เนื้องอกที่ตับ

เนื้องอกที่ตับ (liver tumor) มี หลายชนิด ทั้งที่ทำให้เป็นมะเร็งตับ (liver cancer) ซึ่งมีการเสียชีวิตสูง
และชนิดเนื้องอกธรรมดาที่ไม่มีอันตรายถึงขั้นมะเร็ง อาจจะเป็นแค่ซีสต์ธรรมดา (cyst) ที่ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หรือเป็นเนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมา

เนื้องอก หมาย ถึง ก้อนผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการที่เซลล์แบ่งตัวรวดเร็วผิดปกติ และร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ เนื้องอกในตับมีหลายชนิด อาจเป็นได้ทั้งชนิดไม่ใช่มะเร็ง หรืออาจเป็นมะเร็ง ชนิดที่เป็นมะเร็ง ที่สำคัญมีสองชนิด คือ ชนิดมะเร็งเซลล์ตับ และมะเร็งของท่อน้ำดี ซึ่งทั้งสองชนิด เป็นมะเร็งที่มีอันตรายสูง กระจายได้รวดเร็วมาก นอกจากนี้บางครั้งยังพบเนื้องอกที่ตับที่เกิดจากการแพร่กระจายของโรคมะเร็งอวัยวะอื่นๆ ที่ พบได้บ่อยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่กระจายมาที่ตับ ส่วนที่เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายนั้น อาจจะเป็นซีสต์ หรืออาจจะเป็นอื่นๆที่พบได้บ่อย เช่น เนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมา (hemangioma)

สาเหตุของโรคเนื้องอกชนิดธรรมดาที่พบในตับ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. เนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมา (hemangioma) หรืออาจเรียกว่า “ปานแดงที่ตับ” เนื้อ งอกชนิดฮีแมงจิโอมา เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง ที่พบบ่อยที่สุดในตับ สาเหตุการเกิดไม่ทราบแน่ชัด ลักษณะเป็นกลุ่มของเส้นเลือดที่เจริญเติบโตผิดปกติ ทั้งขนาดของเส้นเลือดและการจัดเรียงตัว มักพบเป็นก้อนเดี่ยวในตับ เซลล์หลักเป็นชนิดมีเซ็นไคมัล พบว่าในผู้ใหญ่จะมีเนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมาได้มากถึงร้อยละ 5 แต่จะเป็นก้อนขนาดเล็ก และไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติแต่อย่างใด

2. เนื้องอกชนิด Focal Nodular Hyperplasia เป็น เนื้องอกชนิดธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองรองจากเนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมา มักพบในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี ตรวจพบเป็นก้อนเดี่ยว และไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งแต่อย่างใด สาเหตุเกิดจากการที่เซลล์ตับมีปฏิกิริยาต่อเส้นเลือดแดง-ดำที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งเป็นมาแต่กำเนิด โดยรวมตับของผู้ป่วยจะทำหน้าที่ได้เหมือนปกติทุกอย่าง และการตรวจเลือดจะพบว่าหน้าที่ของตับปกติ

3. เนื้องอกชนิดอะดีโนมา (hepatocellular adenoma) เป็น เนื้องอกชนิดธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง ที่พบได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ส่วนใหญ่จะตรวจพบโดยบังเอิญ เช่น จากการตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง หรือจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์/เอ็มอาร์ไอ นอกจากนี้ ก้อนในตับยังอาจเกิดจากสาเหตุที่เป็นถุงน้ำ ที่เรียกว่า “ซีสต์ในตับ” อาจ เป็นมาแต่กำเนิดก็มี หรือเกิดจากเซลล์ท่อน้ำดีอุดตันบางส่วนจนทำให้น้ำดีไปขังในตับก็มี ไม่ทราบสาเหตุก็มี โดยจะไม่มีอาการบ่งบอกอะไร และไม่มีอันตรายใดๆ

อาการของโรค

โดยทั่วไป เนื้องอกชนิดธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็งทุกชนิดของตับ ไม่ ก่อให้เกิดอาการผิดปกติแต่อย่างใด ในกรณีที่มีอาการผิดปกติ จำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคจากมะเร็งตับ ซึ่งอาการของคนที่เป็นมะเร็งตับ จะคลำก้อนพบใต้ชายโครงด้านขวา น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ผอมลง ตัวเหลือง ตาเหลือง และมีไข้

