อันตรายจากเสียงต่อหู

เสียงที่ดังเกินไปจะมีผลต่อการได้ยิน 2 ลักษณะ คือ

1. หูตึงชั่วคราว มักเกิดภายหลังจากที่ไปได้ยินเสียงดัง ๆ ในช่วงไม่นานนัก เช่น หลังเทศกาลตรุษจีนที่มีการจุดประทัดกันและ

2. หูตึงหรือประสาทหูเสื่อมแบบถาวรมักพบในพวกที่ได้รับเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เช่นพวกที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา

เสียงที่ดังนี้นอกจากจะมีผลต่อการได้ยินแล้วยังมีผลต่อร่างกายและตัวเราอีกหลายด้าน เช่น อาจรบกวนการนอกเสียงที่ดังยังรบกวนประสิทธิภาพในการทำงาน รบกวนการสื่อสารติดต่อทำให้อารมณ์ตึงเครียด หงุดหงิดและอารมณ์เสียได้ง่ายบางรายมีผลต่อร่างกายทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิตสูงและโรคคอพอกเป็นพิษเป็นต้น

ในภาวะปัจจุบันนี้ทุกคนควรช่วยกันรณรงค์เพื่อลดมลภาวะจากเสียงด้วยการช่วยกันทั้งในระดับส่วนบุคคลและในระดับสังคมสำหรับแนวทางการลดความดังของเสียงที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม เช่นการดูแลรักษารถยนต์มอเตอร์ไซค์ให้อยู่ในสภาพดีไม่ติดท่อไอเสียชนิดที่มีเสียงดังรบกวน ดูแลเครื่องมือเครื่องใช้ของตนให้อยู่ในสภาพดีไม่หลวมคลอนก็จะช่วยลดความดังของเสียงขณะใช้งานลงได้บ้างในระดับโรงงานท่านที่เป็นเจ้าของก็ควรที่จะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในเรื่องมาตรการการควบคุมเสียงผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในที่ที่มีเสียงดังก็ควรใช้เครื่องป้องกันเสียงเป็นต้น โปรดระลึกไว้เสมอว่าประสาทหูที่เสื่อมจากการได้ยินนั้น เป็นการเสื่อมที่ถาวรไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนดีดังเดิมได้จึงควรที่จะเอาใจใส่ระมัดระวังป้องกันไว้เป็นดีที่สุด

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top