โรคตับอักเสบ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะที่สำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย หน้าที่ ของตับเริ่มตั้งแต่ขณะที่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ตับทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ตับก็ทำหน้าที่สำคัญมากมายหลายอย่าง เช่น ทำหน้าที่เก็บสำรองอาหาร เป็นแหล่งสร้างพลังงานความร้อน เป็นแหล่งสร้างสารที่จำเป็นต่างๆ ได้แก่ สร้างน้ำดี สังเคราะห์วิตามิน สังเคราะห์สารที่ทำให้เลือดแข็งตัว เป็นต้น สาเหตุ
          ตับอักเสบ เป็น ภาวะที่เซลตับถูกทำลาย การทำลายเซลล์ตับเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นได้ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตชัว หรือเซลล์ตับอาจถูกทำลายจากสาเหตุอื่น ได้แก่ จากพิษของสุรา ยาบางชนิด รวมถึงสารเคมี

สาเหตุของโรคตับแข็ง
          สาเหตุของตับอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีวิธีการติดต่อ และแพร่เชื้อที่แตกต่างกัน


ตับอักเสบจากไวรัส

         พบได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยตับอักเสบจากไวรัส เอ จะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป ส่วนตับอักเสบจากไวรัส บี พบได้ทั้งในเด็กเล็ก ซึ่งมักไม่มีอาการ จนกระทั่งถึงเด็กโต และผู้ใหญ่ที่อาจมีอาการรุนแรงขึ้น สามารถติดต่อได้ทั้งทางเลือด เพศสัมพันธ์ หรือ แม้แต่การรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป การที่เซลล์ตับถูกทำลายจะทำให้การทำหน้าที่ต่างๆ ของตับบกพร่องไป เกิดภาวะที่ร่างกายเจ็บป่วย และไม่สบายตามมา
ไวรัสตับอักเสบ เอ และอี สามารถ แพร่เชื้อได้ทางอาหาร น้ำดื่ม ผัก ผลไม้ รวมถึงสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจากนั้นระบบสุขอนามัยที่ไม่ดี เช่น การขับถ่ายอุจจาระลงแหล่งน้ำ เป็นสาเหตุที่สำคัญมากของการระบาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ และอี
ไวรัสตับอักเสบทุกชนิด สามารถแพร่เชื้อผ่านทางเลือดได้
          ไวรัสตับอักเสบ บี ซี ดี และจี แพร่เชื้อทางเพศสัมพันธุ์ ทางมารดาสู่ทารก ทางการได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือด การใช้ของมีคมร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ การสัก การเจาะหู การฝังเข็ม เป็นต้นอาการ
สำหรับ อาการของโรคตับอักเสบ โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะมีไข้นำมาก่อน ร่วมกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย บางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ต่อมาจะเริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าเป็นโรคดีซ่านนั่นเอง ถ้ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ อาการของผู้ป่วยตับอักเสบแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น อ่อนเพลีย ในบางคนจะมีอาการตัวเหลือง ตาขาวเป็นสีเหลืองร่วมด้วย หรือบางคน จะมีอาการมากกว่านั้น เช่น เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เบื่ออาหาร
บางรายมีอาการปวดท้องที่ตำแหน่งชายโครงด้านขวา ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด อาจพบว่ามีอาการคันตามผิวหนัง หรือผื่นลมพิษก็เป็นได้

  1. ไวรัสตับอักเสบ เอ
    11. ภาวะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ มักปรากฏอาการในเด็กโตและผู้ใหญ่มากกว่าในเด็กเล็ก
    12. ผู้ป่วยมักสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไปในระยะยาว และหายจากโรคอย่างสมบูรณ์ ไม่เป็นพาหะเรื้อรัง
    13. ปัจจุบันมีการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบ เอ ในเด็กแรกเกิด
  2. ไวรัสตับอับเสบ บี
    14. ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการโดยเฉพาะในเด็ก
    15. ส่วนใหญ่หายได้เอง ส่วนน้อยกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังและเป็นพาหะของโรคหรือมีภาวะตับแข็ง
    16. ปัจจุบันมีการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี ตั้งแต่แรกเกิด
  3. ไวรัสตับอับเสบ ซี
  4. ไม่ค่อยพบภาวะการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ กลายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรัง นำไปสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับ
  5. เป็นสาเหตุที่สำคัญของตับอักเสบที่เกิดภายหลังการได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
  6. ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ ซี
  7. ไวรัสตับอักเสบดี
  8. เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี ไม่สามารถพบชนิดเดียวได้
  9. แต่สามารถก่อให้เกิดอาการตับอักเสบที่รุนแรงมากกว่าชนิดอื่น
  10. ไวรัสตับอับเสบ อี
  11. ยังไม่พบว่ามีการระบาดในประเทศไทย แต่มีการระบาดอย่างหนักแล้วในประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น พม่า อินเดีย บังคลาเทศ
  12. จึงเป็นไวรัสตับอักเสบที่ควรมีแผนการเฝ้าระวัง เนื่องจากมีการเดินทางเข้าประเทศของประชากรประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้เป็นจำนวนมาก
  13. ไวรัสตับอักเสบ GB virus-C และไวรัสตับอักเสบ จี
  14. ไวรัสทั้งสองชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน และถูกค้นพบในเวลาเดียวกัน
  15. ติดต่อทางเลือด และทางเพศสัมพันธุ์
  16. การติดเชื้อ GBV-C ทำให้การตอบสนองต่อการรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสเพิ่มมากขึ้น และพบว่าในหลอดทดลอง GBV-C สามารถยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีได้ แต่ยังไม่สามารถอธิบายกลไกที่ทำให้เกิดผลดังกล่าวได้
  17. ไวรัสตับอักเสบ TT
  18. พบได้บ่อยในประเทศญี่ปุ่น โดยตรวจพบในเลือดบริจาคมากถึงร้อยละ 12
  19. ในประเทศไทยตรวจพบเชื้อ TTV ในอาสาสมัครสุขภาพดีเพียงร้อยละ 6 และพบว่าการติดเชื้อ TTV มีผลทำให้เอ็นซัยม์ตับเพิ่มขึ้น
  20. ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ว่า TTV เกี่ยวข้องกับโรคตับชนิดต่างๆหรือไม่ เพราะยังขาดหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงว่า TTV เป็นสาเหตุของการเกิดโรคตับจริง
  21. ไวรัสตับอักเสบ SEN
  22. เป็นไวรัสใน family ใหม่ มีความสัมพันธ์กับ TTV ถูกค้นพบครั้งแรกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าหลอดเลือด
  23. ข้อมูลในประเทศไทย พบไวรัส SENV-D และ -H ในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง ร้อยละ 25 พบในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ ร้อยละ 42 และพบในผู้บริจาคโลหิต ร้อยละ 5
  24. การศึกษาในปี 2003 พบว่าการติดเชื้อ SENVs ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งตับในคนไทย

