คุณรู้ไหมว่าร่างกายของคุณมีนาฬิกาชีวิตที่คอยควมคุมระบบต่างๆอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง
คุณรู้ไหมว่าร่างกายของคุณมีนาฬิกาชีวิตที่คอยควมคุมระบบต่างๆอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวิต เช่น แสง อากาศ กลิ่น เสียง ถ้าระบบนี้ถูกรบกวนโดยปัจจัยใดก็ตาม เช่นแสงที่สว่างหรือมืดเกินไปอาจทำให้วงจรของร่างกายของเสียคุณสมดุลไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ อาการเมาเวลาจากการเดินทางด้วยเครื่องบิน หรือ เจ็ทแล็ค (Jet Lag) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะร่างกายไม่สามารถปรับตัวรวดเร็วได้ตามเวลาที่แท้จริงของท้องถิ่นในขณะนั้น จะทำให้เกิดผลกระทบต่อนาฬิกาชีวิต และอาจส่งผลต่อการนอนหลับ เนื่องจากไม่มีการหลั่งของฮอร์โมนของเมลาโทนิน หรือฮอร์โมนที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ ดังนั้นจึงมีการศึกษาเรื่องผลของแสงต่อนาฬิกาชีวิต
ในอตีดมนุษย์พึ่งพาแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ในการดำเนินชีวิตเท่านั้น แต่ในยุคปัจจุบันมีการผลิตหลอดไฟที่สามารถให้แสงสว่างตลอดทั้งวันได้โดยไม่ต้องพึ่งแสงสว่างจากธรรมชาติตลอดเวลา หลอดไฟที่ใช้กันอยู่กันมีหลายชนิด หลอดไฟแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและของแสงที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเราควรใช้หลอดไฟให้ถูกประเภทของการใช้งาน เพื่อไม่ให้แสงไฟทำลายสุขภาพของเราด้วย
โรงพยาบาลส่วนใหญ่นิยมใช้หลอดไฟชนิด ฟลูออเรสเซนท์ (fluorescence) เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและมีการใช้งานมายาวนาน อีกทั้งยังมีราคาที่ย่อมเยา แต่ข้อเสียคือไม่มีความทนทาน และยังปล่อยรังสีอุลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อดวงตาและผิวได้
จากข้อเสียที่พบในหลอด ฟลูออเรสเซนท์ นักประดิษฐ์จึงมีการคิดค้นหลอดไฟชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า และส่งผลกระทบน้อยต่อนาฬิกาชีวิต หลอดไฟที่คนรู้จักในชื่อ LED ( Light emitting Diode) คือหนึ่งนวัตกรรมใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์เรื่องสุขภาพและการประหยัดพลังงาน จุดเด่นของหลอดไฟ LEDคือปลอดแสงรังสีอุลตร้าไวโอเลต และช่วยประหยัดพลังงาน ศาสตราจารย์ MichaelSiminovitchผู้เชี่ยวชาญการออกแบบแสงไฟของ California Lighting Technology Center แนะนำว่าการเลือกหลอดไฟควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆเช่น การประหยัดพลังงาน ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสุขภาพ
ปัจจุบันสถานที่ต่างๆรวมทั้งในโรงพยาบาลนิยมใช้หลอดฟลูออเรสเซนท์ แต่ผลการศึกษาพบว่าการนำหลอด LED มาใช้ในโรงพยาบาลจะส่งผลดีต่อนาฬิกาชิวิตของคนไข้ จากการศึกษาในเรื่องผลกระทบจากหลอดไฟ LED ต่อนาฬิกาชีวิตต่อคนไข้ในโรงพยาบาลในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้พบว่าการปรับความสว่างของแสงไฟให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตของคนไข้จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นในหลายๆด้านดังต่อไปนี้
• ช่วยให้คุณภาพการนอนหลับของคนไข้ดีขึ้น
• ช่วยลดภาวะซึมเศร้า
• ช่วยลดระยะพักฟื้นในโรงพยาบาล
• ช่วยลดอาการปวด
• ช่วยลดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ
จากผลการศึกษานี้จึงทำให้มีการรณรงค์ให้มีการใช้หลอดไฟ LED ในโรงพยาบาลต่างๆในสหรัฐอเมริกา นอนจากนี้ ศาสตราจารย์ Michael Siminovitch ยังศึกษาเพิ่งเติมในเรื่องของแสงไฟในช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะในเรื่องผลเสียของแสงสีฟ้า (blue light) ต่อคนไข้ที่พักฟื้นในโรงพยาบาล แสงสีฟ้าเป็นแสงที่มาจากดวงอาทิตย์ และยังอยู่ในหลอดไฟที่เราใช้ทั่วไป เช่น หลอดไฟ LED และ ฟลูออเรสเซนท์ นอกจากนี้แสงนี้ยังอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างเช่นหน้าจอมือถือ
แสงสีฟ้ายังจัดอยู่ในกลุ่มแสงที่มีโทษต่อดวงตาและส่งผลกระทบต่อนาฬิกาชิวิต เนื่องจากแสงสีฟ้ายังยั้งการหลั่งของฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกจากต่อมไพเนียลในเวลากลางคืน ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่ควบคุมการนอนหลับและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่ายกาย เพราะฉะนั้นถ้าร่างกายถูกรบกวนด้วยแสงชนิดนี้ในตอนกลางคืน ร่างกายจะถูกปลุกให้ตื่น ทำให้การหลั่งของฮอร์โมนเมลาโทนินถูกรบกวน ส่งผลให้นอนไม่หลับ อ่อนเพลียในตอนเช้า และไม่สามารถซ่อมแซมตังเองได้ จึงทำให้คุณภาพของชีวิตผู้ป่วยแย่ลง
ในการแก้ปัญหานี้ ศาสตราจารย์ Michael Siminovitch ได้แนะนำให้มีการใช้หลอดไฟสีอำพัน (amber light) ที่จะสามารถช่วยกรองแสงสีฟ้าในห้องผู้ป่วยในเวลากลางคืน นอกจากนี้ทางเลือกอีกหนึ่งทางที่จะช่วยลดปัญหานี้คือการใช้หลอดไฟที่สามารถปรับแสงสว่างหรือหรี่ไฟได้ (dimmable light)
จากข้อมูลเหล่านี้ทำให้เราควรตระหนักถึงผลของแสงสังเคราะห์จากหลอดไฟต่อสุขภาพมากขึ้น และหันมาใช้หลอดไฟที่นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังส่งเสริมให้นาฬิกาชีวิตของเราทำงานอย่างสมดุล รู้อย่างนี้แล้วโรงพยาบาลต่างๆควรเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ในการดูแลผู้ป่วย เพราะสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยและมีสุขภาพจิตที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
References:
Presentation Talk by Michael Siminovitch: Circadian Lighting การออกแบบแสงสว่างเพื่อสุขภาพสำหรับโรงพยาบาล : Circadian lighting: the new paradigm for hospital design in the support of health and wellness.
เรียบเรียงโดย Rita Juneja, PhD.
Tagsลดภาวะซึมเศร้าคุณภาพการนอนหลับนาฬิกาชีวิตแสงไฟแสงสว่างจากหลอดไฟ