โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis)

เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งไม่มีอาการจำเพาะ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หรือมีอาการรุนแรง เช่น พบเนื้อตาย แผล ฝีหนองที่ปอด ตับ หรือม้าม หรือพบการติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรวดเร็ว โรคเมลิออยโดสิสเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาของหลายประเทศ รายงานว่าประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางเหนือของทวีปออสเตรเลีย เป็นบริเวณที่มีโรคชุกชุม และสามารถตรวจพบโรคนี้ได้บ้างในฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย นิวซีแลนด์ และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โรคเมลิออยโดสิสเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ระยะฟักตัวไม่แน่นอน อาจสั้นเพียง 2-3 วัน หรือยาวนานเป็นปี

เชื้อแบคทีเรียนี้มีอยู่ในดินน้ำ สัตว์หลายชนิด เช่น โค กระบือ แพะ แกะ ม้า สุกร ลิง และสัตว์แทะ เป็นแหล่งแพร่โรค โรคนี้ติดต่อโดยการได้รับเชื้อเข้าไปทางบาดแผล หรือโดยการกิน และการหายใจ ผู้ป่วยอาจมีอาการและอาการแสดงอาการที่พบมีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นรุนแรงมาก เช่น มีไข้ ปอดบวม พบมีการติดเชื้อในกระแสโลหิต และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วมาก อาจมีอาการคล้ายไข้ไทฟอยด์ หรือวัณโรคถุงลมปอดโป่งพอง ฝีเรื้อรังหรือข้อกระดูกอักเสบเป็นต้น โรคนี้พบได้บ่อยในประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การชันสูตรทำได้โดยการเพาะเชื้อจากตัวอย่างแล้วตรวจวินิจฉัย และการตรวจปฏิกิริยาน้ำเหลือง ในรายที่อาการไม่รุนแรงสามารถรักษาให้หายได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ

โรคเมลิออยโดสิสมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคมงคล่อเทียม เป็นโรคที่พบในสัตว์หลายชนิด ที่พบบ่อยคือ สุกร แพะ แกะ นอกจากนี้ยังพบในโค กระบือ ม้า สุนัข แมว สัตว์ฟันแทะ สัตว์ป่าหลายชนิด โรคนี้สามารถติดต่อมายังคนได้ พบในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและระบาดมากในช่วงฤดูฝน ในประเทศไทยพบผู้ป่วยได้ทุกภาคทั่วประเทศ แต่พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดขอนแก่น และอุบลราชธานี อุบัติการณ์ของโรคมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉลี่ย 4.4 ต่อ 100,000 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาหรือผู้ที่ทำงานกับดิน และน้ำ พบผู้ป่วยมากในฤดูฝน คาดว่าจะมีผู้ป่วยมากกว่าปีละ 2,500 รายในประเทศไทย แต่ขาดการศึกษายืนยัน และไม่มีการรายงานในผู้ป่วยส่วนมาก จากการสำรวจระดับแอนติบอดีต่อเชื้อของคนปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมีการติดเชื้อประมาณร้อยละ 25 จากการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีอาการหลายรูปแบบ ที่อาจคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ เช่น มาลาเรีย วัณโรค จึงได้ชื่อว่า “ยอดนักเลียนแบบ” เชื้อโรคชนิดนี้มีความพิเศษตรงที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองโดยหลบหลีกระบบการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ทำให้สามารถหลบซ่อนอยู่ในร่างกายของเราได้นาน 20-30 ปี แต่ทั้งนี้ระยะฟักตัวอาจสั้นเพียง 2 วันหรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและอาการของโรค

