เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ความหวังใหม่ของวงการแพทย์

“วิทยาศาสตร์มอบความหวังให้กับเราคือ การวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งอาจทำให้ นักวิทยาศาสตร์ได้คำตอบต่อปัญหาที่เอื้อมไม่ถึง ฉันไม่คิดว่า เราสามารถนิ่งดูดายได้ เนื่องจากยังมีอีกหลายโรคที่รอการรักษา เราได้เสียเวลามามากพอแล้ว และเราต้องไม่เสียมันไปอีก” คำกล่าวของ Nancy Reagan อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา ภริยาของประธานาธิบดี Ronald Reagan ผู้ชีวิตด้วยโรคอัลไซเมอร์ หนึ่งในโรคที่รอความหวังรักษาให้หายขาดด้วย เซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ (stem cell)

การแพทย์ปัจจุบันรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อรักษาโรคต่างๆ เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง เพื่อให้ได้ข้อสรุปยืนยันถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัยที่ชัดเจน มีเพียงบางโรคเท่านั้นที่มีผลวิจัยทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่า สามารถใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาได้ผลจริง บทความนี้จะทำให้ท่านได้รู้จักเซลล์ต้นกำเนิด กันมากขึ้น รวมถึงมีโรคใดบ้างที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาได้ในปัจจุบัน

เซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ (Stem cell) คืออะไร?

เซลล์ต้นกำเนิด หรืออีกชื่อทางการแพทย์คือ สเต็มเซลล์ คือ เซลล์ที่มีคุณสมบัติในการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนตัวเองได้ (self-renew) และสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง (differentiate) ให้กลายเป็นเซลล์อื่นที่ทำหน้าที่หลากหลายได้ (multiple functional cell types)

เซลล์ต้นกำเนิด ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1981 โดยท่าน Martin John Evans นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิด จากเซลล์ตัวอ่อนของหนูได้เป็นผลสำเร็จ ต่อจากนั้นจึงประสบความสำเร็จในการศึกษาเซลล์ต้นกำเนิดในครั้งแรกในคนเมื่อ ปีค.ศ. 1998 โดยใช้เซลล์ของตัวอ่อนของคนที่อยู่ในระยะบลาสโตซีสต์ หรือ blastocysts (คือตัวอ่อนของคนที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างอสุจิกับไข่ประมาณ 5วัน) หลังจากนั้นไม่นานโลกก็ได้พบจุดเปลี่ยนในวงการวิทยาศาสตร์ จากการโคลนนิ่ง (cloning) สัตว์ทดลองตัวแรกสำเร็จ ที่สถาบัน Roslin เมือง Edinburgh ประเทศสก็อตแลนด์ ซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลกในนามของ “แกะดอลลี่” นั่นเอง หลังจากนั้นการศึกษาเกี่ยวกับ เซลล์ต้นกำเนิด ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยความซับซ้อนของเซลล์ต้นกำเนิด รวมถึงข้อจำกัดในเรื่องจริยธรรมทางการแพทย์ ทำให้การพัฒนายังไม่ได้ผลก้าวหน้าอย่างที่คาดไว้

ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการสร้างเซลล์ใหม่ เช่น เทคโนโลยี่ที่ตั้งโปรแกรมให้กับเซลล์ต้นกำเนิดของอวัยวะในร่างกายที่โตเต็มที่ (adult stem cell) ให้กลับมาทำหน้าที่เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเริ่มแรกอีกครั้ง (Reprogramming) หรือเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายนิวเคลียส (Nuclear transfer) หรือโคลนนิ่ง (cloning) เพื่อที่จะได้ใช้เซลล์ของผู้ป่วยเองมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย หรือการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดให้กลายเป็นอวัยวะก่อน แล้วจึงนำไปปลูกถ่ายคืนในตัวผู้ป่วย (tissue engineering)

ที่มาของเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell)

หลายคนคงมีความคิดว่าเซลล์ต้นกำเนิดจะต้องนำมาจากเซลล์ตัวอ่อนเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากในร่างกายคนเราก็สามารถพบเซลล์ต้นกำเนิดได้เช่นกัน โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งแหล่งที่มาของเซลล์ต้นกำเนิดได้ 3 แหล่งคือ

