สิ่งที่ควรปฏิบัติ ตอน แผ่นดินไหว ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

สิ่งที่ควรปฎิบัติก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
          เพื่อความไม่ประมาทศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพแจ้งเตรียมความพร้อมไว้ ดังนี้

          – เตรียมกระเป๋าเดินทางหนึ่งใบ สำหรับใส่สิ่งของที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉิน และจัดวางในตำแน่งที่ทุกคนในบ้านทราบ ดังนี้
1.อาหาร ได้แก่ น้ำดื่ม อาหารแห้ง (ตรวจสอบวันหมดอายุด้วย)
2.อุปกรณ์ให้แสงสว่าง ควรมีไฟฉาย พร้อมถ่านไฟฉาย
3.อุปการณ์ใช้รับฟังข่าวสาร เช่น วิทยุที่ใช้ถ่านไฟฉายได้ พร้อมถ่านสำหรับวิทยุ
4.อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
5.รองเท้ายาง หรือรองเท้าหุ้มส้น เพื่อใส่ป้องกันการเหยียบเศษแก้วหรือของมีคม ที่พังและเสียหาย ไม่ให้รับบาดเจ็บ
6.นกหวีด เพื่อขอความช่วยเหลือกรณีติดอยุ่ภายในซากปรักหักพัง
– ควรเตรียมเครื่องดับเพลิงไว้ในบ้าน และวางในจุดใกล้กับกระเป๋าฉุกเฉิน
– ควรทราบตำแหน่งของ วาล์วปิดน้ำ สะพานไฟฟ้า สำหรับกรณีที่ต้องการตัดการส่ง น้ำและกระแสไฟฟ้า
– ควรทราบตำแหน่งของ วาล์วปิดแก๊ส และจัดการป้องกันไม่ให้แก๊สรั่วไหล โดยใช้สายท่อแก๊สที่ยืดหยุ่นได้
– ไม่ควรเก็บสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูงๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจหล่นลงมาเป็นอันตรายได้
– ควรมีการพูดคุยวางแผนกับสมาชิกในครอบครัวเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมตัวกันอีกครั้งในภายหลัง
– ควรตรวจสอบดูว่าที่พักอาศัยนั้นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัย แผ่นดินไหวหรือไม่
1.สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
2.เสริมบ้านหรืออาคารให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อต้านแผ่นดินไหว
3.ตรวจสอบบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
4.ยึดติดอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ กับพื้นหรือผนังบ้านอย่างแน่นหนา เช่น ทำที่ยึดตู้และเฟอร์นิเจอร์ไว้ไม่ให้ล้ม ติดยึดชุดโคมไฟบนเพดานให้มั่นคง

สิ่งที่ควรปฎิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

          ภัยแผ่นดินไหวจะเกิดการสันสะเทือนอย่างรุนแรงโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงมักมีเหตุอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้งอาจเกิดแผ่นดินแยก แผ่นดินถล่มและอาคารอาจไม่พังทลายในทันทีแต่อาจจะพังทลายภายหลัง ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น ขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหว อันดับแรกสุดคือ ตั้งสติ อย่างผลีผลามควรดูสถานการณ์รอบข้าง

1.กรณีอยู่ภายในอาคารสูง
1.1ถ้าอยู่ในชั้นล่างๆ

  • ให้รีบออกจากอาคารไปสู่ที่โล่งแจ้งในทันที
  • ให้หนีห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้ อย่าวิ่งเข้าออกไปมา อาจทำให้เกิดความโกลาหล และได้รับอันตรายได้
  • อย่าแย่งกันออกจากประตู เพราะอาจเกิดอันตรายจากการเหยียบกันจนได้รับบาดเจ็บได้

1.2ถ้าอยู่ในตึกชั้นสูงๆ

  • ให้อยู่ที่ชั้นเดิม ห้ามใช้ลิฟต์ เพราะไฟฟ้ามักจะดับเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
  • หากออกจากอาคารไม่ได้ให้หมอบอยู่ใต้โต๊ะ หรือยืนชิดติดกับเสาที่แข็งแรง และคลุมศีรษะไว้จนกระทั่งแผ่นดินไหวหยุดเอง
  • ยืนห่างจากประตู ระเบียง หน้าต่าง สายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งที่ห้อยแขวน เพื่อป้องกันการพังทลายลงมา
  • เตรียมพร้อมเพื่อใช้ระบบเตือนภัยและระบบดับเพลิง ห้ามใช้เทียน ไม่ขีดไฟ ไฟแช็ก หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วออกมาทำให้เกิดไฟไหม้ได้

