โรตาไวรัส เป็นไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ไวรัสชนิดนี้สามติดต่อและแพร่กระจายได้สูงมาก ส่วนมากไวรัสชนิดนี้จะก่อโรคได้บ่อยในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกันซึ่งจะมีอาการแสดงของโรคที่รุนแรงน้อยกว่า
ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention) รายงานข้อมูลการติดเชื้อโรตาไวรัส ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมีสถิติการเจ็บป่วยรายปี ดังต่อไปนี้
- จำนวนผู้ป่วย OPD กุมารแพทย์ 400,000 ราย
- จำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาล ประมาณ 55,000 ถึง 70,000 ราย
- จำนวนผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน 200,000 ราย
- จำนวนผู้เสียชีวิต 20 ถึง 60 ราย
- ปัจจุบันโรตาไวรัสไม่มียารักษาเฉพาะ ซึ่งส่วนมากโรคจะหายได้เองในเวลาภายใน 7-10 วัน แต่อย่างไรก็ตามการให้สารน้ำ
- ทดแทนเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงที่อาจถึงชีวิตได้
อาการของการติดเชื้อโรตาไวรัส
โรตาไวรัสในเด็ก
อาการของโรตาไวรัสจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยเด็ก สามารถแสดงอาการได้ภายในสองวันหลังจากการสัมผัสกับเชื้อโรตาไวรัส อาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคโรตาไวรัสคือมีอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง และอาการแสดงอื่นๆที่อาจพบร่วมได้แก่
- อาเจียน
- อุจจาระมีมูกเลือดปน
- อ่อนเพลีย
- ไข้สูง
- กระสับกระส่าย
- ภาวะขาดน้ำ
- ปวดท้อง
ภาวะขาดน้ำ
เป็นอาการที่ต้องระวังมากในเด็ก ซึ่งเด็กอายุกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเกลือแร่จากการอาเจียนและถ่ายเหลวเนื่องจากมีน้ำหนักตัวน้อย คุณจำเป็นต้องตรวจสอบบุตรหลานของคุณอย่างรอบคอบสำหรับอาการของภาวะขาดน้ำ ยกตัวอย่างเช่น
- ปากแห้ง
- ผิวเย็น
- ขาดน้ำตาเมื่อร้องไห้
- ปัสสาวะน้อยลง
- ตาลึกโบ๋
โรตาไวรัสในผู้ใหญ่
การติดเชื้อไวรัสโรตา ในผู้ใหญ่มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดท้องบิด ท้องร่วง และมีไข้ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการแสดงเลย
ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจมีการการแสดงโรคได้หลายแบบ ตั้งแต่ไม่มีอาการเลย จนถึงมีการการรุนแรงมาก
ลักษณะทางระบาดวิทยาที่พบบ่อยในผู้ใหญ่ มักจะพบผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในถิ่นที่มีการระบาดของโรคอยู่แล้ว หรือเกิดมีการระบาดของโรคในชุมชน หรือการติดเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของนักท่องเที่ยว หรือเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อจากเด็กสู่ผู้ใหญ่
การกำเนิดของโรคไวรัสโรตา
เริ่มแรกเมื่อเด็กได้รับการติดเชื้อมักจะมีอาการเริ่มจากมีไข้และอาเจียน และอาจมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำตามมาในวันที่สาม ถึงวันที่เจ็ดของการเกิดโรค การติดเชื้อโรตาอาจจะอยู่ในอุจจาระได้นานถึง 10 วัน หลังจากที่ไม่มีอาการแสดงของโรคแล้ว
คุณอาจต้องไปพบแพทย์หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นภายในหนึ่งวันหรือถ้าอาการแย่ลง ซึ่งการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรตาไวรัส ต้องทำการตรวจจากอุจจาระในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
การแพร่กระจายของไวรัสโรตา
ไวรัสโรตามีการแพร่กระจายระหว่างการสัมผัสมือและปาก ถ้าคุณสัมผัสบุคคลหรือวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสแล้วเอามือนั้นมาสัมผัสปากของคุณ คุณอาจจะได้รับการติดเชื้อได้ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วเกิดจากการไม่ได้ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ หรือหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก
เด็กทารกและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี มีความเสี่ยงสูงสำหรับการติดเชื้อโรโตวารัส การอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กก็เพิ่มความเสี่ยงเช่นกัน และพบว่ามีอัตราการเกิดโรคสูงในช่วงฤถูหนาว
