เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้กลไกต่างๆ กัน ที่พบได้บ่อยมี 3 โรค ได้แก่ ลมพิษ ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดสัมผัส และผื่นผิวหนังอักเสบอะโทปิก ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่ผิวหนังจะมีอาการคันมาก เนื่องจากอาการคันเป็นผลจากสารฮิสตามีนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแพ้ การค้นหาสาเหตุที่แพ้บางครั้งอาจทำได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นชนิดเรื้อรัง ถ้าตรวจพบสาเหตุ ผลการรักษาจะดีขึ้นกว่าในรายที่ไม่พบสาเหตุ
1.ลมพิษ (urticaria/hives)มักจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นราว 3-4 ชั่วโมง และไม่เกิน 24 ชั่วโมง ก็จะจางหายไป ถ้าสาเหตุของลมพิษยังไม่ถูกกำจัดออกไป โอกาสที่จะเป็นอีกก็จะมีสูง และบางรายเป็นๆ หายๆ อยู่ตลอดเวลา ลมพิษที่เกิดขึ้นแล้วเป็นๆ หายๆ นานเกิน 6 สัปดาห์ เรียกว่า ลมพิษชนิดเรื้อรัง สาเหตุที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ อาหารทะเล เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้บางชนิด นมเนย รวมทั้งยากันบูดและสีผสมอาหาร ยาบางอย่างก็เป็นสาเหตุด้วย ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบของกระดูกและข้อ ยาระบาย ยาแก้ปวดนอกจากนี้ ลมพิษอาจเกิดจากการติดเชื้อเรื้อรังของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเช่น ฟันผุ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและในช่องคลอด สำหรับสารระเหยและละอองเกสรที่ได้รับโดยการหายใจ การกดรัดที่ผิวหนัง หรือ ปฏิกิริยาอิมมูนก็เป็นสาเหตุของลมพิษได้ ลมพิษพบได้ทุกอายุ แต่พบในเด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่ จะพบบ่อยที่สุดในวัยหนุ่มสาว พบว่าเพศหญิงเป็นบ่อยกว่าเพศชาย ลมพิษเฉียบพลัน มักเป็นในเด็กและวัยรุ่น ส่วนลมพิษเรื้อรังมักพบในคนอายุกลางคนขึ้นไป
ถ้าหากเป็นลมพิษเรื้อรัง แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด อาจต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้ได้มาซึ่งสาเหตุที่แท้จริง สำหรับการรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาแก้แพ้ ซึ่งจะทำให้ผื่น และอาการคันดีขึ้น แต่ถ้าหาสาเหตุไม่ได้มักจะเป็นเรื้อรังและอาจจะต้องพึ่งยาตลอด จะขาดยาไม่ได้ในบางรายเท่านั้น
การดูแลรักษาผู้ป่วยลมพิษ ต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของลมพิษ ได้แก่ อาหารทะเล, อาหารหมักดอง, อาหารที่มียากันบูด, อาหารกระป๋อง, ถั่ว, เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู เพราะอาจมียาปฏิชีวนะตกค้างอยู่ในเนื้อ นอกจากนี้ผัก ผลไม้ที่รับประทานควรแช่น้ำและล้างให้สะอาด เพื่อกำจัดยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่ปนเปื้อนบนผิวหรือเปลือกผลไม้ ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อเป็นการขับสารพิษที่เป็นต้นเหตุของผื่นลมพิษออกไปทางไต และควรระวังไม่ให้ท้องผูก เพื่อเป็นการกำจัดของเสียออกทางอุจจาระ ยาต้านฮิสตามีนชนิดที่ทำให้ง่วงน้อย ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กดอาการลมพิษได้ดี ไม่ทำให้ง่วงนอน แต่ราคาแพง ได้แก่ astemizole, loratadine เป็นต้น ส่วนยาต้านฮิสตามีนชนิดที่ทำให้ง่วงซึม มีฤทธิ์กดอาการผื่นคันดีมาก
2.ข้อจำกัดของยากลุ่มนี้ คือ อาการง่วงนอน ซึ่งพบบ่อยกว่ายากลุ่มแรก ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด เช่น chlorpheniramine, brompheniramine เป็นต้น
