชื้อชาติต่างๆ พบว่าคนเชื้อสายอินเดียมีความเสี่ยงสูงสุด ตามมาด้วยคนเชื้อสายมาเลย์ และที่มีความเสี่ยงต่ำสุดคือคนเชื้อสายจีน เป็นที่ทราบดีว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวาน โดยในบางประเทศพบความชุกของโรคเบาหวานมากถึงร้อยละ 2 ของประชากร นับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจอย่างยิ่ง แนวโน้มที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่พบ คือ การตรวจพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในคนอายุน้อยลง จากรายงานการศึกษาเดียวกันพบว่าคนเอเชียเริ่มเป็นเบาหวานในช่วงอายุที่ต่ำกว่าชาวตะวันตก
สาเหตุ
โรคเบาหวานเกิดจากน้ำตาลในกระแสเลือดมีปริมาณสูงขึ้น ในขณะที่เนื้อเยื่อของร่างกาย ไม่สามารถนำน้ำตาลนั้นไปใช้เป็นพลังงาน หรือนำไปใช้ได้ไม่เต็มที่ ทำให้น้ำตาลซึ่งร่างกายดูดซึมมาจากทางเดินอาหาร มีปริมาณมากในกระแสเลือดและจะล้นออกมากับปัสสาวะทำให้ปัสสาวะหวานและปัสสาวะมีปริมาณมาก
โรคเบาหวานที่สำคัญมี 2 ชนิด ชนิดแรกคือ เบาหวานชนิดต้องพึ่งอินสุลิน เบาหวานชนิดนี้ต้องรักษาด้วยการฉีดยาอินสุลิน และต้องฉีดทุกวันไปตลอดชีวิต ถ้าขาดอินสุลินจะเกิดภาวะคีโตสิส เป็นอันตรายได้ โรคเบาหวานชนิดนี้พบได้ในเด็ก หรือวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ส่วนชนิดที่สองคือเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งอินสุลิน เบาหวานชนิดนี้พบมากกว่าชนิดแรก คือประมาณร้อยละ 90-95 ของคนไข้เบาหวานทั้งหมด ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่ มักเป็นในคนอ้วน เบาหวานชนิดนี้สามารถรักษาได้ ด้วยการควบคุมอาหารหรือรับประทานยาลดน้ำตาล สำหรับสาเหตุการป่วยของโรคเบาหวาน กว่าร้อยละ 97 เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เรียกว่าเบาหวานชนิดที่ 2 ทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่าปกติ มีความรุนแรงกว่าเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้เกือบทุกระบบ เช่น ทำให้ตามัวหรือบอด ไตเสื่อม ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ เมื่อวินิจฉัยโรคครั้งแรกจะพบโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง อย่างใดอย่างหนึ่งได้มากถึงร้อยละ 50 เนื่องจากส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรค โดยเฉพาะผู้ชาย อาจทำให้เกิดปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยทั่วไป การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมักจะพบในผู้ที่มี อายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ในผู้ชายที่เป็นเบาหวาน จะเกิดปัญหานี้เร็วกว่าคนปกติทั่วไป 10-15 ปี ในปัจจุบันนักวิจัยจากหลายประเทศให้ความสนใจกับยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวาน เช่น ยีนควบคุมการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ยีนที่ควบคุมการสร้าง insulin-like growth factor และยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะนำมาซึ่งแนวทางการรักษาโรคเบาหวานที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง จากความรู้เรื่องจีโนมิกส์ในปัจจุบัน ทำให้ทราบว่ายีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเบาหวานในผู้ใหญ่ หรือเบาหวานชนิดที่สองนั้น มีปฎิกิริยาต่อกันอย่างสลับซับซ้อน อย่างน้อยที่สุดพบยีนสามตำแหน่งเกิดการกลายพันธุ์ (mutation) และที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือยีนควบคุมการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน กับยีนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ปัจจุบันมีการศึกษาทางจีโนมิกส์ในครอบครัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมากมายหลายแห่งทั่วโลก และในอนาคตอันใกล้คงจะมีคำตอบบางประการที่นำมาซึ่งแนวทางการบำบัดรักษา ซึ่งอาจแตกต่างไปจากแนวทางที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
การวินิจฉัย
ลักษณะประวัติอาการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายโดยละเอียด
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) เป็นฮีโมโกลบินที่มีกลูโคสไปจับอยู่ ปกติจะมีค่าประมาณ 4.3-5.8 % ของฮีโมโกลบินทั้งหมด ค่าจะสูงขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี เนื่องจากมีกลูโกสจำนวนมากได้จับกับฮีโมโกลบิน สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องอดอาหาร ค่าที่ได้ขึ้นกับความสูงของกลูโคสในเลือดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาการตรวจไมโครอัลบูบินในปัสสาวะ เป็นการตรวจการทำงานของไต Micro Albumin เป็นโปรตีน ซึ่งในคนปกติจะทำหน้าที่กรองโปรตีนเก็บไว้ แต่ในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไตจะไม่สามารถกรองโปรตีนไว้ได้หมด หากพบโปรตีนในปัสสาวะจึงบอกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของไต และถ้าได้รับการดูแลที่ไม่ดีพอก็จะทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังต่อไปได้ หากได้รับการดูแลที่ดีจากแพทย์ จะสามารถสกัดกั้นการเกิดไตวายเรื้อรังชนิดถาวรได้ABI ย่อมาจาก Ankle Brachial Index คือการตรวจวัดความดันโลหิตเปรียบเทียบกันระหว่างแขน และข้อเท้า เพื่อตรวจดูภาวะโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน เกิดเนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลจึงไปจับตัวกันทำให้ผนังหลอดเลือดผิดปกติไป รวมทั้งภาวะความดันโลหิตสู และการสูบบุหรี่ปัญหาแผลเบาหวาน
ขณะนี้พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาตัวแต่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ มีประมาณร้อยละ 29 กลุ่มนี้จึงเสี่ยงโรคแทรกซ้อนสูง โดยเฉพาะแผลที่เท้า พบได้ร้อยละ 15 แผลที่พบส่วนใหญ่เป็นแผลเรื้อรัง หากดูแลรักษาไม่ถูกต้องจะถูกตัดเท้า แต่กลุ่มที่น่าห่วง คือกลุ่มผู้หญิงที่ชอบทำเล็บ แต่งเล็บเท้า เนื่องจากร้านเสริมสวยส่วนใหญ่ ยังตัดเล็บเท้าไม่ถูกวิธี โดยมักจะตัดเป็นแนวโค้ง เพื่อให้ดูเรียวซึ่งผิดวิธี จะทำให้เกิดอักเสบหรือเกิดปัญหาเล็บขบ หากเป็นผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่าเป็นก็ตาม จะมีอันตราย ทำให้เกิดการติดเชื้อ แผลอักเสบลุกลามง่ายขึ้น
การตัดเล็บเท้าที่ถูกต้องนั้นต้องตัดแนวตรง เสมอปลายนิ้ว อย่าตัดลึกมาก เพราะจะเกิดแผลได้ง่าย และไม่ควรแคะซอกเล็บ ที่ผ่านมาจะมีผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกตัดเท้าทุกปี ปีละประมาณ 14,000 คน คาดว่าในปี 2553 ประเทศไทย จะมีผู้ป่วยเบาหวานถูกตัดเท้าเพิ่มขึ้น ปีละเกือบ 30,000 คน และการรักษาแผลที่เท้าด้วยการตัดเท้า ไม่ใช่สิ่งที่ปลอดภัย เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากการถูกตัดเท้าร้อยละ 3-7 ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดแผลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์