หูตึงกับผู้สูงอายุ

หูตึง…กับผู้สูงอายุ

ปัญหาเรื่องการได้ยินแย่ลงกับผู้สูงอายุมักเป็นปัญหาของคู่กัน มีคำกล่าวเล่นๆ ว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น ทุกอย่างในร่างกายจะหย่อนยานลง ยกเว้นหูเท่านั้นที่ตึงขึ้น ปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุมักจะค่อยๆ เกิดขึ้น โดยตัวผู้สูงอายุเองมักจะไม่ทราบว่าตัวเองหูตึง แต่คนรอบข้างมักจะรู้ เพราะในการสนทนาต้องใช้เสียงดังขึ้น เปิดทีวีดังขึ้น ในบางคนอาจจะมีปัญหาเสียงรบกวนในหู (Tinnitus) ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญจนนำมาพบแพทย์

สาเหตุของปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุมีอยู่มากมาย โดยสาเหตุเล็กๆ มักเกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทการได้ยิน (Cochlear) โดย มักจะเริ่มเสื่อมจากความถี่สูง (high frequency) ก่อนแล้วค่อยๆ เป็นมากขึ้น ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดหูตึงในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคทางไตที่ต้องใช้ยาเรื้อรัง เหล่านี้เป็นปัญหาที่ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาหูตึง ได้ทั้งสิ้น

image 3

ปัญหาของหูตึงในผู้สูงอายุก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ

  • คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแย่ลง มีปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นๆ รอบๆ ตัว อาจจะเกิดความรำคาญกับบุคคลรอบตัวได้
  • อาจเกิดอันตรายจากการที่ไม่ได้ยินเสียงเตือนต่างๆ เช่น ของตกใส่ อุบัติเหตุจราจร
  • อาจจะเกิดปัญหาซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้

การดูแลรักษา

  • ควรตรวจสมรรถภาพการได้ยินเป็นประจำทุกปี เมื่ออายุเกิน 60 ปี
  • ควบคุมดูแลโรคประจำตัวต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจทำให้หูตึงได้
  • ถ้าพบว่าประสาทหูเสื่อมถึงระดับปานกลาง การใช้เครื่องช่วยฟัง (hearing aids) ก็เป็นวิธีที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นได้

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top