เตรียมลูกเข้าโรงเรียนอนุบาลอย่างไร

เดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็น ช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนที่มีลูกอายุประมาณ 3 ขวบ จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ตื่นเต้นบางครั้งก็เครียดด้วย นั่นคือการเข้าโรงเรียนอนุบาลวันแรกของลูก การ ไปโรงเรียนของลูกนั้นเป็นพัฒนาการส่วนหนึ่งของเด็กครับ เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่ที่่แปลกใหม่สำหรับเด็ก ที่โรงเรียนเด็กจะได้เรียนรู้วิชาการ ฝึกการเขียนอ่านได้เล่น และจะได้ฝึกการใช้์ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมด้วย และที่สำคัญคือเด็กจะต้องแยกจากพ่อแม่และเรียนรู้การเข้ากลุ่มเพื่อนที่ โรงเรียน ดังนั้นถ้าไม่เตรียมตัวให้ดีการเข้าโรงเรียนอนุบาลของลูกก็อาจเป็นความ เครียดของทั้งพ่อแม่ และเด็กได้

ความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่ (separation anxiety)

เป็นพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็ก ความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่นี้จะเริ่มเกิดมีเมื่อเด็กอายุ 6-8 เดือน และ จะมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างที่เราเห็นบ่อยๆ เช่น พอลูกอายุประมาณ 1 ขวบครึ่ง ถึง 2 ขวบ เวลาคุณพ่อคุณแม่เข้าห้องน้ำ เขาก็จะร้องไห้มาเคาะ ประตูเรียก พ่อแม่จะไปทำงานก็ร้องตาม ตรงนี้ก็คือความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่ของเด็กซึ่งถือว่าปกติ โดยพัฒนาการนี้จะลดลงมากๆ เมื่อเด็กอายุ 3 ปี ซึ่งตรงกับช่วงเวลาเข้าโรงเรียนอนุบาลของเด็กพอดี ดังนั้นวัยนี้จึงเหมาะที่จะเริ่มเข้าโรงเรียน พบว่าถ้าพ่อแม่เองก็่รู้สึกวิตกกังวลในการต้องแยกจากลูก รู้สึกกลัว ไม่มั่นใจ หรือรู้สึกผิดที่ส่งลูกไปโรงเรียนก็อาจทำให้ลูกเกิดความความวิตกกังวลในการ แยกจากพ่อแม่มากขึ้นได้่เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่บางคนที่ส่งลูกไปโรงเรียนตอนเช้าแล้ว พอเห็นลูกร้องไห้ แม่ก็น้ำตาซึม พอลูกกำลังจะเข้าชั้นเรียน แล้ว แม่ก็ยังยืนเกาะรั้วโรงเรียน เฝ้ามองด้วยความกังวล ลูกหันกลับมามองเห็นว่าแม่เองก็เป็นแบบนี้ ลูกก็จะยิ่งวิตกกังวลตามแม่ไป หรือคุณแม่บางคนนั่งเฝ้าลูกที่โรงเรียนเกือบตลอดทั้งวัน ไม่ยอมกลับบ้าน อันนี้ก็ จะทำให้ลูกปรับตัวได้ช้าเช่นกัน ดังนั้นเมื่อไปส่งลูกก็ร่ำลากันพอควร แล้้วก็ส่งให้คุณครูรับช่วงต่อ (เหมือนนักกีฬาวิ่งผลัด ส่งไม้ให้เพื่อนรับไปวิ่งต่อ) คุณแม่หันหลังกลับด้วยความหนักแน่นมั่นคงในจิตใจ ลูกเห็นก็จะซึมซับเข้าไป ในไม่ช้าลูกก็จะปรับตัวและแยกจากพ่อแม่ได้

