แชมพูสระผม

ตามประกาศสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (พ.ศ. 2548) “แชมพู” หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผม เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะ มีสารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนประกอบหลัก อาจผสมสมุนไพร เช่น ดอกอัญชัน ประคําดีควาย ว่านหางจระเข้ ด้วยหรือไม่ก็ได้ลักษณะทั่วไปของแชมพูต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกชั้น ไม่ตกตะกอน มีกลิ่นหอม ไม่มีสิ่งแปลกปลอม ส่วนประกอบต้องไม่มีสารหรือวัตถุที่ห้ามใช้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องสําอาง สารที่กําหนดปริมาณการใช้ต้องไม่เกินเกณฑ์ สีที่ใช้ต้องเป็นไปตามที่กําหนด ความคงสภาพต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แปรสภาพ หรือเสื่อมคุณภาพ จํานวนแบคทีเรีย ยีสต์ และราทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม ความเป็นกรด-ด่างต้องอยู่ระหว่าง 5.0 – 8.0 การใช้งานต้องสามารถขจัดสิ่งสกปรก ฝุ่นละอองบนเส้นผมและหนังศีรษะได้ และทําให้เส้นผมนุ่มสลวย การบรรจุให้บรรจุแชมพูในภาชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ผนึกได้เรียบร้อย และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้

สารประกอบหลักของแชมพู

          สารประกอบหลักของแชมพูเป็นสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟอง ที่มีคุณสมบัติสามารถชะล้างหรือทำความสะอาดเส้นผมได้ โดยปกติเส้นผมของคนเรานั้น ส่วนโครงสร้างภายในเส้นผมมีประจุลบแต่ภายนอกโครงสร้างดังกล่าวจะมีประจุบวกในสมัยก่อน นิยมใช้สบู่ แต่การใช้สบู่สระผมมีข้อเสียที่เป็นอันตรายต่อเส้นผมและผิวหนัง เนื่องจากสบู่ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นด่าง และในกรณีที่ใช้น้ำกระด้างสระผม สบู่จะทำปฏิกิริยากับน้ำกระด้างทำให้แคลเซียมตกตะกอน และเกาะเส้นผม ผลที่เกิดขึ้นคือเส้นผมไร้เงามัน เปราะและหวียากต่อมาจึงเลิกใช้สบู่ มาใช้สารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุลบแทน สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติละลายน้ำแล้วให้ประจุลบ ให้ฟองมาก ไม่เป็นอันตรายต่อตา และมีราคาไม่แพง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นราคาก็แปรตามสภาพของสาร ชนิดที่ดีกว่าราคาจะแพงกว่าแชมพูตามท้องตลาดมากมายหลายชนิดจะมีสารสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุลบผสมอยู่ในสัดส่วนค่อนข้างสูง ข้อดีของสารสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุลบ คือ ล้างสะอาด ฟองมาก ข้อเสียคือ มีความเป็นด่างค่อนข้างมาก และตกตะกอนเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียม ตะกอนที่เกาะตามผมเหล่านี้จะทำให้ผมด้าน ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือ ทำให้ผมฟูเนื่องจากมีประจุลบผลักดันระหว่างประจุลบในเส้นผมกับประจุลบจากสารเกิดฟอง ตัวอย่างสารสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุลบที่นิยมใช้ในการผลิต ได้แก่ alkyl sulfate salt, arylsulfonate และ sarcosideสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุบวก เป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายน้ำแล้วได้ประจุบวกทำให้ผมนิ่ม หวีง่าย ลดอาการกระเซิงของเส้นผม อาจแก้เส้นผมที่เสียได้บ้าง ข้อเสียคือ บางชนิดมีอันตรายต่อตาและผิวหนัง และมีฟองน้อย ทำให้สิ่งสกปรกติดเส้นผมง่าย เนื่องจากคุณสมบัติของการที่มีฟองน้อยนี้เอง จึงไม่นำมาใช้เป็นตัวหลักในการทำแชมพู แต่มักนำมาใช้เป็นตัวหลักในการทำครีมนวดผม หรือนำมาใช้ในผู้ที่ต้องการย้อมผม ตัวอย่างสารสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุบวกที่นิยมนำมาใช้ในการผลิต ได้แก่ quarternary lanolin (lanoquat) และ protein Qสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุบวกลบ มีคุณสมบัติเมื่อละลายน้ำแล้วมีทั้งประจุบวกและลบ ช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง และช่วยให้ฟองคงทน ทำให้เส้นผมไม่หยาบแห้ง แต่มีราคาแพง และจับกับเส้นผม ทำให้ผมดูมัน และแฉะง่าย ดังนั้นจึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในแชมพู แต่ไม่ใช่ตัวหลัก สารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดนี้ มักใช้ผสมกับสารประจุลบ ทำให้เกิดฟองหนาตัวอย่างเช่น miranol, derphatสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดที่ละลายน้ำแล้วไม่ให้ประจุ ทำให้ฟองคงทน แต่มีราคาแพงจึงไม่ใช้เป็นตัวหลัก นิยมใช้เป็นส่วนผสมที่ช่วยป้องกันผมเปราะจากการใช้สารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟองชนิดประจุบวกนอกจากนี้ ยังมีการใช้สมุนไพรธรรมชาติ เช่น saponin แต่อาจทำให้เกิดฟองน้อย จึงมักใช้ร่วมกับสารอื่นในปัจจุบัน ซิลิโคนใช้มากเป็นที่แพร่หลายในการบำรุงเส้นผม เนื่องจากมีพลังงานต่ำต่อผิว สัมผัสดูรู้สึกว่าไม่เหนียว เป็นฟิล์มเคลือบบางๆ บนผิวของเส้นผม รวมทั้งปลายผม ทำให้ดูเป็นเงามันเป็นการลดความเสียดสีเมื่อเวลาหวี หรือย้อมดัด เส้นผมแต่ละเส้นดูเบากว่า สยายผมได้ดีกว่า และยืดหยุ่นดี ซิลิโคนที่ดีคือกลุ่มโปซิลิโลเซนซึ่งมีหลายชนิด การเลือกใช้ให้พิจารณาตามสภาพของเส้นผมว่าต้องการซิลิโคนแบบไหน