1.จากเซลล์ตัวอ่อน ระยะ ‘เอ็มบริโอ’ ขณะอยู่ในครรภ์ (embryonic stem cell)
2.จากเซลล์ทารก ระยะ ‘ฟีตัส’ ขณะอยู่ในครรภ์ (fetal stem cell)
3.จากเซลล์ของอวัยวะในร่างกายของเรา (adult stem cell)

ในร่างกายของเรามีเซลล์ต้นกำเนิดอยู่ภายในไขกระดูกและเนื้อเยื่ออื่นต่างๆ เช่น เซลล์ไขมัน สมอง และกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถนำมาเพาะเลี้ยงเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อใช้งานได้ ซึ่งปัจจุบันได้มีการศึกษาทดลองอย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความยากในการเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดให้มีชีวิตรอดนั้นจำเป็นต้องอาศัย สภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะ และต้องดูแลอย่างเข้มงวดทุกกระบวนการ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสิทธิมนุษยชน และจริยธรรมทางการวิจัยมากำกับควบคุมอีกด้วย

บทบาทของเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ในปัจจุบัน และ อนาคตของเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ปัจจุบันเซลล์ต้นกำเนิดถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ 3 รูปแบบหลัก ดังนี้

ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ยังรอการปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อให้มีชีวิตรอดต่อไปแต่เนื่องจากจำนวนอวัยวะจากผู้บริจาคนั้นไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำเซลล์ต้นกำเนิดมาเพาะเลี้ยงให้เป็นอวัยวะที่ต้องการ (organ-level tissue engineering) ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการค้นคว้าในห้องทดลอง เพื่อจะนำมาใช้กับผู้ป่วยได้จริงในอนาคต

เนื่องจากแต่ละอวัยวะมีความซับซ้อนมากทั้งด้านรูปร่าง และการทำงาน เช่น ไตซึ่งมีรูปร่างเป็นท่อ และมีรูปทรงเป็นสามมิติ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่หลายอย่างทั้งการกรองของเสีย การสร้างปัสสาวะ และการหลั่งฮอร์โมน ดังนั้นการจะบังคับให้เซลล์ต้นกำเนิดเจริญเป็นอวัยวะที่ครบสมบูรณ์ดังกล่าว ทำได้ยากมาก อย่างไรก็ตามความพยายามของมนุษย์ก็มิได้มีขีดจำกัดเช่นกัน ปัจจุบันอวัยวะที่มีความหวังว่าจะทำได้สำเร็จคือ การทำท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากมีความซับซ้อนน้อยกว่า โดยการสกัดเซลล์ต้นกำเนิดมาเพียง 1 ตารางเซนติเมตรก็สามารถเพาะเลี้ยงจนพัฒนาเป็นเซลล์บุท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ (Urothelial cell) ได้ถึง 4,202 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่พอๆ กับสนามฟุตบอลเลยทีเดียว และในปีค.ศ. 1998 ได้มีนำเซลล์ต้นกำเนิดที่เพาะเป็นกระเพาะปัสสาวะมาใช้รักษาผู้ป่วย 7 ราย ที่ป่วยเป็นโรคการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ หลังจากได้รับการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ (Cystoplasty) แล้ว พบว่า กระเพาะปัสสาวะทำงานได้ดีขึ้นชัดเจนทั้งการขยายตัว ความจุ และการกลั้นปัสสาวะ ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะยังคงพัฒนาต่อไปในระยะที่ 2 ขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA phase2) ก่อนที่จะนำมาใช้ในวงกว้างต่อไป

ใน ร่างกายของเรามีเซลล์ต้นกำเนิดอยู่ภายในไขกระดูกและเนื้อเยื่ออื่นต่างๆ เช่น เซลล์ไขมัน สมอง และกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถนำมาเพาะเลี้ยงเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อใช้งานได้ ซึ่งปัจจุบันได้มีการศึกษาทดลองอย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความยากในการเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดให้มีชีวิตรอดนั้นจำเป็นต้อง อาศัย สภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะ และต้องดูแลอย่างเข้มงวดทุกกระบวนการ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสิทธิมนุษยชน และจริยธรรมทางการวิจัยมากำกับควบคุมอีกด้วย

คือการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปซ่อมแซมการทำงานของอวัยวะโดยการฉีดเข้าไปใน อวัยวะนั้นโดยตรง หรือฉีดเข้าไปในกระแสเลือด โดยหวังให้เซลล์ต้นกำเนิดที่ฉีดเข้าไปนั้นเปลี่ยนเป็นเซลล์ที่ต้องการ เพื่อทำหน้าที่ซ่อมแซมต่อไป โดยจะขอยกตัวอย่างตับเป็นอวัยวะตัวอย่าง

เนื่องจากตับนั้นเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ทั้งการควบคุมการแข็งตัวของเลือด กำจัดสารพิษ และสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ในร่างกาย โดยปกติแล้วตับเป็นอวัยวะที่มีความสามารถสูงในการซ่อมแซมตัวเอง (Regeneration) นั่นคือ เมื่อตับเกิดการบาดเจ็บ เซลล์ตับสามารถแบ่งตัวซ่อมแซมตัวเองได้นั่นเอง แต่ในปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคตับแข็ง (cirrhosis) ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือ จากการดื่มเหล้าเรื้อรัง หากตับแข็งถึงขั้นรุนแรงจำเป็นจะต้องได้รับการปลูกถ่ายเปลี่ยนตับใหม่ ซึ่งจำนวนตับที่บริจาคไม่เพียงพอ ดังนั้นการใช้สเต็มเซลล์จึงเป็นทางเลือกใหม่ในอนาคต โดยการฉีดเซลล์ต้นกำเนิดเข้าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับ เพื่อให้เซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปซ่อมแซม และทดแทนการปลูกถ่ายตับ หรือเพื่อประทังเวลาในช่วงที่รออวัยวะเพื่อปลูกถ่ายตับใหม่ อย่างไรก็ตามการรักษาดังกล่าวก็ยังอยู่ในขั้นการทดลองก่อนจะนำมาใช้แพร่หลาย เป็นวงกว้างคือการใช้สารฉีดเข้าไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิดที่มีอยู่แล้วในร่างกาย ให้ทำงานซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เราต้องการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การฉีดฮอร์โมน erythropoietin เข้าในร่างกาย เพื่อกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในไขกระดูกให้เจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือด แดง ใช้รักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจาง เนื่องจากตับนั้นเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ทั้งการควบคุมการแข็งตัวของเลือด กำจัดสารพิษ และสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ในร่างกาย โดยปกติแล้วตับเป็นอวัยวะที่มีความสามารถสูงในการซ่อมแซมตัวเอง (Regeneration) นั่นคือ เมื่อตับเกิดการบาดเจ็บ เซลล์ตับสามารถแบ่งตัวซ่อมแซมตัวเองได้นั่นเอง แต่ในปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคตับแข็ง (cirrhosis) ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือ จากการดื่มเหล้าเรื้อรัง หากตับแข็งถึงขั้นรุนแรงจำเป็นจะต้องได้รับการปลูกถ่ายเปลี่ยนตับใหม่ ซึ่งจำนวนตับที่บริจาคไม่เพียงพอ ดังนั้นการใช้สเต็มเซลล์จึงเป็นทางเลือกใหม่ในอนาคต โดยการฉีดเซลล์ต้นกำเนิดเข้าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับ เพื่อให้เซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปซ่อมแซม และทดแทนการปลูกถ่ายตับ หรือเพื่อประทังเวลาในช่วงที่รออวัยวะเพื่อปลูกถ่ายตับใหม่ [2] อย่างไรก็ตามการรักษาดังกล่าวก็ยังอยู่ในขั้นการทดลองก่อนจะนำมาใช้แพร่หลาย เป็นวงกว้าง

1.นำเซลล์ต้นกำเนิดมาเพาะเลี้ยงเป็นอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อก่อน แล้วจึงนำกลับมาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย (Organ/Tissues Transplantation) เช่น การนำเซลล์ต้นกำเนิดมาเพาะเลี้ยงเป็นเส้นประสาท แล้วค่อยปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson Disease)
2.การ ใช้ เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาโรคโดยตรง(Cell-based approach) เช่น การฉีดเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปที่กล้ามเนื้อหัวใจของผู้ป่วยโดยตรง หรือฉีดเข้ากระแสเลือด เพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจ
3.การฉีด สารกระตุ้นเพื่อให้ เซลล์ต้นกำเนิดที่มีอยู่เดิมในร่างกายทำงานมากขึ้น (Endogenous stem cell) เช่น การฉีดฮอร์โมน Erythropoietin เข้าไปใน ร่างกาย เพื่อกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในไขกระดูก ให้เปลี่ยนเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง ใช้รักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจาง

เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ในชีวิตประจำวัน และคำถามน่ารู้

ปัจจุบันวงการแพทย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดของระบบโรค เลือดมากที่สุด [5] จนสามารถนำมาใช้รักษากลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคที่มีเซลล์ต้นกำเนิดผิดปกติในไขกระดูก สำหรับประเทศไทยจากคำแถลงของแพทยสภา ได้ระบุให้สามารถใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่ได้มาตรฐาน เพื่อการรักษาโรคเลือดเท่านั้น และโดยข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาพุทธศักราช 2552 ได้ระบุว่า ต้องเป็นการรักษาที่ทำการวิจัยมาแล้วจนเป็นที่ยอมรับว่า เป็นวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน ถ้าหลักฐานไม่ชัดเจนให้ถือเป็นงานวิจัย ที่ต้องได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการการวิจัยก่อน และผู้ที่รักษาได้ต้องเป็นแพทย์เฉพาะทางที่มีวุฒิบัตรเฉพาะทาง

ปัจจุบันต้องยอมรับว่ากระแสเสริมความงามต่างๆ กำลังมาแรง โดยเฉพาะตามคลินิกเสริมความงามต่างๆ ซึ่งอ้างถึงการนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ โดยมุ่งหวังที่จะเอาแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ผู้บริโภคจึงต้องเลือกอย่างฉลาด ขอยกตัวอย่าง องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) นั้นยอมรับให้ใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพียงข้อเดียวคือ เพื่อรักษาโรคที่จำเพาะเช่น มะเร็งเม็ดเลือด โดยต้องใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่เก็บจาก สายสะดือเด็กระหว่างคลอดเท่านั้น สำหรับข้อบ่งชี้อื่นนั้นยังไม่ได้รับการรับรอง นอกจากนี้ยังแนะนำประเทศอื่นว่า ถ้าต้องการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาโรคอื่นๆ ควรต้องถามข้อบ่งใช้ และความปลอดภัยให้ดีก่อน และควรจะถามด้วยว่าการนำมาใช้นั้น เป็นส่วนหนึ่งที่กำลังอยู่ในช่วงทำการทดลองหรือไม่

สำหรับประเทศไทยยังได้ออกคำสั่งห้ามมีการนำเซลล์ หรือส่วนประกอบอื่นๆ ของมนุษย์มาทำเครื่องสำอางอีกด้วย ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องสำอางที่อ้างว่า มีการใส่เซลล์ต้นกำเนิดลงไปนั้นต้องใช้วิจารณญาณส่วนบุคคล ศึกษาหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจ เนื่องจากสเต็มเซลล์มีความเปราะบางและต้องการการเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมพิเศษ เฉพาะ ซึ่งตามห้องทดลองทั่วไปยังเลี้ยงได้ยาก ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่คลินิกต่างๆ จะเลี้ยงสเต็มเซลล์ไว้ได้เองในตู้เย็น หรือในหลอดฉีดยาโดยไม่มีสารเลี้ยงเซลล์ นอกจากนี้เครื่องสำอางที่อ้างว่าผสมสเต็มเซลล์เช่น จากรกแกะ ถือเป็นเรื่องที่เชื่อถือได้ยากว่าสเต็มเซลล์นั้นจะอยู่รอดจนนำมาใช้ให้เกิด ผลได้อย่างไร

ข้อมูลจากการศึกษาทางการแพทย์ พบว่ามีการฉีดเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงดังนี้