การวินิจฉัยโรค

ส่วนใหญ่จะวินิจฉัยเนื้องอกชนิดธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็งทุกชนิดของตับได้ จากการตรวจอัลตราซาวน์ ultrasound, เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ CT scan, หรือ MRIลักษณะ ของเนื้องอกฮีแมงจิโอมา ที่ตรวจจากการตรวจอัลตราซาวน์ คือ พบเป็น echogenic mass ถือเป็นการตรวจที่มีความไวสูง ประมาณร้อยละ 68 แต่ความจำเพาะค่อนข้างต่ำ เพียงร้อยละ 32 เท่านั้น ปัจจุบันจึงแนะนำให้ทำการตรวจเพิ่มเติมต่อไปด้วย CT scan หรือ MRI

ในกรณีที่วินิจฉัยแยกโรคจากมะเร็งตับ พบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นมะเร็งเซลล์ตับ คือ ตับอักเสบ โดยเฉพาะที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิด บี การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากจนทำให้ตับอักเสบและกลายเป็นมะเร็งหรือการ รับสารอัลฟ่าท็อกซิน เช่น เชื้อราในถั่ว พริกแห้ง กระเทียมที่เก็บไว้นาน ก็เป็นสาเหตุสำคัญ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เป็นมะเร็งท่อน้ำดีนั้น ที่ สำคัญคือ พยาธิใบไม้ในตับ โดยพบมากแถวภาคอีสาน คนที่ชอบรับประทานก้อยปลา ปลาดิบ เข้าไป พยาธิที่อยู่ในปลาก็เข้าไปอยู่ในท่อน้ำดีของตับ เมื่อมีสารก่อมะเร็งไปเสริมเช่น ไนโตรซามีนหรือดินประสิว ซึ่งใช้ผสมในอาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม แหนม กุนเชียง เข้าไปผสมมาก สารไนโตรซามีนจะกระตุ้นทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้

สำหรับโรคมะเร็งเซลล์ตับ ถ้า ตรวจพบมักจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน การผ่าตัดก็ได้ผลไม่มาก อัตราส่วนหลังผ่าตัดมีชีวิตอยู่ได้เกิน 5 ปี มีแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น ในขณะที่มะเร็งท่อน้ำดี แม้จะโตช้า แต่ก็พบว่าอัตราส่วนหลังผ่าตัดมีชีวิตอยู่ได้เกิน 5 ปีเพียงร้อยละ 30

แนวทางในการรักษาโรค

1. สำหรับเนื้อ งอกชนิดฮีแมงจิโอมา (hemangioma) ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออกแต่อย่างใด ยกเว้นในรายที่เป็นเด็กเล็ก และก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่มาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแข็งตัวของก้อนเลือด และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ในผู้ใหญ่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่กว่า 10 เซ็นติเมตร แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัด หรือรักษาด้วยวิธีสวนสายเพื่อไปทำให้เส้นเลือดอุดตัน
2. สำหรับเนื้องอกชนิด Focal Nodular Hyperplasia Treatment ส่วนใหญ่ไม่ต้องตัดออก น้อยบ้าง
3. สำหรับเนื้อ งอกชนิดอะดีโนมา (hepatocellular adenoma) ส่วนใหญ่ไม่ต้องตัดออกเช่นกัน ยกเว้นในรายที่ก้อนแตก และพบว่ามีเลือดออกในช่องท้อง ซึ่งพบน้อยมาก เนื้องอกชนิดอะดีโนมาจะไม่กลายเป็นมะเร็ง
4. ก้อนในตับที่เกิดจากสาเหตุที่เป็นถุงน้ำ ที่เรียกว่า “ซีสต์ในตับ” ไม่จำเป็นต้องตัดออก แต่ถ้ามีชนิดที่โตมากจนเบียดท่อน้ำดี ก็อาจจะต้องเจาะออก ไม่ต้องตัดก็ได้

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top