ฮอร์โมน

image 19

ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ แล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดเพื่อลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย ฮอร์โมนอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

  • โปรตีนที่เป็นโปรตีน และโปรตีนที่เป็นสเตียรอยด์
  • ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองต่อมใต้สมองอยู่ตรงส่วนล่างของสมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ต่อมใต้สมองส่วนกลาง และต่อมใต้สมองส่วนหลัง

1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า เป็นฮอร์โมนประเภทโปรตีนหรือโพลิเปปไทด์ ได้แก่Growth hormone เป็นฮอร์โมนประเภทโปรตีนที่ประกอบกรดอะมิโน 191 ตัว และมีธาตุกำมะถันอยู่ในรูปไดซัลไฟด์ ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูก และมีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูก รวมทั้งกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายGonadotrophin ประกอบด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ FSH และ LH ฮอร์โมน FSH ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ให้สร้างไข่และไข่สุก กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน และกระตุ้นอัณฑะให้สร้างตัวอสุจิ ส่วนฮอร์โมน LH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตก สำหรับในเพศชาย กระตุ้นให้อัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชายโปรแลคติน ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมในเพศหญิง และทำหน้าที่กระตุ้นต่อมลูกหมาก การบีบตัวของท่อนำอสุจิ การสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิACTH ทำหน้าที่กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโตและการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอก และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน
TSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเพิ่มการนำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ฮอร์โมน
2. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง ได้แก่ MSH ทำหน้าที่ตรงข้ามกับฮอร์โมนเมลาโทนิน
3. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อประสาทจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส เมื่อผลิตฮอร์โมนแล้วจะลำเลียงมาไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะเกิดการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาขณะคลอดบุตรADH ทำให้เส้นเลือดหดตัว ช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น

image 20

ฮอร์โมนจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส

การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส มีทั้งฮอร์โมนที่กระตุ้นและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า และมีชื่อเรียกตามผลที่แสดงออกต่อการสร้างฮอร์โมน ได้แก่
1. ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Growth hormone
2. ฮอร์โมนยับยั้งการหลั่ง Growth hormone
3. ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่งโปรแลคทิน
4. ฮอร์โมนควบคุมการหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน
5. ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Gonadotrophin

ฮอร์โมนจากตับอ่อน

1. อินซูลิน ทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ถ้ามีน้ำตาลในเลือดสูง ฮอร์โมนอินซูลินจะช่วยเร่งการนำกลูโคสเข้าเซลล์และเร่งการสร้างกลัยโคเจนเพื่อเก็บสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ และเร่งการใช้กลูโคสของเซลล์ทั่วไป ทำให้น้ำตาลในเลือดน้อยลง
2. กลูคากอน ทำหน้าที่เพิ่มน้ำตาลในเลือดโดยเร่งสลายไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคส และเร่งการสร้างกลูโคสจากโปรตีน

image 21

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นนอก

1. Glucocorticoid ทำหน้าที่ควบคุมสารคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย เปลี่ยนกลัยโคเจนในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส จัดเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดในร่างกาย
2. Aldosterone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ช่วยในการดูดกลับโซเดียมและคลอไรด์ภายในท่อไต
3. ฮอร์โมนเพศ ช่วยกระตุ้นให้มีลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นใน

1. อะดรีนาลิน ทำหน้าที่กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง ความดันเลือดสูงขึ้น เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยนกลัยโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด ทำให้มีพลังงานมากในขณะหลั่งออกมา
2. นอร์อะดรีนาลิน กระตุ้นให้เส้นเลือดบีบตัว ความดันเลือดสูงขึ้น

ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์

image 22

1. Thyroxin เป็นสารอนุพันธ์ของกรดอะมิโน ช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย จำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะสมอง
2. Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ลดระดับของแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินปกติให้เข้าสู่ระดับปกติ โดยดึงส่วนที่เกินนั้นไปไว้ที่กระดูก

ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์

1. พาราไทรอยด์ฮอร์โมน ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและเนื้อเยื่อ ช่วยให้ไตและลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับคืนได้มากขึ้น
2. แคลซิโทนิน ทำหน้าที่ช่วยการดูดกลับของแคลเซียมที่ท่อของหน่วยไต

ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์

1. เทสโทสเตอโรน สร้างจากอัณฑะ ทำน้าที่เป็นฮอร์โมนเพศชายควบคุมลักษณะของเพศชาย เช่น เสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดบริเวณที่ริมฝีปาก กระดูกหัวไหล่กว้าง
2. เอสโทรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิงสร้างจากรังไข่ ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศหญิง การมีประจำเดือน เตรียมการตั้งครรภ์ ห้ามการสร้างไข่
3. โปรเจสเตอโรน สร้างจากรังไข่ ทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนา ห้ามการมีประจำเดือน ห้ามการตกไข่ ทำให้ต่อมน้ำนมเจริญมากขึ้น

ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล

1. เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในช่วงก่อนวัยหนุ่มสาว เกี่ยวข้องกับวงจรการนอนหลับ และการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์

ฮอร์โมนจากเนื้อเยื่อในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก

1. Gastrin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้นน้ำย่อยจากตับอ่อน การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
2. Secretin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในบริเวณดูโอดินัมของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในตับอ่อน และกระตุ้นตับให้หลั่งน้ำดี เมื่ออาหารผ่านจากกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็ก

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top