การส่องกล้องข้อเข่าคืออะไร?
• เป็นการผ่าตัดเพื่อใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กเพื่อส่องตรวจดูภายในข้อโดยผ่านแผลขนาดเล็ก (ประมาณ 5 มิลลิเมตร)
• อุปกรณ์ประกอบไปด้วยกล้องและเลนส์ ซึ่งส่งสัญญาณภาพบนจอโทรทัศน์ ทำให้สามารถเห็น และทำการผ่าตัดผ่านจอโทรทัศน์ได้
• แพทย์สามารถทำ การผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก (ขนาดตั้งแต่ 2-5 มิลลิเมตร) โดยผ่านแผลเล็กๆ ได้ โดยในปัจจุบันได้พัฒนาเครื่องมือซึ่งสามารถจะทำการผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็น, หมอนรองกระดูก, ทำความสะอาดข้อ ฯลฯ ได้
จะสามารถเห็นอะไรในข้อเข่าได้บ้าง
เข่าเป็นส่วน ต่อของกระดูกต้นขา (Femur) กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกสะบ้า (Petella) โดยบริเวณผิวกระดูกจะมีกระดูกอ่อน สึกหรือไม่เรียบซึ่งมักเกิดจากความเสื่อมก็จะเรียกว่าข้อเข่าเสื่อม
โรคที่สามารถใช้การส่องกล้องในการวินิจฉัยและการรักษา ได้แก่
ข้อเข่า : เส้น เอ็นหรือหมอนรองข้อฉีกขาด, ปวดข้อเรื้อรังจากข้อเสื่อม, กระดูกอ่อนสึกกร่อนอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีก เช่น การติดเชื้อ, โรครูมาตอยด์ เป็นต้น ข้อที่กระดูกอ่อนสึกกร่อนจะมีอาการปวด, บวม แต่ปัญหาสำคัญของกระดูกอ่อน คือ ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ถ้าสึกไปแล้วก็จะเป็นถาวรจึงมีความสำคัญที่ต้องรักษา ก่อนที่กระดูกอ่อนจะสึกหรอ
ข้อไหล่ : เส้นเอ็นฉีกขาด, ข้อหลุดหรือเคลื่อน
ข้อมือ : พังผืดกดทับเส้นประสาท, ปวดเรื้อรัง
นอกจากกระดูก อ่อนแล้ว จะมีหมอนรองกระดูกเข่า (Meniscus) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายรูปพระขันทร์เสี้ยวทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกของข้อเข่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเข่าทำให้ฉีกขาดได้ทำให้มีอาการเจ็บและบวมหรือ แม้กระทั่งเข่าติด ขยับไม่ได้
ข้อดีของการส่องกล้องข้อภาวะแทรกซ้อน น้อยกว่า เช่น การติดเชื้อ, ข้อบวม, เลือดคั่งในข้อ (พบได้น้อยกว่า 1%) เอ็นข้อเข่า เป็นเอ็นเส้นใหญ่ซึ่งทำหน้าที่ยึดข้อให้มั่นคง ในกรณีที่มีการพลิก, บิดของข้อเข่ารุนแรงจะทำให้เอ็นฉีกขาดในระยะแรกจะพบ ว่าหลังอุบัติเหตุจะมีเข่าบวมทันที และไม่สามารถใช้เข่าได้ตามปกติ ในระยะหลังถ้าไม่รักษา เข่าจะหลวมและไม่สามารถใช้เข่าได้ตามปรกติ ทำให้เดิน, หมุนตัว หรือเล่นกีฬาไม่ได้เนื่องจากเข่าไม่ มั่นคงและที่สำคัญคือจะทำให้เข่าเสื่อมได้เร็วกว่าปกติการผ่าตัดสร้างเอ็น เข่า (Ligament Reconstruction) สามารทำได้ด้วยแผลขนาดเล็กโดยใช้กล้องผ่าตัด ทำให้การฟื้นฟูและระยะเวลาการรักษาลดลงมากเมื่อเทียบกับการรักษาแบบผ่าตัด เปิดแผลแบบเดิมการผ่าตัดใช้เวลานาน, นอนโรงพยาบาลหรือไม่ทั่วไปนอนโรง พยาบาล ประมาร 1-2 วัน และสามารถเดินได้โดยใช้ไม้ค้ำยัน ส่วนการเดินลงย้ำหนักได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของการบาดเจ็บและผ่าตัด
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์