อาการปวดบริเวณทวารหนัก

อาการปวดบริเวณทวารหนักเวลามีประจำเดือน (dyschezia) หมายถึงอาการปวดลึก ๆ บริเวณทวารหนักขณะมีประจำเดือน สาเหตุของอาการดังกล่าวมีได้หลายชนิด แต่ที่พบบ่อยและมักพบได้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดเนื่องมาจากการที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกบริเวณทวารหนักหรือลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง ถ้าพยาธิสภาพของโรคมาก นอกจากจะปวดแล้วยังอาจทำให้มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด ๆ ได้ในระยะที่มีประจำเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกบริเวณดังกล่าว มักพบร่วมกับเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บริเวณช่องคลอดด้านหลังซึ่งอาจจะมีอาการเจ็บลึก ๆ ในอุ้งเชิงกรานหรือในบริเวณช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจจะมีอาการปวดลึก ๆ ในช่องคลอดหรือบริเวณท้องน้อยร่วมด้วยขณะที่มีประจำเดือนทางการแพทย์เรียกโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่รวมๆ กันว่า Endometriosisอาการปวดขณะร่วมเพศ อาจจะมาจากความผิดปกติทางกาย หรือทางจิตใจก็เป็นได้ สาเหตุทางกายที่พบได้บ่อยเกิดจากการที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายในเช่นตัวมดลูกมีการยึดตรึง ทำให้เมื่อมีการร่วมเพศอวัยวะสืบพันธุ์ภายในโดยเฉพาะตัวมดลูก ซึ่งจะถูกกระทบกระแทกให้มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น จะเกิดการเจ็บปวด เพราะเอ็นหรือผังพืดที่มัดโยงอยู่ถูกยึดจนมีการฉีกขาด สาเหตุที่พบบ่อยจากการที่เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่หรือเกิดจากมีการอักเสบเก่าอยู่ก่อนทำให้เกิดแผลเป็นและพังผืดยึดตรึง มีบ้างที่เกิดจากสาเหตุเพราะความผิดปกติของช่องคลอด และปากช่องคลอดผิดสัดส่วน ซึ่งความผิดปกติลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว สามารถจะใช้ยาหรือการผ่าตัดแก้ไขได้ภาวะมีบุตรยาก เป็นสาเหตุร่วมรับผิดชอบของคู่สามีภรรยา ปัญหาที่เกิดในเพศหญิงถือเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการมีบุตรยากถึง 70 % อีก 30 % เป็นสาเหตุจากเพศชาย การตรวจหาความผิดปกติในเพศชายนั้น สะดวกกว่าเพศหญิง เพียงการตรวจพิเคราะห์น้ำอสุจิก็จะทราบได้ ในเพศหญิงสาเหตุส่วนใหญ่ของการมีบุตรยากเกิดจากปัจจัยของท่อนำไข่ผิดปกติตีบตัน คดงอ รองลงมาเกิดจากปัจจัยภายนอกของโพรงมดลูก เช่น อาจจะมีเนื้องอกหรือความสมบูรณ์ไม่พอเพียงของเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก และปัจจัยจากรังไข่ซึ่งเป็นแหล่งสร้างไข่เพื่อมาปฏิสนธิกับตัวอสุจิ โรคเยื่อบุ มดลูกเจริญผิดที่ก็เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะมีบุตรยากที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ ดังนั้นการวิเคราะห์หาสาเหตุของการก่อให้เกิดมีบุตรยาก จึงเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อการวางแผนการแก้ไขรักษาได้ถูกต้องต่อไปพยาธิสภาพของโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่อาจแตกต่างกันได้มาก บางรายมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย บางรายอาการรุนแรงปานกลาง หรือในบางรายอาการปวดรุนแรงมาก ดังนั้นในการวินิจฉัยโรคนี้ แพทย์จำเป็นต้องทำการซักถามประวัติอาการเพื่อประเมินตำแหน่งการกระจายของโรค ขนาดของพยาธิสภาพ ตำแหน่งของพยาธิสภาพที่จะมีผลต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดปัสสาวะ พยาธิสภาพถึงชั้นต่าง ๆ ของลำไส้ใหญ่ส่วนล่างหรือทวารหนัก เพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสมต่อไปการวินิจฉัยโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ทำได้โดยการนำเนื้อเยื่อนั้นมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เรียกว่าการตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะพบลักษณะของเนื้อเยื่อบุมดลูกชัดเจน กล่าวคือมีทั้งส่วนที่เป็นต่อม (gland) และส่วนที่เป็นโครงสร้างประกอบ (stroma)ส่วนวิธีการรักษามีตั้งแต่การเฝ้าติดตามเป็นระยะ การผ่าตัดเพื่อเอาพยาธิสภาพออก โดยที่ยังเก็บมดลูกและปีกมดลูกไว้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีโอกาสตั้งครรภ์ได้หรือการผ่าตัดเพื่อเอาพยาธิสภาพและมดลูก และ/หรือปีกมดลูกออกก่อนวางแผนการรักษา แพทย์จะคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ ความรุนแรงของอาการ ความรุนแรงของพยาธิสภาพ ตำแหน่งและขนาดของพยาธิสภาพ ที่สำคัญที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยเสมอคือความต้องการมีบุตรของผู้ป่วย นอกจากนี้อายุและความต้องการของผู้ป่วยก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top