ปัจจุบันศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค และพันธมิตรกำลังติดตามรายงานเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบการฉีดวัคซีน COVID-19 โดยการตรวจสอบอย่างแข็งขันรวมถึงการตรวจสอบข้อมูลและเวชระเบียน และการประเมินความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีน COVID-19
สิ่งที่คุณต้องรู้
- มีรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบไปศูนย์รับรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนโควิดในกรณีต่อไปนี้
- หลังฉีดวัคซีน mRNA COVID-19 (Pfizer-BioNTech หรือ Moderna) โดยเฉพาะในวัยรุ่นชายและวัยหนุ่มสาว
- พบได้มากขึ้นในการรับวัคซีนเข็มที่สอง
- ส่วนมากมีอาการไม่กี่วันหลังจากฉีดวัคซีน
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ที่ได้รับการรักษามีการตอบสนองต่อยาได้ดี และอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมประจำวันตามปกติได้หลังจากที่อาการดีขึ้น ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบควรปรึกษากับแพทย์โรคหัวใจ เกี่ยวกับการกลับไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
อาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- เจ็บหน้าอก
- หายใจหอบ
- รู้สึกหัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นแรง
ไปพบแพทย์หากคุณหรือบุตรหลานของคุณมีอาการเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากภายในหนึ่งสัปดาห์หลังการฉีดวัคซีน COVID-19
ท่านยังควรฉีดวัคซีนให้ตัวเองหรือลูกหรือไม่?
ใช่ควรฉีด ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยังคงแนะนำให้ทุกคนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เนื่องาจากความเสี่ยงที่เกิดจากการเจ็บป่วยจาก COVID-19 และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาสุขภาพในระยะยาว การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแม้กระทั่งการเสียชีวิต นั้นมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
Myocarditis คืออะไร?
Myocarditis คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่งผลต่อสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจและอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ (arrhythmia) นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อความสามารถของหัวใจในการสูบฉีดเลือดและหมุนเวียนออกซิเจน
สาเหตุเกิดจากอะไร?
มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือปฏิกิริยาของยา เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก และทารก ในความเป็นจริง มีแนวโน้มที่จะภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีที่มีสุขภาพแข็งแรง และในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณสองเท่า
มีอาการอย่างไรบ้าง?
โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีตั้งแต่อาการน้อยถึงรุนแรง ยังส่งผลต่อเด็กแตกต่างกัน
ในกรณีที่ไม่รุนแรง มีอาการดังต่อไปนี้:
- เจ็บหน้าอก
- หายใจถี่
- ใจสั่น
ในกรณีที่รุนแรง มีอาการดังต่อไปนี้:
- เจ็บหน้าอก
- จังหวะการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติหรือเต้นผิดปกติ
- หายใจถี่ ขณะพัก หรือระหว่างทำกิจกรรม
- อาการบวมที่ขา ข้อเท้า และเท้า
- ความเหนื่อยล้า
อาการอื่นๆ อาจเป็นส่วนหนึ่งของการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย ปวดข้อ มีไข้ เจ็บคอ หรือท้องร่วง
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็ก ได้แก่:
- ไข้
- เป็นลม
- หายใจลำบาก
- หายใจเร็ว
- หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ
หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ให้แจ้งแพทย์ของคุณ หากเป็นเรื่องฉุกเฉิน โทร 1669 หรือ 1724 หรือไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
วัคซีน COVID-19 สามารถทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้หรือไม่?
สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่แน่ใจว่ากลไกการเกิดโรคเกิดจากอะไร ปัจจุบันมีเพียงประมาณ 1,000 คนเท่านั้นที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค และมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ซึ่งมักพบได้บ่อยในกลุ่ม
- ในวัยรุ่นชายอายุ 16 ปีขึ้นไป
- หลังจากฉีดวัคซีน mRNA COVID-19 เข็มที่สอง
- เกิดขึ้นภายในไม่กี่วันหลังจากได้รับวัคซีน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่หายเป็นปกติหลังจากได้รับการรักษาและพักผ่อน ผู้เชี่ยวชาญกำลังติดตามผลข้างเคียงแต่ยังต้องการการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุและผลกระทบในระยะยาวคืออะไร
การวินิจฉัยเป็นอย่างไร?
การวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการรักษาที่เหมาะสม การฟื้นตัวเต็มที่ และการป้องกันปัญหาหัวใจในระยะยาว แพทย์ของคุณอาจทำการตรวจร่างกายและถามเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ แพทย์อาจทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ภาพถ่ายทางรังสี และการตรวจเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ เพื่อยืนยันว่าอาการรุนแรงเพียงใด
แนวทางการรักษาเป็นอย่างไร?
โดยปกติภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะดีขึ้นเองและคุณฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ ในบางกรณีคุณอาจต้องได้รับการรักษา เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยาต้านไวรัส
หากคุณเคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกายอย่างหนัก เช่น เล่นกีฬาเป็นเวลาอย่างน้อย 3-6 เดือน ปรึกษากับแพทย์ของคุณก่อนที่จะกลับไปออกกำลังกายตามปกติหรือเล่นกีฬา
Content source:
National Center for Immunization and Respiratory Diseases (NCIRD), Division of Viral Diseases
https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/safety/myocarditis.html