เชื้อไวรัสสามารถอยู่บนพื้นผิวได้เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ หลังจากที่สัมผัสกับผู้ป่วย และนี่คือเหตุผลสำคัญที่เราต้องทำความสะอาดพื้นผิวในบ้านเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสมาชิกในครอบครัวของคุณป่วยด้วยเชื้อโรตาไวรัส
การรักษาโรคโรตาไวรัส
ปัจจุบันไม่มียารักษาที่จำเพาะต่อโรคโรตาไวรัส ดังนั้นการรักษาจะเป็นแบบประคับประคอง และรักษาตามอาการเจ็บป่วย
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับสำหรับสิ่งที่ควรทำในระหว่างการเจ็บป่วย:
- ดื่มน้ำปริมาณมาก
- ดื่มสารน้ำทดแทนที่มีเกลือแร่ อิเล็กโทรไลต์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก)
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันเนื่องจากอาจทำให้อาการท้องร่วงแย่ลง
คุณควรต้องไปโรคพยาบาบหากบุตรของท่านมี
- อาเจียนอย่างต่อเนื่อง
- ท้องร่วงบ่อยๆเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น
- มีไข้สูงถึง 104 ° F (40 ° C) หรือสูงกว่า
- ซึมลง
ปกติแล้วการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจะ Admit ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียน้ำอย่างรุนแรง และแพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำทดแทนทางเส้นเลือดดำ เพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจคุกคามชีวิต
วัคซีนโรตาไวรัส
วัคซีนโรตาไวรัสถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 2006 วัคซีนมาในสองรูปแบบ โดยให้ทางหยอดเข้าทางปาก:Rotarix สำหรับทารกตั้งแต่ 6 ถึง 24 สัปดาห์ RotaTeq สำหรับทารกตั้งแต่ 6 ถึง 32 สัปดาห์
ไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ ถึงแม้ว่าวัคซีนโรตาจะช่วยป้องกันโรคได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีวัคซีนตัวไหนที่สามารถป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซนต์ คุณอาจจะต้องปรึกษากุมารแพทย์ เกี่ยวกับความเสี่ยงกับประโยชน์ของวัคซีนชนิดนี้ รวมถึงมาตรการป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับบุตรหลานของคุณ ทารกที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องร่วมกันอย่างรุนแรงหรือผู้ที่ป่วยหนักอยู่แล้วไม่ควรได้รับวัคซีน
ผลข้างเคียงของวัคซีน (ปกติพบได้น้อยมาก) ได้แก่
- อาการท้องเสีย
- ไข้
- ลำไส้กลืนกัน (พบได้น้อยมาก)
การควบคุมและป้องกัน
การขาดน้ำอย่างรุนแรงเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงของเชื้อโรตาไวรัส และนอกจากนี้ยังพบว่าเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโรตาทั่วโลก คุณควรปรึกษากุมารแพทย์ของคุณหากบุตรของคุณมีอาการโรตาไวรัสเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคโรตาไวรัสโดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ นอกจากนี้คุณยังสามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโดยการล้างมือบ่อยๆและโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนรับประทานอาหาร
เอกสารอ้างอิง
- Rotavirus infection in adults. Anderson EJ, Weber SG. Lancet Infect Dis. 2004 Feb;4(2):91-9.
- Estimated rotavirus deaths for children under 5 years of age: 2013, 215 000. (n.d.) who.int/immunization/monitoring_surveillance/burden/estimates/rotavirus/en/
- Frequently asked questions about rotavirus. (n.d.). nfid.org/idinfo/rotavirus/faqs.html
- Mayo Clinic Staff. (2016). Rotavirus: Overview. mayoclinic.org/diseases-conditions/rotavirus/home/ovc-20186926
- Rotavirus. (2016). cdc.gov/rotavirus/index.html
- Rotavirus and the vaccine (drops) to prevent it. (2014). cdc.gov/vaccines/parents/diseases/child/rotavirus.html
- Rotavirus in the United States. (2016). cdc.gov/rotavirus/surveillance.html
- Rotavirus vaccine safety. (2017). cdc.gov/vaccinesafety/vaccines/rotavirus-vaccine.html
- Who should NOT get vaccinated with these vaccines? (2017). cdc.gov/vaccines/vpd/should-not-vacc.html
ร.อ. นพ. พันเลิศ ปิยะราช
ระบาดวิทยาคลินิค, ระบาดวิทยาโรคติดเชื้อ
ผู้ประพันธ์