คุณพ่อคุณแม่จะ ช่วยเตรียมลูกเข้าโรงเรียนอนุบาลได้อย่างไรบ้าง

1.พูดคุยกับลูกถึงข้อดีของการไปโรงเรียน เช่นจะได้เล่นของเล่นมากมาย มีขนมให้กิน ได้ฟังนิทาน มี เพื่อนเล่นมากมาย
2.ค่อยๆ ให้ลูกคุ้นเคยกับการไปโรงเรียนทีละเล็กทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป เช่น ก่อนเปิดเทอม อาจขับรถพาลูกผ่านหน้าโรงเรียน ต่อมาอีก 1- 2 วันอาจจอดรถพาลูกดูนอกรั้วโรงเรียน จากเข้าไปอีกระยะหนึ่งก็เริ่มพาลูกเข้าไปเล่นเครื่องเล่นในโรงเรียนแล้วกลับ บ้าน อีก 1- 2 วันก็อาจพาเข้าไปในชั้นเรียน พูดคุยทำความคุ้นเคยกับคุณครู พาไปดูห้องเรียน ห้องน้ำ สนามเด็กเล่น
3.ถ้ามีเพื่อนสนิทข้างบ้าน หรือลูกพี่ลูกน้องที่เล่นด้วยบ่อยๆ อาจ ชวนให้ไปโรงเรียนด้วยกัน ก็อาจช่วยลดความกลัว หรือวิตกกังวลของเด็กได้ครับ เด็กที่มีพี่มักปรับตัวไปโรงเรียนได้ง่ายกว่า เพราะคุณพ่อคุณแม่อาจให้น้องไปส่งพี่ไปโรงเรียนตอนเช้าบ่อยๆ ก็จะทำให้คุ้นเคยและเข้าใจว่าการไปโรงเรียนเป็นอย่างไร
4.พยายามลดความตึงเครียดของการไปโรงเรียนให้มากที่สุด เช่น ในช่วงกลางคืนก่อนไปโรงเรียนควร เตรียมอุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน ให้พร้อมเพื่อช่วงเช้าจะได้ไม่ต้องเร่งรีบ จะช่วยลดความเครียดของพ่อแม่และลูกได้มากครับ
5.ควรยืนยัน และบอกลูกว่าจะมารับเมื่อไร ถึง แม้ว่าเด็กวัยอนุบาลยังไม่เข้าใจเรื่องเวลา (concept of time) ดีนัก แต่การบอกเวลาให้เด็กเข้าใจง่ายๆ จะช่วยให้ลูกมีความหวัง รู้จักรอเวลาที่้พ่อแม่จะ่มารับ ตัวอย่างการบอกเวลาง่ายๆ เช่นชี้ให้ลูกดูเข็มนาฬิกาในห้องเรียนว่าถ้าเข็มสั้นชี้เลข 3 พ่อแม่ก็จะมารับกลับบ้าน หรืออาจแนะนำให้ลูกถามและให้ครูช่วยตอบให้ก็ได้
6.ควรมารับลูกตรงเวลาโดยเฉพาะช่วงวันแรกๆ เพราะการมารับช้าผิดเวลา จะยิ่งทำให้ลูกคิดว่าพ่อแม่จะ ทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว วันต่อต่อไปจะยิ่งร้องไห้ไม่ยอมไปโรงเรียนหนักขึ้น
7.ถ้าลูกร้องไห้ ให้ คุณครูโทรศัพท์เรียกพ่อแม่ให้มารับกลับ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรรับกลับ ยกเว้นเจ็บป่วย จริงๆ ควรใช้ท่าทีหนักแน่นมั่นคงบอกลูกว่าเห็นใจ เข้าใจ แต่ลูกก็ต้องอยู่ที่โรงเรียน ถ้าคุณพ่อคุณแม่กำลังให้ลูกหยุดเรียนอยู่ก็ควรให้รีบกลับไปเรียนโดยเร็วที่ สุด การให้หยุดเรียนนานๆจะยิ่งทำให้ปัญหาซับซ้อน และแก้ไขยากขึ้นเรื่อยๆ

ทำอย่างไรถ้าลูกยังมีปัญหาร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน

โดยทั่วไปเด็กแต่ละคนอาจร้องนานไม่เท่ากัน เช่น บางคนร้องไห้อยู่ 1-2 วันแรกก็หยุด บางคนอาจร้อง 1-2 สัปดาห์ บางคนร้อง 1-2 เดือนขึ้นกับพื้นฐานอารมณ์ของเด็กแต่ละคน การปรับตัว การเลี้ยงดูและท่าทีของพ่อแม่ แต่ก็มีครับที่ร้องไห้เป็นเทอมซึ่งมักจะพบได้น้อย นอกจากนี้บางคนอาจมีพฤติกรรมถดถอย กลับกลายเป็นมีพฤติกรรมเป็นเด็กเล็กได้เช่น ดูดนิ้ว กัดเล็บ งอแง นอนไม่หลับ ปัสสาวะรดที่นอน ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ให้ความเข้าใจ ช่วยประคับประคอง ลูกก็จะผ่านช่วงนี้ไปได้

เมื่อไรเรียกว่ามีปัญหาร้องไม่ยอมไปโรงเรียนรุนแรงมาก จนควรปรึกษากุมารแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็ก

1.ลูกมีปฏิกิริยาต่อต้าน รุนแรง เช่นเริ่มก้าวร้าว ขว้างของ ทำร้ายหรือทุบตีพ่อแม่
2.ลูกมีอารมณ์ซึมเศร้าต่อเนื่อง เช่น ดููไม่มีความสุข เก็บตัว ร้องไห้บ่อยๆ
3.มีอาการทางกาย บ่อยๆ เช่นปวดหัว ปวดท้อง เนื่องจากเด็กเป็นผ้าขาวครับ แสแสร้งไม่ค่อยเป็น และไม่แนบเนียน ดังนั้นอาการทางกายนี้คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ไม่ยากครับว่ามักจะเป็นเฉพาะ ตอนเช้าจะไป โรงเรียน หรือกลางคืนก่อนวันที่จะไปโรงเรียน วันเสาร์ อาทิตย์มักจะไม่เป็น สบายดี วิ่งเล่นได้ อย่างไรก็ตามถ้ามีอาการทางกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อตรวจร่างกายว่าไม่ได้มีโรคหรือความเจ็บป่วยซ่อนอยู่จริง
4.เป็นต่อเนื่องกันนานหลายเดือนและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น
5.คุณพ่อคุณแม่เครียดมาก ควบคุมลูกไม่ได้เลย อาจต้องยอมให้ลูกหยุดโรงเรียนมาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์แล้ว

การเตรียมลูกเข้าโรงเรียนอนุบาลมีความสำคัญมากเพราะ เป็นส่วนของพัฒนาการในการที่เด็กต้องแยกจากพ่อแม่ไป ต้องเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมใหม่ที่โรงเรียน และยังเป็นส่วนพัฒนาการของคุณพ่อคุณแม่เองด้วย เป็นจุดเริ่มต้นในการที่จะเรียนรู้ว่าลูกเป็นอีกปัจเจกบุคคลหนึ่ง เป็นอิสระแยกออกตัวพ่อแม่ เขาจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และสักวันหนึ่งเขาก็แยกจากเราไปจริงๆ อาจไปสร้างครอบครัวใหม่ของเขา ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ไปด้วยดี ลูกก็จะมีสังคมนอกบ้านแห่งใหม่ที่สำคัญ และมีอิทธิพลต่อเด็กมากซึ่งก็คือ โรงเรียนนั่นเอง

ที่มา : นพ.กมล แสงทองศรีกมล
กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top