2.กรณีอยู่ในบ้าน

  • ให้อยู่ในบ้าน ไม่วิ่งไปมา
  • ยืนชิดมุมเสา ที่มีโครงสร้างแข็งแรงที่สุดสามารถรับน้ำหนักได้มาก
  • นอนราบที่พื้น หรือ ขดตัวเก็บแขนขาเหมือนทารก ข้างเก้าอี้ตัวใหญ่ใหญ่ หรือใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันสิ่งของร่วงหล่นลงมา
  • คลุมศีรษะไว้จนกระทั่งแผ่นดินไหวหยุดเอง
  • เตรียมพร้อมเพื่อใช้ระบบเตือนภัยและระบบดับเพลิง

3.กรณีนั่งอยูในรถหรือขับขี่ยานพาหนะ

  • ให้รีบจอดยานพาหนะ และดับเครื่องยนต์ ในที่โล่งแจ้ง
  • ห้ามหยุดใต้สะพาน ใต้ทางด่วน หรือใต้สายไฟฟ้าแรงสูง
  • ให้อยู่ภายในรถยนต์ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวหยุดเอง

4.กรณีอยู่ในรถไฟ หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน

  • ให้ฟังและปฏิบัติตามคำแนะจากเจ้าหน้าที่ อย่างมีสติ
  • อย่ารีบแย่งกันไปที่ประตูทางออก
  • รถไฟฟ้าอาจหยุดวิ่งอัตโนมัติในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหว รุนแรงระดับหนึ่ง ให้หาที่จับอย่างมั่นคงเพราะรถไฟอาจเบนคอย่างกระทันหัน
  • อย่าพยายามออกจากรถไฟด้วยตนเอง

5.กรณีอยู่ในที่โล่งแจ้ง: ควรอยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และป้ายโฆษณาต่างๆ ที่ติดห้อยแขวน
6.กรณีอยู่ริมหน้าภูผา: ให้รีบมายังจัดที่ปลอดภัย เพราะหินและดิน อาจจะถล่มลงมาได้
7.กรณีอยู่ชายทะเล:ควรอยู่ห่างจากชายฝั่งเพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่งสิ่งสำคัญไม่ว่าคุณจะอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม ให้หาหมอนหรือสิ่งใดที่สามารถบังศีรษะได้ และคลุมไว้จนกว่าแผ่นดินไหวจะหยุดสั่น อย่าใช้โทรศัพท์ ให้ใช้เฉพาะในกรณีที่จำเป็น

สิ่งที่ควรปฎิบัติหลังเกิดแผ่นดินไหว

  • ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หากพบผู้บาดเจ็บให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
  • ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมา อาคารอาจพังทลายลงมาได้
  • ให้ไปยังจุดที่นัดหมายกับสมาชิกไว้ เพื่อตรวจสอบจำนวนสมาชิก
  • ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่นๆ และสิ่งหักพังแทง
  • ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด หรือจุดที่วัสดุสายไฟพาดถึง เพราะอาจมีกระแสไฟ้ฟ้ารั่วออกมา
  • ตรวจสอบการชำรุดเสียหายของสะพานยกไฟ และสิ่งที่เป็นสารธณูปโภคต่างๆ เช่น สำรวจดูความเสียหายของ ท่อน้ำ ท่อส้วม และท่อน้ำทิ้ง ก่อนใช้งาน
  • ตรวจสอบว่ามีแก๊สรั่วหรือไม่โดยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นแก๊สรั่ว ให้ปิดวาล์วถังแก๊ส และเปิดประตูหน้าต่างออกทุกบาน ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
  • เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉินเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
  • อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริงๆ
  • อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
  • อย่าแพร่ข่าวลือ หรือหลงเชื่อข่าวลือ

ร.อ. นพ. พันเลิศ ปิยะราช
ระบาดวิทยาคลินิค, ระบาดวิทยาโรคติดเชื้อ
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top