การเอาชิ้นเนื้อจากเต้านมไปตรวจในกรณีที่แพทย์ตรวจพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจเป็นไปได้ใน 3 กรณีดังนี้คือ
1.คลำก้อนได้อย่างชัดเจน
2. คลำ ก้อนได้ไม่ชัดเจน แต่ตรวจพบได้จากการตรวจเอกซเย์เต้านม MammoGram หรือ3 อาจเป็นในกรณีที่คลำก้อนไม่ได้เลย แต่ใปรับการตรวจเอกซเรย์เต้านมตามระยะเวลา แล้วพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้วกับเต้านม
3.กรณีแพทย์จะแนะนำให้ เอาชิ้นเนื้อจากก้อนที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นในเต้านมมาตรวจ ซึ่งจะเป็นวิธี เดียวเท่านั้นที่จะยืนยันได้ว่าก้อนเนื้อนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่
สำหรับการจะได้ชิ้นเนื้อมาตรวจอาจทำได้ 3 วิธีดังนี้ คือ
1. ใน ระหว่างทำการตรวจเอกซเรย์เต้านม ในบางสถาบันหรือในบางโรงพยาบาลจะสามารถทำการเจาะชิ้นเนื้อจากตำแหน่งก้อนที่ พบว่ามีความผิดปกติเอาไปตรวจได้เลย โดยอาศัยภาพเอกซเรย์ช่วยให้เกิดความแม่นยำว่า เจาะเนื้อออกจากตำแหน่งที่เป็นก้อนที่สงสัยจริง
2. ในกรณีคลำก้อนได้ อาจใช้เข็มเจาะลงไปตรงตำแหน่งก้อนและดูดเอาชิ้นเนื้อหรือน้ำ จากดำแหน่งที่เป็นก้อนเอาไปตรวจ สำหรับวิธีนี้ถ้าก้อนไม่ใหญ่มาก ความแม่นยำอาจไม่ดีพอ
3. ในกรณีที่พบความผิดปกติทั้งคลำได้หรือคลำไม่ ได้ แพทย์อาจจะแนะนำให้เอาชิ้นเนื้อไปตรวจโดยการผ่าตัดลงไปที่ก้อนนั้นๆ และส่งตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ก่อนผ่าตัดแพทย์อาจจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะทำอะไร และถ้าหากพบสิ่งปิดปกติแล้วเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางกล้อง จุลทรรรศ์พบว่าเป็นมะเร็ง จะทำอะไรต่อไปในการผ่าตัดคราวเดียวกัน หรือจะรอไว้ก่อนเพื่อตัดสินใจ ภายหลัง ก็อาจจะกระทำได้
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาสอบถามจากแพทย์ผู้รักษานะคะ
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์