เนื่องจากเซลล์ต้นกำเนิดมีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายกับเซลล์มะเร็งคือ เป็นเซลล์ที่แบ่งตัวได้เร็ว และเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์อื่นได้ โดยเซลล์มะเร็งบางชนิดก็มาจาก เซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ตามที่ต่างๆ ในร่างกายเรานั่นเอง ซึ่งจะสังเกตได้ว่า เซลล์ที่แบ่งตัวได้เร็วมีโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้มากกว่าเซลล์ที่แบ่งตัวได้ช้า เช่น มะเร็งตับก็พบมากกว่ามะเร็งสมอง เนื่องจากเซลล์ตับสามารถแบ่งตัวซ่อมแซมตัวเองได้อยู่ตลอดเวลา ในขณะที่เซลล์ประสาทสมองนั้นไม่มีการแบ่งตัวอีกในผู้ใหญ่
ดังนั้นการฉีดเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปในร่างกายโดยตรงโดยที่ไม่รู้ด้วยว่าเซลล์ต้นกำเนิดที่ฉีดนั้นเป็นชนิดใด จะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ชนิดใดต่อไป และไปอยู่ที่อวัยวะใด ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ก็จะแบ่งตัวจนเกิดมะเร็งขึ้นได้ ตัวอย่างเช่นที่ประเทศรัสเซียพบว่าเกิดมะเร็งสมองขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับการเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Fetal stem cellเกิดจากกรรมวิธีการเก็บรักษาเซลล์ต้นกำเนิดไม่ถูกต้อง มีเชื้อโรคอื่นปนเปื้อนเช่น เชื้อไวรัส นอกจากนี้หากเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มาจากสัตว์ อาจต้องระวังเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าติดมาด้วยกับสิ่งที่เรายังไม่รู้แน่นอน ซึ่งนอกจากจะเปลืองเงินและเวลาแล้ว ยังทำให้เสียโอกาสที่จะรักษาด้วยวิธีอื่น ซึ่งเป็นวิธีการรักษามาตรฐานที่มีผลการศึกษาทางการแพทย์ไว้แล้วชัดเจนว่าใช้ ได้จริง

เอกสารอ้างอิง

Courtney M. Townsend Jr., Beauchamp RD. Regenerative medicine. In: Sabiston Textbook of Surgery. 19th ed. Elsevier, 2012:178-86.
Atala A. Engineering organs. Curr Opin Biotechnol 2009;20:575–92.
Higgs DR. A new dawn for stem-cell therapy. N Engl J Med 2008;358:964.
Amariglio N, Hirshberg A, Scheithauer BW, et al. Donor-derived brain tumor following neural stem cell transplantation in an ataxia telangiectasia patient. PLoS Med 2009;6:e1000029.
Longo et al. Applications of Stem Cell Biology in Clinical Medicine. In: Harrison’s Principle of Internal Medicine. 18th ed. McGraw-Hill, 2012.
Craig T. Jordan, Ph.D., Monica L. Guzman, Ph.D.,Mark Noble, Ph.D.:Cancer stem cells.N Engl J Med 2006;355:1253-61.
Kotton CN. Zoonoses in solid-organ and hematopoietic stem cell transplant recipients. Clin Infect Dis. 2007;44:857-66.
FDA Warns About Stem Cell Claims. Accessed June 24, 2012 http://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm286155.htm?utm_campaign=Google2&utm_source=fdaSearch&utm_medium=website&utm_term=stem%20cell&utm_content=1#Advice
Consumer Information on Stem Cells. Accessed June 24, 2012 http://www.fda.gov/NewsEvents/PublicHealthFocus/ucm286218.htm
ชุดให้ความรู้เซลล์ต้นกำเนิดแก่ประชาชน. Accessed June 24, 2012 http://www.oryor.com/oryor_stemcell/stemcell-menu1-5-a1.html
อรพิณ พุทธานุภาพันธ์. Stem Cell ชะลอวัยได้จริงหรือ. ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา. Accessed June 24, 2012 http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=5120
นพ.ต่อพงศ์ พลจันทร์. คำถามเรื่องสเต็มเซลล์กับความงาม. Accessed June 24, 2012 http://www.drtorpong.com/index.php/stemcell-and-beauty
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษา พ.ศ. ๒๕๕๒ Access August 1, 2012 http://www.tmc.or.th/download/stemcell.pdf
การแถลงข่าวแพทยสภาแนวทางการรักษาและวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ ต้นกำเนิดเพื่อการรักษา วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.00 น.ณ ห้องประชุมไพจิตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข Accessed July 27, 2012 http://www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=493&id=4

นายแพทย์ พัทธดนย์ ศิริวงศ์รังสรร
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top