โคเลสเตอรอลเป็นไขมัน
ชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งได้รับมาจากอาหารที่มาจากสัตว์ อาหารที่มาจากพืชจะไม่มีโคเลสเตอรอล ส่วนร่างกายสร้างขึ้นเอง จากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและ ไขมัน
หากมีโคเลสเตอรอลปริมาณสูงในเลือด ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจาการกรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัวมากเกินไป บางรายอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือจากโรคไต โรคตับ และโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีผลทำให้เส้นเลือดแดงแข็ง ถ้าหากเกิดที่เส้นเลือดแดงของหัวใจ ก็จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้
การตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณโคเลสเตอรอลสูงกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร หรือไม่ โดยการงดอาหารทุกชนิดก่อนเจาะเลือด 12 ชม. จะทำให้วินิจฉัยโรคนี้ได้
สำหรับคำแนะนำในการป้องกันและรักษาโรคคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีดังนี้
1. การจำกัดอาหารประเภทไขมัน เพราะอาหารที่มีไขมันมาก จะมีโคเลสเตอรอลสูงด้วย
2. รับประทานน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคอย่างเพียงพอ ซึ่งมีผลทำให้เพิ่มการขับถ่ายโคเลสเตอรอลออกจากร่างกาย
3. รับประทานโคเลสเตอรอลให้น้อยลง ได้แก่ พวกเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะพวกสมอง หนังเป็ด หนังไก่ สำหรับไข่ซึ่งมีโคเลสเตอรอลอยู่ 250-300 กรัม ใน 1 ฟอง ยังคงรับประทานได้อาจจะวันเว้นวัน หรือถ้ากลัวมากอาจทานแต่ไข่ขาว เพราะไม่มีโคเลสเตอรอล ผู้สูงอายุบางคนไม่ยอมทานไข่ ปรากฏว่าอาหารที่รับประทานอยู่มีโปรตีนที่มีคุณภาพน้อยไม่เพียงพอ บางทีทำให้เกิดโรคขาดโปรตีน
4. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยรักษาระดับของโคเลสเตอรอลในเลือดได้อีกวิธีหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี
5. การรับคำแนะนำและการรักษาจากแพทย์ ซึ่งบางรายต้องรับการรักษาด้วยยา สำหรับควบคุมระดับโคเลสเตอรอล
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์