Health Literacy for Health Care Worker เมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าความรู้ด้านสุขภาพก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นโดยเฉพาะสังคมผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง
ค่าใช้จ่ายสุขภาพที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเทคโนโลยีราคาแพงและยังมีความท้าทายอย่างโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ตามมาด้วยปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์
เราจึงอยากติดอาวุธให้กับบุคลากรทางการแพทย์เพราะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ รักษาดูแลสุขภาพและสื่อสารโดยตรงกับผู้รับบริการหรือผู้ป่วยนั่นเอง
ประเทศไทยเราจำเป็นต้องพัฒนาตำราหรือหลักสูตรความรู้สุขภาพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของเราให้ทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งสถานการณ์สุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป วิทยาการใหม่ๆ
และทักษะการดูแลสุขภาพทั้งตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็คือ การสร้างบุคลากรทางการแพทย์ให้เป็นผู้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับทั้งของตนเองและผู้อื่น
Health Literacy คือ ความรอบรู้เรื่องสุขภาพ เป็นความสามารถหรือทักษะของบุคคลที่จะเข้าใจ ข้อมูลสุขภาพ โต้ตอบซักถาม แลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ รวมทั้งเลือกรับบริการสุขภาพในชีวิตประจำวันได้
ธุรกิจที่ให้บริการสุขภาพ (Healthcare Services) จึงควรสร้างบุคลากรผู้ให้บริการสุขภาพ (Health Care Worker) ให้มี Health Literacy
ในการให้บริการเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ ตั้งแต่กระบวนการให้ความรู้ ตอบคำถาม สร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพ การจัดทำสื่อต่างๆในการอธิบายให้ง่ายต่อการเข้าใจ
เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถตัดสินใจเลือกรับการรักษาหรือรับบริการต่างๆได้อย่างเหมาะสม การมีผู้ให้บริการสุขภาพที่มี Health Literacy ช่วยลดปัญหาความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพได้ เพราะองค์ความรู้ถูกถ่ายทอด
จากบุคลากรทางการแพทย์ที่มี Health Literacy ประโยชน์สูงสุดก็จะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้รับบริการสุขภาพ ประชาชนก็จะมีความรู้สุขภาพ ดูแลตัวเองพื้นฐานก่อนมาโรงพยาบาลได้
สามารถตรวจสอบและตัดสินเลือกรับข่าวสารสุขภาพเท่าทันสื่อ ไม่ถูกหลอกจากข้อมูลเท็จดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้
เห็นประโยชน์มากมายขนาดนี้แล้วเรารีบส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ของเราแข็งแกร่งด้วยการสร้าง Health Literacy ให้พวกเขา กันเถอะ
ส่งเรื่องราวความมี Health Literacy ในตัวคุณ มาให้เราได้อ่าน เราจะคัดเลือกเรื่องดีๆ มาแบ่งปันกันนะคะ ส่งมาที่ [email protected]