เมื่อ Facebook เปลี่ยนเป็น Meta จะเกิดอะไรขึ้นกับเรื่องสุขภาพ

ปรากฎการณ์ย้ายมนุษย์ไปสู่โลก VR จากเดิมที่เราเห็นแต่ในหนัง ชวนให้จินตนาการตาม เพราะโลกความจริงมีขีดจำกัดมากมายทั้งด้านกฎหมาย สิทธิส่วนบุคคล สังคม และการเมือง ที่ต้องปฎิบัติตาม Metaverse กำลังจะทำให้พฤติกรรมของมนุษย์หลายอย่างเปลี่ยนไป

ในวันที่  28 ต.ค. โลกตื่นตัว จากที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัทเฟซบุ๊ก ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta ในงาน Facebook Connect  ประกาศย้ายมนุษย์ไปสู่โลก Metaverse เต็มตัว แต่ชื่อของแอปฯ Facebook รวมถึง Instagram , Whats  App  ยังคงเดิม ภายใต้แบรนด์ใหม่ของบริษัทเดียว คือ Meta    

Metaverse มาจากคำว่า Meta แปลว่า เหนือกว่า Verse แปลว่า จักรวาล เรียกง่ายๆว่ามัน คือ โลกทิพย์ นั่นเอง

Metaverse สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไร

โลกเสมือนจริงทำให้ Social interaction เปลี่ยนไป  จากเดิมที่เราสื่อสารกันด้วยข้อความ  รูปภาพ  พัฒนาต่อมาเป็นวีดีโอ และกลายเป็นยุคของออนไลน์  เราไม่ต้องเดินทางไปหากันอีกต่อไป แต่สามารถทำทุกอย่างได้ตั้งแต่การสื่อสาร  ทำงาน ท่องเที่ยว ซื้อของและกิจกรรมต่างๆ  รูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ออกแบบได้เอง  สร้างห้องทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่มีขีดจำกัดในที่ต่างๆบนโลก  

ผลกระทบเรื่องสุขภาพ

Metaverse จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เข้ามา Disruption จนอาจทำให้พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยนไปส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น

  • นิ้วล็อค – การใช้อุปกรณ์ต่างๆ นานเกินไป นิ้วอาจล็อค อักเสบ อาจเป็นตะคริวที่มือ ข้อมือและแขนได้
  • กระดูกคอเสื่อม – การดูจออาจเกิดการโน้มศีรษะ หรือก้มหน้าดูโทรศัพท์ คีย์บอร์ด
  • Office Syndrome -ท่าทางใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้เกิดการอักเสบที่คอ หลัง ไหล่ เจ็บหมอนรองกระดูก
  • โรคอ้วน – กิจกรรมทางกายที่น้อยลง เดินทางและการออกไปใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป มีโอกาสกินเยอะและถี่ขึ้น
  • โรคซึมเศร้า – การอยู่ในโลกออนไลน์นานๆ เสพสื่ออาจเกิดการเปรียบเทียบโดยไม่รู้ตัว ทำให้รู้สึกหดหู่ เบื่อหน่าย ไม่มีความสุขในโลกของความเป็นจริง

ธุรกิจสุขภาพจึงต้องปรับตัวให้ทัน คิดรูปแบบการวางแผนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้รับบริการ ในแบบโลกเสมือนได้อย่างไร Metaverseทำให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างผู้รับบริการกับบุคคลากรทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้นได้ทั่วทุกมุมโลก ผ่าน Application ที่ออกแบบได้โดยไม่มีขีดจำกัด ลดปัญหาเรื่องกฎระเบียบ   Data privacy ทุกอย่างทำได้ง่าย

Metaverseจะกระตุ้นให้ธุรกิจสุขภาพก้าวไวยิ่งขึ้น เป็นตัวเร่งให้เกิดการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ยกระดับความสามารถทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยี ด้านดิจิทัล พัฒนาการให้บริการและการบริหารจัดการด้านการแพทย์ นำมาเพิ่มคุณภาพทั้งในเชิงระบบบริการและเชิงเทคโนโลยี/อุปกรณ์ ให้การรักษามีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบสุขภาพทางไกล ผู้รับบริการไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล ตอบสนองความต้องการได้รวดเร็ว เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและจะถูกออกแบบให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น   ยกตัวอย่างสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา พฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไปทำให้วงการแพทย์พัฒนานวัตกรรมมาใช้ อาทิ  Virtual Hospital ,Tele Medicine, Delivery Medicine  และในอนาคตจะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีศักยภาพที่นำไปใช้ในการดูแลสุขภาพได้อย่างมาก ได้แก่ การเฝ้าสังเกตผู้ป่วยจากระยะไกลที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด (remote monitoring of patients) ข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกที่ดีขึ้นในผลลัพธ์ทางคลินิก (เช่น การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด การติดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ เป็นต้น) การติดตามสุขภาพร่างกายที่เพิ่มมากขึ้น และแอพพลิเคชั่นที่ล้ำหน้ากว่ามากซึ่งเกินขอบเขตของจินตนาการในปัจจุบัน

เรื่องนี้ตรงกับวิสัยทัศน์ 20 ปี ของกระทรวงสาธารณสุขที่ว่า ประชาชนสุขภาพดี ได้รับบริการทางการแพทย์ที่มาตรฐานมืออาชีพอย่างเสมอภาค มีนวัตกรรมระบบบริการทางการแพทย์ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพและ/หรือต่อยอดเชิงพาณิชย์ (ดังภาพ) มีแนวโน้มที่จะเกิด Re-Inventing Healthcare,  Metaverse Economy และNew Business  ขึ้นแน่นอน

Screen Shot 2565 01 12 at 23.55.07

อ้างอิงจาก แผนปฎิบัติราชการนวัตกรรมทางการแพทย์

บทสรุปและความท้าทาย

โลก Metaverse มีความท้าทายอยู่มาก เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของทุกอุตสาหกรรมที่จะฉวยโอกาสและหาประโยชน์ ผู้ที่หาข้อมูลและเรียนรู้ จะได้เปรียบและเข้าไปชิงพื้นที่ก่อน เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น หากนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยสร้างคำถามมากมายเกี่ยวกับ ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของผู้ป่วยจะมีมาตรการใดในรักษาความลับของข้อมูลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ก็จะมีแนวทางที่แตกต่างไปจากเดิม

สิ่งที่เราต้องเตรียมคือ เตรียมพัฒนาระบบ พัฒนาทางการตลาดใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพในลักษณะที่ปลอดภัย และมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางให้รวดเร็ว ทันสมัย  สร้างความเชื่อมั่นและตอบสนองความต้องการที่แตกต่างให้ได้

ความท้าทายครั้งนี้คุณพร้อมแค่ไหน  คุณคงไม่อยากตกขบวนแน่………………………………………………………………………………………………….

อ้างอิง  แผนปฎิบัติราชการ นวัตกรรมทางการแพทย์

Scroll to Top