การเตรียมรับมือกับ ไวรัสโอไมครอน

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 WHO ได้ระบุเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 หรือ โอไมครอน (Omicron)ที่ได้รับรายงานเป็นครั้งแรก จากแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564   เกิดขึ้นในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอายุน้อย พบว่าไวรัสที่มีการกลายพันธุ์นี้อาจมีผลกระทบต่อความเร็วในการแพร่กระจายโรคหรือความรุนแรงของการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น   รวมถึงการติดเชื้อซ้ำกับสายพันธุ์นี้ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ

นักวิจัยกำลังศึกษาว่า ไวรัสโอไมครอนนั้น มีความสามารถในการหลบหลีกวัคซีนได้มากน้อยแค่ไหน?

ความสามารถในการแพร่เชื้อ

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลระบุอย่างชัดเจนว่า Omicron สามารถแพร่เชื้อได้ดีกว่าหรือไม่ (เช่น แพร่กระจายจากคนสู่คนได้ง่ายกว่า) เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงสายพันธุ์ Delta

ความรุนแรงของโรค

สายพันธุ์นี้มีอาการไม่มาก ทั้งในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแล้วและไม่ได้รับวัคซีน   ระดับความรุนแรง  ยังบอกได้ยาก เพราะตัวนี้ยังใหม่เกินไป จะต้องดูจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ผลการรักษา อัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล เปรียบเทียบกับสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ เช่น สายพันธุ์ เดลตา

ประสิทธิผลของการทดสอบทางห้องปฏิบัติติการในปัจจุบัน

การทดสอบ PCR ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายยังคงมีความแม่นยำสูงในการตรวจหาการติดเชื้อโควิดทุกสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron

ประสิทธิผลของการรักษาในปัจจุบัน

ยาสเตียรอยด์ (Corticosteroids) และ IL6 Receptor Blockers จะยังคงมีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ที่รุนแรง การรักษาอื่นๆ จะได้รับการประเมินเพื่อดูว่ายังคงมีประสิทธิภาพเท่าเดิมหรือไม่เมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆ ของไวรัสในสายพันธุ์ Omicron

คำแนะนำจาก WHO สำหรับประเทศต่างๆ

เนื่องจาก Omicron ถูกกำหนดให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ แต่ละประเทศกำลังสกัดไวรัสตัวนี้และเพิ่มมาตรการในการดูแลตัวเองเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของกลุ่มเสี่ยง  รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้สูงอายุ ได้รับการฉีดวัคซีน และการเข้าถึงการรักษาและการวินิจฉัย

กลุ่มเสี่ยง และพฤติกรรมที่ต้องระวัง

•คนสูบบุหรี่ มีโอกาสป่วยหนักจากผลข้างเคียง การติดเชื้อ  มากขึ้น  1.5 เท่า

•คนอ้วน มีความเสี่ยงในการป่วยหนัก จากการมีไขมันที่เกินมาตรฐาน

•ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน  

•ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ  เพิ่มความเสี่ยง ประมาณ2-3 เท่า

•คนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์   จะทำให้ความสามารถในการสู้กับไวรัสลดลง

•มลภาวะทางอากาศ จะทำให้ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ  จึงควรใส่หน้ากากให้ถูกประเภท

•การนอนที่ไม่เพียงพอ  และขาดการออกกำลังกาย

คำแนะนำโดยสรุป

ติดยากไหม   คงไม่สำคัญเท่า การรู้จักป้องกันตัวเอง  หากเราไม่ประมาท การ์ดไม่ตก ไวรัสก็ทำอะไรเราได้ยาก

ทุกคนต้องช่วยกัน ปฎิบัติตัวแบบ new normal   เคารพในกฎเกณฑ์กติกา ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขวางกฎเกณฑ์ไว้

อาทิ  รักษาระยะห่างทางกายภาพอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น  สวมหน้ากากที่เหมาะสม เปิดหน้าต่างเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดีหรือมีผู้คนพลุกพล่าน ล้างมือให้สะอาด ไอหรือจามใส่ข้อศอกหรือกระดาษชำระ    การฉีดวัคซีนก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ได้มากที่สุด

ไวรัสยังไม่หมดไปง่ายๆ ถ้าทุกคนมีภูมิต้านทาน ก็จะลดความรุนแรงของโรคลง ลดการป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลและการเสียชีวิต อนาคตการติดเชื้อนี้จะเหมือนกับโรคทางเดินหายใจทั่วไป

การ์ดไม่ตก  คลิกชม  วิธีการดูแลตัวเอง แบบ New Normal   BDMS สรุปเรื่อง DMHTT  ไว้ง่ายๆ     https://www.youtube.com/watch?v=0d3Xsk6btIA        

แหล่งข้อมูล

https://www.who.int/news/item/26-11-2021-classification-of-omicron-(b.1.1.529)-sars-cov-2-variant-of-concern

https://www.who.int/news/item/28-11-2021-update-on-omicron

https://www.cdc.gov/media/releases/2021/s1126-B11-529-omicron.html

Scroll to Top