จากตอนที่แล้วเราได้รู้ว่า Health Literacy คือ ความรอบรู้เรื่องสุขภาพ เป็นความสามารถหรือทักษะของบุคคลที่จะเข้าใจ ข้อมูลสุขภาพ โต้ตอบซักถาม แลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ รวมทั้งเลือกรับบริการสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น
- การเลือกที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อความรู้สุขภาพที่ได้รับมา
- ความสามารถในการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ เกี่ยวกับสุขภาพอย่างเหมาะสม
- ความสามารถที่จะแนะนำและบอกต่อข้อมูลสุขภาพให้คนอื่นได้
ลองสำรวจความมี Health Literacy ในตัวคุณ เพื่อให้คุณได้เข้าใจมากขึ้น ลองมาเช็คว่าใน 6 ข้อ คุณมีอยู่กี่ข้อ? จาก 6 กระบวนการความสำเร็จของ Health Literacy
- เข้าถึง – มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ
- เข้าใจ – มีทักษะในการเข้าใจองค์ความรู้ต่างๆ
- ตรวจสอบ – มีทักษะในการตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่ได้รับ
- ตัดสินใจ – รู้เท่าทันสื่อ ตัดสินใจที่จะเชื่อได้ด้วยตนเอง
- เปลี่ยนพฤติกรรม –เลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
- บอกต่อ – มีความสามารถในการสื่อสาร แบ่งปันข้อมูลสุขภาพได้
โดนกันไปกี่ข้อ? ดังนั้นถ้าทุกคนมี Health Literacy เชื่อว่าทุกคนจะสามารถดูแลสุขภาพตัวเอง ดูแลคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดได้ รู้วิธีที่จะดูแลตัวเองเบื้องต้นก่อนไปหาหมอ สามารถป้องกันและลดโรคไม่ติดต่อได้ (NCDs)
อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคอ้วน โรคมะเร็ง เพราะส่วนใหญ่เป็นโรคที่มาจากพฤติกรรมสุขภาพทั้งสิ้น สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของตนเองและของชาติได้
ตอนต่อไป เราจะมาชวนคิดถึงเรื่องการติดอาวุธให้กับบุคลากรของเรากัน Health Literacy for Health Care Worker แล้วพบกันนะคะ
ส่งเรื่องราวความมี Health Literacy ในตัวคุณ มาให้เราได้อ่าน เราจะคัดเลือกเรื่องดีๆ มาแบ่งปันกันนะคะ ส่งมาที่ [email protected]