อัลตราซาวด์

อัลตราซาวด์ (ultrasound)เป็น การตรวจวิเคราะห์โดยการใช้เคลื่อนเสียงความถี่สูง โดยมีหลักการคือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกจากเครื่องอัลตราซาวด์ ผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปภายในช่องท้อง เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบอวัยวะที่ทึบหรือมีความหนาแน่นแตกต่างกัน ก็จะสะท้อนกลับมาที่เครื่องอัลตราซาวด์ และแปลงเป็นสัญญาณภาพปรากฎบนจอมอนิเตอร์ ซึ่งสามารถถ่ายเป็นภาพบนแผ่นเอ็กซเรย์เก็บไว้ได้

ปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่องมือที่เรียกว่าอัลตราซาวด์ ถือเป็นการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่สำคัญทางรังสีวิทยาวิธีหนึ่ง การตรวจด้วยวิธีนี้จัดเป็นการตรวจที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเตรียมผู้ป่วยมากนัก เครื่องมือหาได้ง่าย มีในโรงพยาบาลเกือบทุกจังหวัด และอำเภอของประเทศไทย จนบางครั้งมีผู้กล่าวว่า ในอนาคตจะสามารถใช้แทนหูฟัง stethoscope ของแพทย์ได้ นอกจากนี้อัลตราซาวด์ยังทำการตรวจได้ที่ข้างเตียงผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่ยนที่ มีอาการหนัก ข้อมูลที่ได้จากการตรวจด้วยวิธีนี้แม้จะไม่มากเท่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ก็ทำให้แพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่เบื้องต้นได้ โดยเฉพาะโรคในช่องท้อง ปัจจุบันเครื่องอัลตราซาวด์มีราคาไม่แพงมากนัก ในโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งสามารถจัดหาเครื่องได้ ข้อสำคัญการตรวจอัลตราซาวด์ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ตรวจเป็นอย่างมาก

หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

อัลตราซาวด์เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดยให้ทรานส์ดิว เซอร์ ส่งคลื่นอัลตราซาวด์กระทบกับผิว ต่อมหรือเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติต่างกัน จะเกิดการสะท้อนกระเจิงของคลื่น และคลื่นที่สะท้อน กระเจิงกลับเข้าสู่ทรานส์ดิวเซอร์ จะถูกบันทึก ขยายและปรับแต่งก่อนส่งไปแสดงผลทางจอภาพ
การนำมาใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค
คลื่นเสียงความถี่สูงสามารถใช้ตรวจส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่
1. ส่วนหัว ใช้ตรวจเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เพื่อตรวจดูความผิดปกติในกระโหลกศีรษะ โดยตรวจผ่านกระหม่อมที่ยังไม่ปิด
2. ส่วนคอ ใช้ตรวจหาความผิดปกติและหารอยโรคของต่อมไทรอยด์, ต่อมน้ำลาย, ก้อนในบริเวณคอ และใช้ตรวจเส้นเลือดแดงคาโรติด
3. ส่วนอก ใช้ตรวจทรวงอก เพื่อดูน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือตรวจดูรอยโรคว่า เป็นเนื้อหรือน้ำติดกับผนังทรวงอก เช่น เนื้องอก
4. ช่องท้อง ใช้ตรวจดูความผิดปกติและหารอยโรคของอวัยวะภายในช่องท้องทั้งหมด
5. ส่วนอื่นๆ ใช้ ตรวจเพื่อหาความผิดปกติและรอยโรคที่สงสัยในอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน หรือมีน้ำภายใน เช่น กล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเต้านม ขา เส้นเลือดขนาดใหญ่และขนาดกลาง เพื่อดูความผิดปกติของเส้นเลือด วัดความเร็วการไหลเวียนเส้นเลือด ดูการอุดตันของเส้นเลือด

