ยาทุกตัวย่อมมีทั้งคุณและโทษควบคู่อยู่ด้วยกันเสมอ ในการใช้ยาจึงต้องรู้ว่าควรใช้อย่างไร ใช้ขนาดเท่าไหร่ ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ อันตรายที่เกิดจากการใช้ยาแบ่งได้ 7 ประเภท ดังนี้
1. การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่นรับประทานปริมาณมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) แจถึงตายได้พาราเซตามอล จำนวนมาก ๆ ทำให้ถึงตายได้ฟีโนบาร์บิโทน ขนาดมาก ๆ ทำให้กดศูนย์ควบคุมการหายใจ ผู้ป่วยหยุดหายใจถึงตายได้ยารักษาเบาหวานหลายเม็ด อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นลมถึงตายได้
2. ผลข้างเคียงของยา (Side effect) เช่นทำให้ระคายเคืองต่อกระเพรา (กัดกระเพาะ) เป็นโรคกระเพาะได้ เช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ สเตอรอยด์ รีเซอร์พีนทำให้หูหนวก เสียการทรงตัว เช่น สเตรปโตมัยซินเป็นพิษต่อไต เช่น สเตรปโตมัยซิน ยาประเภทซัลฟาทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Agranulocytosis) เช่น ไดพัยโรน ซัลฟา เฟนิลบิวตาโซน ยารักษาคอพอก เป็นต้นทำให้มีพิษต่อตับ เช่น เตตราซัยคลีน อีริโทรมัยซิน ไอเอ็นเอช ไทอาเซตาโซน เป็นต้นทำให้มีพิษต่อประสาทตา เช่น อีแทบูทอล คลอโรควีน เป็นต้นทำให้ฟันเหลืองดำ เช่น เตตราซัยคลีน
3. การแพ้ยา (Drug hypersensitivity)
4. การดื้อยา (Drug allergy) มักจะเกิดกับยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างผิด ๆ
5. การใช้ยาในทางที่ผิด และการติดยา (Drug abuse และ Drug dependence) เช่น
- การติดยามอร์ฟีน เฮโรอีน ยาแก้ปวดที่เข้าคาเฟอีน ยากระตุ้นประสาท แอมฟีตามีน (ยาบ้า ยาขยัน)
- การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นยาลดไข้
- การใช้สเตอรอยด์เป็นยาลดไข้ หรือยาลดความอ้วน
- การใช้เอฟีดรีน หรือแอมฟีตามีนเป็นยาขยัน
- การใช้น้ำตาลเกลือแร่ (ORS) เป็นยาบำรุงร่างกาย
- ปฏิกริยาต่อกันของยา (Drug interaction) จะเกิดขึ้นเมื่อมียาเข้าสู่ร่างกายมากกว่า 2 ตัวขึ้นไปพร้อมกัน ซึ่งอาจจะเสริมฤทธิ์กัน หรือำทำให้ฤทธิ์ยาแรงขึ้น หรือต้านฤทธิ์กัน ทำให้ผลการรักษาลดน้อยลงไป เช่น
- แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์) ถ้ารับประทานพร้อมกับยานอนหลับ ยาแก้แพ้ จะช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับมากขึ้น
- แอลกอฮอล์ ถ้ารับประทานพร้อมกับแอสไพริน จะเสริมฤทธิ์การระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
- อีริโทรมัยซิน ถ้ารับประทานพร้อมกับทีโอฟิลลีน จะทำให้ระดับของยาชนิดหลังในกระแสเลือดสูงขึ้น
- เฟนิลบิวตาโซน ไอเอ็นเอช หรือซัลฟา ถ้ารับประทานพร้อมกับยารักษาเบาหวาน จะเสริมฤทธิ์การลดน้ำตาล ทำให้เกดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- สเตอรอยด์ ไทอาไซด์ หรือแอดรีนาลีน จะต้านฤทธิ์การลดน้ำตาลของยารักษาเบาหวาน ถ้าใช้พร้อมกัน อาจทำให้การรักษาเบาหวานไม่ได้ผล
- บาร์บิทูเรต แอมพิซิลลิน เตราซัยคลีน หรือยารักษาโรคลมชัก (เช่น ไดแลนทิน) ถ้ารับประทานพร้อมกับยาเม็ดคุมกำเนิด จะออกฤทธิ์ต้านยาคุมกำเนิด
- ยาลดกรด ถ้ารับประทานร่วมกับเตตราคลีน หรือยาบำรุงโลหิต จะทำให้การดูดซึมของเตตราซัยคลีน หรือยาบำรุงโลหิตลดน้อยลง
- แอสไพริน จะต้านฤทธิ์การขับกรดยูริกของโพรเบเนซิด (Probenecid) จึงห้ามใช้แอสไพรินในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่ใช้ยาโพรเบเนซิด
6. การตอบสนองต่อยาในคนที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น
- คนที่มีภาวะพร่องเอนไซม์จี-6-พีดี ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ ถ้ากินแอสไพรินซัลฟา คลอแรมเฟนิคอล ฟูราโซลิโดน พีเอเอส ควินิน ไพรตาโซนอาจทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกได้
- คนที่เป็นโรคเก๊าท์ ถ้ากินสเตอรอยด์ไทอาไซด์ หรือ แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์) ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้
- คนที่เป็นเบาหวาน ถ้ากินสเตอรอยด์ ไทอาไซด์ หรือยาเม็ดคุมกำเนิดก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้
ข้อแนะนำ การใช้ยาไม่ให้เป็นโทษ
1. ทำความรู้จักยาทั้งในแง่สรรพคุณ ผลข้างเคียง ขนาดที่ใช้ ระยะเวลาที่ใช้ไม่ใช้อย่างเดาสุ่ม อย่างครอบจักรวาล อย่างพร่ำเพรื่อ หรือมากเกินไป
2. หากมีประวัติการแพ้ยาชนิดใด ควรบอกให้แพทย์ทราบทุกครั้ง
3. ไม่ซื้อยาชุดจากร้ายขายยาเอง เนื่องจากมักมียาอันตรายผสมอยู่ด้วย เช่น คลอแรมเฟนิคอล เพร็ดนิโซโลน
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์