การวินิจฉัยปัจจุบัน

          มีวิธีตรวจสอบเสี่ยงหาเชื้อไวรัสตับอักเสบหลายวิธี ทั้งตรวจระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีอาการก็สามารถตรวจสอบได้ว่า เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบหรือไม่ การรักษาปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ โดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการ สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบ คือ หลีกเลี่ยงยารับประทานที่อาจทำให้ภาวะตับอักเสบโดยทั่วไปรักษาตามอาการ หลีกเลี่ยงยารับประทานที่อาจนำให้ภาวะตับอักเสบรุนแรงขึ้น นอนพักผ่อนให้มาก เมื่อผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ภูมิต้านทานโรคในร่างกายจะเพิ่มขึ้น อาการป่วยไข้ที่เป็นอยู่ก็จะดีขึ้นในไม่ช้า การป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อเนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นเชื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไปของมนุษย์ เช่น เชื้อสามารถปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ และอาหารของมนุษย์ เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จากการดำรงชีวิตตามธรรมชาติ จากแม่สู่ทารก จากการใช้เข็มฉีดยาในผู้ติดยาเสพติด การฝังเข็ม หรือแม้แต่ในวงการเสริมความงาม เช่น การสัก การเจาะหู การใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่นที่มีเชื้อในกระแสเลือด เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ รวมถึงการรับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดจากผู้บริจาค ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สามารถทำให้เกิดการติดต่อและแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบได้ทั้งสิ้น

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องป้องกันที่สาเหตุ ตามแนวทางต่อไปนี้

1. น้ำดื่มควรได้รับการต้มให้เดือดเป็นเวลา 20 นาที ก่อนใช้บริโภค เชื้อไวรัสตับอักเสบทุกชนิดจะตายที่ความร้อน 100 องศาเซลเซียส
2. อาหารควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่มาจากแหล่งน้ำทั้งสัตว์ และพืช ผู้ประกอบอาหารต้องรักษาความสะอาดด้วยการล้างมือ หรือสวมถุงมือขณะประกอบอาหาร แหล่งผลิตอาหารสดต้องได้รับการควบคุม เช่น การสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เป็นต้น
3. สถานพยาบาล หน่วยงาน รวมถึงบ้านอยู่อาศัย ควรมีการควบคุมแหล่งแพร่เชื้อ โดยเฉพาะเลือด น้ำลาย สิ่งขับถ่าย และเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วย สำหรับเข็มฉีดยา เข็มเจาะเลือด โดยต้องทำลายฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี โดยการเผา การนึ่งฆ่าเชื้อด้วยความดัน การอบแห้งที่ 180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือการต้มเดือด เป็นเวลา 20 นาที
4. ให้ความรู้แก่ประชาการในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้อยู่อาศัยใกล้แหล่งน้ำหรือในแหล่งที่ระบบสุขอนามัยไม่ดี ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยา หรือมารดาที่ตั้งครรภ์ เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงวิธีการติดเชื้อ
5. การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบในเลือดผู้บริจาคทุกยูนิต
6. การให้ภูมิคุ้มกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบหรือการฉีดวัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ 2 ชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบ เอ และไวรัสตับอักเสบ บี สามารถให้ได้ในผู้ที่ยังไม่เคยคิดเชื้อมาก่อน โดยก่อนการให้วัคซีนต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และตรวจเลือดเพื่อดูว่าเคยได้รับเชื้อมาก่อนหรือมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วหรือ ไม่ ถ้ายังไม่เคยติดเชื้อหรือยังไม่มีภูมิคุ้มกันจึงจะให้วัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ และ บี ที่ให้ในทารกตั้งแต่แรกเกิด

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top