อัลตราซาวด์ของอวัยวะภายในช่องท้อง

1. อัลตราซาวด์ของอวัยวะภายในช่องท้อง อาจตรวจเฉพาะส่วนบนภายในช่องท้อง หรือส่วนล่างภายในช่องท้องก็ได้ แล้วแต่ว่าอาการของคนไข้บ่งบอกว่ามีความผิดปกติของส่วนใด นอกจากนี้แล้วยังสามารถดูความผิดปกติของอวัยวะนอกช่องท้อง ที่อยู่ทางด้านหลังด้วย เช่น ไต เป็นต้น เนื่องจากอวัยวะทั้งภายในช่องท้องและที่อยู่รอบๆ บริเวณใกล้เคียงกับช่องท้อง อาจทำให้มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารได้ การตรวจโดยอาศัยอัลตราซาวด์จึงต้องตรวจทั้งสองส่วน เพื่อหาความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินอาหาร
2. อวัยวะที่สามารถตรวจหาความผิดปกติโดยอาศัยการทำอัลตราซาวด์ของ ช่องท้องได้แก่ การตรวจความผิดปกติของตับ ถุงน้ำดี ท่อทางเดินน้ำดี ตับอ่อน ม้าม ก้อนเนื้องอกภายในช่องท้อง เช่น เนื้องอกของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ อวัยวะของสตรี เช่น มดลูก รังไข่ อวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไต กระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งต่อมลูกหมาก ก็สามารถดูความผิดปกติจากการทำอัลตราซาวด์ได้เช่นกัน
3. ผู้ที่มารับการตรวจอัลตราซาวด์ของระบบทางเดินอาหาร ควรจะงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพราะการที่มีลมและเศษอาหารอยู่ในส่วนของระบบทางเดินอาหาร จะทำให้ภาพที่ออกมาไม่ชัดเจน แปลผลไม่ได้

การตรวจอัลตราซาวด์ทางสูติศาสตร์

1. เครื่องตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ เป็นเครื่องมือที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงประมาณ 1-10 ล้านรอบต่อวินาที นำ มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ มานานกว่าห้าสิบปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันในทางสูติศาสตร์ นิยมใช้เครื่องมือแบบ real time scanner ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง 3.5-7 ล้านรอบต่อวินาที เครื่องมือนี้สามารถใช้ตรวจดูรูปร่างของอวัยวะต่างๆในร่างกาย ตรวจดูการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ และการทำงานของอวัยวะภายในบางชนิด โดยไม่เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ ถือเป็นการตรวจวินิจฉัยทางสูติศาสตร์ที่ปลอดภัยมากที่สุดอย่างหนึ่ง
2. การตรวจด้วยเครื่องมืออัลตราซาวด์ในทางสูติศาสตร์ แบ่งการตรวจเป็น 2 ระดับ คือการตรวจเบื้องต้นพื้นฐานทั่วไป หรือที่อาจเรียกว่าการตรวจระดับที่หนึ่ง (level 1 examination) เป็นการตรวจทั่วไปตามมาตรฐานสากลเพื่อวินิจฉัยการตั้งครรภ์ ประเมินอายุครรภ์ ติดตามการเจริญของทารกในครรภ์ รวมทั้งตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ต่างๆ ของมารดา และการตรวจระดับที่สอง (level 2 examination) เป็นการตรวจอย่างละเอียดในกรณีที่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ เช่น ทารกผิดรูปหรือพิกลพิการ เป็นต้น
3. โดยทั่วไปแล้วการตรวจระดับที่หนึ่งเป็นการตรวจที่ไม่ต้องอาศัย ความชำนาญมากนัก ได้แก่ การตรวจอายุครรภ์ ตรวจการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ปริมาณของน้ำคร่ำ จำนวนทารกในครรภ์ ตรวจการเคลื่อนไหวของหัวใจทารกในครรภ์ เมื่อใกล้คลอดยังสามารถตรวจท่าคลอดของทารกได้ รวมทั้งตำแหน่งของรกว่าเกาะติดกับผนังมดลูกอย่างไรบริเวณใด นอกจากนี้การตรวจระดับที่หนึ่งยังช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติในอุ้ง เชิงกรานต่างๆ ที่อาจพบได้ เช่น เนื้องอกของมดลูก เป็นต้น
4. สำหรับการตรวจโดยละเอียดหรือที่เรียกว่าระดับที่สอง มุ่งเน้นความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่สงสัยว่าจะมีความผิดปกติบางประการ ซึ่งเป็นการตรวจที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ และเป็นการตรวจที่ใช้เวลามากโดยเฉลี่ยประมาณหนึ่งชั่วโมง วิธีนี้จะตรวจละเอียดในทุกอวัยวะตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าของทารกในครรภ์ ได้แก่ เนื้อสมองส่วนต่างๆ โพรงน้ำในสมอง ก้านสมอง ลักษณะโครงใบหน้าของทารก ระยะห่างระหว่างลูกตาทั้งสองข้าง ส่วนคอ ทรวงอก ห้องหัวใจต่างๆ ทั้สี่ห้อง รวมทั้งลิ้นหัวใจทั้งหมด ส่วนของกระบังลม กระเพาะอาหาร ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ กระดูกสันหลังระดับต่างๆ กระดูกต้นขา และที่สำคัญคือตำแหน่งของสายสะดือที่เกาะบริเวณรก รวมทั้งจำนวนเส้นเลือดที่สายสะดือ
5. โดยทั่วไปสูติแพทย์ทำการตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวด์เบื้องต้นพื้น ฐานก่อนเสมอ โดยจะทำการตรวจระดับที่สองเมื่อมีข้อบ่งชี้ในทางการแพทย์เท่านั้น ข้อบ่งชี้ต่างๆ ได้แก่ มารดาเคยคลอดบุตรที่พิการแต่กำเนิด พัฒนาการของทารกในครรภ์ผิดปกติ ตรวจเลือดมารดาพบระดับของอัลฟาฟีโตโปรตีนสูง ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับสารเคมีที่อาจมีผลทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิด ปกติ เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