ส่วนผสมต่างๆในแชมพู

  • สารที่ผสมลงไปในแชมพู ทำให้มีคุณสมบัติต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น สารให้กลิ่นหอม สารที่เป็นตัวทำละลาย ซึ่งที่นิยมใช้มากคือ alcohol, glycol, glycerol สารนี้ป้องกันการตกตะกอนของแคลเซียมจะทำให้ผมไม่มันและเหนียว
  • สารที่ปรับสภาพผม เช่น lanolin ทำให้ผมแห้ง, protein Q ทำให้เส้นผมมีน้ำหนัก, arly beta-aminopropionate ป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตบนเส้นผม ส่วนสารที่ทำให้ผมเงางาม ได้แก่ 4-methyl-7 diethyl amino coumarin 4-emthyl-5-7 dihydrocoumarin
  • สารช่วยให้เกิดฟอง ก็เป็นคุณสมบัติที่ทำให้ผู้บริโภคใช้นิยมใช้ การผสมเซลลูโลส ทรากะคันและเจล ช่วยให้ดูว่าเนื้อยาสระผมเหนียวข้นขึ้น บางชนิดใส่เกลือลงไป กลายเป็นเจลเทียม บางชนิดเคลือบมุก ทำให้เนื้อยาสระผม ซึ่งมักเป็นของเหลวคลายเป็นครีมมุกทำให้เส้นผมนิ่ม หรือการใช้สารดูดซับพวกโลหะซึ่งมักตกตะกอนบนเส้นผม อันเป็นสาเหตุทำให้ผมไม่เป็นเงานอกจากนี้ ยังใช้สารกันบูดกันเชื้อโรค ใส่กลิ่นหอม ถ้ามีรังแคใส่สารขจัดรังแคเพิ่ม เช่น สังกะสี ไพรีไทโอน ไพรอกโตนโอลามีน กำมะถัน น้ำมันดิบ และน้ำมันต่างๆ

ปัญหาที่เกิดจากการใช้แชมพู

เท่าที่มีปรากฏในรายงานทางการแพทย์ ปัญหาที่อาจพบได้มีดังต่อไปนี้

1.ปัญหาที่เกิดจากการระคายเคืองหนังศีรษะ พบได้น้อยมากโดยเฉพาะอย่างผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ที่ได้มาตราฐาน
2.ปัญหาที่เกิดจากค่าความเป็นกรด-ด่างของหนังศีรษะ แพทย์จะแนะนำให้ใช้แชมพูประเภท forpH-balanced shampoos
3.ปัญหาเกิดอาการผิวหนังศีรษะอักเสบชนิด seborrheic dermatitis ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์เปลี่ยนแปลงไป พบได้น้อย
4.หนังศีรษะแห้ง เนื่องจากซีบุมถูกชะล้างออกไปมาก และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด
สแต๊ฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส ที่หนังศีรษะได้ง่ายกว่าปกติ
5.เกิดเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิด irritant contact dermatitis เท่าทีมีรายงานในวารสารการแพทย์พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากสาร sodium lauryl sulphate แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้sodium laureth sulphate แทน
6.เกิดเป็นโรคลมพิษชนิด contact urticaria สาเหตุจากน้ำหอมที่ผสมลงไป หรือสารกันบูดเกิดเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิด allergic contact dematitis ส่วนใหญ่เกิดจาก chamomile,lavender, rose oil, kathon CG และ quaternium-15
7.เกิดเป็นโรคภูมิแพ้โปรตีนชนิด protein contact dermatitis พบได้น้อยมาก ทั่วโลกมีรายงานไม่ถึง 10 ราย

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top