การฟอกเลือด หมายถึงนำเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผ่านเข้าเครื่องไตเทียม แล้วให้เครื่องทำการฟอกเลือดเหมือนกับไตที่ทำหน้าที่ตามปกติ โดย ปกติแล้วไตมีหน้าที่หลักๆ คือ กำจัดของเสีย และปรับระดับเกลือแร่รวมทั้งสมดุลของสารน้ำในร่างกาย เมื่อเครื่องไตเทียมทำหน้าที่ฟอกเลือดแล้ว จึงนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยในระบบที่ปราศจากการปนเปื้อนเครื่องไตเทียม (หรืออาจเรียกว่า “เครื่องฟอกเลือด”)ใช้ ตัวกรองช่วยทำให้เลือดสะอาด อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนของเสีย เกลือแร่ ระหว่างเลือดกับน้ำยาฟอกเลือด ในขณะที่เลือดไหลผ่านตัวกรอง ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ เหมือนหลอดเลือดฝอยที่มีรูขนาดเล็กมากๆ อยู่ที่ผนังของหลอด และมีน้ำยาฟอกเลือดไหลผ่านอยู่ด้านนอกเลือดของเสียที่มีระดับสูงในเลือดจะ เคลื่อนผ่านผนังของตัวกรองเข้าไปอยู่ในน้ำยาฟอกเลือดทำให้ระดับของเสีย ในเลือดลดลงส่วนน้ำและเกลือแร่จะมีการเคลื่อนผ่านผนังของตัวกรอง ทำให้ระดับของเกลือแร่และดุลของสารน้ำในร่างกายเป็นปกติ
ประโยชน์ที่ได้รับจากเครื่องไตเทียม
อาการอันเกิดจากการคั่งของเกลือ และของน้ำ ได้แก่ อาการบวม หอบ เหนื่อย นอนราบไม่ได้ จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็น ได้ภายใน 1 – 2 วัน ความดันโลหิตที่สูงอยู่ก่อนจะลดลงและควบคุมได้ดีขึ้น หากมีภาวะหัวใจล้มเหลว อาการจะดีขึ้นอย่างชัดเจนภายใน 1 – 3 วัน อาการหอบเหนื่อย อันเกิดจากเลือดเป็นกรด จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1 – 3 วัน ส่วนอาการอันเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ มึนงง สับสน ไม่รู้สติ กระตุก หรือชัก รวมทั้งอาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียนเบื่ออาหารจะดีขึ้นภายใน 2 – 4 วัน
การฟอกเลือดทำอย่างไร?
เริ่มต้นโดยแทงเข็มเข้าสู่เส้นเลือดพิเศษที่ต้องเตรียมไว้ก่อน ส่วนใหญ่นิยมใช้เส้นเลือดที่บริเวณแขน หลังจากที่ได้แทงเข็มเรียบร้อยแล้วจึงต่อเข้ากับท่อเพื่อนำเลือดไปยังตัว กรองเมื่อเลือดผ่านไปยังตัวกรอง ซึ่งมีลักษณะทรงกระบอกและมีเส้นใยเล็กๆ อยู่ภายใน ที่บริเวณตัวกรองนี้ เลือดของผู้ป่วยจะมีการแลกเปลี่ยนสารกับยาชนิดพิเศษโดยสารที่มีความเข้มข้น ภายในร่างกาย ได้แก่ของเสียต่างๆ เคลื่อนที่ไปยังน้ำยา และเกิดการแลกเปลี่ยนของเกลือแร่ต่างๆ จนเข้าสู่ภาวะมสมดุลเยื่อกรองในตัวกรองสร้างจากสารสังเคราะห์พิเศษ ซึ่งทำให้เม็ดเลือดต่างๆ รวมทั้งโปรตีนไม่เสียออกไปจากร่างกาย หลังจากที่เลือดได้ผ่านการทำให้สะอาดแล้ว รวมทั้งมีการทำให้แร่ธาตุต่างๆ สมดุลแล้ว เครื่องจะนำเลือดที่ดีกลับเข้าสู่ผู้ป่วย เพื่อให้เลือดผู้ป่วยมีความเข้มข้นของบรรดาของเสียต่างๆ ลดลง โดยทั่วไปกระบวนการฟอกเลือดใช้เวลาครั้งละ 4 – 5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง เนื่อง จากต้องใช้เครื่องไตเทียมในการฟอกเลือดทุกครั้งจึงต้องทำที่โรงพยาบาลหรือ ศูนย์ไตเทียม โดยมีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด
อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ที่ควรทราบในการฟอกเลือด 2 – 3 ครั้งแรก
ผู้ป่วยอาจยังไม่คุ้นเคยกับการรักษาอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เป็นตะคริว และคลื่นไส้อาเจียนได้ อาการ เหล่านี้จะน้อยลงเมื่อร่างกายชินต่อการฟอกเลือดแล้ว อาจพบว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำ สาเหตุที่พบบ่อย คือ การดึงน้ำออกจากร่างกายเร็วหรือมากเกินไป เลือดไหลผ่านตัวกรองในอัตราที่สูงเกินไป โรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วย การรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนมาฟอกเลือด ส่วนประกอบของน้ำยาฟอกเลือด และปฏิกิริยาจากตัวกรองเลือด การป้องกัน คือ พยายามอย่าให้ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเกิน 1 กิโลกรัมต่อวัน งดยาลดความดันโลหิตมื้อก่อนเข้าเครื่องฟอกเลือด (แพทย์เป็นผู้กำหนด) ปรับการดึงน้ำ ปรับน้ำยาฟอกเลือด และเลือดชนิดของตัวกรองให้เหมาะสมเกิดเป็นตะคริว เนื่อง จากดึงน้ำออกจากร่างกายเร็ว หรือมากเกินไป สามารถป้องกันได้โดยควบคุมน้ำหนักตัว รวมถึงปรับการฟอกเลือด และน้ำยาฟอกเลือดให้เหมาะสม บางครั้งพบว่าความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง ที่มีอยู่เดิม น้ำหนักเพิ่มมากเกินไป หรือการงดยาลดความดันโลหิตก่อนมาฟอกเลือด
วิธีป้องกัน
พยายามควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มมากขึ้น 1 กิโลกรัมต่อวันสำหรับ การรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนการฟอกเลือด และปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาก่อน หากพบว่าหัวใจเต้นผิดปกติ สาเหตุมักเกิดจากโรคหัวใจ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่เดิม ระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ ในผุ้ป่วยที่ได้รับยาโรคหัวใจดิจิตาลิส จึงควรรักษาโรคหัวใจที่เป็นอยู่ร่วมด้วย ป้องกันไม่ให้ระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ โดยควบคุมอาหาร และรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ หากพบว่าไข้ขึ้นสูง อาจเกินจากการปนเปื้อนของท๊อกซินหรือการติดเชื้อ การป้องกัน คือ การปฏิบัติตามมาตรฐานการฟอกเลือด ซึ่งรวมถึงการเตรียมน้ำยาและอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้อาจพบปฏิกิริยาจากตัวกรอง ซึ่งมีได้ตั้งแต่อาการเป็นน้อย คือ ปวดหลัง และเจ็บหน้าอก หรืออาจมีอาการมากจนกระทั่งมีอาการเหนื่อย หอบ เกิดจากปฏิกิริยาของเลือดผู้ป่วยกับสารที่ใช้ทำตัวกรอง แนวทางการป้องกันคือ เลือกชนิดตัวกรองที่เหมาะสม พบว่าการใช้ตัวกรองซ้ำช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวได้เช่นกัน
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์
นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ที่ปรึกษา