1. ส่วนหัว สามารถตรวจได้ทันที โดยไม่ต้องเตรียมตัวก่อนตรวจ แต่ในเด็กบางรายอาจต้องให้ยาตามคำสั่งแพทย์
2. ส่วนคอและส่วนอก สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ
3. ส่วนท้อง แบ่งเป็น

  • Upper Abdomen งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ ในเด็กให้งดอาหารหรือนม 1 มื้อ เพื่อให้อวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะถุงน้ำดี ชัดเจน
  •  Lower Abdomen ไม่ ต้องงดน้ำและอาหาร เว้นแต่แพทย์สั่ง ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่ ซึ่งจะทำให้สามารถเห็นมดลูกและอวัยวะบริเวณท้องน้อยชัดเจน
  • Whole Abdomen งด อาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ แต่ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว หลังจากนั้นงดดื่ม และกลั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่

4. ส่วนอื่นๆ สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ
5. ควรงดน้ำ และอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อน การตรวจ สำหรับเด็กเล็ก ให้งดนมเพียง 4 ชั่วโมง เหตุที่ต้องงดน้ำ ก็เพราะว่าถ้าไม่มีอะไรถูกกลืนลงสู่หลอดอาหารแล้ว โอกาสที่อากาศจะผ่านสู่กระเพาะอาหารก็น้อยด้วย ซึ่งอากาศมีอิทธิพลต่อภาพอัลตราซาวนด์ ไม่ว่าจะมีอากาศอยู่ในส่วนใดของทางเดินอาหารก็ตาม ก็จะทำให้ขาดข้อมูลที่ต้องการบนภาพได้ และในกรณีที่ผู้ป่วยมีแก๊ซในลำไส้มาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้รอไปก่อน 2-3 ชั่วโมง เหตุที่ต้องงดอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาพลวงจากอาหารที่รับประทาน และอาหารที่มันๆ ยังทำให้ถุงน้ำดีบีบตัว จนการตรวจถุงน้ำดีทำได้ยาก