สาเหตุ

  1. เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei (Pseudomonas psudomalle) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดแกรมลบ มีลักษณะจำเพาะคือเซลล์จะติดสีเข้มหัวท้าย เมื่อย้อมด้วยสีแกรมทำให้มีลักษณะคล้ายเข็มกลัดซ่อนปลาย ไม่สร้างสปอร์ เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลา เชื้อสามารถเจริญได้ดีในอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียทั่วๆไป ลักษณะโคโลนีและสีจะเปลี่ยนเเปลงตามชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเจริญได้ในภาวะเป็นกรด pH 4.5-8 และอุณหภูมิระหว่าง 15-42 องศาเซลเซียส โคโลนีบน Blood agar มีสีขาวขุ่น และจะเหี่ยวย่นเมื่อบ่มไว้นานกว่า 2 วัน พบมี beta hemolysis zoneรอบๆโคโลนีและมีกลิ่นเฉพาะคล้ายกลิ่นดิน
  2. ในประเทศไทยมีรายงานแยกเชื้อได้จากดินและน้ำของทุกภาค พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 2 biotypes เชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยเป็นสายพันธุ์ Arabinose negative (Ara-) ในขณะที่แยกได้จากสิ่งแวดล้อมมีทั้ง Arabinose negative และ Arabinose positive (Ara+) ความสามารถในการก่อโรคของสายพันธุ์ Ara- มากกว่า Ara+ โดยมีค่า LD50 เท่ากับ 102 cfu/mouse และ 109 cfu/mouse ตามลำดับ ปัจจุบัน Ara+ ถูกจัดให้อยู่ในสปีชีส์ใหม่ ชื่อ Burkholderia thailandnensis
  3. วิธีการติดต่อโดยทั่วไปสามารถติดต่อจากการสัมผัสกับดินหรือน้ำผ่านทางแผลที่ผิวหนังหรือหายใจเอาฝุ่นจากดินที่มีเชื้อหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อเจือปนเชื้อเมลิออยโดสิสสามารถอยู่ได้ในซากสัตว์ที่อยู่ในดินและน้ำ
  4. ระยะฟักตัวอาจสั้นเพียง 2 วัน หรือเป็นปีขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและระยะเวลาแสดงอาการของโรค กลไกการก่อโรคยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่ามีหลายปัจจัยที่มีผลก่อให้เกิดความรุนแรงของโรค เช่น ความสามารถในการก่อโรค จำนวนและวิธีที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ภาวะภูมิต้านทานของผู้ป่วย ความรุนแรงของเชื้อที่สำคัญได้แก่ endotoxin exotoxin และ เอ็นซัยม์หลายชนิด การสร้าง biofilm ห่อหุ้มเซลล์ ซึ่งมีผลทำให้เชื้อสามารถเจริญได้ในเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยไม่ถูกจับกินและสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ นอกจากนั้น biofilmยังป้องกันไม่ให้ยาต้านจุลชีพซึมเข้าสู่เซลล์ทำให้เชื้อสามารถทนต่อยาต้านจุลชีพที่ความเข้มข้นสูงขึ้น
  5. เมลิออยโดสิสเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาของหลายประเทศ รายงานว่าประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางเหนือของทวีปออสเตรเลียเป็นบริเวณที่มีโรคชุกชุม และสามารถตรวจพบโรคนี้ได้บ้างในฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย นิวซีแลนด์ และประเทศอื่นๆทั่วโลก ในประเทศไทยพบผู้ป่วยได้ทุกภาคทั่วประเทศ แต่พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60-95)เป็นชาวไร่ชาวนาหรือผู้ที่ทำงานกับดินและน้ำพบผู้ป่วยมากในฤดูฝนมีรายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาลผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรังวัณโรคเบาหวานโรคไตโรคเลือดมะเร็งและภาวะบกพร่องทางภูมิคุ้มกันเป็นต้นเด็กเป็นโรคนี้น้อยกว่าผู้ใหญ่

อาการ

  1. 1.อาการไข้นานไม่ทราบสาเหตุผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมาพบแพทย์ด้วยอาการมีไข้เป็นเวลานานโดยที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดพบว่าน้ำหนักลดลงร่างกายอ่อนเพลียต่อมาจึงเกิดอาการที่รุนแรงขึ้นลักษณะทางคลินิกของโรคนี้สามารถเลียนแบบโรคอื่นๆได้เกือบทุกโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดโรค
  2. ผู้ป่วยมาด้วยอาการของการติดเชื้อเฉพาะที่ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อที่ปอดมีอาการเหมือนปอดอักเสบคือมีไข้ไอมีเสมหะเล็กน้อยน้ำหนักลดบางรายไอมีเสมหะปนเลือดเจ็บหน้าอกพบว่าการเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรังผู้ป่วยบางรายมีอาการของฝีในตับฝีในกระดูกหรือเป็นเพียงฝีที่ผิวหนังเท่านั้นถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องอาจเกิดอาการรุนแรงขึ้น
  3. การติดเชื้อในกระแสโลหิต เชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตภายใน 2-3 วันหลังเข้าโรงพยาบาล เชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว อัตราป่วยสูงมาก ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตภายใน 2 – 3 วันหลังเข้าโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่าร้อยละ 50 ไม่มีประวัติเป็นมาก่อน ร้อยละ 25-30 มีประวัติเป็นโรคที่ปอดมาก่อน และร้อยละ 20-25มีประวัติเป็นโรคนี้ที่บริเวณผิวหนังและบริเวณอื่นๆ
  4. จากการศึกษาที่จังหวัดอุบลราชธานี พบโรคเมลิออยโดสิสเฉพาะที่ปอดร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยโรคนี้ รองลงมาคือ ที่ผิวหนังและชนิดเชื้อแพร่กระจายในเลือดประมาณร้อยละ 20เท่าๆกัน
  5. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสชนิดติดเชื้อในกระแสเลือดประมาณร้อยละ 60-70