3.โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดสัมผัส (contact dermatitis) เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารเคมีที่สัมผัสผิวหนังส่วนมากเป็นสารที่พบเห็นหรือสัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวัน ประเภทเครื่องใช้ประจำวัน เครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น บางครั้งจึงอาจเรียกว่าผื่นระคายสัมผัส ผื่นชนิดนี้พบได้บ่อยมากและมักจะตรวจหาสาเหตุได้ โดยการวินิจฉัยสาเหตุอาศัยการทดสอบภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า patch test เป็นการทดสอบที่ง่าย ไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด ผื่นสัมผัสนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะสารที่เป็นสาเหตุอาจมาจากการประกอบอาชีพ เช่น โลหะ,ผลิตภัณฑ์ยาง, กาว หรืออาจแพ้เครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม, สารกันบูด, น้ำยาย้อมหรือดัดผม สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสารที่สัมผัสง่าย ผู้ที่แพ้จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด มิฉะนั้นการรักษาจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
ระยะเฉียบพลัน ปรากฏเป็นตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำ มักจะบวมแดง และมีน้ำเหลืองร่วมด้วย ระยะปานกลาง สังเกตได้ว่าอาการบวมแดงลดน้อยลง และเริ่มมีสะเก็ดหรือขุยเกิดขึ้นให้เห็น ระยะเรื้อรัง จะมีลักษณะเป็นผื่นหนา แข็ง และมีลายเส้นของผิวหนังชัดเจนขึ้น ทั้งสามชนิดจะทำให้มีอาการคันมาก ซึ่งถ้าเกาก็จะเกิดผิวหนังอักเสบมากขึ้น และเวลาหายอาจมีรอยด่างดำเกิดขี้นได้
การรักษาผื่นผิวหนังอักเสบในระยะเฉียบพลัน ให้ประคบด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาพิเศษ วันละ 3-4 ครั้งเมื่อผื่นแห้งดีแล้วต้องหยุดประคบ มิฉะนั้นจะแห้งเกินไป ทำให้ตึงและแตก ส่วนในระยะปานกลาง พิจารณาใช้ยาทาสเตียรอยด์ ตามลักษณะและตำแหน่งผื่นที่เป็น ส่วนในระยะเรื้อรัง ใช้ยาทาสเตียรอยด์ผสมกรด
ซาลิซัยลิก จะช่วยให้ผื่นหายเร็วขึ้น
4.โรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากภูมิแพ้ (atopic dermatitis/eczema) เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิด
เรื้อรังที่เป็นๆ หายๆ ในเด็กทารกมักเป็นผื่นคันที่แก้ม รอบปาก หนังศีรษะ ซอกคอ เด็กที่โตขึ้นจะมีผื่นตามข้อพับ แขนขา หรือบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อยๆ เช่น ข้อศอก เข่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว อาจเป็นโรคจมูกภูมิแพ้ โรคหอบหืด ร่วมด้วยก็ได้ อาการที่สำคัญ คือ “คันมาก” ผื่นจะกำเริบมากขึ้นเมื่อผิวแห้ง หรือมีเหงื่อออกมาก ยุงกัด อาการคันทำให้ผู้ป่วยเกา ส่งเสริมให้ผื่นลามกว้างขึ้น และอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วย สาเหตุอาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดก็ได้ ปัจจัยกระตุ้นได้แก่เหงื่อ สารก่อระคายบางชนิด ผ้าขนสัตว์ สัตว์เลี้ยง สบู่ ในเด็กโตความเครียดทำให้ผื่นกำเริบได้ เด็กบางรายเกิดอาการจากภาวะแพ้อาหาร การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดทามักจะได้ผลดี นอกจากนี้การใช้ยาระงับอาการคัน หรือยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อที่แทรกซ้อน ช่วยให้หายเร็วขึ้น โรคนี้เป็นโรคที่อาจมีอาการเรื้อรังนานเป็นปี แต่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ จึงควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งจะหายจากโรคนี้ได้เมื่อโตขึ้น หลังอายุ 3 – 5 ปี
ควรทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นอยู่เสมอ ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัด หรืออาบน้ำบ่อยเกินไป ไม่ควรฟอกสบู่บ่อยๆ โดยเข้าใจผิดคิดว่าอาการคัน เกิดจากความสกปรกของผิวหนัง การถูสบู่มากๆ ทำให้ผิวระคาย และแห้ง กลับทำให้เป็นผื่นมากขึ้นอีก สบู่ที่เลือกใช้ไม่ควรเป็นกรดหรือด่างจนเกินไป ไม่มีสี หรือน้ำหอมเจือปน การใช้สารเคลือบผิวผสมน้ำแช่อาบ หรือ ทาผิวหนังทันทีหลังอาบน้ำ และใช้ครีมหรือโลชั่นทาเพิ่มความชุ่มชื้นของ
ผิวหนังบ่อยๆ
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์