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

เครื่องตรวจด้วยคลื่นอุลตราซาวด์เป็นเครื่องมือที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงประมาณ 1-10 ล้านรอบต่อวินาที นำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์มานานกว่าห้าสิบปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันในทางสูติศาสตร์ นิยมใช้เครื่องมือแบบ real time scanner ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง 3.5-7 ล้านรอบต่อวินาที เครื่องมือนี้สามารถใช้ตรวจดูรูปร่างของอวัยวะต่างๆในร่างกาย ตรวจดูการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์และการทำงานของอวัยวะภายในบางชนิด โดยไม่เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ ถือเป็นการตรวจวินิจฉัยทางสูติศาสตร์ที่ปลอดภัยมากที่สุดอย่างหนึ่งการตรวจด้วยเครื่องมืออุลตราซาวด์ในทางสูติศาสตร์ แบ่งการตรวจเป็น 2 ระดับ คือการตรวจเบื้องต้นพื้นฐานทั่วไป หรือที่อาจเรียกว่าการตรวจระดับที่หนึ่ง (level 1 examination) เป็นการตรวจทั่วไปตามมาตรฐานสากลเพื่อวินิจฉัยการตั้งครรภ์ ประเมินอายุครรภ์ ติดตามการเจริญของทารกในครรภ์ รวมทั้งตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ต่างๆของมารดา และการตรวจระดับที่สอง (level 2examination) เป็นการตรวจอย่างละเอียดในกรณีที่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ เช่น ทารกผิดรูปหรือพิกลพิการ เป็นต้นโดยทั่วไปแล้วการตรวจระดับที่หนึ่งเป็นการตรวจที่ไม่ต้องอาศัยความชำนาญมากนัก ได้แก่ การตรวจอายุครรภ์ ตรวจการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ปริมาณของน้ำคร่ำ จำนวนทารกในครรภ์ ตรวจการเคลื่อนไหวของหัวใจทารกในครรภ์ เมื่อใกล้คลอดยังสามารถตรวจท่าคลอดของทารกได้ รวมทั้งตำแหน่งของรกว่าเกาะติดกับผนังมดลูกอย่างไรบริเวณใด นอกจากนี้การตรวจระดับที่หนึ่งยังช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติในอุ้งเชิงกรานต่างๆ ที่อาจพบได้เช่น เนื้องอกของมดลูก เป็นต้น สำหรับการตรวจโดยละเอียดหรือที่เรียกว่าระดับที่สอง มุ่งเน้นความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่สงสัยว่าจะมีความผิดปกติบางประการ ซึ่งเป็นการตรวจที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ และเป็นการตรวจที่ใช้เวลามากโดยเฉลี่ยประมาณหนึ่งชั่วโมง วิธีนี้จะตรวจละเอียดในทุกอวัยวะตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าของทารกในครรภ์ ได้แก่ เนื้อสมองส่วนต่างๆ โพรงน้ำในสมอง ก้านสมอง ลักษณะโครงใบหน้าของทารกระยะห่างระหว่างลูกตาทั้งสองข้าง ส่วนคอ ทรวงอก ห้องหัวใจต่างๆ ทั้สี่ห้อง รวมทั้งลิ้นหัวใจทั้งหมด ส่วนของกระบังลม กระเพาะอาหาร ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ กระดูกสันหลัง ระดับต่างๆ กระดูกต้นขา และที่สำคัญคือตำแหน่งของสายสะดือที่เกาะบริเวณรก รวมทั้งจำนวนเส้นเลือดที่สายสะดือ โดยทั่วไปสูติแพทย์ทำการตรวจด้วยคลื่นอุลตราซาวน์เบื้องต้นพื้นฐานก่อนเสมอ โดยจะทำการตรวจระดับที่สองเมื่อมีข้อบ่งชี้ในทางการแพทย์เท่านั้น ข้อบ่งชี้ต่างๆ ได้แก่ มารดาเคยคลอดบุตรที่พิการแต่กำเนิด พัฒนาการของทารกในครรภ์ผิดปกติ ตรวจเลือดมารดาพบระดับของอัลฟาฟีโตโปรตีนสูง ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับสารเคมีที่อาจมีผลทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติ เป็นต้น

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ที่ปรึกษา

Scroll to Top