การวินิจฉัยโรค

  1. อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายโรค เช่น เลปโตสไปโรซิส สครับไทฟัส มาเลเรีย ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงมีความสำคัญมาก การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็ว จะมีผลต่อการรักษา และการรอดชีวิตของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตเฉียบพลันมักเสียชีวิตเร็ว หลังการรักษา 1-2 วัน
  2. การเพาะเชื้อแบคทีเรียเป็นวิธีมาตรฐาน สามารถเพาะแยกเชื้อได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อปกติ ใช้เวลาประมาณ 2-5วันตัวอย่างที่ใช้ตรวจได้แก่เลือดเสมหะน้ำจากปอดหนองจากฝีปัสสาวะเมื่อเชื้อขึ้นจะทำการพิสูจน์ชนิดของเชื้อด้วยการทดสอบทางชีวเคมีและทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพซึ่งจะช่วยให้สามารถเลือกใช้ยารักษาได้เหมาะสม
  3. การเลือกใช้อาหารเลี้ยงเชื้อชนิด meat nutrient agar หรือการเติม 1-5% glucose ลงไปในอาหารเลี้ยงเฃื้อ ช่วยให้ผลเพาะเชื้อดีขึ้นร้อยละ 30
  4. การตรวจแอนติบอดีจำเพาะต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วยด้วยวิธี IHA เป็นการทดสอบโดยใช้เม็ดเลือดแดงที่เคลือบแอนติเจนของ B. pseudomalleiทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีจำเพาะในซีรัมผู้ป่วยในกรณีที่มีการติดเชื้อจะเกิดการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  5. การตรวจแอนติบอดีจำเพาะต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วยด้วยวิธี IFA เป็นการตรวจแอนติบอดีจำเพาะชนิด IgG และ IgM ในซีรัมผู้ป่วย ต่อเชื้อ B. pseudomallei ที่เคลือบไว้บนสไลด์ และติดตามปฏิกิริยาด้วยการย้อมสารที่ติดฉลากด้วยสารเรืองแสง ซึ่งจะเห็นตัวเชื้อ B. pseudomalleiเรืองแสงสีเขียวเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเรืองแสง
  6. วิธี ELISA เป็นการตรวจแอนติบอดีต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วยโดยการทำปฏิกิริยากับสารสกัดจาก B.pseudomallei ที่เคลือบไว้บนไมโครเพลตหรือเมมเบรน และติดตามปฏิกิริยาด้วยแอนติบอดีจำเพาะต่อ IgG หรือ IgM ที่ติดฉลากด้วยเอ็นซัยม์ทำให้เกิดสีซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือวัดปริมาณด้วยเครื่องวัด
  7. การตรวจแอนติเจนของเชื้อในตัวอย่างของผู้ป่วย ซึ่งได้แก่ เลือด ปัสสาวะ หนอง วิธีทีใช้ทดสอบทำได้หลายวิธี ช่วยให้สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้เร็วขึ้น การตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี PCRมีการศึกษาวิจัยในหลายสถาบันพบว่ามีความไวและความจำเพาะสูงแต่ยังไม่แพร่หลายในห้องปฏิบัติการทั่วๆไป
  8. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ได้พัฒนาชุดทดสอบสำหรับตรวจแอนติบอดีด้วยวิธี IHA โดยใช้ extracellular protein (EXP) เป็นแอนติเจนเคลือบเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีความไวและความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 88.6 และ 93.3 ตามลำดับ ได้ผลิตเพื่อให้การสนับสนุนแก่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการทั่วไป นอกจากนั้นยังให้บริการการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี IFA และ IHA

การส่งตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ

ประเทศไทยมีเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยดังนี้

– สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ นนทบุรี
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 12 แห่งในส่วนภูมิภาค
– สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมแพทย์ทหารบก ถนนราชวิถี กรุงเทพฯ
– ศูนย์วิจัยโรคเลปโตสไปโรซิส โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ถนนราชวิถี กรุงเทพฯ
– สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติและศูนย์วิจัย และชันสูตรโรคสัตว์ประจำภาคต่างๆ 12 แห่ง

การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย

1.เก็บตัวอย่างได้จากแผลโดยการดูดหนองใส่ภาชนะที่สะอาดหรือป้ายเชื้อลงในอาหารเลี้ยงเชื้อเพื่อย้อมสีแกรมหรือเพาะแยกเชื้อ
2.เก็บเสมหะโดยให้มีน้ำลายปนมาน้อยที่สุดโดยเอาเสมหะที่ออกมาหลังจากการไอการทำให้ไอหรือดูดจากลำคอ
3.การเจาะเลือดเพื่อมาเพาะเชื้อหรือนำซีรั่มมาทดสอบทางซีรั่มวิทยา

การรักษา

1.แยกผู้ป่วยไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจและโพรงจมูก
2.นำสารคัดหลั่งสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย เช่น เลือด ปัสสาวะ เสมหะ หรือหนอง มาเพาะเลี้ยง แล้วนำมาทดสอบดูว่ามีเชื้อนี้อยู่หรือไม่ ซึ่งจะใช้เวลา 3-5 วันจึงจะรู้ผล
3.พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย โดยให้ยาฉีดในระยะแรก 2 สัปดาห์ และให้ยารับประทานต่อจนครบ 20สัปดาห์เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
4.เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว การใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ยาที่นิยมใช้กันได้แก่ tetracycline, chloramphenicol, kanamycin, cotrimoxazole และ novobiocin ที่ใช้ได้ผลดีคือ ceftazidime 4 กรัม/วัน นาน 1 เดือน ต่อเนื่องด้วย tetracycline นาน 6 เดือน
5.ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาแบบยาชนิดเดียว โดยใช้ ceftazidime 120 มก./กก./วัน โดยฉีดเข้ากล้าม หรือฉีดเข้าเส้นเลือดนาน 14 วัน ในผู้ป่วยอาการหนัก ซึ่งให้ผลอัตราการรอดชีวิตประมาณร้อยละ 60 แบะการรักษาแบบยา 2 ชนิด ceftazidimne 100 มก./กก./วัน ร่มกับ cotrimoxazole นาน 7 วัน อัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยหนักถึงร้อยละ 70-75จากนั้นผู้ป่วยควรได้ยาชนิดรับประทานต่อไป
6.ในรายที่ฝีจะต้องมีการผ่าตัดเอาฝีออกซึ่งจะให้ผลดีกว่าการใช้เข็มเจาะหรือดูดเอาแต่หนองออกการทำผ่าตัดควรทำเมื่อตรวจไม่พบเชื้อในกระแสโลหิตแล้ว
7.โรคเมลิออยโดสิสนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยเนื่องจากพบมีอัตราป่วยตายสูงโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตและมักพบอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตในคนที่เป็นโรคเรื้อรังเช่นโรคเบาหวานโรคไตทั้งนี้มักมีการกลับซ้ำของโรคในกรณีให้การรักษาระยะสั้นและผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง นอกจากนั้นอาการของโรคยังคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายโรคอาจทำให้วินิจฉัยผิดได้ซึ่งจะมีผลต่อการรักษาเพราะการรักษาโรคเมลิออยโดสิสมีรูปแบบจำเพาะไม่เหมือนโรคติดเชื้ออื่นและยามีราคาค่อนข้างแพงจึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีตรวจกรองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถตรวจได้ทุกห้องปฏิบัติการ

การป้องกันโรค

1.ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเมลิออยโดสิสการควบคุมป้องกันโรคทำได้ยากเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ต้องสัมผัสดินและน้ำขณะทำงานผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่องผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคเรื้อรังหรือมีบาดแผลที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินโดยสวมรองเท้าบูทขณะทำงานลุยน้ำลุยโคลนรวมทั้งบุคคลที่มีอาการของโรคเบาหวานและแผลบาดเจ็บรุนแรงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำเช่นในไร่นา
2.ป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลเมื่อต้องสัมผัสดินและน้ำหรือรีบทำความสะอาดร่างกายหลังการทำงานในบุคคลที่มีอาการของโรคเบาหวานและแผลบาดเจ็บรุนแรงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้อาจต้องสวมถุงมือรองเท้ายางเพื่อป้องกัน
3.หากมีแผลถลอกหรือไหม้ซึ่งสัมผัสกับดินหรือน้ำในพื้นที่ที่เกิดโรคควรทำความสะอาดทันที
4.เมื่อมีบาดแผลและเกิดมีไข้หรือเกิดการอักเสบเรื้อรังควรรีบไปพบแพทย์นอกจากนี้แล้วการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆและการดูแลสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้
5.การป้องกันโรคเป็นไปได้ยากเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาที่ต้องทำงานสัมผัสดินและน้ำซึ่งในถิ่นระบาดพบเชื้อสาเหตุอยู่ทั่วไป

นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top